พระสุตตันตปิฎกไทย: 13/331/477 478 479
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
กษัตริย์ในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือย่องเบา พึงทำการปล้น หรือดักคอยทำร้ายคนที่ทางเปลี่ยว
หรือพึงคบหาภริยาของผู้อื่น ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร
ประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาจะลงพระราชอาญาสถานใดแก่โจรนี้ ขอจงทรงโปรด
ให้ลงพระราชอาญาสถานนั้นเถิด ดังนี้ มหาบพิตรจะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกะโจรนั้น?
ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสีย หรือพึงผ่าอกเสีย พึงเนรเทศเสีย
หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของเขาว่ากษัตริย์นั้น
หายไปเสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจรนั่นเทียว.
[๔๗๗] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์ ...
แพศย์ ... ศูทรในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือย่องเบา พึงทำการปล้น หรือดักคอยทำร้ายคนที่ทางเปลี่ยว
หรือพึงคบหาภริยาของผู้อื่น ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้ แล้วพึงแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร
ประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาจะลงพระราชอาญาสถานใดแก่โจรนี้ ขอจงทรงโปรด
ให้ลงพระราชอาญาสถานนั้นเถิด ดังนี้ มหาบพิตรจะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกะโจรนั้น?
ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสีย หรือพึงให้ผ่าอกเสีย พึงเนรเทศเสีย
หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของเขาว่าศูทรนั้น หายไป
เสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจรนั่นเทียว.
[๔๗๘] ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็น
เช่นนั้น วรรณสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะมีความเข้าพระทัยใน
วรรณสี่เหล่านี้อย่างไร?
ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมด
ในวรรณสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.
[๔๗๙] ดูกรมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวว่า วรรณที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น
วรรณอื่นเลว ... พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิต
พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์
ในโลกนี้ พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ เสด็จจากพระราชนิเวศน์