สัทธรรมลำดับที่ : 979
ชื่อบทธรรม : -ธรรม - อธรรม - อรรถ - อนรรถ ที่ควรทราบ
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรม - อธรรม - อรรถ - อนรรถ ที่ควรทราบ--ภิกษุ ท. ! อธรรม เป็นสิ่งที่ควรทราบ, อนรรถ ก็เป็นสิ่งที่ควรทราบ. ธรรม เป็นสิ่งที่ควรทราบ, อรรถ ก็เป็นสิ่งที่ควรทราบ. รู้แจ้งทั้งอธรรมและอนรรถ, รู้แจ้งทั้งธรรมและอรรถแล้ว บุคคลพึงปฏิบัติตามที่เป็นธรรมตามที่เป็นอรรถ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเป็น อธรรม และเป็น อนรรถ ? มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อธรรม เรียกว่า อนรรถ.--ภิกษุ ท. ! อะไรเป็น ธรรม อะไรเป็น อรรถ ? สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ธรรม เรียกว่า อรรถ.--ภิกษุ ท. ! เราอาศัยเหตุผลดังกล่าวมานี้แล้ว เราจึงกล่าวว่า “ภิกษุ ท. ! อธรรมเป็นสิ่งที่ควรทราบ, อนรรถก็เป็นสิ่งที่ควรทราบ. ธรรมเป็นสิ่งที่ควรทราบ, อรรถก็เป็นสิ่งที่ควรทราบ. รู้แจ้งทั้งอธรรมและอนรรถ, รู้แจ้งทั้งธรรมและอรรถแล้ว บุคคลพึงปฏิบัติตามที่เป็นธรรมตามที่เป็นอรรถ” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/238/113.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๓๘/๑๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 980
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย คุณค่าของมรรค-อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งตัวพรหมจรรย์
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรถัดไป (๒๔/๒๓๘/๑๑๔). ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า อธรรม ด้วยมิจฉัตตะ, ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า ธรรม ด้วยสัมมัตตะ; ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า อนรรถ ด้วยบาปอกุศลธรรมต่างๆ ที่เกิดจากมิจฉัตตะแต่ละอย่างๆ เป็นปัจจัย, และทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า อรรถ ด้วยกุศลธรรมต่างๆ ที่เกิดแต่สัมมัตตะแต่ละอย่างๆ เป็นปัจจัย.--ในสูตรอื่นอีก (๒๔/๒๗๓/๑๖๐) ทรงแสดง อธรรม และ อนรรถ ด้วยอกุศลกัมมบถสิบ และทรงแสดง ธรรม และ อรรถ ด้วยกุศลกัมมบถสิบ.--ในอีกสูตรหนึ่ง (๒๔/๒๘๑/๑๖๒) ทรงแสดง อธรรม ด้วยอกุศลกัมมบถ แสดง ธรรม ด้วยกุศลกัมมบถ แสดง อนรรถ ด้วยวิบากแห่งอกุศลกัมมบถ และแสดง อรรถ ด้วยวิบากแห่งกุศลกัมมบถ).--หมวด ค. ว่าด้วย คุณค่าของมรรค--อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งตัวพรหมจรรย์--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ‘พรหมจรรย์ พรหมจรรย์’ ดังนี้ พรหมจรรย์ เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า ? และที่สุดแห่งพหรมจรรย์ คืออะไรพระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือพรหมจรรย์; กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ! ความสิ้นแห่งราคะ (ราคกฺขโย) ความสิ้นแห่งโทสะ (โทสกฺขโย) ความสิ้นแห่งโมหะ (โมหกฺขโย) : นี้คือ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/9/29 - 30.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๙/๒๙ - ๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 981
ชื่อบทธรรม : -ระบบพรหมจรรย์ทรงแบ่งไว้เป็น ๒ แผนก
เนื้อความทั้งหมด :-ระบบพรหมจรรย์ทรงแบ่งไว้เป็น ๒ แผนก--ภิกษุ ท. ! เรา ไม่กล่าว สำหรับภิกษุทั้งปวง ว่า ยังมีกิจอะไรๆ (เหลืออยู่) ที่จะต้องทำด้วยความไม่ประมาท และเราก็ ไม่กล่าว สำหรับภิกษุทั้งปวงว่า มีกิจอะไร ๆ ที่ไม่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท.--ก. สำหรับผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็น อรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำอันกระทำแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุ ท. ! สำหรับภิาษุเหล่านั้น เราไม่กล่าวว่า ยังมีกิจอะไรๆ (เหลืออยู่) ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนี้เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำเสร็จแล้ว และเธอเป็นผู้ไม่อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป.--ข. สำหรับผู้ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์--ภิกษุ ท. ! ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็น เสขะ มีความประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่; ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุเหล่านั้น เรากล่าวว่ายังมีกิจอะไรๆ (เหลืออยู่) ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน--โดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีกิจอะไรๆ (เหลืออยู่) ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/228/229.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๒๘/๒๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 982
ชื่อบทธรรม : -จุดมุ่งหมายแท้จริงของพรหมจรรย์
เนื้อความทั้งหมด :-จุดมุ่งหมายแท้จริงของพรหมจรรย์--ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถีงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.--ภิกษุ ท. ! ก็เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบอันใด มีอยู่, พรหมจรรย์นี้มี เจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีเจโตวิมุตินั่นแหละเป็นแก่นสาร มีเจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/373/352.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๓๗๓/๓๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 983
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคเป็นพรหมจรรย์เป็นไปเพื่อนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรคเป็นพรหมจรรย์เป็นไปเพื่อนิพพาน--ปัญจสิขะ ! พรหมจรรย์ ของเรานี้ เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อนิพพาน.--ปัญจสิขะ ! พรหมจรรย์ ที่เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? พรหมจรรย์นั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--ปัญจสิขะ ! นี้แล คือ พรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไปเพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่ออุปสมะ เพื่ออภิญญา เพื่อสัมโพธะ เพื่อนิพพาน.--ปัญจสิขะ ! สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดยครบถ้วนแล้ว, สาวกเหล่านั้น ย่อม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.--สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดย ไม่ครบถ้วน, สาวกเหล่านั้น เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีส่วนในเบื้องต่ำห้าประการ ย่อม เป็นโอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.--สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดย ไม่ครบถ้วน, สาวกเหล่านั้น บางพวก เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เพราะความเบาบางแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ ย่อม เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว ก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.--สาวกเหล่าใด รู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของเราทั้งปวงโดย ไม่ครบถ้วน, สาวกเหล่านั้น บางพวก เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม ย่อม เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.--ปัญจสิขะ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล การบรรพชา (ในธรรมวินัยนี้) ของกุลบุตรเหล่านี้ทั้งหมดนั่นเทียว เป็นบรรพชาไม่เป็นหมัน ไม่มีโทษ แต่มีผลมีกำไร แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/285/234.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๒๘๕/๒๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 984
ชื่อบทธรรม : -มรรคมีองค์แปดรวมอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดสาย
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้รวบรวมหนังสือเล่มนี้ ชี้ให้ผู้ศึกษาเห็นว่า :-)--มรรคมีองค์แปดรวมอยู่ในพรหมจรรย์ตลอดสาย--๑. สัมมาทิฏฐิ คือกุลบุตรฟังธรรม จนเกิดสัมมาทิฏฐิในอาสวักขยกรรมทั้งหลาย.--(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๔๐ บรรทัดที่ ๑๓ เป็นต้นไป).--๒. สัมมาสังกัปโป คือกุลบุตรอยากบวช แล้วออกบวช.--(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๔๐ บรรทัดที่ ๑๔ เป็นต้นไป).--๓. สัมมาวาจา คือกุลบุตรมีการพูดซึ่งเว้นจากวจีทุจริตและเดรัจฉานกถาทั้งหลาย.--(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๔๑ บรรทัดที่ ๑๗ เป็นต้นไป).--๔. สัมมากัมมันโต คือกุลบุตรเว้นจากกรรมอันเป็นอกุศล.--(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๔๑ บรรทัดที่ ๑๐ เป็นต้นไป).--๕. สัมมาอาชีโว คือกุลบุตรเว้นจากการหาเลี้ยงชีพด้วยเดรัจฉานวิชา และมีสันโดษเป็นต้น. (ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวก ท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๔๒ บรรทัดที่ ๑๑ เป็นต้นไป).--๖. สัมมาวายาโม คือกุลบุตรทำความเพียรอยู่ในที่ทุกสถานทั้งหลับและตื่น ตามหลักแห่งการทำความเพียรทั่วไป. (ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๕๓ บรรทัดที่ ๕ เป็นต้นไป).--๗. สัมมาสติ คือกุลบุตรมีสติสัมปชัญญะ.--(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๕๑ บรรทัดที่ ๑๑ เป็นต้นไป).--๘. สัมมาสมาธิ คือกุลบุตรตั้งต้นเจริญสมาธิและได้รูปฌาณสี่.--(ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวกท้ายเล่ม ที่หน้า ๑๕๕๓ บรรทัดที่ ๕ เป็นต้นไป ).--อัฏฐังคิกมัคคพรหมจรรย์ ให้ผลอย่างเครื่องจักร--ภูมิชะ ! ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เป็นผู้ที่ มีความเห็นถูกต้อง มีความมุ่งหมายถูกต้อง มีการพูดจาถูกต้อง มีการทำงานถูกต้อง มีการดำรงชีพถูกต้อง มีความพยายามถูกต้อง มีความระลึกถูกต้อง มีความตั้งจิตมั่นไว้อย่างถูกต้อง; ชนเหล่านั้น ถ้าแม้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยหวังผล ก็ต้องได้รับผล; ถ้าแม้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยไม่หวังผล ก็--ต้องได้รับผล; ถ้าแม้ประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งโดยหวังผลและไม่หวังผล ก็ต้องได้รับผล ; ถ้าแม้ประพฤติพรหมจรรย์ โดยหวังผลก็มิใช่ ไม่หวังผลก็มิใช่ ก็ยังต้องได้รับผล. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุแห่งการได้รับผลนั้น เป็นสิ่งที่เขาทั้งหลายเหล่านั้น ได้ทำแล้วโดยรากเหง้า (โยนิโส).--ภูมิชะ ! เช่นเดียวกับบุรุษผู้ต้องการน้ำมัน เสาะหาน้ำมัน เที่ยวแสวงหาน้ำมัน อยู่, เขาเกลี่ยเยื่อเมล็ดงาลงในราง ประพรมด้วยน้ำแล้วคั้นเรื่อยไป ; แม้บุรุษนั้น ทำความหวัง.... ทำความไม่หวัง.... ทั้งทำความหวังและความไม่หวัง.... ทั้งทำความหวังก็หามิได้ ความไม่หวังก็หามิได้ ก็ตาม, เมื่อเขาเกลี่ยเยื่อเมล็ดงาลงในราง ประพรมด้วยน้ำ แล้วคั้นอยู่เรื่อยไป บุรุษนั้นก็ต้องได้น้ำมันอยู่เอง. ข้อนี้เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุแห่งการได้น้ำมันนั้น เป็นสิ่งที่บุรุษนั้นได้ทำแล้ว โดยลึกซึ้งแยบคาย ฉันใดก็ฉันนั้น. (ทรงให้อุปมาทำนองนี้อีกสามข้อ คือ บุรุษผู้ ต้องการน้ำนม รีดน้ำนมจากนมแม่โคลูกอ่อน, บุรุษผู้ ต้องการเนย ปั่นเนยจากนมที่หมักเป็นเยื่อแล้ว, บุรุษที่ ต้องการไฟ สีไฟจากไม้แห้ง, ก็ย่อมได้ผลตามที่ตนต้องการ. แม้จะทำความหวังหรือความไม่หวังก็ตาม ผลนั้น ๆ ก็ย่อมมีให้เอง เพราะได้มีการกระทำที่ถูกต้องลงไปแล้ว).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/279/414.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๒๗๙/๔๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 985
ชื่อบทธรรม : -ความแตกต่างระหว่าง
เนื้อความทั้งหมด :-ความแตกต่างระหว่าง--คนเขลาและบัณฑิตในการประพฤติพรหมจรรย์--ภิกษุ ท. ! กายนี้เกิดมีขึ้นแล้ว แก่คนเขลา ผู้ถูกอวิชชาใดห่อหุ้มแล้วด้วย ผู้พัวพันแล้วด้วยตัณหาใดด้วย, อวิชชานั้นแหละ ที่คนเขลายังละไม่ได้ และตัณหานั่นเทียว ก็ยังไม่หมดสิ้นไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุ--ท. ! เพราะว่า คนเขลาไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ. เพราะเหตุนั้น คนเขลา จึงเป็นผู้เข้าถึงกาย (อื่น) เพราะการแตกสลายแห่งกาย (นี้). คนเขลานั้น เมื่อเข้าถึงกายอยู่ เรากล่าวว่า “เขาไม่หลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ และไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! กายนี้ เกิดมีขึ้นแล้ว แก่บัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดห่อหุ้มแล้วด้วย ผู้พัวพันแล้วด้วยตัณหาใดด้วย, อวิชชานั้นแหละ อันบัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั่นเทียว ก็หมดสิ้นไปแล้ว. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่า บัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึงเป็นผู้ไม่เข้าถึงกาย (อื่น) เพราะการแตกสลายแห่งกาย (นี้). บัณฑิตนั้นเมื่อไม่เข้าถึงกายอยู่ เรากล่าวว่า “เขาย่อมหลุดพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความ คับแค้นใจ และย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์” ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/29/59.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๒๙/๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 986
ชื่อบทธรรม : -อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด :
เนื้อความทั้งหมด :-อานุภาพแห่งอัฏฐังคิกมรรคในการทำให้เกิด :--ก. เกิดความปรากฏแห่งตถาคต--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา--วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตแห่งอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่) ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.--ข. เกิดสุคตวินัย--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย.--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล บริสุทธิ์ ขาวผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากอุปกิเลสแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่ยกเว้น (แม้แต่การเกิดแห่ง) สุคตวินัย.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๘ - ๑๙/๕๒, ๕๔, ๕๓, ๕๕.--อัฏฐังคิกมรรคเพื่อการรู้และการละซึ่งธรรมที่ควรรู้และควรละ--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการเหล่านี้ อันบุคคลพึงเจริญ เพื่อการรู้ยิ่ง .... เพื่อการรู้รอบ .... เพื่อการสิ้นไปรอบ .... เพื่อการละ .... เพื่อความสิ้นไป ....เพื่อความเสื่อมไป .... เพื่อความจางคลาย .... เพื่อความดับ .... เพื่อความสละทิ้ง .... เพื่อความสลัดคืน .... ซึ่งราคะ .... ซึ่งโทสะ .... ซึ่งโมหะ .... ซึ่งโกธะ .... อุปนาหะ .... มักขะ .... ปลาสะ .... อิสสา ..... มัจฉริยะ .... มายา .... สาเถยยะ .... ถัมภะ ..... สารัมภะ .... มานะ .... อติมานะ .... มทะ .... ปมาทะ .แปดประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า? แปดประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันบุคคล พึงเจริญเพื่อการรู้ยิ่ง ฯลฯ ซึ่งราคะ ฯลฯ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/359, 361/201, 204.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๕๙, ๓๖๑/๒๐๑, ๒๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 987
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคช่วยระงับภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความทั้งหมดนี้ ในบาลีประสงค์จะให้แยกเป็นสูตรๆ เป็นเรื่องๆ ตามความแตกต่าง แห่งกิริยาอาการ เช่นการรู้ยิ่ง ก็สูตรหนึ่ง; และแยกตามชื่อของกิเลสที่ต้องละ กิเลส--ชื่อหนึ่ง ก็สูตรหนึ่ง เช่นรู้ยิ่งซึ่งราคะเป็นต้น ก็สูตรหนึ่ง; รวมกันเป็น ๑๗๐ สูตร คือมีกิริยาอาการสิบ มีชื่อกิเลสที่ต้องละสิบเจ็ดชื่อ คูณกันเข้าเป็น ๑๗๐ ในที่นี้นำมาทำเป็นสูตรเดียว เพื่อง่ายแก่การศึกษาและประหยัดเวลา).--อัฏฐังคิกมรรคช่วยระงับภัยที่แม่ลูกก็ช่วยกันไม่ได้--ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (อมาตาปุตฺติกภย) ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง. สามอย่างคือ มีสมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ตั้งขึ้น ไหม้หมู่บ้าน ไหม้นิคม ไหม้นคร. ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้), บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้). ภิกษุ ท. ! บุถุชนไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่หนึ่ง.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มหาเมฆตั้งขึ้น เกิดน้ำท่วมใหญ่ พัดพาไปทั้งหมู่บ้าน ทั้งนิคม ทั้งนคร. ในสมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้), บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้). ภิกษุ ท. ! บุถุชนไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สอง.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือมีสมัยที่มีภัยคือการกำเริบ (กบฏ) มาจากป่า ประชาชนขึ้นยานมีล้อ หนีกระจัดกระจายไป. เมื่อภัยอย่างนี้เกิดขึ้น สมัยนั้น มารดาไม่ได้บุตร (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้), บุตรก็ไม่ได้มารดา (เป็นผู้ช่วยเหลืออะไรได้). ภิกษุ ท. ! บุถุชนไม่มีการสดับ ย่อมเรียกภัยนี้ว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย อย่างที่สาม.--ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมกล่าวภัยที่มารดาและบุตร ช่วยกันไม่ได้ ว่ามีอยู่ ๓ อย่าง เหล่านี้.--ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันได้) แท้ๆ ๓ อย่างนี้ ว่าเป็น อมาตาปุตติกภัย (ภัยที่มาดาและบุตรช่วยกันไม่ได้) ไปเสีย. ภิกษุ ท. ! ภัย ๓ อย่าง ที่มารดาและบุตรช่วยกันได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ สมัยที่ไฟไหม้ใหญ่ เป็นอย่างหนึ่ง, สมัยที่น้ำท่วมใหญ่ เป็นอย่างที่สอง, สมัยที่หนีโจรขบถ เป็นอย่างที่สาม; เหล่านี้บางคราวมารดาและบุตรก็ช่วยกันและกันได้ แต่บุถุชนผู้ไม่มีการสดับมากล่าว ว่าเป็นภัยที่มารดาและบุตรก็ช่วยกันไม่ได้ไปเสียทั้งหมด.--ภิกษุ ท. ! ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ (โดยแท้จริง) ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง คือ ภัยเกิดจากความแก่ (ชราภยํ), ภัยเกิดจากความเจ็บไข้ (พฺยาธิภยํ), ภัยเกิดจากความตาย (มรณภยํ). ภิกษุ ท. ! มารดาไม่ได้ตามปรารถนากะบุตรผู้แก่อยู่ อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด บุตรของเราอย่าแก่เลย ; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนากะมารดาผู้แก่อยู่ อย่างนี้ว่า เราแก่เองเถิด มารดาอย่าแก่เลย ดังนี้. มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราเจ็บไข้เองเถิด บุตรของเราอย่าเจ็บไข้เลย ; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่าเราเจ็บไข้เองเถิด มารดาของเราอย่าเจ็บไข้เลย ดังนี้. มารดาก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราตายเองเถิด บุตรของเราอย่าตายเลย ; หรือบุตรก็ไม่ได้ตามปรารถนาว่า เราตายเองเถิด มารดาของเราอย่าตายเลย ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลเป็นภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้ ๓ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! หนทางมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็นสมาตาปุตติกภัยและอมาตาปุตติกภัยอย่างละสามๆ เหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! หนทางหรือปฏิปทานั้น เป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้แหละหนทาง นี้แหละปฏิปทา เป็นไปเพื่อเลิกละ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งภัยทั้งที่เป็น สมาตาปุตติกภัยและอมาตาปุตติกภัยอย่างละสามๆ เหล่านั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/228 - 231/502.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๘ - ๒๓๑/๕๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 988
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะเป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรค ในฐานะเป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง กรรมทั้งหลายทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ....--ภิกษุ ท. ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! จักษุ .... โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา ....กายะ .... มนะ อันเธอ ท. พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้). ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.--ภิกษุ ท. ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด, อันนี้ เรียกว่า กรรมใหม่.--ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด, อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.--ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คืออริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า เราได้แสดงแล้ว แก่เธอ ท., กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว, กัมมนิโรธ เราก็แสดงแล้ว, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็แสดงแล้ว. ภิกษุ ท. ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย, นั่น เรือนว่างทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส, อย่างไม่ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย. นี่แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/166/227 - 231.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗ - ๒๓๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 989
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคเป็นอิทธิปาทภาวนาคามินีปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-อัฏฐังคิกมรรคเป็นอิทธิปาทภาวนาคามินีปฏิปทา--อานนท์ ! อิทธิบาท เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อการได้ซึ่งอิทธิ การได้เฉพาะซึ่งอิทธิ. อานนท์ ! นี้เราเรียกว่า อิทธิบาท.--อานนท์ ! อิทธิบาทภาวนา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุ ในกรณีนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ ๑ ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วย ธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิริยะเป็นปธานกิจ ๑ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยจิตตะเป็นปธานกิจ ๑ ; ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิมังสาเป็นปธานกิจ (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับ การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการ รักษา) ๑. อานนท์ ! นี้เราเรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.--อานนท์ ! อิทธิบาทภาวนาคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเจริญแห่งอิทธิบาท) เป็นอย่างไรเล่า ? อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ นั่นแหละ, กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. อานนท์ ! นี้เราเรียกว่า อิทธิบาทภาวนาคามินีปฏิปทา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/367/1223 - 1225.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๖๗/๑๒๒๓ - ๑๒๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 84
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site