พระสุตตันตปิฎกไทย: 24/52/28
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ดังนี้ พระองค์
ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปรกติ
เห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม๕ อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้
ในปัจจุบัน ในธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน คือในอินทรีย์ ๕ ... ในธรรม ๖ อย่างเป็นไฉน คือ
ในนิสสรณียธาตุ ๖ ... ในธรรม๗ อย่างเป็นไฉน คือ ในโพชฌงค์ ๗ ... ในธรรม ๘ อย่าง
เป็นไฉน คือ ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ... ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ
มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๘ อย่างนี้แลย่อมเป็นผู้ทำที่สุด
ทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๘อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ดังนี้
พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ
ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ดังนี้ พระองค์
ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ
หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบบรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่าง ย่อม
เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบันในธรรม ๙ อย่างเป็นไฉน คือ ในสัตตาวาส ๙ ดูกรผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปรกติเห็นที่สุด
โดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ไวยากรณ์ ๙ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัย
ข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ
ก็พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ดังนี้
พระองค์ทรงอาศัยอะไรตรัสแล้ว ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ
มีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐อย่าง ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์
ได้ในปัจจุบัน ในธรรม ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือในกุศลธรรม ๑๐ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบมีปรกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๑๐
อย่างนี้แลย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ปัญหา ๑๐
อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ดังนี้ พระองค์ทรงอาศัยข้อนี้ตรัสแล้ว ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ปัญหา ๑
อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ไวยากรณ์ ๑๐ เราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความ