พระสุตตันตปิฎกไทย: 25/290/320 321

สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เล่ม 25
หน้า 290
สู. ดูกรสมณะ ข้าพเจ้าจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์ไซร้ข้าพเจ้าจักควัก ดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสียหรือจักฉีกหทัยของท่านเสีย หรือจักจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไป ในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น ฯ พ. เราไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ผู้ซึ่งจะควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้ง หรือจะฉีกหทัยของ เราเสีย หรือจะจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น ผู้มีอายุ ก็แลท่านปรารถนา จะถามปัญหาข้อใด ก็จงถามเถิด ฯ ลำดับนั้นแล สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
[๓๒๐] ราคะและโทสะมีอะไรเป็นเหตุเกิด ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุกขนพอง เกิดแต่อะไร วิตกทั้งหลายเกิดแต่อะไรแล้วจึงปล่อยลงไปหาใจที่เป็น กุศล เหมือนพวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกาแล้วปล่อยลงไป ฉะนั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า ราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุเกิด ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุก ขนพอง เกิดแต่อัตภาพนี้ วิตกทั้งหลายเกิดแต่อัตภาพนี้แล้วปล่อยลง ไปหาใจที่เป็นกุศล เหมือนพวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกาแล้วปล่อยลง ไป ฉะนั้นกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดแต่ความเยื่อใย เกิดใน ตน เหมือนย่านไทรเกิดแต่ต้นไทร ฉะนั้น กิเลสเป็นอันมาก ซ่าน ไปแล้วในกามทั้งหลาย เหมือนเถาย่านทรายรึงรัดไปแล้วในป่าสัตว์ เหล่าใด ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลสนั้นว่ามีกิเลสใดเป็นเหตุสัตว์เหล่านั้น ย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสนั้นได้ ท่านจงฟังเถิดยักษ์ สัตว์เหล่าใดย่อม บรรเทาซึ่งหมู่กิเลสได้ สัตว์เหล่านั้นย่อมข้ามพ้นซึ่งโอฆะอันข้ามได้โดย ยาก ที่ยังไม่เคยข้ามแล้วเพื่อความไม่เกิดอีก ฯ จบสูจิโลมสูตรที่ ๕ ธรรมจริยสูตรที่ ๖
[๓๒๑] พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวความประพฤติทั้งที่เป็นโลกิยและโลกุตระ ทั้งสองนี้ คือ ความประพฤติธรรม พรหมจรรย์ว่าเป็น (แก้วอัน