พระสุตตันตปิฎกไทย: 9/123/184 185
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
กลับเสีย ผู้ที่ถูกบริษัทดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้ยศเราจึงมี
โภคสมบัติ.
[๑๘๔] ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย
กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ฝ่ายพราหมณ์และคฤหบดีชาวนครจัมปา บางพวกก็ถวายอภิวาท บางพวกก็ปราศรัย บางพวกก็
ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกก็ประกาศชื่อและโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่าง
ก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งๆ ได้ยินว่า ในขณะนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะนั่งครุ่นคิดถึงแต่เรื่อง
นั้นว่า ถ้าเราจะพึงถามปัญหากะพระสมณโคดม หากพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้ว่า พราหมณ์
ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ควรถามอย่างนั้น ที่ถูกควรจะถามอย่างนี้ ดังนี้ บริษัทนี้จะพึงดูหมิ่นเราได้ด้วย
เหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่อาจถามปัญหาโดยแยบคายกะพระ
สมณโคดมได้ ผู้ที่ถูกบริษัทดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศ ก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้ยศ
เราจึงมีโภคสมบัติ ถ้าพระสมณโคดมจะพึงตรัสถามปัญหาเรา ถ้าเราแก้ไม่ถูกพระทัย ถ้าพระองค์
จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ควรแก้อย่างนั้น ที่ถูกควรจะแก้อย่างนี้
ดังนี้ บริษัทนี้จะพึงดูหมิ่นเราได้ด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด
ไม่อาจแก้ปัญหาให้ถูกพระทัยพระสมณโคดมได้ ผู้ที่ถูกบริษัทดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึง
เสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้ยศเราจึงมีโภคสมบัติ ถ้ากระไร ขอพระสมณโคดมพึงตรัสถามปัญหา
เราในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์เรา เราจะพึงแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์ได้เป็นแน่.
[๑๘๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดในใจของพราหมณ์โสณทัณฑะด้วย
พระหฤทัย แล้วทรงดำริว่า พราหมณ์โสณทัณฑะนี้ลำบากใจตัวเองอยู่ ถ้ากระไร เราพึงถาม
ปัญหาเขาในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์เขา ต่อแต่นั้น จึงได้ตรัสถามพราหมณ์โสณทัณฑะว่า
ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไร พวกพราหมณ์จึงบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อ
เขาจะกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์ ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย พราหมณ์
โสณทัณฑะดำริว่า เราได้ประสงค์จำนงหมายปรารถนาไว้แล้วว่า ถ้ากระไร ขอพระสมณโคดม
พึงตรัสถามปัญหาเรา ในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์เรา เราจะพึงแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์
ได้เป็นแน่นั้น เผอิญพระองค์ก็ตรัสถามปัญหาเรา ในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์เรา เราจัก
แก้ปัญหาให้ถูกพระทัยได้เป็นแน่ทีเดียว.