สัทธรรมลำดับที่ : 990
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนาที่มีความหลุดพ้น
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรคเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนาที่มีความหลุดพ้น--สุภัททะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรค หาไม่ได้ในธรรมวินัย (ศาสนา) ใด; สมณะก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สองก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สามก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สี่ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น.--สุภัททะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรค หาได้ในธรรมวินัยใด; สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สองก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สามก็หาได้ ในธรรมวินัยนั้น สมณะที่สี่ก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น.--สุภัททะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรค หาได้ในธรรมวินัยนี้ แล สมณะ หาได้ในธรรมวินัยนี้เทียว สมณะที่สอง หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สาม หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่สี่ก็หาได้ในธรรมวินัยนี้. วาทะเครื่องสอนของพวกอื่น ว่างจากสมณะของพวกอื่น (จากพวกนั้น).--สุภัททะ ! ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จะพึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะ ไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/175/138.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๑๗๕/๑๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 85
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 991
ชื่อบทธรรม : -องค์แห่งมรรค ใช้เป็นหลักจำแนกความเป็นสัตบุรุษ - อสัตตบุรุษ
เนื้อความทั้งหมด :-องค์แห่งมรรค ใช้เป็นหลักจำแนกความเป็นสัตบุรุษ - อสัตตบุรุษ--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ซึ่งอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ; จักแสดง ซึ่งสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ. ....--ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มี มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อสัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย .... (โดยนัยนี้เรื่อยไปจนถึง) .... ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาสมาธิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสมาธิด้วย : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาทิฏฐิด้วย .... (โดยนัยนี้เรื่อยไปจนถึง) ... ตนเองเป็นผู้มีสัมมาสมาธิด้วย ชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาสมาธิด้วย : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่า สัตบุรุษ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/302/205.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๐๒/๒๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 85
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 992
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่น ขยายองค์ประกอบที่ทำบุคคลให้เป็นสัตบุรุษและอสัตบุรุษมากออกไป จากองค์แปดแห่งสัมมามรรคหรือมิจฉามรรค ออกไปเป็นสัมมัตตะสิบ หรือ มิจฉัตตะสิบ โดยเนื้อความที่มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันจนครบทั้งสี่จำพวก ดังนี้ก็มี. -๒๑/๓๐๓/๒๐๖.--ในสูตรอื่น แทนที่จะทรงจำแนกบุคคลเป็นอสัตบุรุษและสัตบุรุษ แต่ได้ทรงจำแนกบุคคลเป็นบาปชนและกัลยาณชน จัดเป็นคู่หนึ่ง ก็มี -๒๑/๓๐๔ - ๓๐๕/๒๐๗ - ๒๐๘, และ--ทรงจำแนกเป็นชนผู้มีบาปธรรมและชนผู้มีกัลยาณธรรม เป็นอีกคู่หนึ่ง ก็มี - ๒๑/๓๐๖ -๓๐๗/๒๐๙ – ๒๑๐ ; ทั้งนี้เป็นไปโดยหลักเกณฑ์อันเดียวกันกับที่ทรงจำแนก อสัตบุรุษและสัตบุรุษจนครบทั้งสี่จำพวกเช่นเดียวกันอีก.--ในสูตรอื่น แทนที่จะใช้องค์แปดแห่งมรรถหรือสัมมัตตะสิบ หรือมัจฉัตตะสิบ เป็นเครื่องจำแนกบุคคลให้เป็นคู่ตรงกันข้ามกันเช่นข้างบนนี้ แต่ได้ทรงใช้หลักแห่งกุศลกรรมบถสิบ อกุศลกรรมบถสิบ เป็นต้น เป็นเครื่องจำแนก จนครบทั้งสี่จำพวก โดยหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันก็มี -๒๑/๒๙๗ - ๓๐๑/๒๐๑- ๒๐๔.)--อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่แน่นอนว่าป้องกันการแสวงหาผิด--ภิกษุ ท. ! การแสวงหา (เอสนา) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ การแสวงหากาม (กาเมสนา) การแสวงหาภพ (ภเวสนา) การแสวงหาพรหมจรรย์ (พฺรหฺมจริเยสนา). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล การแสวงหา ๓ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้ บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค. อริยอัฏฐังคิกมรรค ชนิดไหนกันเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัมมาทิฏฐิ .... สัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ ....สัมมาอาชีวะ ..... สัมมาวายามะ ..... สัมมาสติ ..... สัมมาสมาธิ ชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อการสลัดลง. ภิกษุ ท. ! เพื่อความรู้ยิ่ง ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้แล บุคคลควรเจริญอริยอัฏฐังคิกมรรค.--[คำว่า “เพื่อรู้ยิ่ง” ในสูตรนี้ ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้ด้วยคำว่า “เพื่อความรอบรู้ (ปริญฺญา)” ก็มี ด้วยคำว่า “เพื่อความสิ้นไปรอบ (ปริกฺขย)” ก็มี ด้วยคำว่า “เพื่อการละเสีย (ปหาน)” ก็มี.--สำหรับคำว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ เป็นต้นนั้น ในกรณีนี้ ในสูตรอื่นตรัสว่า เจริญอริยอัฏฐังคิกมรรคชนิดที่ มีการนำออกซึ่ง ราคะ -โทสะ - โมหะ เป็นปริโยสาน ชนิดที่ มีการหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นปริโยสาน หรือชนิดที่ มีการลาด - เอียง - เงื้อมไปสู่นิพพาน ทำนองเดียวกับหลายหัวข้อหลังจากหัวข้อนี้ไปก็มี.--สำหรับคำว่า พรหมจรรย์ ในกรณีนี้แห่งการแสวงหานี้ หมายถึงพรหมจรรย์ฝ่ายผิด ซึ่ง เป็นสีลัพพัตตปรามาส เพราะมาในเครือเดียวกันกับกามและภพ.--สำหรับสิ่งที่ต้องกำหนดรู้แล้วละเสีย ซึ่งเรียกว่า เอสนา (การแสวงหา) ในสูตรนี้นั้น ในสูตรอื่นทรงแสดงไว้โดยชื่ออื่น สำหรับการกำหนดรู้แล้วละเสียเช่นเดียวกัน ได้แก่ : ---วิธา (ความรู้สึกยึดถือที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่า เลวกว่า เสมอกัน ดีกว่า) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--อาสวะ (คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--ภพ (คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--ทุกขตา (คือทุกข์เพราะทุกข์ ทุกข์เพราะปรุงแต่ง ทุกข์เพราะแปรปรวน) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--ขีละ (ตะปูตรึงจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--มละ (มลทินของจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--นิฆะ (สิ่งกระทบจิต คือ ราคะ โทสะ โมหะ) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--เวทนา (คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--ตัณหา (คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) ๓ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--โอฆะ (กิเลสท่วมจิต คือกาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--โยคะ (กิเลสรัดตรึงจิต คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--อุปาทาน (ความยึดมั่นด้วยกาม -ทิฏฐิ - สีลพรต -อัตตวาท) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--คันถะ (สิ่งร้อยรัดนามกาย คือ อภิชฌา -พยาบาท -สีลพรต - สัจจะเฉพาะตน) ๔ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--อนุสัย (กิเลสเคยชินอยู่ในสันดาน คือ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา) ๗ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--กามคุณ (คือรูป - เสียง - กลิ่น - รส – โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--นิวรณ์ (กิเลสปิดกั้นจิต คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--อุปาทานขันธ์ (ขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอุปาทานยึดครอง) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--โอรัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องต่ำ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี ;--อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดสัตว์เป็นไปในภพเบื้องบน คือรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา) ๕ อย่าง ดังนี้ก็มี.]-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/81 - 92/298 - 354.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๘๑ - ๙๒/๒๙๘ - ๓๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 85
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 993
ชื่อบทธรรม : -มัชฌิมาปฏิปทาสำหรับธรรมกถึกแห่งยุค
เนื้อความทั้งหมด :-มัชฌิมาปฏิปทาสำหรับธรรมกถึกแห่งยุค--(๑. พอตัวทั้งเพื่อตนและผู้อื่น)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัว ในการช่วยตนเอง พอตัวในการช่วยผู้อื่น. หกประการ อย่างไรเล่า ? หกประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่--ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีคำพูดไพเราะ การทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูง สพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น.--(๒. พอตัวทั้งเพื่อตนและผู้อื่น)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยตนเอง พอตัวในการช่วยผู้อื่น. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูงสพหรมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น.--(๓. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ แต่เขา หา--เป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่ และทั้ง ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น.--(๔. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่เขา ไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้ง ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง.--(๕. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สามประการ อย่างไรเล่า ? สามประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เขา มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขา หาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่ง--ชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่ และทั้งเขา ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น.--(๖. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สามประการ อย่างไรเล่า ? สามประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เขา มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ เขา ไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้งเขา ไม่รู้ อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขา มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง.--(๗. พอตัวเพื่อตน แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้สามารถ พอตัวในการช่วยตนเอง แต่ ไม่พอตัวในการช่วยผู้อื่น. สองประการ อย่างไรเล่า ? สองประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ไม่มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่เขามีปกติใคร่ครวญ--เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่เขาหาเป็นผู้มีคำพูดไพเราะ กระทำการ พูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ไม่และทั้งเขา ไม่สามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ร่าเริง ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อตนเอง แต่ไม่พอตัวเพื่อผู้อื่น.--(๘. พอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตน)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้ สามารถพอตัวในการช่วยผู้อื่น แต่ ไม่พอตัวในการช่วยตนเอง. สองประการ อย่างไรเล่า ? สองประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้จับฉวยได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ไม่มีธรรมชาติแห่งความทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่มีปกติใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว และทั้ง ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ว่าเขา มีคำพูดไพเราะ กระทำการพูดให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาแห่งชาวเมือง อันสละสลวย แจ่มใสชัดเจน อาจให้รู้เนื้อความได้ ๑ และทั้งเขาสามารถชี้แจงชักจูงสพรหมจารีทั้งหลายให้อาจหาญ ด้วย ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้สามารถพอตัวเพื่อผู้อื่น แต่ไม่พอตัวเพื่อตนเอง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/305 - 308/152 - 159.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๕ - ๓๐๘/๑๕๒ - ๑๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 85
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 994
ชื่อบทธรรม : -ธรรมอันเป็นที่สุดของสมณะปฏิบัติ
เนื้อความทั้งหมด :-(องค์คุณทั้งหกประการนี้ จำเป็นแก่ผู้เป็นธรรมกถึกทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับธรรมกถึกแห่งยุคนี้ ขอได้โปรดพิจารณาปรับปรุงตนเองให้มีคุณะรรมเหล่านี้ครบถ้วนเถิด).--ธรรมอันเป็นที่สุดของสมณะปฏิบัติ--ถปติ ! เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เหล่าไหนเล่า ว่าเป็นสมณะผู้มีกุศลถึงพร้อม มีกุศลอย่างยิ่ง ถึงธรรมที่ควรบรรลุอันอุดม ไม่แพ้ใคร ? ถปติ ! ภิกษุในกรณีนี้ : ---ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาวาจา อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาวายามะ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาสติ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาญาณ อันเป็นอเสขะ ;--ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ อันเป็นอเสขะ ;--ถปติ ! เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นสมณะผู้มีกุศลถึงพร้อม มีกุศลอย่างยิ่ง ถึงธรรมที่ควรบรรลุอันอุดมไม่แพ้ใคร.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/351/366.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๓๕๑/๓๖๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 85
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 995
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค--อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่; การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น แล้ว--จักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น : นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ; เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ เสียก่อน แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น : นั่นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้, ฉันใดก็ฉันนั้น. ......--อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิย สังโยชน์ห้า นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากอุปธิ เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ; เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน. เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียน--กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ .... (ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างบนนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่าปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น แม้ข้อความที่ละเปยยาลไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า ) .... อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ .... ( มีเนื้อ ความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) .... อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อนเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. .... ฯลฯ.... ( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน ) .... อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) ๑ ; เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่) เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ) แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน) ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้. เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ; ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี--๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในพวกรูปฌานมีขันธ์ครบห้า; ส่วนในอรูปฌานมีขันธ์เพียงสี่ คือขาดรูปขันธ์ไป.--ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ และเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆนั่นเอง. อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. . . . . ฯลฯ . . . . (ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้ มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า) . . . . อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่. . . . . ฯลฯ . . . . (มีเนื้อความเต็มดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ) . . . . อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/157-161/156-158.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๕๗-๑๖๑/๑๕๖-๑๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 85
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 996
ชื่อบทธรรม : -การเป็นอยู่ที่น้อมไปเพื่อนิพพานอยู่ในตัว--(มัชฌิมาปฏิปทาโดยอัตโนมัติ)
เนื้อความทั้งหมด :-(สรุปความว่า มรรคหรือปฏิปทานี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ เพราะการเห็น อนิจจตา กระทั่งถึง อนัตตา รวมเป็น ๑๑ ลักษณะ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งรูปฌานทั้งสี่ แต่ละฌาณๆ; และเห็นธรรม ๑๑ อย่างนั้นอย่างเดียวกันใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งอรูปฌานสามข้างต้น แต่ละฌาณๆ--เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ; นับว่าเป็นธรรมที่ละเอียดสุขุมที่สุด. ผู้ศึกษาพึงใคร่ครวญให้เป็นอย่างดีตรงที่ว่า มีขันธ์ห้า หรือ ขันธ์สี่ อยู่ที่จิตในขณะที่มีฌาน ดังนี้).--การเป็นอยู่ที่น้อมไปเพื่อนิพพานอยู่ในตัว--(มัชฌิมาปฏิปทาโดยอัตโนมัติ)--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว (เอกนฺตนิพฺพิท) เพื่อความคลายกำหนัด (วิราค) เพื่อความดับ (นิโรธ) เพื่อความสงบ (อุปสม) เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญ) เพื่อความรู้พร้อม (สมฺโพธ) เพื่อนิพพาน. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ :---เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่ ;--เป็นผู้ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่ ;--เป็นผู้ มีความสำคัญว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่ ;--เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง อยู่; และ--มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/94/69.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔/๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 85
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site