พระสุตตันตปิฎกไทย: 17/112/208 209

สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
เล่ม 17
หน้า 112
ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้เช่น นั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้นแท้ ก็แล จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร. จบ สูตรที่ ๓. ๔. อนุราธสูตร ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ ๕
[๒๐๘] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนคร เวสาลี. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค. ครั้งนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชก พากันเข้าไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระ อนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงได้กล่าวกะท่านอนุราธะว่า ดูกรท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นยอดบุรุษ ทรงถึง ความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ ในฐานะ ๔ นี้ คือสัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี ๑ ย่อมไม่เกิดอีก อีกก็หามิได้ ๑. เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูกรท่านทั้งหลาย พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นยอดบุรุษ ทรงถึง ความบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ ๔ เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้อง หน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ๑ ย่อมไม่เกิดอีก ๑ ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดก็มี ๑ ย่อมเกิดอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ๑. เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้ว ไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด. ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าว รุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะ หลีกไป.
[๒๐๙] เมื่ออัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มี ความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไร จึงจะ ชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าว ตามที่