พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/12/17 18
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม แห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลัง ๕
ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวมฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. หิตสูตรที่ ๑
[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่าปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเองไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยปัญญาด้วยตนเองไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย
ตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง
ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
๕ ประการนี้แล ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. หิตสูตรที่ ๒
[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่าปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึง
พร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ
ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
วิมุตติญานทัสนะด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อ
ว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯ
จบสูตรที่ ๘