สัทธรรมลำดับที่ : 1042
ชื่อบทธรรม : -การเรียนปริยัติ มิใช่การรู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-การเรียนปริยัติ มิใช่การรู้อริยสัจ--ภิกษุ ท. ! บุคคลเปรียบด้วย เมฆฝน ๔ จำพวก เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ อย่างไรเล่า? สี่ คือ บุคคลเปรียบเหมือนเมฆฝนที่คำรามแล้วไม่ตก ๑ ที่ตกแต่ไม่คำราม ๑ ทั้งไม่คำรามและไม่ตก ๑ ทั้งคำรามทั้งตก ๑.--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ ” ดังนี้ : ภิกษุ ท. ! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่คำรามแล้วไม่ตก.--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ : ภิกษุ ท. ! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่ตกแต่ไม่คำราม.--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ : ภิกษุ ท. ! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่ทั้งไม่คำรามและไม่ตก.--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ด้วย; และเขารู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้ๆ, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ด้วย : ภิกษุ ท. ! เราเรียก บุคคลนี้ ว่า เปรียบด้วยเมฆฝนที่ทั้งคำรามทั้งตก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/136/102.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓๖/๑๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1043
ชื่อบทธรรม : -เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง--ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่น (๒๑/๑๓๘/๑๐๓) ตรัสเปรียบลักษณะอาการสี่อย่างแห่งข้อความข้างบนนี้ ด้วย หม้อสี่ชนิด คือหม้อเปล่า – ปิด เปรียบด้วยภิกษุไม่รู้อริยสัจแต่มีสมณสารูป ; หม้อเต็ม – เปิด คือรู้อริยสัจแต่ไม่มีสมณสารูป ; หม้อเปล่า – เปิด คือไม่รู้อริยสัจและไม่มีสมณสารูป ; หม้อเต็ม – ปิด คือรู้อริยสัจและมีสมณสารูป.--ในสูตรอื่น (๒๑/๑๔๐/๑๐๔) ตรัสเปรียบด้วย ห้วงน้ำสี่ชนิด คือห้วงน้ำตื้น เงาลึก = ไม่รู้อริยสัจแต่มีสมณสารูป ; ห้วงน้ำลึก เงาตื้น = รู้อริยสัจ แต่ไม่มีสมณสารูป ; ห้วงน้ำตื้น เงาตื้น = ไม่รู้อริยสัจ และไม่มีสมณสารูป; ห้วงน้ำลึก เงาลึก = รู้อริยสัจและมีสมณสารูป.--ในสูตรอื่น (๒๑/๑๔๒/๑๐๕) ตรัสเปรียบด้วย มะม่วงสี่ชนิด คือมะม่วงดิบ สีเหมือนสุก ได้แก่ ไม่ได้รู้อริยสัจ แต่มีสมณสารูป ; มะม่วงสุก สีเหมือนดิบ ได้แก่ รู้อริยสัจ แต่ไม่มีสมณสารูป; มะม่วงดิบ สีเหมือนดิบ ได้แก่ ไม่รู้อริยสัจและไม่มีสมณสารูป ; มะม่วงสุก สีเหมือนสุก ได้แก่ รู้อริยสัจและมีสมณสารูป.--ผู้สนใจในส่วนรายละเอียด ดูได้จากที่มานั้นๆ ).--เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง--ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว--(ข้อปฏิบัติของกุลบุตรผู้บวชแล้ว ดำเนินมาตั้งแต่ ถึงพร้อมด้วยศีล สันโดษ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะสงัด ละนิวรณ์ห้า บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อจุตูปปาตญาณ :-)--ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว น้อมจิตไปเพื่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. เธอย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ; เหล่านี้ อาสวะ, นี้ เหตุให้เกิด อาสวะ, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ หนทางเข้าถึงความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ” ดังนี้ : พราหมณ์ ! แม้ (อาสวักขยญาณ) นี้ เราก็เรียกว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยแซะงาแห่งตถาคต”๑ บ้าง; แต่อริยสาวกนั้น ก็ยังไม่ถึงซึ่งความแน่ใจก่อนอยู่นั่นเอง แต่ กำลังจะถึงความแน่ใจ ว่า “พระผู้มีพระภาค เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ, พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ, สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ” ดังนี้.--เมื่ออริยสาวกนั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” ดังนี้; ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้กระทำสำเร็จแล้ว, กิจอื่นที่ต้องกระทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. พราหมณ์ ! แม้ (ความหลุดพ้น) นี้ เราก็เรียกว่า “รอยเท้าแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยสีตัวแห่งตถาคต” บ้าง, ว่า “รอยแซะ--๑. สูตรนี้ตรัสเปรียบพระองค์เองด้วยช้างมหานาคในป่า ซึ่งมีผู้ติดตามหาตามลำดับด้วยการปฏิบัติธรรมะมาตามลำดับ บรรลุธรรมตามลำดับ จนบรรลุอาสวักขยญาณ ซึ่งเปรียบด้วยการเห็นรอยเท้าที่พื้นดิน เห็นรอยสีตัวที่ต้นไม้ เห็นรอยแซะงาที่กิ่งไม้; และจะได้พบตัวช้างคือพระองค์ ในอันดับที่มีการหลุดพ้นจากอาสวะแล้วเท่านั้น.--งาแห่งตถาคต” บ้าง. พราหมณ์ ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ ถึงแล้วซึ่งความแน่ใจ ว่า “พระผู้มีพระภาค เป็นสัมมาสัมพุทธะ, พระธรรม เป็นส๎วากขาตะ, สาวกสงฆ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นสุปฏิปันนะ” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/347/338.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๔๗/๓๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1044
ชื่อบทธรรม : -ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ ต้องเป็นธัมมาธิปไตย
เนื้อความทั้งหมด :-ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ ต้องเป็นธัมมาธิปไตย--ภิกษุ ท. ! ธัมมาธิปไตย (ความมีธรรมเป็นใหญ่) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปสู่ป่าก็ตาม โคนไม้ก็ตาม หรือเรือนว่างก็ตาม พิจารณาเห็นอยู่ว่า “เราออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน เพราะเหตุจะได้จีวรก็หามิได้ เพราะเหตุจะได้บิณฑบาตก็หามิได้ เพราะเหตุจะได้เสนาสนะก็หามิได้ เพราะเหตุจะได้เป็นอย่างนั้นจะได้เป็นอย่างนี้ก็หามิได้ ; แต่ว่า เราบวชแล้วโดยพิจารณาเห็นว่า “เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส หยั่งเอาแล้ว เป็นผู้มีทุกข์หยั่งลงแล้ว มีทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว, ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏแก่เรา” ดังนี้. อนึ่ง พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน : สพรหมจารีผู้รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งธรรมนั้น ว่าเป็นดังนี้ก็มีอยู่. ก็ เราบวชแล้วในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ จะเป็นผู้เกียจคร้าน ประมาทอยู่ : ข้อนั้นไม่สมควรแก่เรา” ดังนี้. ภิกษุนั้นพิจารณาอยู่ว่า “ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักเป็นความเพียรไม่ย่อหย่อน, สติที่เข้าไปตั้งไว้แล้วจักไม่--หลงลืม, กายอันรำงับแล้ว ไม่กำเริบ, จิตตั้งมั่นแล้ว มีอารมณ์อันเดียว,” ดังนี้. ภิกษุนั้น กระทำพระธรรมให้เป็นใหญ่ ละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมที่ มีโทษเจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ธัมมาธิปไตย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/188/479.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๘๘/๔๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1045
ชื่อบทธรรม : -การแทงตลอดอริยสัจ--เป็นงานละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการแทงทะลุขนทรายด้วยขนทราย
เนื้อความทั้งหมด :-(อธิปไตยอย่างอื่นก็มีอยู่ คือปรารภประโยชน์ตนแล้วประพฤติไม่ย่อหย่อน เรียกว่าอัตตาธิปไตย; และปรารภการติเตียนของผู้อื่นแล้วประพฤติไม่ย่อหย่อน เรียกว่าโลกาธิปไตย. ทั้งสองอย่างนี้ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่ควรถือเอาเป็นเครื่องเกื้อหนุนการปฏิบัติ; แต่ให้ถือเอา ธัมมาธิปไตยดังที่กล่าวแล้วข้างบน เป็นเครื่องเกื้อหนุนการปฏิบัติ จึงจะถูกต้องตามหลักของการทำที่สุดทุกข์ในพระพุทธศาสนา หรือตรงตามพระพุทธประสงค์).--การแทงตลอดอริยสัจ--เป็นงานละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการแทงทะลุขนทรายด้วยขนทราย--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อเช้านี้ ข้าพระองค์ ครองจีวรถือบาตรเข้าไป บิณฑบาตในเมืองเวสาลี ได้เห็นพวกลิจฉวีกุมารเป็นอันมาก ทำการฝึกยิงศรอยู่ที่สัณฐาคาร ยิงลูกศรรอดช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกล ลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย; ครั้นเห็นแล้ว ข้าพระองค์คิดว่า ลิจฉวีกุมารเหล่านี้ ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วหนอ คือข้อที่สามารถยิงลูกศรรอด ช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกล ลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย”--อานนท์ ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : อย่างไหนทำได้ยากหรือมีได้ยากกว่ากัน คือข้อที่คนยิงลูกศรรอดช่องดาลที่เจาะไว้แต่พอดีจากที่ไกล ลูกไหนลูกนั้นไม่มีผิดเลย กับคนที่แทงทะลุปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่ผ่าแล้วเจ็ดแล่ง ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ทำได้ยากกว่า มีได้ยากกว่า คือข้อที่คนแทง ทะลุปลายขนทราบด้วยปลายขนทรายที่ผ่าแล้วเจ็ดแล่ง”--อานนท์ ! ยังมีคนผู้แทงตลอด ซึ่งการแทงตลอดอันยากไปกว่า, คือบรรดา คนที่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจตามที่เป็นจริง ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/565/1738.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๕/๑๗๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1046
ชื่อบทธรรม : -การปฏิบัติอริยสัจ ไม่มีทางที่จะขัดต่อหลักกาลามสูตร
เนื้อความทั้งหมด :-การปฏิบัติอริยสัจ ไม่มีทางที่จะขัดต่อหลักกาลามสูตร--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มาสู่เกสปุตตนิคมนี้ แสดงวาทะอันเป็นลัทธิแห่งตน กล่าวบริภาษข่มขี่ครอบงำย่ำยีวาทะอันเป็นลัทธิอันเป็นของ สมณพราหมณ์เหล่าอื่น แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นมาอีก ก็ยกย่องลัทธิของตน ข่มขี่ลัทธิ ของสมณพราหมณ์เหล่าอื่นเช่นเดียวกันอีก. พวกข้าพระองค์มีความข้องใจ มีความสงสัย ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกไหนพูดจริง พวกไหนพูดเท็จ พระเจ้าข้า !”--กาลามเอ๋ย ! ควรแล้วที่ท่านจะข้องใจ ควรแล้วที่ท่านจะสงสัย, ความสงสัยของท่านเกิดแล้ว ในฐานะที่ควรข้องใจ.--(ก. ฝ่ายอกุศล)--กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :---อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน (ตกฺกเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางนัยะสันนิฏฐาน (นยเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณโน ครุ).--กาลาม ท. ! เมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ด้วยตนเองว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล, ธรรมเหล่านี้ มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนติเตียน, ธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล,” ดังนี้แล้ว; เมื่อนั้น ท่าน พึงละธรรมเหล่านั้นเสีย.--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ความโลภ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูลหรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? “เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นโลภแล้ว ความโลภครอบงำแล้ว ความโลภกลุ้มรุมจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมล่วงเกินภรรยา ผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้นบ้าง ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : โทสะ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูลหรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? “เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นมีโทสะแล้ว โทสะครอบงำแล้ว โทสะกลุ้มรุมจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมล่วงเกินภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้นบ้าง ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : โมหะ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูลหรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? “เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นมีโมหะแล้ว โมหะครอบงำแล้ว โมหะกลุ้มรุมจิตแล้ว ย่อมฆ่าสัตย์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมล่วงเกินภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้นบ้าง ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ธรรมทั้งหลาย (ตามที่กล่าวมา) เหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ? “เป็นอกุศล พระเจ้าข้า !”--มีโทษหรือไม่มีโทษ ? “มีโทษ พระเจ้าข้า !” วิญญูชนติเตียน หรือวิญญูชน สรรเสริญ ? “วิญญูชนติเตียน พระเจ้าข้า !” เมื่อประพฤติกระทำเต็มตามมาตรฐาน ของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล หรือไม่ ? หรือว่าในเรื่องนี้ท่านมีความเห็นอย่างไร ? “เมื่อประพฤติกระทำเต็มตามมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ในเรื่องนี้พวกข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! เรา (อาศัยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างบนทั้งหมดนั้น) จึงกล่าวข้อความที่กล่าวว่า “กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :---อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางตรรก (ตกฺกเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางนัยะ (นยเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ(อาการปริวิตกฺก) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน(สมโณโน ครุ).--กาลาม ท. ! เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า “ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล, ธรรมเหล่านี้ มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนติเตียน, ธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล” ดังนี้แล้ว ; เมื่อนั้น ท่านถึงละธรรมเหล่านั้นเสีย” ดังนี้ ซึ่งเรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุผลข้างต้นนั้น.--( ข. ฝ่ายกุศล)--กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :---อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางตรรกคาดคะเน (ตกฺกเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่า การใช้เหตุผลทางนัยะสันนิฏฐาน (นยเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณโน ครุ).--กาลาม ท. ! เมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ด้วยตนเองว่า “ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล, ธรรมเหล่านี้ ไม่มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนสรรเสริญ, ธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์ เกื้อกูล,” ดังนี้แล้ว; เมื่อนั้น ท่าน พึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น แล้วแลอยู่เถิด.--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ความไม่โลภ เกิดขึ้นในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? “เพื่อประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นไม่โลภแล้ว ความโลภไม่ครอบงำแล้ว ความโลภไม่กลุ้มรุมจิตแล้ว เขาย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : อโทสะ เกิดขึ้น ในบุคคลแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? “เพื่อประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นไม่มีโทสะแล้ว โทสะไม่ครอบงำแล้ว โทสะไม่กลุ้มรุมจิตแล้ว เขาย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : อโมหะ เกิดขึ้น ในบุคคแล้ว เกิดเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ? “เพื่อประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า !” บุคคลนั้นไม่มีโมหะแล้ว โมหะไม่ครอบงำแล้ว--โมหะไม่กลุ้มรุมจิตแล้ว เขาย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงเกินภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ธรรมทั้งหลาย (ตามที่กล่าวมา) เหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ? “เป็นกุศล พระเจ้าข้า !” มี โทษหรือไม่มีโทษ ? “ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า !” วิญญูชนติเตียน หรือวิญญูชน สรรเสริญ ? “วิญญูชนสรรเสริญ พระเจ้าข้า !” เมื่อประพฤติกระทำเต็มตาม มาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล หรือไม่ ? หรือว่า ในเรื่องนี้ท่านมีความเห็นอย่างไร ? “เมื่อประพฤติกระทำเต็มตามาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์เกื้อกูล ในเรื่องพวกนี้ข้าพระองค์มีความเห็น อย่างนี้ พระเจ้าข้า !”--กาลาม ท. ! เรา (อาศัยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างบนทั้งหมดนั้น) จึงกล่าวข้อความที่กล่าวว่า “กาลามทั้งหลายเอ๋ย ! มา (พูดกัน) เถิด ท่านทั้งหลาย :---อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังตามๆ กันมา (อนุสฺสว) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ากระทำตามๆ กันมา (ปรมฺปร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าเล่าลือกันอยู่ (อิติกิร) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่ามีที่อ้างในปิฎก (ปิฏกสมฺปทาน) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางตรรก (ตกฺกเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการใช้เหตุผลทางนัยะ (นยเหตุ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าการตรึกตามอาการ (อาการปริวิตกฺก) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าทนต่อการเพ่งแห่งทิฏฐิ (ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติ) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าฟังดูน่าเชื่อ (ภพฺพรูปตา) ;--อย่าถือเอาว่าจริง เพราะเหตุสักว่าสมณะผู้พูดเป็นครูของตน (สมโณโน ครุ).--กาลาม ท. ! เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ‘ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล, ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ, ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนสรรเสริญธรรมเหล่านี้ กระทำถึงมาตรฐานของมันแล้ว เป็นไปเพื่อความสุข เป็นประโยชน์ เกื้อกูล’ ดังนี้แล้ว ; เมื่อนั้น ท่านพึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้ ซึ่งเรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุผลข้างต้นนั้น.--กาลาม ท. ! อริยสาวกนั้น ปราศจากอภิชฌาอย่างนี้ ปราศจากพยาบาทอย่างนี้ ไม่มีโมหะ มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น, เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้อต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วย คุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่; มีจิตสหรคตด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น, เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้อบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยกรุณา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอัน--ใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่; มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น, เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยมุทิตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่ ; มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศ (ที่) หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น, เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยอุเบกขา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่.--กาลาม ท. ! อริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตหมดจดวิเศษอย่างนี้ แล้ว ความเบาใจ ๔ ประการ ย่อมเกิดมีแก่อริยสาวกนั้น ในทิฏฐธรรมเทียว ว่า “๑. ถ้าปรโลกมี ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วมี. ฐานะที่จะมีได้ก็คือ เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย เพราะเหตุนั้น ดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่หนึ่ง ที่เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น. ๒. ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี, เรา ที่นี่ในทิฏฐธรรมนี้แหละ ก็บริหารตนอยู่เป็นสุข ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไม่มีทุกข์ ดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่สอง ที่เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น. ๓. ถ้าบาปเป็นอันกระทำสำหรับผู้กระทำ, ส่วนเราไม่ได้คิดจะทำบาปไรๆ ทุกข์จักถูกต้องเราผู้มิได้ทำบาปอยู่ แต่ที่ไหนดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่สาม ที่เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น. ๔. ถ้าบาปไม่เป็นอันกระทำสำหรับผู้กระทำ อยู่แล้วไซร้, ที่นี่ เราก็มองเห็นตนว่าบริสุทธิ์หมดจดอยู่ โดยโลกทั้งสอง ดังนี้ : นี้เป็นความเบาใจประการที่สี่ ที่--เกิดมีแก่อริยสาวกนั้น. กาลาม ท. ! อริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่พยาบาทอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตหมดจดวิเศษอย่างนี้ แล้ว ความเบาใจ ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเกิดมีแก่อริยสาวกนั้น ในทิฏฐธรรมเทียว.--“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น. ข้าแต่พระสุคต ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น . . . .”(ชาวกาลามเหล่านั้น รับสนองพระพุทธดำรัสกล่าวย้ำข้อความนี้อีกครั้งหนึ่ง ด้วยตน เอง, แล้วทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา ประกาศตนเป็นอุบาสก).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/242-248/505.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๔๒-๒๔๘/๕๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1047
ชื่อบทธรรม : -บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาอาจจะสังเกตเห็นได้เองว่า การศึกษาและปฏิบัติตามหลักอริยสัจสี่ประการนั้น จะไม่เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักกาลามสูตรทั้งสิบประการแต่อย่างใด เพราะมีเหตุผลที่แสดงชัดอยู่ในตัวเองว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับทุกข์เป็นอย่างไร มรรคอาจจะดับทุกข์ได้แท้จริงอย่างไร โดยไม่ต้อเชื่อคำบอกตามๆ กันมา ไม่ต้องดูการประพฤติตามๆ กันมา หรือเชื่อตามคำเล่าลือ หรืออ้างว่ามีอยู่ในตำรา หรือใช้เหตุผลตามทางตรรก หรือตามทางนัยะคือปรัชญา หรือตรึกตามสามัญสำนึก หรือเพราะเข้ากันได้กับเหตุผลของตน หรือผู้พูดอยู่ในฐานะน่าเชื่อ หรือผู้พูดเป็นครูของตน ซึ่งพระองค์เองก็ได้ตรัสย้ำในข้อนี้อยู่เสมอ. เป็นอัน กล่าวได้ว่า ความรู้และการปฏิบัติในอริยสัจทั้งสี่นี้ ไม่มีทางที่จะเป็นเรื่องงมงาย หรือสีลัพพัตตปรามาส อันขัดต่อหลักกาลามสูตร แต่อย่างใด).--บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่. สองจำพวก อย่างไรเล่า? สองจำพวกคือ บริษัทไม่ประเสริญ (อนริย) บริษัทประเสริฐ (อริย).--ภิกษุ ท. ! บริษัทไม่ประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า บริษัทไม่ประเสริฐ.--ภิกษุ ท. ! บริษัทประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในบริษัทใด ในกรณีนี้ ล้วนแต่รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้; บริษัทนี้ เรากล่าวว่า บริษัทประเสริฐ.--ภิกษุ ท. ! บริษัทมี ๒ จำพวกเหล่านี้แล. บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสองนี้ คือบริษัทประเสริฐ (อริยปริส).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/90/290.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๙๐/๒๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1048
ชื่อบทธรรม : -เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่ออริยสัจสี่ถูกแยกออกเป็นสองซีก--ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลเหล่าใด ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม มีอยู่. ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่าบุคคลผู้ชอบถาม จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “วิธีการเพื่อให้ได้รับ ประโยชน์ถึงที่สุด (อุปนิสา๑) ในการฟังซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ซึ่งเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก--๑. อุปนิสา คำนี้ ในที่บางแห่ง (ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๔๙ บรรทัดที่ ๗) ได้แปลว่า “ประโยชน์” นั้นไม่ถูก, ที่ถูกต้องแปลว่า “วิธีที่จะเข้าถึงประโยชน์” ; ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย.--จากทุกข์ เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ลุถึงความตรัสรู้พร้อม เหล่านั้น มีอยู่อย่างไรเล่า ?” ดังนี้ไซร์, พึงตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า วิธีการนั้นก็คือ (การฟัง) เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงซึ่ง ธรรมเหล่านั้น อันจะพึงแบ่งออกได้เพียงสองหมวด. สองหมวดอย่างไรกันเล่า? สองหมวดคือ การแยกฟังให้รู้ว่า “นี้คือทุกข์ นี้คือทุกขสมุทัย” ดังนี้ : นี้เป็น อนุปัสสนา (การตามเห็น) หมวดที่หนึ่ง ; และ “นี้คือทุกขนิโรธ นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ นี้เป็นอนุปัสสนาหมวด ที่สอง.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามเห็นอยู่ซึ่งธรรม อันจะพึงแบ่งออกได้เป็นสองหมวดโดยชอบ อย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไป แล้วในธรรม อยู่; ผลที่เธอพึงหวังได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผลสองอย่าง คือการ บรรลุอรหัตตผลในทิฏฐธรรม นั่นเทียว, หรือว่าถ้าอุปาทิ (เชื้อ) ยังเหลืออยู่ ก็ย่อม เป็นอนาคามี.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/473/390.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๔๗๓/๓๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 91
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site