พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/16/23
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จัก
บำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของ
พระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่
รักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่
ภิกษุไม่เจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะ
มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุมีที่เคารพ มีที่ยำเกรง มีความประพฤติเสมอในเพื่อน
พรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อ
ที่ภิกษุบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์
ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์
ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ
ปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. อุปกิเลสสูตร
[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว
ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ
๕ ประการเป็นไฉน คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ตะกั่ว ๑ เงิน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ทองเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้
การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง
๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้ คือ ช่างทอง
ต้องการเครื่องประดับชนิดใดๆ เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำได้ตามต้องการ
ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส
เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปกิเลส ๕ ประการเป็นไฉนคือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถิ่นมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ