สัทธรรมลำดับที่ : 1005
ชื่อบทธรรม : -ข. ลักษณะแห่งผู้เป็นเสขปาฏิบท
เนื้อความทั้งหมด :-(การที่เรียกว่า อินทรียภาวนาชั้นเลิศ นั้น หมายถึงการดับไปอย่างเร็วที่สุดของอารมณ์ และด้วยอำนาจความรู้ชัดว่าอารมณ์นั้น ๆ เป็นเพียงสังขตะอันเป็นของหยาบ และเป็นเพียงสิ่งอาศัยกันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีสิ่งตรงกันข้ามคืออุเบกขาอันเป็นของละเอียด ประณีตรำงับ ; ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นธรรมะชั้นลึก จึงจัดเป็นชั้นเลิศสุดของอินทรียภาวนาในธรรมวินัยของพระองค์.)--ข. ลักษณะแห่งผู้เป็นเสขปาฏิบท--อานนท์ ! บุคคลผู้มีธรรมเครื่องดำเนินเฉพาะตนในระดับเสขะ (เสขปาฏิปท) เป็นอย่างไรเล่า ?--อานนท์ ! ในกรณีนี้ ความพอใจ – ความไม่พอใจ – ความพอใจและไม่พอใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ …. ฟังเสียงด้วยโสตะ .… ดมกลิ่นด้วยฆานะ .... ลิ้มรสด้วยชิวหา .... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยผิวกาย .... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ. ภิกษุนั้น ย่อม รู้สึกอึดอัด กระทบกระทั่ง รังเกียจอยู่ด้วยความพอใจ – ความไม่พอใจ – ความพอใจและไม่พอใจนั้น.--อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า บุคคลผู้มีธรรมเครื่องดำเนินเฉพาะตนในระดับเสขะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/546/862.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๖/๘๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1006
ชื่อบทธรรม : -ค. ลักษณะแห่งผู้เจริญอินทรีย์ขั้นอริยะ
เนื้อความทั้งหมด :-(พระอริยบุคคลระดับเสขะ ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังรู้สึกอึดอัดกระทบกระทั่งต่ออารมณ์ที่มากระทบ ; แม้จะเป็นอิฏฐารมณ์ฝ่ายกุศล เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีพอใจ ก็อึดอัดในฐานะที่เป็นอารมณ์อันมากระทบตน เพราะยังมีความยึดมั่นถือมั่น ( อุปาทาน ) บางส่วนที่เหลืออยู่ ; กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ยังมีตัวตนเหลืออยู่สำหรับรับการกระทบกระทั่ง จึงไม่ว่างไม่เกลี้ยงไม่สงบเย็น ).--ค. ลักษณะแห่งผู้เจริญอินทรีย์ขั้นอริยะ--อานนท์ ! บุคคลผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ในขั้นอริยะ (อริยภาวิตินฺทฺริย) เป็นอย่างไรเล่า ?--อานนท์ ! ในกรณีนี้ ความพอใจ – ความไม่พอใจ – ความพอใจและไม่พอใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุเพราะเห็นรูปด้วยจักษุ .... ฟังเสียงด้วยโสตะ .... ดมกลิ่นด้วยฆานะ .... ลิ้มรสด้วยชิวหา .... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยผิวกาย .... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ. ภิกษุนั้น : ---ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งที่เป็นปฏิกูล (คือไม่พอใจ หรือเป็นที่ตั้งของโทสะ) ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มี ความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งที่เป็นปฏิกูลนั้นได้.--ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่าปฏิกูล ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล (คือไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ รังแต่จะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ) ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นได้.--ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูล ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นได้.--ถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างมีความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่เป็นปฏิกูล ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้มีความรู้สึกว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งที่เป็นปฏิกูลนั้นได้.--และถ้าเธอหวังว่า จะเป็นผู้อยู่อย่างเว้นขาดจากความรู้สึกว่าปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองอย่างเสีย แล้วอยู่อย่างผู้อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ดังนี้ เธอก็ อยู่อย่างผู้อุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองอย่างนั้นได้.--อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า บุคคลผู้มีอินทรีย์อันเจริญแล้ว ในขั้นอริยะ.--( ข้อนี้หมายถึงผู้เจริญอินทรีย์จนบังคับจิตได้ ในกรณีที่เกี่ยวกับความเป็นปฏิกูล ความไม่ปฏิกูล และความพ้นจากความหมายแห่งความเป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูล จึงสามารถบังคับจิต ควบคุมจิตไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย แต่อยู่ด้วยอุเบกขาได้ถึงที่สุด. เข้าใจว่า แม้ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็สามารถกระทำได้.--อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็น ความหมายของคำว่าเสขะ จากข้อความในเรื่องข้างบน และ ความหมายของคำว่าอริยะ จากข้อความในเรื่องนี้, ว่าจะต่างกันอย่างไร ).--อานนท์ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันว่า อนุตตรอินทรียภาวนาในอริยวินัย เราแสดงแล้วแก่เธอ. เสขปาฏิบท เราก็แสดงแล้วแก่เธอ. อริยภาวิตินทริยะ เราก็แสดงแล้วแก่เธอ. อานนท์ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย ;--กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย. อานนท์ ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย. อานนท์ ! พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/546 - 547/863 - 865.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๖ - ๕๔๗/๘๖๓ - ๘๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1007
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาเพื่อบรรลุอรหัตตผลของคนเจ็บไข้
เนื้อความทั้งหมด :-ปฏิปทาเพื่อบรรลุอรหัตตผลของคนเจ็บไข้--ภิกษุ ท. ! ถ้า ธรรมห้าประการ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ต่อกาลไม่นานเทียว. ธรรมห้าประการนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ : ---เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่ ;--เป็นผู้มีปกติสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่ ;--เป็นผู้มีปกติสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่ ;--เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง อยู่ ;--มรณสัญญาอันเขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.--ภิกษุ ท. ! ธรรมห้าประการเหล่านี้ ไม่เว้นห่างไปเสียจากคนเจ็บไข้ทุพพลภาพคนใด ข้อนี้เป็นสิ่งที่เขาผู้นั้นพึงหวังได้ คือเขาจักกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเทียว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปัญฺจก. อํ. 22/160/121.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปัญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐/๑๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1008
ชื่อบทธรรม : -องค์สิบห้าเพื่อการทำลายกระเปาะของอวิชชา--(มุ่งผลอย่างเดียวกับมัชฌิมาปฏิปทา)
เนื้อความทั้งหมด :-[ ธรรมทั้งห้าประการนี้ ในสูตรอื่น ( ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔/๖๙ ) ตรัสไว้ไม่เฉพาะคนเจ็บไข้ แต่ตรัสไว้สำหรับคนทั่วไป ว่าเป็นธรรมที่เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว จะเป็นไปพร้อมเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับสนิท สงบรำงับ รู้ยิ่ง รู้พร้อม และนิพพาน โดยส่วนเดียว.--สูตรถัดไปอีก ( ๒๒/๙๕/๗๐ ) ตรัสว่า เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสิ้น อาสวะทั้งหลาย.--อีกสูตรถัดไป (๒๒/๙๕/๗๑) ตรัสว่า เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว มีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติเป็นผลเป็นอานิสงส์ ].--องค์สิบห้าเพื่อการทำลายกระเปาะของอวิชชา--(มุ่งผลอย่างเดียวกับมัชฌิมาปฏิปทา)--( ภิกษุ ละตะปูตรึงจิตทั้งห้า ประการเสียได้ คือไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สิกขา มีจิตไม่ขัดแค้นในเพื่อนสพรหมจารี ; และ ถอนสิ่งผูกพันจิตห้า ประการเสียได้คือไม่กำหนัดในกาม ไม่กำหนัดในกาย ไม่กำหนัดในรูป ไม่เห็นแก่นอน ไม่ประพฤติพรหมจรรย์เพราะปรารถนาความเป็นเทพ ; รวมสิบประการ ได้แล้ว : - )--ภิกษุนั้น เจริญอิทธิบาท (สี่ประการ) อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ - วิริยะ - จิตตะ – วิมังสา เป็นปธานกิจ มี อุสโสฬ๎หี (ความเพียรมีประมาณโดยยิ่ง) เป็นที่ห้า.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ประกอบพร้อมด้วยองค์สิบห้า รวมทั้งอุสโสฬ๎หีดังนี้แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อเจาะแทงกิเลส เพื่อรู้พร้อม เพื่อถึงทับโยคัก เขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเสมือนฟองไข่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง ๑๒ ฟอง อันแม่ไก่นอนทับ กก ฟักด้วยดีแล้ว, โดยที่แม่ไก่ไม่ต้องทำความปรารถนาว่า“ลูกไก่เหล่านี้จงทำลายกระเปาะฟอง ด้วยเล็บเท้า ด้วยจะงอยปาก แล้วออกมาโดยสวัสดีเถิด” ดังนี้ ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะด้วยเล็บเท้าจะงอยปาก ออกมาได้โดยสวัสดี, ฉันใด ; ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์สิบห้าพร้อมทั้งอุสโสฬ๎หีอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเพื่อเจาะแทงกิเลส เพื่อรู้พร้อม เพื่อถึงทับโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าได้เอง, ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/210/233
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๑๐/๒๓๓
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1009
ชื่อบทธรรม : -สุขโสมนัสที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ
เนื้อความทั้งหมด :-สุขโสมนัสที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ--( มัชฌิมาปฏิปทาที่แสนสุข )--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัส ในทิฏฐธรรมเทียว ; และการกำเนิดของเธอนั้น จักเป็นการปรารภเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วย. ธรรม ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมหกประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ : ---เป็น ธัมมาราโม ( มีธรรมเป็นที่มายินดี ) ;--เป็น ภาวนาราโม ( มีการเจริญภาวนาเป็นที่มายินดี ) ;--เป็น ปหานาราโม ( มีการละกิเลสเป็นที่มายินดี ) ;--เป็น ปวิเวการาโม ( มีความสงัดจากโยคธรรมเป็นที่มายินดี ) ;--เป็น อัพ๎ยาปัชฌาราโม ( มีธรรมอันไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ) ;--เป็น นิปปปัญจาราโม ( มีธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ).--ภิกษุ ท.! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัส ในทิฏฐธรรมเทียว ; และการกำเนิดของเธอนั้น จักเป็นการปรารภเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/480/349.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๐/๓๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1010
ชื่อบทธรรม : -ความเย็นที่ไม่มีอะไรเย็นยิ่งไปกว่า
เนื้อความทั้งหมด :-ความเย็นที่ไม่มีอะไรเย็นยิ่งไปกว่า--ก. พวกที่ไม่ทำความเย็น--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเย็นอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า. ธรรม ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมหกประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ : ---ไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ( น นิคฺคเหตพฺพํ ) ;--ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ( น ปคฺคเหตพฺพํ ) ;--ไม่ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรทำจิตให้ร่าเริง ( น สมฺปหํสิตพฺพํ ) ;--ไม่เข้าไปเพ่งอย่างยิ่งซึ่งจิตในสมัยที่ควรเข้าไปเพ่งอย่างยิ่ง ( น อชฺฌุเปกฺขิตพฺพํ ) ;--เป็นผู้มีจิตน้อมไปในธรรมทราม ( หีนาธิมุตฺติโก ) ; และ--เป็นผู้ยินดียิ่งใน สักกายะ ( สกฺกายาภิรโต ).--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเย็นอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า.--ข. พวกที่ทำความเย็น--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเย็นอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า. ธรรม ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมหกประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ : ---ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ( นิคฺคเหตพฺพํ ) ;--ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ( ปคฺคเหตพฺพํ ) ;--ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรทำจิตให้ร่าเริง ( สมฺปหํสิตพฺพํ ) ;--เข้าไปเพ่งอย่างยิ่งซึ่งจิตในสมัยที่ควรเข้าไปเพ่งอย่างยิ่ง ( อชฺฌุเปกฺขิตพฺพํ ) ;--เป็นผู้มีจิตน้อมไปในธรรมประณีต ( ปณีตาธิมุตฺติโก ) ; และ--เป็นผู้ยินดียิ่งใน นิพพาน ( นิพฺพานาภิรโต ).--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง ความเย็นอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/484/356.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๔/๓๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1011
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาการบรรลุอรหัตต์หรืออนาคามีในภพปัจจุบัน
เนื้อความทั้งหมด :-( ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในที่นี้ทรงแสดง สักกายะ ไว้ในฐานะเป็นสิ่งที่ตรงกัน ข้ามจาก นิพพาน, ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ทั้งสองอย่างเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีได้โดยเท่ากัน แล้วแต่ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ).--ปฏิปทาการบรรลุอรหัตต์หรืออนาคามีในภพปัจจุบัน--ภิกษุ ท. ! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการ ; ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้--ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม (ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว, หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังมีอุปาทิ (เชื้อ) เหลืออยู่.--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๕ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ : ---มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายในนั่นเทียว เพื่อเกิดปัญญารู้ความ--เกิดขึ้นและดับไปแห่งธรรมทั้งหลาย ๑ ;--มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย ๑ ;--มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร ๑ ;--มีความสำคัญว่าในโลกทั้งปวงไม่มีอะไรที่น่ายินดี ๑ ;--มีปกติเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑.--ภิกษุ ท. ! บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม เจริญกระทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ; ผู้นั้น พึงหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ในบรรดาผลทั้งหลายสองอย่าง กล่าวคือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม (ภพปัจจุบัน) นั่นเทียว, หรือว่า อนาคามิผล เมื่อยังอุปาทิเหลืออยู่ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/161/122.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๑/๑๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1012
ชื่อบทธรรม : -หมวด ฉ. ว่าด้วย อุปมาธรรมของมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ฉ. ว่าด้วย อุปมาธรรมของมรรค--ระวังมัคคภาวนา : มีทั้งผิดและถูก--( ฝ่ายผิด )--ภิกษุ ท. ! เดือยแห่งเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยแห่งเมล็ดข้าวยวะที่วางไว้ไม่ถูกท่า จักตำมือ หรือตำเท้าที่เหยียบกดลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมา ได้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่มีได้. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะ--เหตุว่า เดือยแห่งเมล็ดข้าวเหล่านั้น วางไว้ไม่ถูกท่า (สำหรับที่จะตำ), ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เมื่อ ทิฏฐิเป็นสิ่งที่ตั้งไว้ผิด มัคคภาวนาเป็นสิ่งที่ตั้งไว้ผิดแล้ว ภิกษุนั้น จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือ จักกระทำนิพพานให้แจ้ง ได้นั้น : นั่น ไม่เป็นฐานะที่มีได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า ทิฏฐิเป็นสิ่งที่ตั้งไว้ผิด, ฉันนั้นเหมือนกัน.--( ฝ่ายถูก )--ภิกษุ ท. ! เดือยแห่งเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยแห่งเมล็ดข้าวยวะที่วางอยู่ถูกท่า จักตำมือ หรือตำเท้าที่เหยียบกดลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมา ได้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่าเดือยแห่งเมล็ดข้าวเหล่านั้น วางอยู่ถูกท่า (สำหรับที่จะตำ), ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เมื่อ ทิฏฐิเป็นสิ่งที่ตั้งไว้ถูก มัคคภาวนาเป็นสิ่งที่ตั้งไว้ถูก แล้ว ภิกษุนั้น จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือ จักกระทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น : นั่น เป็นฐานะที่มีได้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่าทิฏฐิเป็นสิ่งที่ตั้งไว้ถูก, ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ที่เรียกว่า เมื่อทิฏฐิตั้งไว้ถูก มัคคภาวนาตั้งไว้ถูก แล้ว ภิกษุนั้นจักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักกระทำนิพพานให้แจ้ง ได้ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง (ซึ่งอุปาทานขันธ์); เจริญสัมมาสังกัปปะ....; เจริญสัมมาวาจา….; เจริญสัมมากัมมันตะ….; เจริญสัมมาอาชีวะ….; เจริญสัมมาวายามะ ….; เจริญสัมมาสติ....; เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการ--สลัดลง (ซึ่งอุปทานขันธ). ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล คือข้อที่กล่าวว่า เมื่อทิฏฐิตั้งไว้ถูก มัคคภาวนาตั้งไว้ถูก แล้ว ภิกษุนั้นจักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้ เกิดขึ้น หรือจักกระทำนิพพานให้แจ้ง ได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/13/42 - 44.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๓/๔๒ - ๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1013
ชื่อบทธรรม : -ภาวะแห่งความถูก – ผิด
เนื้อความทั้งหมด :-ภาวะแห่งความถูก – ผิด--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ภาวะแห่งความผิด (มิจฺฉตฺต) และ ภาวะแห่งความถูก (สมฺมตฺต). พวกเธอจงฟัง.--ภิกษุ ท. ! ภาวะแห่งความผิด เป็นอย่างไรเล่า ? ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ภาวะแห่งความผิด.--ภิกษุ ท. ! ภาวะแห่งความถูก เป็นอย่างไรเล่า ? ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ภาวะแห่งความถูก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/22/59 - 61.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๒/๕๙ - ๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1014
ชื่อบทธรรม : -ภาวะแห่งความเป็นผิด - ถูก
เนื้อความทั้งหมด :-[ภาวะแห่งความผิดและภาวะแห่งความถูก ฝ่ายละแปดประการนี้ ในที่อื่นเรียกว่า อกุศลธรรมและกุศลธรรม ก็มี ( ๑๙/๒๒/๖๒ – ๖๔) ; ในที่อื่นเรียกว่า มิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทา ก็มี (๑๙/๒๒-๒๓/๖๕-๖๗) ; และในที่อื่นอีกเรียกว่า มิจฉาปฏิปัตติและสัมมาปฏิปัตติ ก็มี (๑๙/๒๘/๘๙-๙๑).--สำหรับสิ่งที่เรียกว่า มิจฉัตตะและสัมมัตตะ ในที่นี้นั้น แสดงไว้ด้วยองค์แปด; ในที่อื่นแสดงไว้ด้วยองค์สิบ ก็มี คือเพิ่ม มิจฉาญาณะ – รู้ผิด มิจฉาวิมุตติ – หลุดพ้นผิด เข้ากับมิจฉัตตะแปด เป็นมิจฉัตตะสิบ ก็มี (ทสก. อํ. ๒๔/๒๕๗/๑๓๒), และเพิ่มสัมมาญาณะ ---รู้ถูก สัมมาวิมุตติ – หลุดพ้นถูก เข้ากับสัมมัตตะแปด เป็นสัมมัตตะสิบ ก็มี (ทสก. อํ. ๒๔/ ๒๕๗/๑๓๓), ดังมีข้อความตรัสไว้ดังหัวข้อข้างล่างนี้ :-].--ภาวะแห่งความเป็นผิด - ถูก--ภิกษุ ท. ! มิจฉัตตะ (ภาวะแห่งความเป็นผิด) ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล มิจฉัตตะสิบ.--ภิกษุ ท. ! สัมมัตตะ (ภาวะแห่งความเป็นถูก) ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สัมมัตตะสิบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/257/132 – 133.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๕๗/๑๓๒ – ๑๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1015
ชื่อบทธรรม : -อเสขธรรมสิบ ในฐานะพิธีเครื่องชำระบาป
เนื้อความทั้งหมด :-อเสขธรรมสิบ ในฐานะพิธีเครื่องชำระบาป--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาชนบททางทิศใต้ มีพิธีกรรม ชื่อโธวนะ. ในพิธีกรรมนั้น มีข้าว มีน้ำ มีของเคี้ยว ของบริโภค มีของควรลิ้ม ของควรดื่ม มีการฟ้อน การขับ และการประโคม. ภิกษุ ท. ! พิธีกรรมชื่อโธวนะนั้น มีอยู่ มิใช่เรากล่าวว่าไม่มี แต่ว่าพิธีกรรมชื่อโธวนะนั้น เป็นของต่ำ เป็นของ ชาวบ้าน ควรแก่บุถุชน ไมใช่ของอารยชน ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็น--ไปพร้อมเพื่อความหน่ายทุกข์ เพื่อความคลายกำหนัด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง โธวนะอันประเสริฐ ที่เป็นไปพร้อมเพื่อ ความหน่ายทุกข์โดยส่วนเดียว เพื่อเป็นความคลายกำหนด ความดับ ความรำงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เป็นโธวนะที่เมื่อสัตว์ผู้มีความเกิดเป็น ธรรมดาได้อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความเกิด, ผู้มีความแก่เป็นธรรมดาได้ อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความแก่, ผู้มีความตายเป็นธรรมดาได้อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความตาย, ผู้มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจได้อาศัยแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความโศก ความ ร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ. พวกเธอจงฟังคำนั้น จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. (ต่อจากนั้น ทรงแสดงอเสขธรรม ๑๐ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/231/107
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๓๑/๑๐๗
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1016
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค--มีความหมายแห่งความเป็นกัลยาณมิตร--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมนี้ เป็นครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์, กล่าวคือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ความเป็นผู้มีสหายดี ความเป็นผู้มีพวกพ้องดี”.--อานนท์ ! อย่ากล่าวอย่างนั้น ; อานนท์! อย่ากล่าวอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว, กล่าวคือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ความเป็นผู้มีสหายดี ความเป็นผู้มีพวกพ้องดี.--อานนท์ ! สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี นั้น ข้อนี้เป็นสิ่งที่พึงหวังได้ คือ จักทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญได้ จักกระทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากได้. ข้อนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ข้อนั้นคือ ภิกษุในกรณีนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม ไปเพื่อการสลัดลง (ซึ่งเป็นอุปทานขันธ์), เจริญสัมมาสังกัปปะ . . . . เจริญสัมมาวาจา . . . . เจริญสัมมากัมมันตะ . . . . เจริญสัมมาอาชีวะ . . . . เจริญสัมมาวายามะ . . . . เจริญสัมมาสติ . .. . เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง (ซึ่งเป็นอุปทานขันธ์), อานนท์ ! อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามี มิตรดี (กลฺยาณมิตฺต) มีสหายดี (กลฺยาณสหาย) มีพวกพ้องดี (กลฺยาณสมฺปวงฺก) ทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญได้ กระทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากได้.--อานนท์ ! ข้อความที่ว่าเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี เป็น พรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว นั้น อันใคร ๆ พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ : อานนท์ ! เพราะอาศัยเราแล เป็นกัลยาณมิตร สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเกิด สัตว์ที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ สัตว์ที่มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาส. อานนท์! โดยปริยายนี้แล อันใครๆ พึงทราบว่าความเป็นผู้มี มิตรดี ความเป็นผู้มีสหายดี ความเป็นผู้มีพวกพ้องดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ทีเดียว ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/2 - 3/4 - 7.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒ - ๓/๔ - ๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1017
ชื่อบทธรรม : -คำตรัสแก่พระสารีบุตร :ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! ความเป็นผู้มีมิตรดี ความเป็นผู้มี สหายดี ความเป็นผู้มีพวกพ้องดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
เนื้อความทั้งหมด :-( คำตรัสแก่พระสารีบุตร :-)--ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! ความเป็นผู้มีมิตรดี ความเป็นผู้มี สหายดี ความเป็นผู้มีพวกพ้องดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น.--สารีบุตร ! สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี นั้น ข้อนี้เป็นสิ่งที่พึงหวังได้ คือ จักทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญได้ จักกระทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้มากได้. (ต่อจากนั้นตรัสจำแนกองค์แห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง แล้วตรัสความที่สัตว์อาศัยพระองค์เป็น กัลยาณมิตรแล้ว พ้นจากชาติชรามรณะและทุกข์ทั้งปวงได้ เช่นเดียวกับข้อความที่กล่าวแล้วข้างต้น ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/3 - 4/8 - 11.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓ - ๔/๘ - ๑๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1018
ชื่อบทธรรม : -นาบุญหรือนาบาป เนื่องอยู่กับองค์แห่งมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-นาบุญหรือนาบาป เนื่องอยู่กับองค์แห่งมรรค--ก. นาบาป--ภิกษุ ท. ! พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง ย่อม ไม่ให้ผลมาก ไม่ให้ความพอใจมาก ไม่ให้กำไรมาก. ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง อย่างไรเล่า ? แปดอย่าง คือ นาในกรณีนี้ พื้นที่ลุ่มๆ ดอนๆ เต็มไปด้วยก้อนหินและก้อนกรวด ดินเค็ม ไถให้ลึกไม่ได้ ไม่มีทางน้ำเข้า ไม่มีทางน้ำออก ไม่มีเหมือง ไม่มีหัวคันนา, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน : ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์แปดอย่างเหล่านี้ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก. ที่ว่าประกอบด้วยองค์แปดอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? แปดอย่าง คือ สมณพราหมณ์ในกรณีนี้ เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสังกัปปะ มีมิจฉาวาจา มีมิจฉา--กัมมันตะ มีมิจฉาอาชีวะ มีมิจฉาวายามะ มีมิจฉาสติ มีมิจฉาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์แปดอย่างอย่างนี้ เป็นทาน ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่แผ่ไพศาลมาก.--ข. นาบุญ--ภิกษุ ท. ! พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง ย่อม ให้ผลมาก ให้ความพอใจมาก ให้กำไรมาก. ประกอบด้วยลักษณะ ๘ อย่าง อย่างไรเล่า ? แปดอย่าง คือ นาในกรณีนี้ พื้นที่ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่เต็มไปด้วยก้อนหินและก้อนกรวด ดินไม่เค็ม ไถให้ลึกได้ มีทางน้ำเข้า มีทางน้ำออก มีเหมือง มีหัวคันนา, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉัน นั้นเหมือนกัน : ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์แปดอย่างเหล่านี้ เป็นทานมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก. ที่ว่าประกอบด้วยองค์แปดอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? แปดอย่าง คือ สมณพราหมณ์ใน กรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีสัมมาสังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ที่ประกอบด้วยองค์แปดอย่างอย่างนี้ เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/241/124.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๔๑/๑๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 87
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site