สัทธรรมลำดับที่ : 1049
ชื่อบทธรรม : -หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป
เนื้อความทั้งหมด :-หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป--ตัวอย่าง ก. เกี่ยวกับอกุศลศีล--ถปติ ! อกุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! อกุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! อกุศลศีลดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลศีล : นั่น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ตัวอย่าง ข. เกี่ยวกับกุศลศีล--ถปติ ! กุศลศีลเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! กุศลศีลมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! กุศลศีลดับไม่เหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลศีล : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ตัวอย่าง ค. เกี่ยวกับอกุศลสังกัปปะ--ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! อกุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็น สิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! อกุศลสังกัปปะดับไปไม่มีเหลือ ในที่นี้ ๆ : นั่นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ตัวอย่าง ง. เกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ--ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! กุศลสังกัปปะมีสิ่งนี้ๆ เป็นสมุฏฐาน : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! กุศลสังกัปปะดับไม่เหลือ ในที่นี้ๆ : นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.--ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติเพื่อดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะ นั่นเรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ควรรู้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/346/361.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๓๔๖/๓๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1050
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาจะสังเกตเห็นได้เองว่า หลักการศึกษาตามแบบของอริยสัจสี่ซึ่งแยกออกไป ได้ว่า คืออะไร? จากอะไร ? เพื่ออะไร ? โดยวิธีใด ? ดังนี้นั้น ใช้เป็นหลักศึกษาธรรมะ อะไรก็ได้ ดังในตัวอย่างเหล่านี้).--อริยสัจสี่เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์--ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์.--ภิกษุ ท. ! สัทธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สัทธินทรีย์ เห็นได้ใน โสตาปัตติยังคะสี่.--ภิกษุท ท. ! วิริยินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? วิริยินทรีย์ เห็นได้ใน สัมมัปปธานสี่.--ภิกษุ ท. ! สตินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สตินทรีย์ เห็นได้ในสติปัฏฐานสี่.--ภิกษุ ท. ! สมาธินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? สมาธินทรีย์ เห็นได้ใน ฌานสี่.--ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ จะเห็นได้ในที่ไหนเล่า ? ปัญญินทรีย์ เห็นได้ใน อริยสัจสี่.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ อย่าง. . . . .-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/259/852-857.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๙/๘๕๒-๘๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1051
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์--ภิกษุ ท. ! ปัญญินทรีย์ เป็นอย่างไรเล่า? ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้มีปัญญา ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงซึ่งสัจจะแห่งการเกิดดับอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. อริยสาวกนั้น รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! การรู้นี้ เรากล่าวว่าปัญญินทรีย์.๑-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/263/869.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๓/๘๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1052
ชื่อบทธรรม : -[ในสูตรอื่น ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ ไว้ว่า :-]
เนื้อความทั้งหมด :-[ในสูตรอื่น ได้ทรงแสดง ลักษณะแห่งปัญญินทรีย์ ไว้ว่า :-]--สารีบุตร ! . . . . อริยสาวกจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้นที่สุดย่อมไม่ปรากฏ แก่สัตว์ทั้งปลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังเล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้น มีอยู่; นั่น เป็นบทที่สงบ นั่น เป็นบทที่ประณีต, กล่าวคือ เป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้น ของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็นปัญญินทรีย์ของเธอนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/300/1020.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๐๐/๑๐๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1053
ชื่อบทธรรม : -เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
เนื้อความทั้งหมด :-เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ--(ไม่เกี่ยวกับตัณหาเหมือนจตุพิธพรของชาวบ้าน)--ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยแห่งบิดาตน ก็--๑. ในสูตรอื่น (๒๒/๑๒/๑๕) แทนที่จะเรียกว่าปัญญินทรีย์ ตรัสเรียกว่าปัญญาพละก็มี ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน. ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน. และเนื้อความแห่งหัวข้อนี้ มีความเนื่องกันมาจากหัวข้อที่แล้ว.--จักเจริญแม้ด้วยอายุ แม้ด้วยวรรณะ แม้ด้วยสุขะ แม้ด้วยโภคะ แม้ด้วยพละ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ. (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับ การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการรักษา). ภิกษุนั้น, เพราะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ประการเหล่านี้, เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดเวลากัปป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัปป์. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุเป็นผู้ มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้เป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ เข้าถึงปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน . . . . แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, แผ่ไปยังทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง แผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท อยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า พละ สำหรับภิกษุ ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า พละสำหรับภิกษุ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/85/50.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๘๕/๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1054
ชื่อบทธรรม : -การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
เนื้อความทั้งหมด :-การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์--เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้. สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์.--(๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน,--หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้. เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี๑ มีอยู่ ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !”--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.--(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. . . . . ฯลฯ . . . . กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่), เกวัฏฏะ ! ท่าน--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ.--จะเข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ? “พึงตอบได้ , พระองค์ !”--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.--(๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ, จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.--เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้า--กระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้. โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ.--เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า? เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.--(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วยจุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร – สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ – การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน - จตุตถฌาน – ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต – เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์ อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึงอาสวักขยญาณซึ่งมีข้อความว่า :-)--เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่น--ไหว เช่นนี้แล้ว, เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น, เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้; ฉันใดก็ฉันนั้น. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.--เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/273 - 276/339 - 242.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1055
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจ (หรือโลกสัจ)
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจ (หรือโลกสัจ)--ทรงบัญญัติไว้ในกายที่ยังมีสัญญาและใจ--ภิกษุ ท. ! เราได้กล่าวกะโรหิตัสสเทวบุตรนั้นว่า “แน่ะเธอ ! ที่ สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ, เราไม่กล่าว--การรู้ การเห็น การถึงที่สุดโลกนั้น เพราะการไป. แน่ะเธอ ! เมื่อยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว เราย่อมไม่กล่าวซึ่งการกระทำที่สุดแห่งทุกข์. แน่ะเธอ ! ในกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุเกิดของโลก ความดับไม่เหลือของโลก และทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกไว้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/64/46.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๔/๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1056
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจ ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจมีเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจ ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจมีเวทนา--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยซึ่งธาตุ ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ ย่อมมี; เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่, นามรูป ย่อมมี; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. ภิกษุ ท. ! เราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้; ว่า “นี้ เป็นเหตุเกิดของความทุกข์” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นความดับไม่เหลือของความทุกข์” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นทางให้ถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์” ดังนี้ ; แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา.--(ต่อไปได้ตรัสรายละเอียด ของอริยสัจทั้งสี่ หาดูได้ในภาคนำ แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หัวข้อว่า “อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร (นัยที่สอง)” หน้า ๑๓๘).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/227/501.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1057
ชื่อบทธรรม : -เวทนาโดยปัจจัยสี่สิบเอ็ดชนิด
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงอันนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ ต้อง มีการเสวยเวทนาจริงๆ จึงจะเห็นทุกขอริยสัจที่เกิดจากตัณหาอันเกิดจากเวทนานั้น และความที่ ทุกข์ดับไปในขณะที่ตัณหาดับไปในเวทนานั้น ในเมื่อจิตประกอบอยู่ด้วยธัมมสมังคีแห่งอัฏฐัง--คิกมรรค โดยอัตโนมัติ; ดังนั้น ถ้าปราศจากเวทนาเสียเพียงอย่างเดียวแล้ว อริยสัจสี่ก็ยัง มิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง; ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า “อริยสัจ ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจเสวย เวทนา” ดังนี้ โดยนัยดังที่พระพุทธองค์ตรัสแล้วข้างบน).--เวทนาโดยปัจจัยสี่สิบเอ็ดชนิด--ภิกษุ ท. ! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ. เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า :---“เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาทิฏฐิ บ้าง; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาทิฏฐิบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาทิฏฐิ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาทิฏฐิบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสังกัปปะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาสังกัปปะบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสังกัปปะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาสังกัปปะบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวาจา บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาวาจาบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวาจา บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาวาจาบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉากัมมันตะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉากัมมันตะบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมากัมมันตะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมากัมมันตะบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาอาชีวะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาอาชีวะบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาอาชีวะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาอาชีวะ บ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาวายามะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาวายามะ บ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาวายามะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาวายาะบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสติ บ้าง ; - ความเข้าไป สงบรำงับ แห่งมิจฉาสติบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสติ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาสติบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ มิจฉาสมาธิ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งมิจฉาสมาธิบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัมมาสมาธิ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัมมาสมาธิบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งฉันทะบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ วิตก บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งวิตกบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ สัญญา บ้าง ; - ความเข้าไปสงบรำงับ แห่งสัญญาบ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และสัญญาที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับ บ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ ฉันทะ วิตก และสัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้ว บ้าง ;--เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือ การบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึง บ้าง” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/17/50.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๗/๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1058
ชื่อบทธรรม : -ผู้รู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้รู้อริยสัจ--ไม่จำเป็นต้องแตกฉานอภิธรรมและรวยลาภ--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงม้าแกลบ ๑ ๓ ชนิด และบุรุษพริก ๒ ๓ ชนิด.--ภิกษุ ท. ! ม้าแกลบ ๓ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ม้าแกลบบางตัวในกรณีนี้ มีความเร็ว ไม่มีสีสวย ไม่มีรูปร่างขึงขัง ; บางตัวมี ความเร็ว มีสีสวย แต่ไม่มีรูปร่างขึงขัง; บางตัวมีความเร็ว มีสีสวย มีรูปร่าง ขึงขัง. ภิกษุ ท. ! นี่แหละ ม้าแกลบ ๓ ชนิด.--๑. คำนี้บาลีว่า อสฺสุขลุงฺก เคยแปลกันมาว่าม้ากระจอก แต่เห็นว่าไม่สมกับเค้าเรื่อง เพราะม้ากระจอกขาเขยกวิ่งไม่ได้เร็ว และจะมีความสง่าผ่าเผยขึงขังไม่ได้ จึงไม่แปลว่าม้ากระจอก แต่แปลว่า ม้าแกลบ คือม้าพันธุ์เล็กรองจากม้าพันธุ์สินธพ.--๒. คำนี้บาลีว่า ปุริสขลุงฺก ก็เคยแปลกันมาว่า บุรุษกระจอก ซึ่งไม่เข้ากับเรื่องราวที่แสดง เพราะคนกระจอกงอกง่อยจะมีลักษณะอย่างนั้นไม่ได้ เชื่อว่าหมายถึงคนร่างเล็กพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีสมรรถนะสูง ในที่นี้จึงแปลว่า คนพริกโดยโวหารในภาษาไทยว่า “ถึงเล็กก็เล็กพริก” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก ๓ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุรุษพริกบางคน มีความเร็ว (ชวสมฺปนฺน) แต่ไม่มีผิวพรรณ (น วณฺณสมฺปนฺน) ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย (น อาโรหปริณาหสมฺปนฺน); บางคนมีความเร็ว มีผิวพรรณ แต่ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย; บางคนมีความเร็วด้วย มีผิวพรรณด้วย มีท่าทางสง่าผ่าเผยด้วย.--ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก มีความเร็ว แต่ไม่มีผิวพรรณ ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตาม เป็นจริง ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ : นี้เป็นความเร็วของเธอ; แต่เมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย ก็นิ่ง ตอบไม่ได้ : นี้เป็นความไม่มีผิวพรรณของเธอ; และเป็นผู้ไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริกขารทั้งหลาย : นี้เป็นความไม่สง่าผ่าเผย ของเธอ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริก ที่มีความเร็ว แต่ไม่มีผิวพรรณ ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย.--ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก มีความเร็ว มีผิวพรรณ แต่ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็น จริง ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ : นี้เป็นความเร็วของเธอ; และเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย ก็ตอบได้ ไม่นิ่ง : นี้เป็นความีผิวพรรณของเธอ; แต่เป็นผู้ไม่รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจยเภสัชชบริกขารทั้งหลาย : นี้เป็นความไม่สง่าผ่าเผยของเธอ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริกผู้มีความเร็ว มีผิวพรรณ แต่ไม่มีท่าทางสง่าผ่าเผย.--ภิกษุ ท. ! บุรุษพริก มีความเร็วด้วย มีผิวพรรณด้วย มีท่าทาง สง่าผ่าเผยด้วย นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้ : นี้เป็นความเร็วของเธอ ; และเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรมในอภิวินัย เธอก็ตอบได้ ไม่นิ่ง : นี้เป็นความมีผิวพรรณของเธอ ; และเธอนั้นเป็นผู้รวยลาภด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริกขารทั้งหลาย : นี้เป็นความสง่าผ่าเผยของเธอ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุรุษพริกที่มีความเร็วด้วย มี ผิวพรรณด้วย มีท่าทางสง่าผ่าเผยด้วย.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุรุษพริก ๓ ชนิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/370/580.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๗๐/๕๘๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1059
ชื่อบทธรรม : -จงกระทำเหตุทั้งภายในและภายนอก
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า บุรุษพริกประเภทที่หนึ่งรู้อริยสัจ แต่ไม่อาจตอบปัญหาในอภิธรรมอภิวินัย และไม่รวยด้วยลาภ. ข้อนี้เป็นเครื่องแสดงอยู่แล้วว่า การรู้อริยสัจนั้นมิได้เนื่องอยู่กับการรู้อภิธรรมอภิวินัยและรวยลาภ).--จงกระทำเหตุทั้งภายในและภายนอก--ก. เหตุภายใน--ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุเสขะผู้มีความปรารถนาแห่งใจอันยังไม่บรรลุ ยังปรารถนาอนุตตรโยคักเขมธรรมอยู่นั้น เราไม่มองเห็นองค์ธรรมอื่นแม้หนึ่ง--ซึ่งเมื่อกระทำให้เป็นองค์ธรรมในภายในแล้ว จะมีอุปการะมาก เหมือนอย่าง โยนิโสมนสิการ นี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุกระทำโยนิโสมนสิการอยู่ ย่อมละอกุศล และทำกุศลให้เจริญ.--โยนิโสมนสิการธรรม มีอยู่สำหรับภิกษุผู้เสขะ, ไม่มีธรรมอื่นมีอุปการะมากเหมือนอย่างนั้น สำหรับการบรรลุประโยชน์อันสูงสุด. ภิกษุตั้งจิตไว้โดยแยบคาย พึงบรรลุความสิ้นไปแห่งทุกข์.--ข. เหตุภายนอก--ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุเสขะผู้มีความปรารถนาแห่งใจอันยังไม่บรรลุ ยังปรารถนาอนุตตรโยคักเขมธรรมอยู่นั้น เราไม่มองเห็นองค์ธรรมอื่นแม้หนึ่ง ซึ่งเมื่อ กระทำให้เป็นองค์ธรรมในภายนอก แล้ว จะมีอุปการะมาก เหมือน อย่าง กัล๎ยาณมิตตตา นี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมละอกุศล และทำกุศลให้เจริญ.--ภิกษุใด มีกัลยาณมิตรเป็นที่พึ่งเป็นที่เคารพ กระทำตามคำของมิตรอยู่ อย่างรู้สึกตัว อย่างมีสติ, ภิกษุนั้น พึงบรรลุ ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง โดยลำดับ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/236, 237/194, 195.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๓๖, ๒๓๗/๑๙๔, ๑๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1060
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค--ในฐานะเพชรพลอยเม็ดหนึ่งแห่งพระศาสนา--ปหาราทะ ! มหาสมุทร มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะเป็นอเนก ในมหาสมุทรนั้น มีรัตนะเหล่านี้คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ แก้วศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง โกเมน (โลหิตงฺก) แก้วลาย (มสารคลฺล) ฉันใด : ปหาราทะ ! ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะ เป็นอเนก; ในธรรมวินัยนั้น มีรัตนะเหล่านี้คือ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด.--ปหาราทะ ! ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะเป็นอเนก ธรรมวินัยนี้จึงเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ไม่เป็นสิ่งธรรมดา เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ย่อมยินดีอย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/206/109.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๐๖/๑๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1061
ชื่อบทธรรม : -พระคุณของผู้ที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่
เนื้อความทั้งหมด :-พระคุณของผู้ที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่--อานนท์ ! บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว หมดความสงสัยในทุกข์ หมดความสงสัยในทุกขสมุทัย หมดความสงสัยในทุกขนิโรธ หมดความสงสัย ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา; การที่จะทำปฏิการคุณแก่บุคคลนั้น ด้วยการ อภิวาท ด้วยการลุกรับ ด้วยการทำอัญชลี ด้วยการทำสามีจิกรรม ด้วยการให้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชชบริขาร นั้น เราไม่กล่าวว่าเป็นการกระทำปฏิการคุณที่สมกัน (สุปฏิการ).--(เพราะว่าการทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่นั้น เป็นการให้ทางฝ่ายจิตฝ่ายวิญญาณ. ส่วน การตอบแทนด้วยกิริยาอาการและวัตถุสิ่งของนี้ เป็นการให้ฝ่ายวัตถุ จึงไม่เป็นการตอบแทนที่ สมควรแก่กัน. มีทางที่จะตอบแทนให้สมควรแก่กันก็คือ การช่วยให้ผู้อื่นรู้อริยสัจเช่นนั้นต่อๆ กันไปอีก).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/458/709.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๕๘/๗๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 92
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site