พระสุตตันตปิฎกไทย: 19/99/391 392 393 394 395

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เล่ม 19
หน้า 99
เท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า โพชฌงค์? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้.
[๓๙๑] ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
[๓๙๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ
[๓๙๓] เมื่อภิกษุนั้นเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ฉะนี้แล. จบ สูตรที่ ๕ กุณฑลิยสูตร ตถาคตมีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์
[๓๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมฤคทายวัน ใกล้เมือง สาเกต ครั้งนั้นแล กุณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้ มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเที่ยวไปในอาราม เข้าไปสู่บริษัท เมื่อข้าพเจ้าบริโภคอาหารเช้าแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต ข้าพเจ้าเดินไปเนืองๆ เที่ยวไปเนืองๆ สู่ อารามจากอาราม สู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำลังกล่าว ถ้อยคำมีวาทะและการเปลื้องวาทะว่าดังนี้เป็นอานิสงส์ และมีความขุ่นเคืองเป็นอานิสงส์ ส่วน ท่านพระโคดมมีอะไรเป็นอานิสงส์อยู่เล่า? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกุณฑลิยะ ตถาคต มีวิชชาและวิมุติเป็นผลานิสงส์อยู่.
[๓๙๕] ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์? พ. ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง วิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์. ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์?