พระสุตตันตปิฎกไทย: 25/295/324 325
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
ถูกฆ่า คนผู้บูชายัญทั้งหลายย่อมเสื่อมจากธรรม ธรรมอันเลวทรามนี้
เป็นของเก่า วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นธรรมอันเลวทราม
เช่นนี้ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้บูชายัญในที่นั้นเมื่อธรรมของพราหมณ์
เก่าฉิบหายแล้วอย่างนี้ศูทรและแพศย์แตกกันแล้ว กษัตริย์เป็นอันมาก
แตกกันแล้ว ภรรยาดูหมิ่นสามี กษัตริย์พราหมณ์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พรหม แพศย์และศูทรเหล่าอื่น ผู้อันโคตรรักษาแล้วทำวาทะว่าชาติให้
ฉิบหายแล้ว ได้ตกอยู่ในอำนาจแห่งกามทั้งหลาย ฯ
[๓๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน
หงายของคว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าคนมี
จักษุจักเห็นรูปฉะนั้นข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ กับทั้งพระธรรมและ
พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์เหล่านี้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบพราหมณธรรมิกสูตรที่ ๗
นาวาสูตรที่ ๘
[๓๒๕] ก็บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจากบุคคลใด พึงบูชาบุคคลนั้น เหมือนเทวดา
บูชาพระอินทร์ ฉะนั้น บุคคลนั้นเป็นพหูสูต ผู้อันเตวาสิกบูชาแล้ว
มีจิตเลื่อมใสอันเตวาสิกนั้น ย่อมชี้แจงธรรมให้แจ่มแจ้ง บุรุษผู้มี
ปัญญา ไม่ประมาทคบบุคคลผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้น กระทำธรรมนั้น
ให้มีประโยชน์ใคร่ครวญแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมเป็น
ผู้รู้แจ่มแจ้ง แสดงธรรมแก่ผู้อื่นและเป็นผู้ละเอียด อันเตวาสิกซ่องเสพ
อาจารย์ผู้ประกอบด้วยธรรมน้อย เป็นคนเขลา ผู้ยังไม่บรรลุประโยชน์