สัทธรรมลำดับที่ : 1079
ชื่อบทธรรม : -การจบกิจแห่งอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-การจบกิจแห่งอริยสัจ--กำหนดด้วยความสมบูรณ์แห่ง ญาณสาม--๑. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประสริฐคือ ทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ), ว่า ๒. ความจริงอันประ-เสริฐคือ ทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้ (นี้ ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ), ว่า ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว (นี้ ท่านเรียกกันมา กตญาณ).--๒. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ), ว่า ๒. ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย (นี้ ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ), ว่า ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ ละเสียแล้ว (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ).--๓. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ), ว่า ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ ควรทำให้แจ้ง (นี้ ท่านเรียกกันว่ากิจจญาณ), ว่า ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้แจ้งแล้ว (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ).--๔. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า ๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ), ว่า ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ ควรทำให้เจริญ (นี้ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ), ว่า ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้เจริญแล้ว (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ).--ภิกษุ ท. ! ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง อัน มีรอบ (ปริวัฏฏ์) สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา อยู่เพียงใด; ตลอดกาลเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง อัน มีรอบ สาม มีอาการสิบสอบ เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ เป็นของบริสุทธิ์หมดจด--ด้วยดีแก่เรา; เมื่อนั้น เราปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.--ก็แหละ ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, ความเกิดนี้ เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย, บัดนี้ ความเกิดอีกอย่างไม่มี” ดังนี้.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๙-๕๓๐/๑๖๖๖-๑๖๗๐.--ภาคสรุป--ว่าด้วยข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ--จบ--คำชี้ชวนวิงวอน--ภิกษุ ท. ! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”--เทสิตํ โว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค--นิพพาน เราได้แสดงแล้ว, ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.--กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.--นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.--อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี--นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.--(มหาวาร. สํ. - สฬา. สํ.)--ภาคผนวก--ว่าด้วย--เรื่องนำมาผนวกเพื่อความสะดวกแก่การอ้างอิง--สำหรับเรื่องที่ตรัสซ้ำๆ บ่อยๆ--ภาคผนวก--มีเรื่อง ๒ หัวข้อ :---๑. ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย--๒. ลักษณะความสะอาด – ไม่สะอาดในอริยวินัย--ภาคผนวก--ว่าด้วย--เรื่องนำมาผนวก เพื่อความสะดวกแก่การอ้างอิง--สำหรับเรื่องที่ตรัสซ้ำ ๆ บ่อย ๆ--(มี ๒ หัวข้อ)--ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย--(ที่แสดงไว้โดยขันธ์สาม)--(ข้อความต่อไปนี้ เป็นคำของพระอานนท์ แต่ก็ตรงเป็นอันเดียวกันกับพระพุทธภาษิต ดังที่ทรงแสดงไว้ในสามัญญผลสูตร อัมพัฏฐสูตร โสณทัณฑสูตร เป็นต้น จึงถือว่ามีค่า เท่ากับพระพุทธภาษิต และนำมารวมไว้ในเรื่องจากพระโอษฐ์; หากแต่ถ้อยคำของพระอานนท์ เรียบเรียงไว้อย่างสะดวกง่ายดายแก่การอ้างอิงยิ่งกว่า จึงยกเอาสำนวนนี้มาใช้ในการอ้างอิง :-)--๑. ศีลขันธ์--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสีลขันธ์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดม ทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”--ตถาคตเกิดขึ้นในโลกแสดงธรรม--มาณพ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนก ธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.--กุลบุตรฟังธรรม ออกบวช--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลัง ก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.--โดยสมัยอื่นต่อมา เขา ละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.--แนวปฏิบัติสำหรับผู้บวชใหม่--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วย กายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.--ก. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นจุลศีล)--มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ เป็นคนสะอาด ไม่เป็นขโมยอยู่; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. เป็นผู้ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากการเสพเมถุนอันเป็นของชาวบ้าน; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูดควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. เป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้วไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ่ายนี้แตกร้าวกัน หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อให้ฝ่ายโน้นแตกร้าวกัน แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียง กันอยู่ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีใน--การพร้อมเพรียง เป็นคนพอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน ; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. เป็นผู้ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. เป็นผู้ละคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา; แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่งๆ .--ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการล้างผลาญพืชคามและภูตคาม. เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล. เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคม และการดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกแก่กุศล. เป็นผู้เว้นขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตกแต่งด้วยมาลา และของหอมและเครื่องลูบทา. เป็นผู้เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเงินและทอง. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าวเปลือก. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและเด็กหญิง. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทั้งผู้และเมีย. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับที่นา ที่สวน. เป็นผู้เว้นขาดจากการรับใช้เป็นทูต ไปในที่ต่างๆ (ให้คฤหัสถ์). เป็นผู้เว้นจากการซื้อและการขาย. เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การลวงด้วยของปลอมและการฉ้อด้วยเครื่องนับ (เครื่องตวงและเครื่องวัด). เป็นผู้เว้นขาดจากการโกง ด้วยการรับสินบนและล่อลวง. เป็นผู้เว้นขาดจาก การตัด การ--ฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้น และการกรรโชก. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่งๆ. (จบจุลศีล)--ข. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นมัชฌิมศีล)--(หมวดพีชคามภูตคาม)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังทำพีชคามและภูตคามให้กำเริบ กล่าวคือพืชที่ เกิดแต่ราก พืชที่เกิดแต่ต้น พืชที่เกิดแต่ผล พืชที่เกิดแต่ยอด และพืชที่เกิดแต่ เมล็ดเป็นที่ห้า. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการทำพีชคามและ ภูตคามเห็นปานนั้นให้กำเริบแล้ว. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดการบริโภคสะสม)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวกฉัน โภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้บริโภคสะสมอยู่ กล่าวคือสะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยานพาหนะ สะสมเครื่องนอน สะสมเครื่องหอม สะสมอามิส. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการบริโภคสะสมเห็นปาน นั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดดูการเล่น)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ประกอบการดูสิ่งแสดง อันเป็นข้าศึกต่อ กุศลอยู่ กล่าวคือการฟ้อน การขับ การประโคม ไม้ลอย การเล่านิยาย การปรบมือ ตีฆ้อง ตีกลอง ประดับบ้านเมือง กายกรรมจัณฑาล เล่นหน้าศพ--ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชนนกกระทา เพลงกระบอง มวยหมัด การรบ การตรวจพล การยกพล กองทัพ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการดูสิ่งแสดงอันเป็นข้าศึกต่อกุศลเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดการพนัน)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้น ยังเป็นผู้ตามประกอบการกระทำในการพนัน อัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทกันอยู่ กล่าวคือหมากรุก ๘ ตา หมากรุก ๑๐ ตา หมากเก็บ ชิงนาง หมากไหว โยนห่วง ไม้หึ่ง ฟาดให้เป็นรูปต่างๆ สะกา เป่าใบไม้ ไถน้อยๆ หกคะเมน กังหัน ตวงทราย รถน้อย ธนูน้อย เขียนทายกัน ทายใจ ล้อคนพิการ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการกระทำใน การพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีล ของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดที่นั่งนอนสูงใหญ่)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตามประกอบการนั่งนอนบนที่นั่งนอนสูง ใหญ่กันอยู่ กล่าวคือเตียงเท้าสูง เตียงเท้าคู้ เครื่องลาดขนยาว เครื่องลาดลายวิจิตร เครื่องลาดพื้นขาว เครื่องลาดลายดอกไม้ เครื่องลาดบุนุ่น เครื่องลาดมี รูปสัตว์ พรมขนตั้ง พรมขนเอน เครื่องลาดไหมแกมทอง เครื่องลาดไหมล้วน เครื่องลาดใหญ่สำหรับฟ้อน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาด--บนรถ เครื่องลาดหนังอชินะ เครื่องลาดหนังชะมด เครื่องลาดใต้เพดาน เครื่องลาดมีหมอนแดงสองข้าง. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากที่นั่งนอนสูงใหญ่เห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดประดับตกแต่งกาย)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตามประกอบการประดับตกแต่งร่างกายกันอยู่ กล่าวคือการอบ การนวด การอาบ การคลึง การส่องกระจก การหยอดตา พวงมาลา เครื่องกลิ่น เครื่องลูบทา ผัดหน้า ทาปาก กำไลมือ เกี้ยวผม ไม้ถือเล่น ห้อยกลักกล่อง ห้อยดาบ ห้อยพระขรรค์ ร่มสวย รองเท้าวิจิตร กรอบหน้า แก้วมณี พัดขนสัตว์ ผ้าขาวชายเฟื้อย. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการประดับตกแต่งร่างกายเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดดิรัจฉานกถา)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตามประกอบเดรัจฉานกถา (เรื่องขวางหนทาง ธรรมสำหรับบรรพชิต) กันอยู่ กล่าวคือเรื่องเจ้า เรื่องนาย เรื่องโจร เรื่องมหาอมาตย์ เรื่องเสนา เรื่องของน่ากลัว เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องมาลา เรื่องเครื่องกลิ่น เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องหญิง เรื่องชาย เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก เรื่องชุมนุม หญิงตักน้ำตามบ่อสาธารณะ เรื่องคนตายแล้ว เรื่องแปลกประหลาด เรื่องสนุก ของชาวโลก เรื่องของนักท่องสมุทร เรื่องความเจริญและความเสื่อม. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบเดรัจฉานกถาเป็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดการชอบทำความขัดแย้ง)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตามประกอบถ้อยคำเครื่องขัดแย้งกันอยู่ กล่าวคือขัดแย้งกันว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้อย่างไรได้ ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำ ของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ถ้อยคำของท่านไม่เป็นประโยชน์ เรื่องควรพูดก่อน ท่านเอามาพูดทีหลัง เรื่องควรพูดทีหลังท่านเอามาพูดก่อน ข้อที่ท่านเคย เชี่ยวชาญนั้นเปลี่ยนเป็นพ้นสมัยไปแล้ว วาทะของท่านถูกเพิกถอนแล้วถูกข่มขี่แล้ว จงเปลื้องวาทะของท่านเสียใหม่ หรือถ้าสามารถก็จงแยกแยะให้เห็น. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากถ้อยคำเครื่องขัดแย้งเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดการรับใช้เป็นทูต)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นผู้ตามประกอบในการไป เพราะถูกส่งไป เพื่อความเป็นทูต กันอยู่ กล่าวคือรับใช้พระราชา รับใช้อมาตย์ของพระราชา รับใช้กษัตริย์ รับใช้พราหมณ์ รับใช้คหบดี รับใช้เด็กๆ ที่ส่งไปด้วยคำว่า “ท่านจงไปที่นี้ ท่านจงไปที่โน้น ท่านจงนำสิ่งนี้ไปที่โน้น ท่านจงนำสิ่งนี้มา” ดังนี้เป็นต้น. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการตามประกอบในการไป เพราะถูกส่งไปเพื่อความเป็นทูตเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.--(หมวดโกหกหลอกลวงเพื่อลาภ)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังเป็นคนโกหก ใช้คำพิรี้พิไร การพูดล่อด้วย--เลศต่างๆ การพูดให้ทายกเกิดมานะมุทะลุในการให้ และการใช้ของ (มีค่าน้อย) ต่อเอาของ (มีค่ามาก). ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการโกหกหลอกลวงเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. (จบมัชฉิมศีล)--ค. อาการที่ถึงพร้อมด้วยศีล (ขั้นมหาศีล)--(หมวดการทำพิธีรีตอง)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชา กันอยู่ กล่าวคือทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายของตก ทำนายฝัน ทายลักษณะ การถูกหนูกัด โหมเพลิง เบิกแว่น ซัดแกลบ ซัดปลายข้าว ซัดข้าวสาร บูชาด้วยเปรียง บูชาด้วยน้ำมัน เจิมหน้า เซ่นด้วยโลหิต วิชาดูอวัยวะ ดูที่สวน ดูที่นา วิชาสะเดาะเคราะห์ วิชาขับผี วิชาดูพื้นที่ หมองู หมอดับพิษ หมอสัตว์กัดต่อย วิชาว่าด้วยหนู วิชาว่าด้วยนก วิชาว่าด้วยการ คำนวณอายุ กันลูกศร ดูรอยสัตว์. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดทายลักษณะ)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือทายลักษณะแก้วมณี ลักษณะผ้า ลักษณะไม้เท้า ลักษณะศาสตรา ลักษณะดาบ ลักษณะลูกศร ลักษณะธนู ลักษณะอาวุธ ลักษณะหญิง ลักษณะชาย ลักษณะเด็กชาย ลักษณะเด็กหญิง ลักษณะทาส ลักษณะทาสี ลักษณะช้าง ลักษณะม้า ลักษณะกระบือ ลักษณะโคอสุภ ลักษณะโค ลักษณะ--แพะ ลักษณะแกะ ลักษณะไก่ ลักษณะนกกระทา ลักษณะเหี้ย ลักษณะตุ่น ลักษณะเต่า ลักษณะเนื้อ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ก็เป็นศีลของ เธอประการหนึ่ง.--(หมวดทายฤกษ์การรบพุ่ง)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือการให้ฤกษ์ว่า พระราชาควรยกออก พระราชาไม่ ควรยกออก, พระราชาภายในจักรุก พระราชาภายนอกจักถอย, พระราชา ภายนอกจักรุก พระราชาภายในจักถอย, พระราชาภายในจักชนะ พระราชาภายนอกจักแพ้, พระราชาภายนอกจักชนะ พระราชาภายในจักแพ้, องค์นี้จักชนะ องค์นี้จักแพ้. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดทายโคจรแห่งนักษัตร)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือทำนายว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินในทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินนอกทาง ดาวนักษัตรจักเดินในทาง ดาวนักษัตรจักเดินนอกทาง จักมีอุกกาบาต จักมีฮูมเพลิง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง จักมีการขึ้น การตก การเศร้าหมอง การผ่องแผ้ว--ของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตร, จันทรคราส จักมีผลอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลอย่างนี้ นักขัตตคราส จักมีผลอย่างนี้ การเดินในทางของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์จักมีผลอย่างนี้ การเดินนอกทางของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ จักมีผลอย่างนี้ การเดินในทางของดาวนักษัตรจักมีผลอย่างนี้ การเดินนอกทางของดาวนักษัตร จักมีผลอย่างนี้ อุกกาบาตจักมีผลอย่างนี้ ฮูมเพลิงจักมีผลอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลอย่างนี้ การขึ้นการตกการเศร้าหมองการผ่องแผ้วของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และนักษัตร จักมีผลอย่างนี้. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดทำนายข้าวยากหมากแพง)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือทำนายว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง อาหารหาง่าย อาหารหายาก จักมีความเกษมสำราญ จักมีภัยอันตราย จักมีโรค จักไม่มีโรค โดยการคิดคำนวณ จากคัมภีร์สางขยะ กาเวยยะ โลกายตะ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาเห็น ปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดฤกษ์ยามและเข้าทรง)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือกำหนดฤกษ์อาวาหะ กำหนดฤกษ์วิวาหะ กำหนดฤกษ์--ประสานมิตร ฤกษ์แตกร้าวแห่งมิตร ฤกษ์รวมทรัพย์ ฤกษ์หว่านทรัพย์ พิธีกระทำ ให้เป็นคนเลี้ยงง่าย พิธีกระทำให้เป็นคนเลี้ยงยาก การกระทำให้ครรภ์พิรุธ ทำให้พูดไม่ได้ ทำให้คางแข็ง ทำให้มือติด ทำให้หูหนวก ทรงผีกระจกเงา ทรงผีด้วยเด็กหญิง ทรงผีถามเทพเจ้า บวงสรวงดวงอาทิตย์ บวงสรวงมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเรียกขวัญ. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย.แม้นี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.--(หมวดหมอผีหมอยา)--อีกอย่างหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่ทายกถวาย ด้วยศรัทธาแล้ว ท่านเหล่านั้นยังสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชากันอยู่ กล่าวคือพิธีกรรมเพื่อสันติสุข พิธีกรรมเพื่อความมั่นคง พิธีกรรมเกี่ยวกับแผ่นดิน พิธีกรรมเพื่อการขยายออกไป พิธีกรรมเพื่อความเป็นชายของกะเทย พิธีกรรมเพื่อความเป็นกะเทยของชาย พิธีกรรมพื้นที่ การประพรมพื้นที่ การพรมน้ำมนต์ การอาบน้ำมนต์ การประกอบยาให้ร้อน การประกอบยาให้อาเจียน การประกอบยาถ่าย ยาถ่ายโทษเบื้องบน ยาถ่ายโทษเบื้องต่ำ ยาถ่ายโทษในศรีษะ น้ำมันหยอดหู ยาหยอดตา ยานัตถุ์ ยาหยอด ยาหยอดเฉพาะ ยาแก้โรคตา การผ่าตัด หมอกุมาร การพอกยา การแก้ยาออก. ส่วนภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการเลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพเพราะเดรัจฉานวิชาเห็นปานนั้นเสีย. แม้นี้ ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. (จบมหาศีล) . . . .--มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยอาการอย่างนี้แล.--มาณพ ! นี้แล อริยศีลขันธ์นั้นที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ. (จบอริยศีลขันธ์) . . . .--๒.สมาธิขันธ์--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสมาธิขันธ์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” (หมวดอินทรียสังวร)--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ; อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสจะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.--(ในกรณีแห่งอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์ คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ในทำนองเดียวกัน).--....มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้แล.--(หมวดสติสัมปชัญญะ)--มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยหลังกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฎิบาตรจีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไปการหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.--....มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้แล.--(หมวดสันโดษ)--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อมถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลีกไปได้โดยทิศนั้นๆ.--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้.--....มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้สันโดษ ด้วยอาการอย่างนี้แล.--(หมวดเสนาสนะสงัด - ละนิวรณ์)--ภิกษุนั้น ประกอบด้วย อริยสีลขันธ์ นี้ด้วย ประกอบด้วย อริยอินทรียสังวร นี้ด้วย ประกอบด้วย อริยสติสัมปชัญญะ นี้ด้วย ประกอบด้วย อริยสันตุฏฐิ นี้ด้วย แล้ว, เธอ เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง), ในเวลาภายหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ละอภิชฌาโลภะ แล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ คอยชำระจิตจากอภิชฌา; ละพยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้ายแล้ว มีจิตปราศจากพยาบาทอยู่ เป็นผู้กรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย; ละถีนมิทธะ แล้ว มีจิตปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีสติรู้สึกตัวทั่วพร้อม คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ; ละอุทธัจจกุกกุจจะ แล้ว ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายในอยู่ คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ; ละวิจิกิจฉา แล้ว ก้าวล่วงวิจิกิจฉาเสียได้อยู่ ไม่ต้องกล่าวว่านี่อะไร นี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา.--มาณพ ! เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่ง กู้หนี้เขา ไปทำการงานสำเร็จผลใช้หนี้ต้นทุนเดิมหมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยาได้ถมไป; เขาคงคะนึงถึงโชคลาภว่า “เมื่อก่อนเรากู้หนี้เขาไปทำการงานสำเร็จผล ใช้ต้นทุนเดิมหมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยาได้ถมไป” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิง ใจโสมนัสเพราะข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อย่างหนึ่ง) ,--มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ป่วยไข้หนัก ทนทุกข์ อาหารไม่ตก กำลังน้อย. ครั้นเวลาอื่นเขาหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลัง--ก็มี; เขาต้องนึกถึงกาลเก่าว่า “เมื่อก่อน เราป่วยไข้หนัก ทนทุกข์ อาหารก็ไม่ตก กำลังน้อยลง บัดนี้เราหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มีมา” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง) ,--มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ติดเรือนจำ ครั้นเวลาอื่นเขาหลุดจากเรือนจำโดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์; เขาต้องนึกถึงกาลเก่า อย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เราติดเรือนจำ บัดนี้ เราหลุดมาได้โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์ ” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง) ,--มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง เป็นทาสเขา พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้, ครั้นถึงสมัยอื่น เขาพ้นจากการเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้; เขาต้องนึกถึงกาลเก่า อย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้ ครั้นถึงสมัยอื่น เขาพ้นจากการเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัส เพราะข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง) ,--มาณพ ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง นำทรัพย์เดินทางไกล อันกันดาร ภิกษาหายาก ประกอบด้วยภัย ครั้นสมัยอื่น พ้นทางกันดารได้โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย (ไม่ต้องสียโภคทรัพย์). เขาต้องนึกถึงกาลเก่า อย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเรานำทรัพย์เดินทางไกล อันกันดาร ภิกษาหายาก--ประกอบด้วยภัย ครั้นบัดนี้ เราพ้นทางกันดารได้โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะ ข้อนั้นป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง) ,--มาณพ ! ภิกษุ พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการ ที่ตนยังละไม่ได้ว่าเป็นเช่นกับการกู้หนี้ เช่นกับการเป็นโรค เช่นกับการติดเรือนจำ เช่นกับการเป็นทาส และการนำทรัพย์ข
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที.9/252-272/318-337.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที.๙/๒๕๒-๒๗๒/๓๑๘-๓๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 94
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site