พระสุตตันตปิฎกไทย: 20/250/552

สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เล่ม 20
หน้า 250
มีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความหลง เกิดแต่ความหลง มีความหลงเป็นเหตุ มี ความหลงเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมีทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อความดับกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุเพื่อให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความไม่โลภ เกิดแต่ความไม่โลภ มีความไม่โลภเป็นเหตุ มีความไม่โลภเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศลกรรมนั้นไม่มีโทษ กรรม นั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรมกรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรม ต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดซึ่งบุคคลทำด้วยความไม่โกรธ เกิดแต่ความไม่โกรธ มี ความไม่โกรธเป็นเหตุ มีความไม่โกรธเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมใดที่บุคคลทำด้วยความไม่หลง เกิดแต่ความไม่หลง มีความไม่หลงเป็น เหตุ มีความไม่หลงเป็นแดนเกิด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นไม่มีโทษ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อความดับกรรม กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อเกิดกรรมต่อไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ นิทานสูตรที่ ๒
[๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ อย่างเป็น ไฉน คือ ความพอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ๑ ความ พอใจย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอนาคต ๑ ความพอใจย่อมเกิด เพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในปัจจุบัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพอใจ ย่อมเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีตอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลปรารภธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามด้วยใจ เมื่อเขาปรารภธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทราคะในอดีต ตรึกตรองตามอยู่ด้วยใจ ย่อมเกิดความพอใจ ผู้ที่เกิดความ พอใจแล้ว ย่อมประกอบด้วยธรรมเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความกำหนัดแห่งใจนั้น