สัทธรรมลำดับที่ : 97
ชื่อบทธรรม : - นัยที่สอง-อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร--(นัยที่สอง)--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ ย่อมมี ; เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่, นามรูป ย่อมมี ; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.ภิกษุ ท. ! เราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้ ; ว่า” นี้ เป็นทุกขสมุทัย” ดังนี้ ; ว่า “นี้เป็นทุกขนิโรธ” ดังนี้ ; ว่า “นี้เป็นทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา” ดังนี้ ; แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา.--ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์,แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, แม้โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์, การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ : กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;--เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทย- อริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร ; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณจึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ; เพราะมีความดับสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง, กล่าวคือ--สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ; ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความดังกล่าวมานี้, ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/227-228/501.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗-๒๒๘/๕๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 98
ชื่อบทธรรม : -ภาคนำ
เนื้อความทั้งหมด :-ภาคนำ--ว่าด้วย ข้อความที่ควรทราบก่อนเกี่ยวกับจตุราริยสัจ--จบ--คำชี้ชวนวิงวอน--_______________--ภิกษุ ท. ! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า--“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์--นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.”--เทสิตํ โว มยา นิพฺพานํ เทสิโต นิพฺพานคามิมคฺโค--นิพพาน เราได้แสดงแล้ว,--ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.--กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล--อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,--กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.--นั่น โคนไม้ ; นั่น เรือนว่าง.--พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,--อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.--อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี--นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.--(มหาวาร. สํ. - สฬา.สํ.)--อุทเทศแห่งจตุราริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธ ได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี, เป็นธรรมจักร ที่สมณะหรือพราหมณ์, เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับมิได้ ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก และการทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. สี่อย่างเหล่าไหนเหล่า ? สี่อย่างได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์, และ ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ประกาศอนุตตร-ธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี, เป็นธรรมจักร ที่สมณะหรือพราหมณ์, เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับมิได้ ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก และการทำให้เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง เหล่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/449/699.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๔๔๙/๖๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 99
ชื่อบทธรรม : -ภาค ๑ ว่าด้วย--ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-ภาค ๑--ว่าด้วย--ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์--ภาค ๑--มีเรื่อง :- นิทเทศ ๑ ว่าด้วยประเภทและอาการแห่งทุกข์ตามหลักทั่วไป ๑๒ เรื่อง--นิทเทศ ๒ ว่าด้วยทุกข์สรุปในปัญจุปาทานักขันธ์ ๙๕ เรื่อง--นิทเทศ ๓ ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์ ๑๘ เรื่อง--อริยสัจจากพระโอษฐ์--ภาค ๑--ว่าด้วย--ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์--(มี ๓ นิทเทศ)--_________--อุทเทศแห่งทุกขอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ความเกิด เป็นทุกข์, ความแก่ เป็นทุกข์, ความตาย เป็นทุกข์, ความโศกความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์,ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์, ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์; กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธ์ (ขันธ์ห้าอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) เป็นตัวทุกข์ ; นี้ เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/227/501.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 100
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศแห่งทุกขอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศแห่งทุกขอริยสัจ--__________--นิทเทศ ๑ ว่าด้วยประเภทและอาการแห่งทุกข์ตามหลักทั่วไป--(มี ๑๒ เรื่อง)--ความเกิด--ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การเกิด การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ ; นี้ เรียกว่า ความเกิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/341/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 101
ชื่อบทธรรม : -ความแก่
เนื้อความทั้งหมด :-ความแก่--ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ ; นี้ เรียกว่า ความแก่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/341/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 102
ชื่อบทธรรม : -ความตาย
เนื้อความทั้งหมด :-ความตาย--ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลายไป การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่ง--ขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ ; นี้ เรียกว่า ความตาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/341/295
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 103
ชื่อบทธรรม : -ความโศก
เนื้อความทั้งหมด :-ความโศก--ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความโศก ความเศร้า ความเป็นผู้เศร้า ความโศกกลุ้มกลัด ความโศกสุมกลุ้มกลัด ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว ; นี้ เรียกว่า ความโศก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/341/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 104
ชื่อบทธรรม : -ความร่ำไรรำพัน
เนื้อความทั้งหมด :-ความร่ำไรรำพัน--ภิกษุ ท. ! ความร่ำไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ความเป็นผู้คร่ำครวญ ความเป็นผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งอันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว ; นี้ เรียกว่า ความร่ำไรรำพัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/341/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๑/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 105
ชื่อบทธรรม : -ความทุกข์กาย
เนื้อความทั้งหมด :-ความทุกข์กาย--ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางกาย ความทนได้ยาก--ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย ; นี้ เรียกว่า ความทุกข์กาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/342/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 106
ชื่อบทธรรม : -ความทุกข์ใจ
เนื้อความทั้งหมด :-ความทุกข์ใจ--ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางใจ ความไม่ผาสุกที่เป็นไปทางใจ ความทนได้ยาก ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความความกระทบทางใจ ; นี้ เรียกว่า ความทุกข์ใจ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/342/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 107
ชื่อบทธรรม : -ความคับแค้นใจ
เนื้อความทั้งหมด :-ความคับแค้นใจ--ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความกลุ้มใจ ความคับใจ ความเป็นผู้กลุ้มใจ ความเป็นผู้คับใจ ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว ; นี้ เรียกว่า ความคับแค้นใจ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/342/2955.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 108
ชื่อบทธรรม : -ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก
เนื้อความทั้งหมด :-ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก--ภิกษุ ท. ! ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้น หรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้--ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา, การต้องไปด้วยกัน การต้องมาด้วยกัน การต้องอยู่ร่วมกัน ความระคนกัน กับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น ; นี้ เรียกว่า ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/342/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 109
ชื่อบทธรรม : -ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
เนื้อความทั้งหมด :-ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก--ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้น หรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขาเช่น มารดาบิด า พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม, การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน ความไม่ได้ระคนกัน กับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น ; นี้ เรียกว่า ความ พลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/342/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๒/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 110
ชื่อบทธรรม : -ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น
เนื้อความทั้งหมด :-ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น--ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเราไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา--และความเกิดเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้, ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา ; นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา และความแก่เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้, ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา ; แม้นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา และความตายเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้, ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา ; แม้นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา และความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้, ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา ; แม้นี้--เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/343/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๓/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 111
ชื่อบทธรรม : -ปัญจุปาทานักขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-ปัญจุปาทานักขันธ์--ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นตัวทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานักขันธ์ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ ; เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นตัวทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที.10/343/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที.๑๐/๓๔๓/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 112
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑--ว่าด้วยประเภทและอาการแห่งทุกข์ตามหลักทั่วไป--จบ--นิทเทศ ๒ ว่าด้วยทุกข์สรุปในปัญจุปาทานักขันธ์--( มี ๙๕ เรื่อง)--ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นตัวทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานักขันธ์นั้น ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ. เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธ์ เป็นตัวทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/343/295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๓/๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 113
ชื่อบทธรรม : -ตอน ๑ ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยวิภาค
เนื้อความทั้งหมด :-ตอน ๑ ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยวิภาค--ก.) วิภาคแห่งเบญจขันธ์--(มี ๕ วิภาค)--ภิกษุ ท. ! เบญจขันธ์ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! รูป ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; นี้ เรียกว่า รูปขันธ์.--ภิกษุ ท. ! เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ--ประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; นี้ เรียกว่า เวทนาขันธ์.--ภิกษุ ท. ! สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; นี้ เรียกว่า สัญญาขันธ์.--ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; นี้ เรียกว่า สังขารขันธ์.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; นี้ เรียกว่า วิญญาณขันธ์.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เบญจขันธ์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/59/95.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๙/๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 114
ชื่อบทธรรม : -๑. วิภาคแห่งรูปขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-๑. วิภาคแห่งรูปขันธ์--รูปและรูปอาศัย--ภิกษุ ท. ! มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่าง เหล่านั้นด้วย ; นี้ เรียกว่า รูป.--- นิทาน. สํ. ๑๖/๔/๑๔; และ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๒/๑๑๓.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ว่า “รูป ชนิดใดชนิดหนึ่งนั้น คือมหาภูตสี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้แล เรียกว่า ภิกษุ ผู้ไม่รู้จักรูป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/378/224.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๗๘/๒๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 115
ชื่อบทธรรม : ภิกษุ ชื่อว่าผู้รู้จักรูป
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ชื่อว่าผู้รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ตามเป็นจริง ว่า “รูปชนิดใดชนิดหนึ่งนั้นคือ มหาภูตสี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้แลเรียกว่า ภิกษุ ผู้รู้จักรูป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/381/224.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๘๑/๒๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 9
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site