พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/29/31

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
เล่ม 22
หน้า 29
สุมนวรรคที่ ๔ ๑. สุมนสูตร
[๓๑] ครั้งนั้นแล สุมนาราชกุมารี แวดล้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน และราชกุมารี ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คน มีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อตาย ไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดาเหมือนกัน พึงมีความพิเศษ แตกต่างกันหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นเทวดาย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ ดูกรสุมนา ผู้ที่ให้เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว มาสู่ความ เป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ ฯ พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นมนุษย์ ย่อม ข่มคนไม่ให้ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุขยศ และอธิปไตยที่เป็นของ มนุษย์ ดูกรสุมนา ผู้ให้เป็นมนุษย์ย่อมข่มคนผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้ ฯ สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นออกบวช แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็น บรรพชิตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ พ. ดูกรสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ คนที่ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ เมื่อออกปากขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอ ย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บิณฑบาตมากเมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปาก ขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บริขารคือ ยา ที่เป็นเครื่องบำบัดไข้มากเมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย และจะอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่