พระสุตตันตปิฎกไทย: 25/289/319
สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
จากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในธรรม
ทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑
ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑การฟังธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดม
มงคล ความอดทน ๑ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑
การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ความเพียร ๑พรหม
จรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดม
มงคล จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
ไม่เศร้าโศกปราศจากธุลี เป็นจิตเกษม นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลายทำมงคลเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถานนี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์
เหล่านั้น ฯ
จบมงคลสูตรที่ ๔
สูจิโลมสูตรที่ ๕
[๓๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บน (แท่นหิน) เตียงมีแม่แคร่ในที่อยู่ของสูจิโลม
ยักษ์ ใกล้ (เท่า) บ้านคยา ก็สมัยนั้นแล ขรยักษ์และสูจิโลมยักษ์เดินผ่านไปในที่ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ขรยักษ์ได้กล่าวกะสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ สูจิโลมยักษ์ได้กล่าว
กะขรยักษ์ว่า นั่นไม่ใช่สมณะนั่นเป็นสมณะเทียม เราทราบชัดว่าสมณะหรือสมณะเทียมเพียงไร
ลำดับนั้นสูจิโลมยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วน้อมกายของตนเข้าไป
ใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงเบนกาย (ของสูจิโลมยักษ์) ออกไปสูจิโลมยักษ์ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ท่านกลัวข้าพเจ้าหรือสมณะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่กลัวท่านดอกผู้มี
อายุ แต่สัมผัสของท่านลามก ฯ