สัทธรรมลำดับที่ : 1024
ชื่อบทธรรม : -อาการที่เรียกว่า อัฏฐังคิกมรรคบริบูรณ์ได้โดยวิธีลัด
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่น ถือเอา การเกิดแห่งกุศลและการไม่เกิดแห่งอกุศล เป็นหลักเกณฑ์สำหรับ การเลือก ว่าควรเสพหรือไม่ควรเสพ : ถ้าได้ผลเป็นบุญกุศลถือว่าควรเสพ, ถ้าได้ผลเป็นอกุศล ถือว่าไม่ควรเสพ. และถือเอาหลักเกณฑ์นี้สำหรับการเลือกสิ่งเหล่านี้คือ กายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร จิตตุปบาท สัญญาปฏิลาภ ทิฏฐิปฏิลาภ อัตตภาวปฏิลาภ อารมณ์แต่ละอารมณ์ทางอายตนะทั้งหก จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คาม นิคม นคร ชนบท และ บุคคล. ผู้ปรารถนา รายละเอียดพึงดูจากที่มานั้น ๆ : อุปริ. ม. ๑๔/๑๔๔ – ๑๖๔/๑๙๙ – ๒๓๒; หรือดูที่หัวข้อว่า--“การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์ แก่ความเพียรละอกุศลและเจริญ กุศล” ที่หน้า ๑๑๔๓ แห่งหนังสือเล่มนี้).--อาการที่เรียกว่า อัฏฐังคิกมรรคบริบูรณ์ได้โดยวิธีลัด--ภิกษุ ท. ! เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่งจักษุตามที่เป็นจริง ;--เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูป ท. ตามที่เป็นจริง ;--เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง ;--เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง ;--เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม, ตามที่เป็นจริง; บุคคล ย่อมไม่กำหนัดยินดีในจักษุ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูป ท. ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเวทนา อันเกิดขั้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม.--เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดยินดีแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่หลงใหลแล้ว มีปกติเห็นโทษ อยู่; ปัญจุปาทานขันธ์ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อขึ้นอีกต่อไป และ ตัณหา อันเครื่องนำมาซึ่งภพใหม่ ประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป. ความกระวนกระวาย ทางกายและทางจิต ก็ละไป; ความแผดเผา ทางกายและทางจิต ก็ละไป; ความเร่าร้อน ทางกายและทางจิต ก็ละไป; บุคคลนั้นย่อมเสวยความสุขทั้งทางกายและทางจิต.--ทิฏฐิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ, ความดำริของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสังกัปปะ, ความเพียรของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น--สัมมาวายามะ สติของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสติ, สมาธิของผู้รู้ ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็น สัมมาสมาธิ. ส่วน กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะ ของเขา บริสุทธิ์มาแล้วแต่เดิม; (ดังนั้นเป็นอันว่า สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่ ในบุคคลผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น). ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรคแห่งบุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนั้น ย่อมถึงซึ่ง ความบริบูรณ์แห่งภาวนา ด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อปริ. ม. 14/523 - 525/828 - 830.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อปริ. ม. ๑๔/๕๒๓ - ๕๒๕/๘๒๘ - ๘๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1025
ชื่อบทธรรม : -วิธีการสืบต่อความไม่ประมาทของอริยสาวก
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ยึดการปฏิบัติอริยอัฏฐังคิกมรรคเป็นหลัก พึงมองให้เห็นความสำคัญที่สุดแห่งพระบาลีนี้ ที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าปฏิบัติในชั้นลึกคือการรู้เห็นอย่างถูกต้องเกี่ยวกับอายตนะอันเป็นที่ตั้งแห่งตัณหาอุปทานแล้ว ย่อมเป็นเคล็ดลับในการปฏิบัติอริยอัฏฐังคิกมรรคอย่างครบถ้วน ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ไม่เสียเวลามากเหมือนผู้ปฏิบัติชนิดแจกแจงเป็นองค์ๆ และองค์ละหลายๆ อย่าง ซึ่งโดยมากปฏิบัติจนตายหรือเกือบตายก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ จึงขอเน้นความสำคัญอย่างยิ่งแห่งพระบาลีนี้ แก่ผู้ปฏิบัติทุกคน.--ข้อความที่ยกมานี้ ยกมาแต่ข้อความที่แสดงด้วยเรื่องของจักษุ ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงเอาเองออกไปถึงเรื่องของ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมโน แต่ละอย่างๆ ออกเป็นห้าประเด็น เหมือนอย่างที่แสดงไว้ในกรณีแห่งจักษุข้างต้นนั้น, ก็จะได้อายตนะนิกธรรม ๖ หมวดๆ ละ ๕ อย่าง; รวมเป็น ๓๐ อย่าง โดยบริบูรณ์).--วิธีการสืบต่อความไม่ประมาทของอริยสาวก--นันทิยะ ! อริยสาวก เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?--นันทิยะ ! ในกรณีนี้คือ อริยสาวก เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหว (พุทธอเวจจัปปสาทะ) ดังนี้ว่า “แม้เพราะ--เหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้. อริยสาวกนั้น ไม่มีความพอใจหยุดอยู่ เพียงแค่ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าอย่างไม่หวั่นไหว แต่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป คือเพื่อความวิเวกในกลางวัน เพื่อความหลีกเร้นในกลางคืน.--เมื่ออริยสาวกนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้, ปราโมทย์ (ความบันเทิงใจ) ย่อมเกิดขึ้น; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติ (ความอิ่มใจ) ย่อมเกิดขึ้น; เมื่อมีใจปีติ กายก็สงบระงับ; ผู้มีกายสงบระงับ ย่อมรู้สึกเป็นสุข; จิตของ ผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ) เมื่อจิตตั้งมั่น ธรรม (ที่ยังไม่เคยปรากฏ) ย่อมปรากฏ; เพราะความปรากฏแห่งธรรม อริยสาวกนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับ ได้ว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.--(ในกรณีแห่งโสตาปัตติยังคะที่สอง คือ ความเลื่อมใสในพระธรรมอย่างไม่หวั่นไหว ก็ดี ที่สามคือ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว ก็ดี ที่สี่คือ ความมีศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ (อริยกันตศีล) ก็ดี ก็ได้ทรงตรัสไว้มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้อความข้างบนที่กล่าวถึงความ เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า )--นันทิยะ ! อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/501/1602
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๐๑/๑๖๐๒
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1026
ชื่อบทธรรม : -พึงทำความสมดุลย์ของสมถะและวิปัสสนา
เนื้อความทั้งหมด :-(ขอให้สังเกตเห็นใจความสำคัญที่ว่า แม้จะเป็น เตรียมพระโสดาบัน (คือธัมมานุสารี และสัทธานุสารีก็ตาม) หรือเป็นพระโสดาบันแล้วก็ตาม ยังมีกิจคือความไม่ประมาทที่จะต้องกระทำสืบต่อยิ่งขึ้นไป ความข้อความในพระสูตรนี้ ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอยู่เสมอ. ข้อปฏิบัติเหล่านั้นมีใจความสำคัญอยู่ที่ว่า กลางวันมีวิเวก คือสงัดจากความรบกวนภายนอก กลางคืนมีปฏิสัลลาณะ คือจิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง แต่มากำหนดอยู่ที่ธรรมอันควรกำหนดอยู่ตลอดเวลา จนเกิดผลตามลำดับ นับตั้งแต่ความปราโมทย์ ไปจนถึงความปรากฏแห่งธรรมที่ยังไม่เคยปรากฏ. อริยสาวกชั้นที่สูงขึ้นไปก็มีหลักปฏิบัติทำนองนี้ คือกลางวันมีวิเวิก กลางคืนมีปฏิสัลลาณะ เพื่อบรรลุธรรมชั้นที่สูงขึ้นไปกว่าที่บรรลุอยู่ จนกระทั่งถึงชั้นพระอรหันต์. แม้ชั้นพระอรหันต์ซึ่งเป็นชั้นที่ถึงที่สุดแห่งความไม่ประมาทแล้ว ก็ยังมีวิเวกในกลางวัน มีปฏิสัลลาณะในกลางคืน เพื่อความอยู่เป็นผาสุกของบุคคลผู้ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์.--ขอให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการอยู่อย่างมีวิเวกและมีปฏิสัลลาณะ ว่าเป็นฐานรากในการสืบต่อความไม่ประมาทให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในตัวเอง โดยไม่ต้องลำบากมากมายนัก).--พึงทำความสมดุลย์ของสมถะและวิปัสสนา--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำพวกอย่างไรเล่า ? สี่คือ บุคคลบางคน ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญา; บุคคลบางคน ได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน; บุคคลบางคน ไม่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในและไม่ได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญาด้วย; บุคคลบางคน ได้ทั้งเจโตในภายในด้วยและได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญาด้วย.--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น ๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะ ในภายใน แต่ไม่ได้ธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญานั้น บุคคลนั้น ควรดำรงตน อยู่ในเจโสมถะในภายใน แล้วประกอบความเพียรในธัมมวิปัสสนาด้วยอธิปัญญา--เถิด. สมัยต่อมาเขาก็จะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย.--๒. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายในนั้น บุคคลนั้น ควรดำรงตนอยู่ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วประกอบความเพียรในเจโตสมถะในภายใน. สมัยต่อมา เขาจะเป็นผู้ได้ทั้งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย และได้เจโตสมถะในภายในด้วย.--๓. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ไม่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และไม่ได้ อธิปัญญาธัมมวิปัสสนานั้น บุคคลนั้น เพื่อให้ได้ซึ่งกุศลธรรมทั้งสองอย่างนั้น พึง กระทำโดยประมาณอันยิ่งซึ่งฉันทะ (ความพอใจ) วายามะ (ความพยายาม) อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขะมักเขม้น) อัปปฏิวาณี (ความไม่ถอยหลัง) สติ และสัมปชัญญะ ให้เหมือนกับคนมีไฟลุกโพลงที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะ พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวาณี สติ สัมปะชัญญะ โดยประมาณอันยิ่ง เพื่อจะดับไฟอันลุกโพลงที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น. สมัยต่อมา เขาจะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย.--๔. ภิกษุ ท. ! ส่วน บุคคลผู้ได้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในด้วย และได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วยนั้น บุคคลนั้น ควรดำรงอยู่ในกุศลธรรมทั้งสองนั้นแล้วประกอบความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ให้ยิ่งขึ้นไป.--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีอยู่ หาอยู่ ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/121/93.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๒๑/๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1027
ชื่อบทธรรม : -การปฏิบัติเพื่อความสมดุลย์แห่งสมถะและวิปัสสนา
เนื้อความทั้งหมด :-(ในพระบาลีบางแห่ง (๑๔/๕๒๔/๘๒๙) ตรัสระบุมรรคหรืออริยสัจที่สี่ว่าได้แก่ สมถะและวิปัสสนา. ข้อความข้างบนนี้เกี่ยวข้องกับสมถะและวิปัสสนา จึงนำมาใส่ไว้ในหมวดนี้).--การปฏิบัติเพื่อความสมดุลย์แห่งสมถะและวิปัสสนา--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาสี่จำพวกนั้น ๑. บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคล ผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ! เราควรเห็นสังขารกันอย่างไร ? ควรพิจารณากันอย่างไร ? ควรเห็นแจ้งสังขารกันอย่างไร ?” ดังนี้. ผู้ถูกถามนั้น จะพยากรณ์ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นว่า “ท่านผู้มีอายุ ! สังขารควรเห็นกันอย่างนี้ๆ, สังขารควรพิจารณา กันอย่างนี้ๆ, สังขารควรเห็นแจ้งกันอย่างนี้ๆ” ดังนี้. สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.--๒. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน นั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาบุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แล้วท่านถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิต เป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ (สณฺฐเปตพพฺ) อย่างไร ? ควรถูกชักนำไป (สนฺนิยาเทตพฺพ) อย่างไร? ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว (เอโกทิกตฺตพฺพ) อย่างไร ? ควรทำให้ตั้งมั่น (สมาทหาตพฺพ) อย่างไร ? ” ดังนี้. ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตนเห็นแล้ว แจ่มแจ้งแล้วอย่างไร แก่บุคคลนั้นว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิต เป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ ด้วยอาการอย่างนี้ๆ, ควรถูกชักนำไป ด้วยอาการอย่างนี้ ๆ, ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ด้วยอาการอย่างนี้ๆ, ควรทำให้ตั้งมั่น ด้วยอาการอย่างนี้ๆ” ดังนี้. สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ทั้งอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาและเจโตสมถะในภายใน.--๓. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ไม่ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนานั้น บุคคลนั้น พึงเข้าไปหาผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายในและ--อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้อย่างไร ? ควรถูกชักนำไปอย่างไร ? ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียวอย่างไร ? ควรทำให้ตั้งมั่นอย่างไร? สังขารเป็นสิ่งที่ควรเห็นอย่างไร ? ควรพิจารณาอย่างไร ? ควรเห็นแจ้งอย่างไร ? ” ดังนี้. ผู้ถูกถามนั้นจะพยากรณ์ ตามที่ตน เห็นแล้วแจ่มแจ้งแล้วอย่างไร ? แก่บุคคลนั้น ว่า “ท่านผู้มีอายุ ! จิตเป็นสิ่งที่ควรดำรงไว้ด้วยอาการอย่างนี้ๆ, ควรถูกชักนำไป ด้วยอาการอย่างนี้ๆ, ควรทำให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ด้วยอาการอย่างนี้ๆ, ควรทำให้ตั้งมั่น ด้วยอาการ อย่างนี้ๆ; สังขารเป็นสิ่งที่ควรเห็นกันอย่างนี้ๆ, ควรพิจารณากันอย่างนี้ ๆ, ควรเห็นแจ้งกันอย่างนี้ ๆ” ดังนี้. สมัยต่อมา บุคคลนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ ทั้งเจโตสมถะในภายในและอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.--๔. ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ได้ทั้งเจโตสมถะในภายใน และอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา นั้น บุคคลนั้น พึงดำรงตนไว้ในธรรมทั้งสองนั้น แล้วประกอบความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ให้ยิ่งขึ้นไป.--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/122 - 124/94.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๒๒ - ๑๒๔/๙๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1028
ชื่อบทธรรม : -ความประสงค์สูงสุด มีได้เพราะสัมมัตตะ
เนื้อความทั้งหมด :-ความประสงค์สูงสุด มีได้เพราะสัมมัตตะ--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยสัมมัตตะ อาราธนา (ความสำเร็จสูงสุดชนิดเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า) ย่อมมี มิใช่มีวิราธนา (ความไม่ประสพความสำเร็จฯ). ข้อนั้น เป็นอย่าไรเล่า ? ภิกษุ ท. !--สำหรับผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะย่อมมีเพียงพอ ;--สำหรับผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติย่อมมีเพียงพอ ;--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีอาราธนา มิใช่มีวิราธนา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/226/104, 103.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๒๖/๑๐๔, ๑๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1029
ชื่อบทธรรม : -การให้ผลของมิจฉัตตะและสัมมัตตะ
เนื้อความทั้งหมด :-(ความไม่ประสงค์ (วิราธนา) มีได้เพราะอาศัยมิจฉัตตะ ตรัสไว้โดยนัยตรงกันข้าม ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้เอง. คำขยายความที่กว้างขวางออกไป มีอยู่ในข้อความต่อไป จากข้อความตอนนี้).--การให้ผลของมิจฉัตตะและสัมมัตตะ--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลมีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา .... ฯลฯ .... มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ เสียแล้ว, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เขากระทำเต็มที่ตามทิฏฐินั้น ใดๆ ก็ดี เจตนา ก็ดี ความปรารถนา ก็ดี ปณิธาน ก็ดี สังขาร (การปรุงแต่ง) ใดๆ ก็ดี ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดของบุคคลนั้น ย่อม เป็นไปเพื่อความทุกข์อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เป็นประโยชน์--เกื้อกูล. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้นเป็นทิฏฐิชั่ว (ปาปิก). ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน พรรณไม้สะเดา พรรณไม้ บวบขม พรรณไม้น้ำเต้าขม ที่เขาปลูกลงไปในดินเปียก; พืชนั้นเข้าไปจับเอา รสแห่งดินและรสแห่งน้ำใดๆ รสแห่งดินและรสแห่งน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขม ของเผ็ดร้อน ของไม่อร่อย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าพืชนั้นเป็นพืชชั่ว, ฉันใดก็ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ….ฯลฯ.... สัมมาญานะ สัมมาวิมุตติ แล้ว, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เขากระทำเต็มที่ตามทิฏฐินั้น ใดๆ ก็ดี เจตนา ก็ดี ความปรารถนา ก็ดี ปณิธาน ก็ดี สังขาร ใดๆ ก็ดี ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดของบุคคลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความสุขอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นประโยชน์เกื้อกูล. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ทิฏฐินั้นเป็นทิฏฐิดี (ภทฺทิก). ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน พืชพรรณอ้อย พืชพรรณข้าวสาลี พืชพรรณองุ่น (มุทฺทิก) ที่เขาปลูกลงไปในดินเปียก; พืชนั้นเข้าไปจับเอารสแห่งดินและรสแห่งน้ำใดๆ รสแห่ง ดินและรสแห่งน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสน่ายินดี รสหวาน รสชุ่มฉ่ำ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าพืชนั้นเป็นพืชดี ฉันใดก็ฉันนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/226 - 228/104.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๒๖ - ๒๒๘/๑๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1030
ชื่อบทธรรม : -รีบปฏิบัติให้สุดเหวี่ยงแต่ไม่ต้องร้อนใจว่าจงสำเร็จ
เนื้อความทั้งหมด :-รีบปฏิบัติให้สุดเหวี่ยงแต่ไม่ต้องร้อนใจว่าจงสำเร็จ--(นั่นแหละคือมัชฌิมาปฏิปทา)--ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ คฤหบดีชาวนารีบๆ ไถ คราด พื้นที่นา--ให้ดีเสียก่อน, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ปลูกพืช, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง. ภิกษุ ท. ! กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้แล; แต่ว่า คฤหบดีชาวนานั้น ไม่มีฤทธิ์หรืออนุภาพที่จะบันดาลว่า “ข้าวของเราจงงอกในวันนี้, ตั้งท้องพรุ่งนี้, สุกมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย, ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง;--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ การสมาทานการปฏิบัติ นศีลอันยิ่ง, การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง. ภิกษุ ท. ! กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมีสามอย่างเหล่านี้ แล; แต่ว่า ภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า “จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้” ดังนี้ได้เลย, ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติไปแม้ในศีล อันยิ่ง ปฏิบัติแม้ในจิตอันยิ่ง และปฏิบัติแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีอุปาทาน ได้เอง.--ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “ความพอใจของเราจักต้องเข้มงวดพอ ในการสมาทานปฏิบัติในศีล อันยิ่ง, ในการสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และในการสมาทานการปฏิบัติ ในปัญญาอันยิ่ง” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ อย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/309/532
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๐๙/๕๓๒
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1031
ชื่อบทธรรม : -ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์
เนื้อความทั้งหมด :-ภาวะบริสุทธิ์แห่งการประพฤติตบะพรหมจรรย์--โดย ๑๖ ประการ--( ก. ภาวะไม่บริสุทธิ์สำหรับเปรียบเทียบ )--“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อการเกียดกันกิเลสด้วยตบะบริบูรณ์อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคยังจะกล่าวถึงอุปกิเลสมีอย่างต่างๆแห่งการบำเพ็ญตบะนั้นอย่างไรอีกเล่า ?”--๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ คือ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเป็นผู้พอใจด้วยตบะนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ (เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อตัวกู, มิใช่เพื่อธรรมะ). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา พอใจด้วยตบะว่า บริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็ยังเป็นอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้บำเพ็ญตบะ.--๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มขู่ผู้อื่นด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาเมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาตบะ หลงตบะ ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาพอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่--เขา พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขายกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๖.นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา เมาลาภ หลงลาภ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาถึงการแบ่งแยกในโภชนะ ทั้งหลายว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้. เขาไม่ชอบสิ่งใด เขาสะบัดหน้าไม่สนใจ ละมันไปเสีย; เขา ชอบสิ่งใด เขาก็จดจ่อมัวเมา หมายมั่นซึ่งสิ่งนั้น ไม่มองเห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) กินเอา ๆ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย--จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นผู้ ที่เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้ มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจาก ข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. นิโค๎รธ ! การกระทำแม้นี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย ก็ มีความคิดว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีพสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้บำเพ็ญตบะ ดำรงชีวิตอยู่อย่างมี ลูข๑ ปฏิปทา อยู่ในตระกูลทั้งหลาย” ดังนี้ เขา เกิดมีความริษยาและตระหนี่ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมาด้วย อาการอย่างนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๐. ลูขะ คำนี้ แปลยากสำหรับคนไทย เคยแปลกันว่าเศร้าหมองบ้าง ปอนๆ บ้าง เป็นคำแปลที่อาจให้เกิดความเข้าใจผิดจากความหมายอันแท้จริง ซึ่งสูงหรือลึกไปกว่านั้น กล่าวคือ มีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่ไร้ค่า ไร้ความสวยงาม ไร้ความสะดวกสบาย เป็นชีวิตแบบต่ำสุดสำหรับ นักบวช ซึ่งเราเรียกกันโดยทั่วไปว่าเคร่งครัดอย่างยิ่ง. ขอให้ใช้คำว่า ลูขะ นี้เป็นคำคำหนึ่ง ในภาษาไทยสืบไปในภายหน้าด้วย.--๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ชอบนั่งแสดงตัว ตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของ ผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ประกาศอยู่ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ มีปกตินิสัยทำสิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็กล่าวสิ่งที่ไม่ควรว่าควร กล่าวสิ่งที่ควรว่าไม่ควร เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขาไม่ยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยาย ที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) แม้มีอยู่แท้. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ขี้โกรธ มักผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เป็นคน ลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน เป็นคน ริษยา ตระหนี่ เป็นคน โอ้อวด มีมายา เป็น--คน หัวดื้อ ดูหมิ่นท่าน เป็นคน ปรารถนาลามก ตกอยู่ในอำนาจแห่งความ ปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบอยู่ด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นคนลูบคลำ สิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัดคืนได้ยาก. นิโค๎รธ ! แม้ข้อนี้ก็เป็นอุปกิเลสของผู้บำเพ็ญตบะ.--นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : การเกียดกันกิเลส ด้วยตบะในรูปแบบอย่างที่ว่ามานี้ (ทุกข้อ) เป็นอุปกิเลส หรือไม่เป็นอุปกิเลสเล่า ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลส หามิได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีอยู่ คือผู้ บำเพ็ญตบะบางคนในกรณีนี้ ประกอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่างแล้ว ทำไมจะไม่ ประกอบด้วยอุปกิเลสแต่ละอย่าง ๆ เล่า”.--(ข. ภาวะบริสุทธิ์ที่สำหรับถือเป็นหลัก)--๑. นิโค๎รธ ! ในกรณีนี้ ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่เป็นผู้พอใจไม่รู้สึกว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ด้วยตบะนั้น (ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตัวกู). นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ได้บำเพ็ญตบะเพื่อความพอใจแห่งตนนั้น นั่นแหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น--๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่เขาไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่ เขา ไม่เมาตบะ ไม่หลงตบะ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะ นั้น ด้วยเหตุผลนี้ แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่เป็นผู้พอใจ ด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่เป็นผู้พอใจด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ ว่าบริบูรณ์แล้วตามประสงค์ นั้น ด้วยเหตุผลนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาทำลาภสักการะและเสียงสรรเสริญให้เกิดขึ้น เขาไม่เมาลาภ ไม่หลงลาภ ไม่ถึงความมัวเมาลาภสักการะและเสียงสรรเสริญนั้น. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขา ไม่ เมาลาภไม่หลงลาภไม่ถึงความมัวเมาสักการะและเสียงสรรเสริญ นั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๗. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขา ไม่ถึงการแบ่งแยกในภาชนะ ทั้งหลาย ว่า “นี้ควรแก่เรา นี้ไม่ควรแก่เรา” ดังนี้ เขา ไม่ชอบสิ่งใด เขาไม่ได้สะบัดหน้าแสดงความไม่สนใจ ละมันไปเสีย เขา ชอบสิ่งใด เขาก็ไม่จดจ่อ ไม่มัวเมา ไม่หมายมั่นสิ่งนั้น มองเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องออก (จากอัสสาทะแห่งสิ่งนั้น) บริโภคอยู่. ด้วยเหตุนี้แหละ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๘. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ สมาทานตบะอยู่ เขาไม่คิดอย่างนี้ว่า พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เดียรถีย์ ทั้งหลาย จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่จะได้ลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๙. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นผู้เที่ยวรุกราน สมณะหรือพราหมณ์ใดๆ ว่า “อะไรกันนะ ท่านผู้นี้มีอาชีพ (ดำรงชีพ) สำส่อน กินเสียหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพืชเกิดจากราก พืชเกิดจากข้อ พืชเกิดจากผล พืชเกิดจากยอด และพืชเกิดจากลำต้นเป็นที่ห้า” ดังนี้ ด้วยวาทะย่ำยีสมณะราวกะว่ามีคมแห่งฟันดังสายฟ้า. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๐. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ เห็นสมณะหรือ พราหมณ์ใด ๆ ที่คนพากันสักการะอยู่ เคารพอยู่ นับถืออยู่ บูชาอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย เขา ไม่มีความคิดอย่างนี้ ว่า “คนทั้งหลายพากันสักการะเคารพนับถือบูชาซึ่งสมณะพราหมณ์นี้ผู้มีอาชีวะสำส่อนอยู่ ในตระกูลทั้งหลาย แต่กลับไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเราผู้ดำรงชีพอยู่อย่างมีลูขปฏิปทา อยู่ในตระกูล--ทั้งหลาย” ดังนี้ เขา ไม่เกิดมีความริษยาและตระหนี่ ในตระกูลทั้งหลายขึ้นมา อย่างนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๑. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่ชอบนั่งแสดง ตนตามทางที่คนผ่าน (เพื่ออวดคน). ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๒. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ จะไม่เปิดเผยตน (ตามที่เป็นจริง) เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก็หามิได้ (เขาเป็นคนจริงและเปิดเผย) ประกาศอยู่ ว่า “อย่างนี้ๆ เป็นตบะของฉัน, มีในตบะของฉัน” ดังนี้ เป็นต้น. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๓. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่มีปกตินิสัยทำ สิ่งไรๆ ให้เป็นของปกปิด เมื่อถูกถามอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่ท่านไหม ก็ กล่าวสิ่งที่ ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวสิ่งที่ควรกล่าวว่าควร ไม่เป็นผู้กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจ ดังนี้. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๔. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ, เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรมอยู่, เขายอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ต่อปริยายที่ควรยอมรับ (ว่าถูกว่าจริง) ซึ่งมีอยู่แท้. นิโค๎รธ ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๕. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธ. นิโค๎รธ ! ข้อที่เขาเป็นคนไม่ขี้โกรธ ไม่ผูกโกรธนั้น ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--๑๖. นิโค๎รธ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ผู้บำเพ็ญตบะ ไม่เป็นคนลบหลู่ คุณท่าน ตีตนเสมอท่าน ไม่เป็นคนริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เป็นคนหัวดื้อ ไม่ดูหมิ่นท่าน ไม่เป็นคนปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ประกอบอยู่ด้วยอันคาหิกทิฏฐิ ไม่เป็นคนลูบคลำสิ่งต่างๆ ตามทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือไว้เหนียวแน่น สลัด คืนได้ง่าย. ด้วยเหตุนี้แหละเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.--นิโค๎รธ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์เล่า ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อเป็นอย่างนี้ มันเป็นการเกียดกันกิเลสด้วยตบะที่บริสุทธิ์โดยแท้ หาใช่ไม่บริสุทธิ์ไม่ ทั้งยังเป็นการบรรลุถึงยอดถึงแก่นอีกด้วย พระเจ้าข้า !”--นิโค๎รธเอ๋ย ! การเกียดกันกิเลสด้วยตบะเพียงเท่านี้ ยังไม่ถึงยอด ถึงแก่น เป็นเพียงถึงเปลือกแห้งๆ เท่านั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/44 - 50/24 - 25.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๔๔ - ๕๐/๒๔ - ๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 89
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site