สัทธรรมลำดับที่ : 1032
ชื่อบทธรรม : -การต่อสู้ของผู้เกลียดกลัวความทุกข์โดยละเอียด
เนื้อความทั้งหมด :-การต่อสู้ของผู้เกลียดกลัวความทุกข์โดยละเอียด--ถ้าผาสุกธรรมใดๆมีอยู่ สำหรับผู้เกลียดต่อทุกข์ ผู้เสพที่นั่ง นอนอันสงัด ใคร่จะตรัสรู้ธรรมตามที่เป็นจริง แล้วไซร้ เราจักบอก ผาสุกธรรมนั้น ๆ แก่เธอ ตามที่เรารู้.--ภิกษุผู้ฉลาด พึงเป็นผู้มีสติ ประพฤติธรรมถึงที่สุดรอบ ด้าน ไม่พึงเกรงต่อภัย ๕ อย่าง คือภัยจากเหลือบ สัตว์กัดต่อย สัตว์เสือก คลาน การกระทบของมนุษย์ และสัตว์สี่เท้า.--ภิกษุนั้น ไม่พึงครั่นคร้าม ต่อชนเหล่าอื่นผู้มีธรรมเป็น ปรปักษ์ แม้เห็นความน่ากลัวเป็นอันมากจากชนเหล่านั้น หรือ อันตรายอย่างอื่น ๆ ก็แสวงหาซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ครอบงำ ความกลัวเหล่านั้นเสียได้.--ถูกกระทบแล้วด้วยผัสสะแห่งโรค ความหิว ความหนาว ความร้อน ก็อดกลั้นได้. ผัสสะเหล่านั้นถูกต้องแล้ว มากมาย เท่าไร ก็ยังไม่มีกิเลสท่วมทับใจ ยังคงบากบั่นกระทำความ เพียรอยู่อย่างมั่นคง.--ไม่พึงกระทำการขโมย ไม่พึงกล่าวเท็จ พึงถูกต้องสัตว์ทั้งที่ ยังสะดุ้งและมั่นคง ด้วยเมตตา. พึงรู้ชัดความขุ่นมัว แห่งใจแล้ว บรรเทาเสียด้วยคิดว่า นั้นเป็นธรรมฝ่ายดำ.--ไม่พึงไปสู่อำนาจแห่งความโกรธ และจองหอง พึงขุด รากแห่งกิเลสเหล่านั้น ดำรงตนอยู่ เป็นผู้ครอบงำเสียซึ่ง อำนาจของสิ่งอัน เป็นที่รักและไม่เป็นที่รักโดยตรง.--พึงเป็นผู้มีกัลยาณปีติ มุ่งปัญญาเป็นเบื้องหน้า ครอบงำเสียซึ่งอันตรายเหล่านั้น พึงข่มขี่ความไม่ยินดีในที่อยู่อันสงัด ข่มขี่ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งปริเทวะทั้งสี่อย่างเสีย คือปริเทวะว่า เราจักกินอะไร, จักได้กินที่ไหน, เมื่อคืนนอนเป็นทุกข์, คืนนี้จักนอนที่ไหน. วิตกอันเป็นที่ตั้งแห่งปริเทวะเหล่านี้ เธอพึงนำ ออกเสีย เป็นเสขะไม่มีที่อยู่ ที่อาศัยเที่ยวไปเถิด.--เมื่อได้อาหารและที่อยู่ในกาลอันสมควรแล้ว พึงเป็นผู้รู้ ประมาณ เพื่อความเป็นผู้สันโดษในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครอง ตนในปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในหมู่บ้าน แม้ถูกด่าก็ไม่กล่าวคำหยาบ .--พึงเป็นผู้ทอดสายตาต่ำ ไม่หลุกหลิงด้วยเท้า ตามประกอบ อยู่ในฌาน เป็นผู้มากด้วยความตื่นอยู่ มีตนส่งไปในสมาธิ ปรารภ อุเบกขา ตัดเสียซึ่งเหตุแห่งวิตกและธรรมเครื่อง ส่งเสริมกุกกุจจะ.--เมื่อถูกกล่าวตักเตือน ก็เป็นผู้มีสติยินดีรับคำตักเตือน พึงทำลายข้อขัดแย้ง (ขีล) ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย กล่าว วาจาที่เป็น กุศล ไม่เกินขอบเขต ไม่ตริตรึกไปในทางที่จะว่ากล่าวผู้อื่น ; ต่อแต่นั้น พึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อนำออกเสียซึ่งธุลี ๕ อย่าง ในโลก คือ ข่มขี่ซึ่งราคะ ในรูป ในเสียง ในรส ในกลิ่น ในผัสสะ ทั้งหลาย.--พึงนำออกซึ่งความพอใจในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นภิกษุ มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ใคร่ครวญอยู่ ซึ่งสัมมาธรรมะ โดยกาลอันควร เป็นผู้มีธรรมอันเอก กำจัดความมืดเสียได้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. 25/521/423.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตฺต. ขุ. ๒๕/๕๒๑/๔๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1033
ชื่อบทธรรม : -หมวด ซ. ว่าด้วย มรรคกับอาหุเนยยบุคคล-สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อปฏิบัติตามอัฏฐังคิกมรรค อาจจะแยกแยะออกไปเป็นรายละเอียด ได้อย่างมากมาย ด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสแก่พระสารีบุตรในที่นี้ กล่าวได้ว่า เป็นคำขยายความของ อริยมรรคมีองค์แปดรวมกันได้เป็นอย่างดี จึงได้นำข้อความนี้มาใส่ไว้ในหมวดนี้).--หมวด ซ. ว่าด้วย มรรคกับอาหุเนยยบุคคล--สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค--ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อม เป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล--เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปด ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ :---๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่.--๒. เขาถวายโภชนะใดๆ แก่เธอ เศร้าหมอง หรือประณีต ก็ตาม เธอฉันโภชนะนั้นๆ โดยเคารพเอื้อเฟื้อ ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย.--๓. เป็นผู้เกลียดต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เกลียดต่อการถึง พร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย--๔. เป็นผู้ยินดีในความสงบ มีการอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่ทำภิกษุเหล่าอื่นให้หวาดกลัว.--๕. เป็นผู้เปิดเผยความโอ้อวด ความโกง ความพยศ ความคดของเธอ ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชน ตามเป็นจริง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้วิญญูชนเหล่านั้น ย่อมพยายามเพื่อกำจัดโทษเหล่านั้นของเธอเสีย.--๖. เป็นผู้มีสิกขา ตั้งจิตว่า “ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ศึกษาก็ตามใจ เราจัดศึกษาในบทแห่งการศึกษานั้นๆ” ดังนี้.--๗. เมื่อเธอไปก็ไปตรง; นี้คือ ทางตรงในกรณีนั้น คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ; สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ; สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--๘. เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วอยู่ ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จงเหลืออยู่ เนื้อและโลหิตในสรีระจงเหือดแห้งไป ก็ตามที ประโยชน์อันบุคคล จะพึงลุถึงได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคลเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺ ฐฏ. อํ. 23/193/103.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺ ฐฏ. อํ. ๒๓/๑๙๓/๑๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1034
ชื่อบทธรรม : -องค์แห่งมรรคที่เป็นเสขะของเสขบุคคล
เนื้อความทั้งหมด :-องค์แห่งมรรคที่เป็นเสขะของเสขบุคคล--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘เสขะ (บุคคล) เสขะ (บุคคล)’ ดังนี้; บุคคล เป็นเสขะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ! บุคคลในกรณีนี้ :---เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ อันเป็นเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาสังกัปปะ อันเป็นเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาวาจา อันเป็นเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมากัมมันตะ อันเป็นเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาอาชีวะ อันเป็นเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาวายามะ อันเป็นเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาสติ อันเป็นเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วย สัมมาสมาธิ อันเป็นเสขะ.--ภิกษุ ! ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/18/51.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘/๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1035
ชื่อบทธรรม : -ประโยชน์อันสูงสุดของสัมมัตตะสิบ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงคำนวณดูเองโดยปฏิปักขนัย ว่า จักต้องมีองค์แห่งมรรคที่เป็นอเสขะ ที่เป็นองค์มรรคของพระอรหันต์.)--ประโยชน์อันสูงสุดของสัมมัตตะสิบ--ถปติ ! เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ว่าเป็นผู้ มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดม อันใครๆ รบให้แพ้ไม่ได้. สิบประการ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ที่บุคคลประกอบพร้อมแล้ว เราบัญญัติว่าเขาเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุถึงการ บรรลุอันอุดม อันใคร ๆ รบให้แพ้ไม่ได้ ? ถปติ ! ภิกษุในกรณีนี้ :---เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นอเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะอันเป็นอเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจาอันเป็นอเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะอันเป็นอเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะอันเป็นอเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะอันเป็นอเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติอันเป็นอเสขะ--เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นอเสขะ.--ถปติ ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เหล่านี้แล เราบัญญัติว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดม อันใคร ๆ รบให้แพ้ไม่ได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/346, 351/361, 366.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๓๔๖, ๓๕๑/๓๖๑, ๓๖๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1036
ชื่อบทธรรม : -หมวด ฌ. ว่าด้วย มรรคกับพระพุทธองค์
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ฌ. ว่าด้วย มรรคกับพระพุทธองค์--อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง--ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่ง ไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพาน.--ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติอันเป็น หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. แปดประการ คืออะไรเล่า ? คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การดำรงชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความ สงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้พร้อม เพื่อ นิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/528/1664.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1037
ชื่อบทธรรม : -ทรงกำชับเรื่องการทำลายอหังการมมังการ
เนื้อความทั้งหมด :-ทรงกำชับเรื่องการทำลายอหังการมมังการ--สารีบุตร ! เราจะแสดงธรรมโดยย่อก็ได้ เราจะแสดงธรรมโดยพิสดารก็ได้ เราจะแสดงธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร ก็ได้ แต่ว่าผู้รู้ทั่วถึงธรรมหายาก.--“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! ถึงเวลาแล้ว ข้าแต่พระสุคต ! ถึงเวลาแล้ว ที่พระผู้มีพระภาค จะพึงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง จะพึงแสดงธรรมโดยพิสดารบ้าง จะพึงแสดง ธรรมทั้งโดยย่อและโดยพิสดารบ้าง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี” .--สารีบุตร ! ถ้าอย่างนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทำการศึกษาอย่างนี้ว่า “(ธรรมที่เราแสดงนั้น จะมีดังนี้ว่า :- ) อหังการมมังการมานานุสัยทั้งหลาย ต้องไม่มี ในกายอันประกอบอยู่ด้วยวิญญาณนี้ (นี้อย่างหนึ่ง) ; อหังการมมังการมานานุสัย ทั้งหลาย ต้องไม่มีในนิมิตทั้งหลายทั้งปวงในภายนอก (นี้อย่างหนึ่ง) ; เราจักเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเข้าถึงแล้วแลอยู่ แล้ว อหังการมมังการมานานุสัยทั้งหลาย ย่อมไม่มี ดังนี้ (นี้อีกอย่างหนึ่ง).”--สารีบุตร ! เมื่อใด อหังการมมังการมานานุสัยของภิกษุ ไม่มีใน กายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้ ก็ดี, อหังการมมังการมานานุสัยของภิกษุ ไม่มี--ในนิมิตทั้งหลายทั้งปวงในภายนอก ก็ดี, ภิกษุเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเข้าถึงแล้วแลอยู่ แล้ว อหังการมมังการมานานุสัย ย่อมไม่มี ก็ดี; สารรีบุตร ! เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้ตัดขาดแล้วซึ่งตัณหา รื้อถอนแล้ว ซึ่งสังโยชน์ กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะรู้ซึ่งมานะโดยชอบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/170/472.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๗๐/๔๗๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1038
ชื่อบทธรรม : -อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา--(โพธิปักขิยธรรม ๓๗)
เนื้อความทั้งหมด :-(ตรัสว่า ทรงแสดงธรรมโดย ๓ ลักษณะ คือย่อ พิสดาร ทั้งย่อและพิสดาร แล้วก็ทรงแสดงลักษณะแห่งการปฏิบัติไว้ ๓ ลักษณะ คือทำให้ไม่มีอหังการมมังการ ในกายนี้; ไม่มีอหังการมมังการ ในนิมิตภายนอกทั้งปวง; และการเข้าอยู่ในเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติที่ ไม่มีอหังการมมังการ. นี่พอจะเห็นได้ว่า โดยย่อก็คือ ไม่ให้มีอหังการมมังการในกายนี้, โดยพิสดารก็คือ ไม่ให้มีอหังการมมังการในนิมิตภายนอกทั่วไป, ที่ทั้งโดยย่อและพิสดารก็คือเข้าอยู่ในวิมุตติที่ไม่มีอหังการมมังการ. รวมความว่า จะโดยย่อหรือโดยพิสดารหรือทั้งโดยย่อ และพิสดาร ก็มุ่งไปสู่ความไม่มีแห่งอหังการมมังการด้วยกันทั้งนั้น. นี่พอที่จะถือเป็นหลักได้ว่า ข้อปฏิบัติอย่างไรและเท่าไร ระดับไหน ก็ล้วนแต่มุ่งหมายทำลายอหังการมมังการมานานุสัย (ความสำคัญว่าตัวกู – ของกู) ด้วยกันทั้งนั้น. ในที่นี้ถือว่า อัฏฐังคิกมรรค จะในระดับไหน ก็ตาม ล้วนแต่มุ่งหมายทำลายเสียซึ่งอหังการมมังการเป็นหลักสำคัญ จึงนำข้อความนี้มาใส่ไว้ ในหมวดนี้).--อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา--(โพธิปักขิยธรรม ๓๗)--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง; ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน. ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์--โลก. เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.--ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งพวกเธอควรเรียนเอาให้ดี . . . . ฯลฯ . . . . เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย? ธรรมเหล่านั้น คือ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง อันพวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่ พรหมจรรย์ (ศาสนา) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน; และข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.--– มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๗.--อัฏฐังคิกมรรคในฐานกัลยาณวัตรที่ทรงฝากไว้--อานนท์ ! ก็ กัลยาณวัตรอันเราตั้งไว้ในกาลนี้ นี้ เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. อานนท์ ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค, กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ; สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ; สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--่--อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการ ที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ : เธอทั้งหลาย อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย. อานนท์ ! ความขากสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด ; บุรุษนั้นชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย. อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าว (ย้ำ) กะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ : เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/427/463.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1039
ชื่อบทธรรม : -ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี
เนื้อความทั้งหมด :-(ก่อนแต่จะตรัสเรื่องนี้ ได้ตรัสถึงการที่พระองค์ได้เป็นราชฤาษีในกาลก่อน กล่าวสอนวัตรปฏิบัติที่เป็นไปเพียงเพื่อพรหมโลก ไม่ถึงนิพพาน ก็ยังมีผู้พากันปฏิบัติตาม. ส่วนกัลยาณวัตรนี้เป็นไปเพื่อนิพพาน จึงควรที่คนทั้งหลายจะพึงปฏิบัติตาม. อีกข้อหนึ่ง ที่พวกเราควรจะให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งนั้น คือข้อที่พวกเราอย่าเป็นพวกสุดท้ายแห่งการประพฤติ กัลยาณวัตรนี้ ตามพระพุทธประสงค์).--ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี--ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ :- ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อริยสัจสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้, อริยสุจที่ใครๆ ควร รอบรู้ มีอยู่, อริยสัจที่ใครๆ ควรละ มีอยู่, อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้แจ้ง มีอยู่, อริยสัจที่ใคร ๆ ควรทำให้เกิดมี มีอยู่. ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใครๆ--ควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ ทุกข์ ; อริยสัจที่ใครๆ ควรละนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ; อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้แจ้งนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ ; อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้เกิดมีนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้. พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามที่เป็นจริง ว่า “ทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ,” ดังนี้ ; ว่า “เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ,” ดังนี้ ; ว่า “ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ,” ดังนี้ ; ว่า “ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ ;” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/546/1709.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1040
ชื่อบทธรรม : -ภาคสรุป ว่าด้วยข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ มีเรื่อง ๒๓ หัวข้อ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๒๒--ว่าด้วย ข้อความสรุปเรื่องมรรค--จบ--ภาค ๔--ว่าด้วยมัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค--จบ--คำชี้ชวนวิงวอน--ภิกษุ ท. ! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”--เทสิตํ ดว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค--นิพพาน เราได้แสดงแล้ว, ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.--กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.--นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง. พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท, อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.--อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี--นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.--(มหาวาร. สํ. - สฬา. สํ.)--ภาคสรุป--ว่าด้วย--ข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ--ภาคสรุป--มีเรื่อง ๒๓ หัวข้อ : ---๑. ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ--๒. โอกาสแห่งโยคกรรมในการเห็นอริยสัจ บัดนี้ถึงพร้อมแล้ว--๓. การเรียนปริยัติ มิใช่การรู้อริยสัจ--๔. เห็นพระรัตนตรัยแท้จริง ก็ต่อเมื่อเห็นอริยสัจ และหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว--๕. ปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ ต้องเป็นธัมมาธิปไตย--๖. การแทงตลอดอริยสัจ เป็นงานละเอียดอ่อนยิ่งกว่าการแทงตลอดขนทราย--๗. การปฏิบัติอริยสัจ ไม่มีทางที่จะขัดต่อหลักกาลามสูตร--๘. บริษัทที่เกี่ยวกับอริยสัจ--๙. เมื่ออริยสัจสี่ ถูกแยกออกเป็นสองซีก--๑๐. หลักวิธีการศึกษาอริยสัจสี่ ใช้ได้กับหลักทั่วไป--๑๑. อริยสัจสี่ เป็นที่ตั้งแห่งการแสดงตัวของปัญญินทรีย์--๑๒. อริยสัจสี่ เป็นวัตถุแห่งกิจของปัญญินทรีย์--๑๓. เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ--๑๔. การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์--๑๕. อริยสัจ ทรงบัญญัติไว้ในกายที่ยังมีสัญญาและใจ--๑๖. อริยสัจ ทรงบัญญัติสำหรับสัตว์ที่อาจมีเวทนา--๑๗. เวทนา โดยปัจจัยสี่สิบเอ็ดชนิด--๑๘. ผู้รู้อริยสัจ ไม่จำเป็นต้องแตกฉานอภิธรรมและรวยลาภ--๑๙. จงกระทำเหตุทั้งภายในและภายนอก--๒๐. อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะเพชรพลอยเม็ดหนึ่งแห่งพระศาสนา--๒๑. พระคุณของผู้ที่ทำให้รู้แจ้งอริยสัจสี่--๒๒. ประมวลปัญหาอันจะพึงตอบเกี่ยวกับธรรมทั้งปวง--๒๓. การจบกิจแห่งอริยสัจ กำหนดด้วยความสมบูรณ์แห่งญาณสาม--ภาคสรุป--ว่าด้วย--ข้อความสรุปท้ายเกี่ยวกับจตุราริยสัจ--(มี ๒๓ หัวข้อ)--ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ ว่ามีได้สำหรับบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ (ชานโต ปสฺสโต), ไม่ใช่สำหรับผู้ไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่.--ภิกษุ ท. ! รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความสิ้นอาสวะ ย่อมมีแก่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่ ว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ความสิ้นอาสวะ ย่อมมีแก่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/309/282.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๙/๒๘๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1041
ชื่อบทธรรม : -โอกาสแห่งโยคกรรมในการเห็นอริยสัจ บัดนี้ถึงพร้อมแล้ว
เนื้อความทั้งหมด :-โอกาสแห่งโยคกรรมในการเห็นอริยสัจ บัดนี้ถึงพร้อมแล้ว--ภิกษุ ท. ! ถ้าสมมติว่า มหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน้ำท่วมถึงเป็น อันเดียวกันทั้งหมด; บุรุษคนหนึ่ง ทิ้งแอก (ไม่ไผ่?) ซึ่งมีรูปรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำนั้น; ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตก พัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไปทางทิศใต้, ลมทิศใต้พัดให้ลอยไปทางทิศเหนือ, อยู่ดังนี้. ในน้ำนั้นมีเต่าตัวหนึ่ง ตาบอด ล่วงไปร้อยๆ ปี มันจะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่งๆ. ภิกษุ ท. ! เธอ ท. จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอด ร้อยปีจึงจะผุดขึ้นสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?--“ข้อนี้ ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะ พึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น”.--ภิกษุ ท. ! ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึ้นในโลก ; ยากที่จะเป็นไปได้ ฉันเดียวกัน ที่ธรรมวินัยอันตถาคต ประกาศแล้วจะรุ่งเรืองไปทั่วโลก. ภิกษุ ท. ! แต่ว่า บัดนี้ ความเป็นมนุษย์ก็ได้แล้ว; ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะก็บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว; และธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองไปทั่วโลกแล้ว.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำโยคกรรมเพื่อให้รู้ ว่า “นี้ ทุกข์; นี้ เหตุให้เกิดทุกข์; นี้ ความดับแห่งทุกข์; นี้หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/568/1744.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1078
ชื่อบทธรรม : -ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์
เนื้อความทั้งหมด :-ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์--โดย ๑๖ ประการ--( ก. ภาวะไม่บริสุทธิ์สำหรับเปรียบเทียบ )--“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อการเกียดกันกิเลสด้วยตบะบริบูรณ์อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคยังจะกล่าวถึงอุปกิเลสมีอย่างต่างๆแห่งการบำเพ็ญตบะนั้นอย่างไรอีกเล่า ?”--๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ คือ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเป็นผู้พอใจด้วยตบะนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ (เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อตัวกู, มิใช่เพื่อธรรมะ). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา พอใจด้วยตบะว่า บริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็ยังเป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้บำเพ็ญตบะ.--๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มขู่ผู้อื่นด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาพอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่--เขา พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๖.นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาถึงการแบ่งแยกในโภชนะ ทั้งหลายว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้. เขาไม่ชอบสิ่งใด เขาสะบัดหน้าไม่สนใจ ละมันไปเสีย; เขา ชอบสิ่งใด เขาก็จดจ่อมัวเมา หมายมั่นซึ่งสิ่งนั้น ไม่มองเห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) กินเอา ๆ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย--จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ ที่เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้ มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจาก ข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. นิโค๎รธ ! การกระทำแม้นี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย ก็ มีความคิดว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีพสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้บำเพ็ญตบะ ดำรงชีวิตอยู่อย่างมี ลูข๑ ปฏิปทา อยู่ในตระกูลทั้งหลาย” ดังนี้ เขา เกิดมีความริษยาและตระหนี่ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมาด้วย อาการอย่างนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๐. ลูขะ คำนี้ แปลยากสำหรับคนไทย เคยแปลกันว่าเศร้าหมองบ้าง ปอนๆ บ้าง เป็นคำแปลที่อาจให้เกิดความเข้าใจผิดจากความหมายอันแท้จริง ซึ่งสูงหรือลึกไปกว่านั้น กล่าวคือ มีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่ไร้ค่า ไร้ความสวยงาม ไร้ความสะดวกสบาย เป็นชีวิตแบบต่ำสุดสำหรับ นักบวช ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่าเคร่งครัดอย่างยิ่ง. ขอให้ใช้คำว่า ลูขะ นี้เป็นคำคำหนึ่ง ในภาษาไทยสืบไปในภายหน้าด้วย.--๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ชอบนั่งแสดงตัว ตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของ ผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ประกาศอยู่ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ มีปกตินิสัยทำสิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็กล่าวสิ่งที่ไม่ควรว่าควร กล่าวสิ่งที่ควรว่าไม่ควร เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขาไม่ยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยาย ที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) แม้มีอยู่แท้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ขี้โกรธ มักผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน เป็นคน ริษยา ตระหนี่ เป็นคน โอ้อวด มีมายา เป็น--คน หัวดื้อ ดูหมิ่นท่าน เป็นคน ปรารถนาลามก ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบอยู่ด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นคนลูบคลำ สิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัดคืนได้ยาก. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : การเกียดกันกิเลส ด้วยตบะในรูปแบบอย่างที่ว่ามานี้ (ทุกข้อ) เป็นอุปกิเลส หรือไม่เป็นอุปกิเลสเล่า ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลส หามิได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่ คือผู้ บำเพ็ญตบะบางคนในกรณีนี้ ประกอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่างแล้ว ทำไมจะไม่ ประกอบด้วยอุปกิเลสแต่ละอย่าง ๆ เล่า”.--(ข. ภาวะบริสุทธิ์ที่สำหรับถือเป็นหลัก)--๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่เป็นผู้พอใจไม่รู้สึกว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ด้วยตบะนั้น (ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตัวกู). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตนนั้น นั่นแหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น--๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่เขาไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่ เขา ไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น ด้วยเหตุผลนี้ แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่เป็นผู้พอใจ ด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่เป็นผู้พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น ด้วยเหตุผลนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้น เขาไม่เมาลาภ ไม่หลงลาภ ไม่ถึงความมัวเมาลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ เมาลาภไม่หลงลาภไม่ถึงความมัวเมาสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขา ไม่ถึงการแบ่งแยกในภาชนะ ทั้งหลาย ว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้ เขา ไม่ชอบสิ่งใด เขาไม่ได้สะบัดหน้าแสดงความไม่สนใจ ละมันไปเสีย เขา ชอบสิ่งใด เขาก็ไม่จดจ่อ ไม่มัวเมา ไม่หมายมั่นสิ่งนั้น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) บริโภคอยู่. ด้วยเหตุนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่คิดอย่างนี้ว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นผู้เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือ พราหมณ์ใด ๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย เขา ไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณะพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีวะสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้ดำรงชีพอยู่อย่างมีลูขปฏิปทา อยู่ในตระกูล--ทั้งหลาย” ดังนี้ เขา ไม่เกิดมีความริษยาและตระหนี่ ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมา อย่างนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ชอบนั่งแสดง ตนตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ จะไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก็หามิได้ (เขาเป็นคนจริงและเปิดเผย) ประกาศอยู่ ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่มีปกตินิสัยทำ สิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็ กล่าวสิ่งที่ ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวสิ่งที่ควรกล่าวว่าควร ไม่เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขายอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยายที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ซึ่งมีอยู่แท้. นิโค๎รธ ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาเป็นคนไม่ขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน ไม่เป็นคนริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนหัวดื้อ ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่เป็นคนปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ประกอบอยู่ด้วยอันคาหิกทิฏฐิ ไม่เป็นคนลูบคลำสิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัด คืนได้ง่าย. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์เล่า ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์โดยแท้ หาใช่ไม่บริสุทธิ์ไม่ ทั้งยังเป็นการบรรลุถึงยอดถึงแก่นอีกด้วย พระเจ้าข้า !”--นิโค๎รธเอ๋ย ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเพียงเท่านี้ ยังไม่ถึงยอด ถึงแก่น เป็นเพียงถึงเปลือกแห้งๆ เท่านั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/44 - 50/24 - 25.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๔๔ - ๕๐/๒๔ - ๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 90
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site