สัทธรรมลำดับที่ : 997
ชื่อบทธรรม : -หมวด ง. ว่าด้วย การทำหน้าที่ของมรรค-อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อนี้หมายความว่า เมื่อมีการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ผลย่อมเกิดขึ้นเป็นการน้อมไปเพื่อนิพพานอยู่ในตัวโดยไม่ต้องเจตนา เหมือนแม่ไก่ฟักไข่อย่างดีแล้ว ลูกไก่ย่อมออกมาเป็นตัวโดยที่แม่ไก่ไม่ต้องเจตนาให้ออกมา, ฉันใดก็ฉันนั้น. ขอให้พิจารณาดูให้ดี จงทุกคนเถิด).--หมวด ง. ว่าด้วย การทำหน้าที่ของมรรค--อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว--ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนรับรองแขก มีอยู่. ณ เรือนนั้น มีแขกมาจากทิศตะวันออก พักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศตะวันตกพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศเหนือพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศใต้พักอาศัยอยู่บ้าง มีแขกวรรณะกษัตริย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะพราหมณ์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะแพศย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะศูทรมาพักอยู่ก็มี (ในเรือนหลังเดียวพักกันอยู่ได้ถึงสี่วรรณะ จากสี่ทิศ ดังนี้), นี้ฉันใด;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ภิกษุเมื่อเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค :---ย่อม กำหนดรู้ ซึ่งธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ;--ย่อม ละ ซึ่งธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ;--ย่อม ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ;--ย่อม ทำให้เจริญ ซึ่งธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งได้. (หมายความว่า ในการเจริญอริยมรรคเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมมี การกระทำ และ ผลแห่งการกระทำ รวมอยู่ถึงสี่อย่าง เช่นเดียวกับเรือนหลังเดียวมีคนพักรวมอยู่ ๔ พวก, ฉันใดก็ฉันนั้น).--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์; กล่าวคือ ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ--รูป, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ เวทนา, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สังขาร, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ วิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า อวิชชา และ ภวตัณหา.--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า วิชชา และ วิมุตติ.--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า สมถะ และ วิปัสสนา.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างไรเล่า (จึงจะ มีผล ๔ ประการนั้น) ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . . สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างนี้แล (จึงมีผล ๔ ประการนั้น).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/77 - 78/290 - 295.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๗ - ๗๘/๒๙๐ - ๒๙๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 998
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว--ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว
เนื้อความทั้งหมด :-(ธรรม ๔ อย่างในสูตรนี้ เรียงลำดับไว้เป็น ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ ตรงกับหลักธรรมดาทั่วๆไป ของอริยสัจสี่; แต่มีสูตรอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๔/๘๒๙) เรียงลำดับไว้เป็นอย่างอื่นคือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง, ดังนี้ก็มี; แต่ก็ยังคงเป็นอริยสัจสี่ได้อยู่นั่นเอง ไม่มีผลเป็นการขัดแย้งกันแต่ประการใด.--พระบาลีในสูตรนี้ แสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคไว้เป็น วิเวกนิสฺสิต วิราคนิสฺสิต นิโรธนิสฺสิต โวสฺสคฺคปริณามี; มีสูตรอื่นๆแสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปเป็น ราควินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน, โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน, โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๗) : อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ, อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ, อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๙); นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน, นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน, นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน (๑๙/๗๐/๒๗๑) ; ดังนี้ก็มี ; แม้โดยพยัญชนะจะต่างกัน แต่ก็มุ่งไปยังความหมายอย่างเดียวกัน.--ข้อควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ วัตถุแห่งกิจของอริยสัจในสูตรนี้ แสดงไว้ต่างจากสูตรที่รู้กันอยู่ทั่วไป, คือสูตรทั่วๆไป วัตถุแห่งการกำหนดรู้ แสดงไว้ด้วยความทุกข์ทุกชนิด สูตรนี้แสดงไว้ด้วยปัญจุปาทานขันธ์เท่านั้น; วัตถุแห่งการละ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยตัณหาสาม สูตรนี้แสดงไว้ด้วยอวิชชาและภวตัณหา; วัตถุแห่งการทำให้แจ้ง สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยการดับแห่งตัณหา สูตรนี้แสดงไว้ด้วยวิชชาและวิมุตติ; วัตถุแห่งการทำให้เจริญ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยอริยอัฏฐังคิกมรรค ส่วนในสูตรนี้แสดงไว้ด้วยสมถะและวิปัสสนา. ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของคำที่แสดงไว้แต่ละฝ่ายอย่างทั่วถึงแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าไม่ขัดขวางอะไรกัน).--อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว--ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในอากาศ ย่อมมีลมชนิดต่างๆพัดไปมา; คือลมทางทิศตะวันออกพัดไปบ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไปบ้าง ลมมีธุลีพัดไปบ้าง ลมไม่มีธุลีพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง, นี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น, กล่าวคือ เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค :--แม้ สติปัฏฐานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;--แม้ สัมมัปปธานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;--แม้ อิทธิบาทสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;--แม้ อินทรีย์ห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;--แม้ พละห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;--แม้ โพชฌงค์เจ็ด ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา . (ธรรมเหล่านี้ ครบอยู่ทั้ง ๖ ชนิด เช่นเดียวกับที่ในอากาศ มีลมพัดอยู่ ครบทุกชนิด, ฉันใดก็ฉันนั้น).--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างไรเล่า (ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา) ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . . สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างนี้แล (ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/74/282 – 284.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๔/๒๘๒ – ๒๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 999
ชื่อบทธรรม : -การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม
เนื้อความทั้งหมด :-(ในพระบาลีสูตรอื่นๆ แสดงลักษณะแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปคือ ราคปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน, โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน, โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๗) ; อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ, อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ, อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๙) ; นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน, นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน, นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน (๑๙/๖๙/๒๗๑) ; ดังนี้ก็มี).--การทำกิจของอินทรีย์ ในขณะบรรลุธรรม--ถูกแล้ว ถูกแล้ว สารีบุตร ! สารีบุตร ! อริยสาวกใด มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคตถึงที่สุดโดยส่วนเดียว, เขาย่อมไม่สงสัยหรือลังเลในตถาคตหรือคำสอนในตถาคต. สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธาแล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. สารีบุตร ! ความเพียรเช่นนั้นของอริยสาวกนั้นย่อมเป็น วิริยินทรีย์ ของเธอนั้น.--สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้มีสติ ประกอบพร้อมด้วยสติเป็นเครื่องระวังรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้ นานได้. สารีบุตร ! ความระลึกเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สตินทรีย์ ของเธอนั้น.--สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้กระทำแล้วได้ซึ่ง--โวสสัคคารมณ์ จักได้ซึ่งความตั้งมั่นแห่งจิต กล่าวคือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. สารีบุตร ! ความตั้งมั่นแห่งจิตเช่นนั้นของอริย สาวกนั้น ย่อมเป็น สมาธินทรีย์ ของเธอนั้น.--สารีบุตร ! เมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีสัทธา ปรารภความเพียร มีสติเข้าไปตั้งไว้มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ แล้ว พึงหวังข้อนี้สืบไปว่า เขาจักเป็นผู้รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สังสารวัฏฏ์ เป็นสิ่งที่มีที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้, ที่สุดฝ่ายข้างต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก กำลังแล่นไป ท่องเที่ยวไป. ความจางคลายดับไปโดยไม่มีเหลือแห่งอวิชชาอันเป็นกองแห่งความมืดนั้นเสียได้ มีอยู่ : นั่นเป็นบทที่สงบ นั่นเป็นบทที่ประณีต กล่าวคือธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”. สารีบุตร ! ความรู้ชัดเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น ปัญญินทรีย์ ของเธอนั้น.--สารีบุตร ! อริยสาวกนั้นนั่นแหละ ตั้งไว้แล้ว ตั้งไว้แล้ว (ซึ่งวิริยะ) ด้วยอาการอย่างนี้, ระลึกแล้ว ระลึกแล้ว (ด้วยสติ) ด้วยอาการอย่างนี้, ตั้งมั่นแล้ว ตั้งมั่นแล้ว (ด้วยสมาธิ) ด้วยอาการอย่างนี้, รู้ชัดแล้ว รู้ชัดแล้ว (ด้วยปัญญา) ด้วยอาการอย่างนี้, เขาย่อมเชื่ออย่างยิ่ง อย่างนี้ว่า “ธรรมเหล่าใดเป็นธรรมที่เราเคยฟังแล้วในกาลก่อน, ในบัดนี้ เราถูกต้องธรรมเหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ด้วย และแทงตลอดธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาแล้วเห็นอยู่ ด้วย” ดังนี้.--สารีบุตร ! ความเชื่อเช่นนั้นของอริยสาวกนั้น ย่อมเป็น สัทธินทรีย์ ของเธอนั้น, ดังนี้แล.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๙๙ – ๓๐๐/๑๐๑๗ – ๑๐๒๒.--(ข้อควรสังเกตอย่างยิ่งในกรณีนี้ คือข้อที่สัทธินทรีย์ทำกิจของตน เมื่ออินทรีย์ทั้งสี่นอกนั้นทำกิจเสร็จแล้ว. ข้อนี้หมายความว่า สิ่งที่เรียกว่าสัทธาหรือความเชื่อนั้น จะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อทำกิจอันบุคคลนั้นจะต้องทำนั้นๆ ประสบผลสำเร็จแล้ว. สัทธาที่เกิดขึ้นเป็นตัวนำในเบื้องต้น ดังที่แสดงอยู่ในหมวดธรรมต่างๆนั้น ยังมิใช่สัทธาที่สมบูรณ์; ทำให้กล่าวได้ว่า สัทธาสมบูรณ์ปรากฏแก่จิตใจต่อเมื่อบรรลุมรรคผลแล้ว คือประกอบอยู่ในญาณที่เห็นความหลุดพ้นของตนแล้ว).--สัมมัตตะ เป็นธรรมเครื่องสิ้นอาสวะ--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.--สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ.--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/254/122.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๕๔/๑๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1000
ชื่อบทธรรม : -หมวด จ. ว่าด้วย ธรรมชื่ออื่น ( ความหมายเกี่ยวกับมรรค )
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด จ. ว่าด้วย ธรรมชื่ออื่น ( ความหมายเกี่ยวกับมรรค )--บทธรรมเก่าที่อยู่ในรูปขององค์มรรค--ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัด--กระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สี่อย่างคือ :---อนภิชฌา เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.--อัพยาบาท เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.--สัมมาสติ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.--สัมมาสมาธิ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.--ภิกษุ ท. ! ธรรมบท ๔ อย่างนี้แล เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้าน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/37/29.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๗/๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1001
ชื่อบทธรรม : -ข้อปฏิบัติที่เป็นสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-(การที่ทรงยืนยันว่า ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้ มีมาแต่โบราณ ติดต่อสืบกันมาไม่ขาดสาย โดยไม่มีใครคัดค้าน จนถึงทุกวันนี้ ย่อมเป็นการแสดงว่าต้องมีมารวมอยู่ในคำสอนของพระองค์ในบัดนี้ : อนภิชฌา และอัพยาบาท คือ สัมมาสังกัปปะ รวมกันกับสัมมาสติ--และสัมมาสมาธิ เป็นสามองค์ในบรรดาองค์มรรคทั้งแปด จึงได้นำข้อความนี้มารวมไว้ในหมวดนี้ อันเป็นหมวดที่รวมแห่งมรรค).--ข้อปฏิบัติที่เป็นสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา--ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้าฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ :---ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีรูปหรือไม่ตามเห็นซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง ;--ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งเวทนาโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา หรือไม่ตามเห็นซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง ;--ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งสัญญาโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือไม่ตามเห็นซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง ;--ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งสังขารโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร หรือไม่ตามเห็นซึ่งสังขารว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขาร บ้าง ;--ย่อม ไม่ตามเห็นซึ่งวิญญาณโดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ หรือไม่ตามเห็นซึ่งวิญญาณว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ตามเห็นซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้อธิบายว่า ข้อ (ที่กล่าวมาทั้งหมด) นั้น เรียกว่าการตามเห็นอันเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งทุกข์ (ทุกฺขนิโรธคามินี สมนุปสฺสนา)-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/55/90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๕/๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1002
ชื่อบทธรรม : -อานิสงส์แห่งการปฏิบัติโดยหลักพื้นฐาน--( เช่นเดียวกับอานิสงส์แห่งมรรค )
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขนิโรธคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ). คำว่า ปฏิปทา ในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิต มิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา; ได้แก่ ความเห็นไม่ผิดเหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา.--ในบาลีแห่งอื่น ( อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๑ ) แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น แต่ได้ตรัสยกเอาอายตนิกธรรม ๖ หมวด คือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหก มาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับไม่มีตัวตน; และทรงเรียกการตามเห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการดับไปแห่งสักกายะ อย่างเดียวกับสูตรข้างบน).--อานิสงส์แห่งการปฏิบัติโดยหลักพื้นฐาน--( เช่นเดียวกับอานิสงส์แห่งมรรค )--ราหุล ! เธอจง เจริญเมตตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่, พยาบาท จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญกรุณาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่, วิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่, อรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ) จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญอุเบกขา เถิด. เมื่อเธอเจริญอุเบกขาอยู่, ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต) จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญอสุภะภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอสุภะภาวนาอยู่, ราคะ จักละไป.--ราหุล ! เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่, อัสมิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตนและของตน) จักละไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/140/145.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๔๐/๑๔๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1003
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาเพื่อสิ้นอาสวะ ๔ แบบ
เนื้อความทั้งหมด :-ปฏิปทาเพื่อสิ้นอาสวะ ๔ แบบ--ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่; คือ ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า ๑, ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว ๑, ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า ๑, ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว ๑.--ก. แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลช้า--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดี เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วใน--ภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ๑ เพื่อความสิ้น อาสวะได้ช้า : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า.--ข. แบบปฏิบัติลำบาก ประสพผลเร็ว--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้มีปกติเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาในโลกทั้งปวงโดยความเป็นของไม่น่ายินดี เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มรณสัญญาก็เป็นสิ่งที่เขาตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง (แก่กล้า) คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้เร็ว : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว.--ค. แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลช้า--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน . . . . ทุติยฌาน . . . . ตติยฌาน . . . . จตุตถฌาน--๑. อนันตริยกิจ คือสมถะและวิปัสสนา รวมกำลังกันทำหน้าที่ของอริยมรรค ตัดกิเลสบรรลุมรรคผลขึ้นไปตามลำดับจนถึงขั้นสูงสุด ไม่มีระยะว่างขั้น.--( มีรายละเอียดดังที่แสดงแล้วในที่ทั่วไป ) แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่ อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ยังอ่อน ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า.--ง. แบบปฏิบัติสบาย ประสพผลเร็ว--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุปฐมฌาน . . . . ทุติยฌาน . . . . ตติยฌาน . . . . จตุตถฌาน . . . . แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ; แต่ อินทรีย์ ๕ ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้มีประมาณยิ่ง ภิกษุนั้นจึง บรรลุอนันตริยกิจ เพื่อความสิ้นอาสวะ ได้เร็ว : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปฏิปทา ๔ ประการ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/202/163.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐๒/๑๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1004
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาการอบรมอินทรีย์ ๓ ระดับ--ก. ลักษณะแห่งอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
เนื้อความทั้งหมด :-( บาลีนี้ แบ่งการปฏิบัติออกเป็น ๒ จำพวก : พวกหนึ่ง ปฏิบัติลำบาก ยุ่งยาก อย่างที่เรียกว่าทุลักทุเล น่าหวาดเสียวปฏิกูล ไม่สะดวกสบาย ที่ระบุในสูตรนี้ว่าการตามเห็นความไม่งามในกาย เป็นต้น; ส่วนอีกจำพวกหนึ่งนั้น เป็นการปฏิบัติที่เยือกเย็น เป็นสุขสบายไปแต่ต้นมือ ที่ระบุในสูตรนี้เรียกว่าเป็นการได้ฌานทั้งสี่; ต่างกันอยู่อย่างตรงกันข้าม.--คนบางพวกเหมาะสำหรับระบบปฏิบัติลำบาก บางพวกเหมาะสำหรับระบบปฏิบัติสบาย แต่จะ ประสพผลเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับอินทรีย์ทั้งห้าของเขา ).--ปฏิปทาการอบรมอินทรีย์ ๓ ระดับ--ก. ลักษณะแห่งอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ--อานนท์ ! อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ (อนุตฺตรา อินฺทฺริยภาวนา) ในอริยวินัย เป็นอย่างไรเล่า ?--อานนท์ ! ในกรณีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ - ไม่เป็นที่ชอบใจ - เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา. ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า “อารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง (สงฺขต) เป็นของหยาบๆ (โอฬาริก) เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน); แต่มีสิ่งโน้นซึ่งรำงับและประณีต, กล่าวคือ อุเบกขา” ดังนี้. (เมื่อรู้ชัดอย่างนี้) อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป, อุเบกขายังคงดำรงอยู่.--อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ – ไม่เป็นที่ชอบใจ – เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อม ดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงเหลืออยู่.--อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัยในกรณีแห่ง รูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ.--( ในกรณีแห่ง เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โผฎฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณฑ์อย่าง--เดียวกัน ; ต่างกันแต่อุปมาแห่งความเร็วในการดับแห่งอารมณ์นั้นๆ, คือในกรณีแห่งเสียง เปรียบด้วยความเร็วแห่ง การดีดนิ้วมือ, ในกรณีแห่งกลิ่นเปรียบด้วยความเร็วแห่ง หยดน้ำตกจากใบบัว, ในกรณีแห่งรสเปรียบด้วยความเร็วแห่ง น้ำลายที่ถ่มจากปลายลิ้นของคนแข็งแรง, ในกรณีแห่งโผฏฐัพพะเปรียบด้วยความเร็วแห่ง การเหยียดแขนพับแขนของคนแข็งแรง, ในกรณีแห่งธรรมารมณ์เปรียบด้วยความเร็วแห่ง การแห้งของหยดน้ำที่หยดลงบนกระเหล็กที่ร้อนแดงอยู่ตลอดวัน, ฉันใดก็ฉันนั้น ; แล้วทรงสรุปในสุดท้ายว่า นี้แลเรียกว่าอินทรียภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อปริ. ม. 14/542 - 545/856 - 861.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อปริ. ม. ๑๔/๕๔๒ - ๕๔๕/๘๕๖ - ๘๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 86
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site