พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/37/38
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ครั้นให้อายุแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้วรรณะแล้ว
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วน
แห่งสุขทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้กำลังแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังทั้งที่เป็น
ทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่
เป็นมนุษย์ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทานชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แล ฯ
ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลัง ย่อมได้กำลัง ให้วรรณะ
ย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณให้สุขย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ
กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้วจะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน
มียศ ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. สัทธานิสังสสูตร
[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ สัปบุรุษผู้สงบในโลกทุกๆ ท่าน เมื่อจะอนุเคราะห์ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธา
ก่อนผู้อื่น ย่อมไม่อนุเคราะห์ผู้ไม่มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธา
ก่อนผู้อื่น ย่อมไม่เข้าไปหาผู้ไม่มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ เมื่อจะต้อนรับ ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธาก่อน
ผู้อื่น ย่อมไม่ต้อนรับผู้ไม่มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมแก่ผู้มีศรัทธา
ก่อนผู้อื่น ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเมื่อไปแล้ว
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้
แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ทางสี่แยก มีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็นที่พึ่ง
ของพวกนกโดยรอบ ฉันใด กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นที่พึ่งของชนเป็นอันมาก
คือ ภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา ฯ
ต้นไม้ใหญ่ สล้างด้วยกิ่ง ใบ และผล มีลำต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง
สมบูรณ์ด้วยผล ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลายฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้น
ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ ให้เกิดสุขผู้ต้องการความร่มเย็น ย่อมเข้าไปอาศัย