พระสุตตันตปิฎกไทย: 22/11/15 16
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
กำลัง คือ สมาธิ ก็กำลัง คือปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กำลัง ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ทัฏฐัพพสูตร
[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือกำลัง คือ
ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือสมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา
๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่ไหน พึงเห็นในโสตาปัตติยังคะ
[องค์
เป็นเครื่องให้บรรลุความเป็นพระโสดา] ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ
วิริยะในที่ไหนพึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ วิริยะในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ
สติในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่นี้ พึงเห็นกำลังคือสมาธิ
ในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่
ไหน พึงเห็นในอริยสัจ ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕
ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. ปุนกูฏสูตร
[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ
ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือ สมาธิ ๑กำลัง คือ ปัญญา
๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล บรรดากำลัง ๕ประการนี้แล กำลัง คือ ปัญญา
เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม เหมือนสิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม เหมือน