สัทธรรมลำดับที่ : 969
ชื่อบทธรรม : -สัมมัตตะในนามว่า อริยมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-[สูตรข้างบนนี้ ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรค ว่าสัมมาปฏิปทา ; ในสูตรอื่น (๑๙/๒๘/๘๙ - ๙๑) ตรัสเรียกว่า สัมมาปฏิบัติ ก็มี.--อนึ่ง สูตรข้างบนนั้นตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรค ว่า สัมมาปฏิทา ในสูตรบางแห่ง (นิทาน.สํ. ๑๖/๕/๑๙ - ๒๑) ตรัสเรียก ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ว่าเป็นสัมมาปฏิปทา ก็มี.--(ตรัสเรียกปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ก็มี - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๗/๔๐๑).เป็นอันว่า ทั้งอริยอัฏฐังคิกมรรค และปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร ต่างก็เป็นสัมมาปฏิปทาด้วยกัน ; ควรที่นักศึกษาจะสนใจอย่างยิ่ง].--สัมมัตตะในนามว่า อริยมรรค--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งธรรมอันป็นอริยมรรค และธรรมอันเป็น อนริยมรรค แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงฟัง.--ภิกษุ ท. ! อนริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า อนริยมรรค.--ภิกษุ ท. ! อริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า อริยมรรค.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/262/145 - 146.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๖๒/๑๔๕ - ๑๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 970
ชื่อบทธรรม : -ธรรมที่เป็นนิพพานคามิมัคคะ
เนื้อความทั้งหมด :-(ในพระบาลีข้างบนนี้ ทรงแสดง สัมมัตตะสิบและมิจฉัตตะสิบ ว่าเป็นอริยมรรคและ อนริยมรรค. ในบาลีแห่งอื่นๆ แสดงเป็นคู่ ๆ แปลกออกไปอีก คือในสูตรอื่น ๆ ทรงเรียกชื่อของธรรมหมวดนี้ว่า สุกกมรรค - กัณหมรรค ก็มี, เป็นสาธุธรรม - อสาธุธรรม, อริยมรรค - อนริยมรรค, กุศลธรรม - อกุศลธรรม, ธรรมมีประโยชน์ - ธรรมไม่มีประโยชน์, เป็นธรรม - เป็นอธรรม, ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ - เป็นไปเพื่ออาสวะ, เป็นธรรมไม่มีโทษ - เป็นธรรมมีโทษ, เป็นธรรมไม่แผดเผา - เป็นธรรมแผดเผา, ไม่เป็นเครื่องสั่งสมกิเลส - เป็นเครื่องสั่งสมกิเลส, มีสุขเป็นกำไร - มีทุกข์เป็นกำไร, มีสุขเป็นผลตอบแทน - มีทุกข์เป็นผลตอบแทน, เป็นธรรมทำความสงบ - ไม่เป็นธรรมทำความสงบ, เป็นธรรมของสัตบุรุษ ---ไม่เป็นธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้น - ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น, ธรรมที่ควรเสพ - ธรรมที่ไม่ควรเสพ, ธรรมที่ควรเจริญ - ธรรมที่ไม่ควรเจริญ, ธรรมที่ควรทำให้มาก - ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก, ธรรมที่ควรระลึกถึง - ธรรมที่ไม่ควรระลึกถึง, ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง - ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง, ดังนี้ก็มี. - ๒๔/๒๕๘ - ๒๖๕/๑๓๔ - ๑๕๔).--ธรรมที่เป็นนิพพานคามิมัคคะ--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งนิพพานคามิมรรค แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! ก็ นิพพานคามิมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? (ต่อไปนี้ทรงแสดงสิ่งที่เรียกว่า นิพพานคามิมรรค โดยสูตรหลายสูตรเป็นลำดับไป ในที่นี้จะยกมาเฉพาะชื่อธรรมที่ทรงแสดงเท่านั้น :-)--กายคตาสติ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--สมถะและวิปัสสนา : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--สวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ อวิตักกอวิจารสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--สติปัฏฐานสี่ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--สัมมัปปธานสี่ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--อิทธิบาทสี่ : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--อินทรีย์ห้า : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--พละห้า : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--โพชฌงค์เจ็ด : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--อริยอัฏฐังคิกมรรค : ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า นิพพานคามิมรรค.--ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้ นิพพานคามิมรรค เป็นอันว่าเราแสดงแล้ว. ภิกษุ ท. ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นั้น โคนไม้ทั้งหลาย, นั่น เรือนว่างทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี้แล เป็นวจาเครื่องพร่ำสอนพวกเธอทั้งหลายของเรา.--- สฬา. สํ. ๑๘/๔๔๑ - ๔๔๒, ๔๕๐ - ๔๕๓/๖๗๔ - ๖๘๔, ๗๒๐ – ๗๕๑.--ทางโล่งอันแน่นอนไปสู่สัมมัติตตนิยาม--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็ไม่อาจก้าวลงสู่นิยามธรรม (บทสรุปอันแน่นอน) อันเป็นสัมมัตตะ (ภาวะแห่งความถูกต้อง) ในกุศลธรรมทั้งหลาย.๑ หกประการ อย่างไรเล่า ? หกประการ คือ เป็นผู้ : ---ประกอบด้วยกัมมาวรณภาวะ (มีกรรมเป็นเครื่องกั้น) ;--ประกอบด้วยกิเลสาวรณภาวะ (มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น);--๑. ภาวะแห่งความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงอัฏฐังคิกมรรคมีองค์แปดประการหรือจะขยายออกไปถึงสัมมาญาณะและสัมมาวิมุตติ อีก ๒ ประการ รวมเป็น ๑๐ ประการ ด้วยก็ได้. กล่าวโดยย่อว่า ธรรม ๖ ประการแห่งสูตรนี้ เป็นทางโล่งเปิดตรงไปสู่หัวใจอัฎฐังคิกมรรค.--ประกอบด้วยวิปากาวรณภาวะ (มีวิบากเป็นเครื่องกั้น);--ไม่ประกอบด้วยศรัทธา ;--ไม่ประกอบด้วยฉันทะ ; และ--เป็นผู้มีปัญญาทราม.--ภิกษุ ท. ! บุคคลที่ประกอบด้วยหลักธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็ไม่อาจก้าวลงสู่นิยามธรรม อันเป็นสัมมัตตะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! บุคคลที่ประกอบด้วยหลักธรรม ๖ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ก็อาจก้าวลงสู่นิยามธรรม อันเป็นสัมมัตตะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย. หกประการอย่างไรเล่า ? หกประการคือ เป็นผู้ :---ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณภาวะ ;--ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณภาวะ;--ไม่ประกอบด้วยวิปากาวรณภาวะ;--ประกอบด้วยศรัทธา;--ประกอบด้วยฉันทะ; และ--เป็นผู้ที่มีปัญญา.--ภิกษุ ท. ! บุคคลที่ประกอบด้วยหลักธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็อาจก้าวลงสู่นิยามธรรม อันเป็นสัมมัตตะ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/485/357.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๘๕/๓๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 971
ชื่อบทธรรม : -อริยมรรค ซึ่งมิใช่อริยอัฏฐังคิกมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-(กัมมาวรณภาวะ - มีกรรมเป็นเครื่องกั้น หมายถึงวิปฏิสารแห่งจิต เพราะได้ทำกรรมชั่วไว้, กิเลสาวรณภาวะ - มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น หมายถึงกิเลส โดยเฉพาะคือมิจฉาทิฏฐิที่เป็นพื้นฐานแห่งจิต, วิปากาวรณภาวะ - หมายถึง วิบากที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์ที่ไม่อาจจะเข้าใจธรรมได้).--อริยมรรค ซึ่งมิใช่อริยอัฏฐังคิกมรรค--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งอริยมรรคและอนริยมรรค แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! อนริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปวาท อภิชฌาพยาบาท มิจฉาทิฏฐิ : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า อนริยมรรค.--ภิกษุ ท. ! อริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า? เว้นจากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท เว้นจากปิสุณวาท เว้นจากผรุสวาท เว้นจากสัมผัปปลาปวาท อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฏฐิ : ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า อริยมรรค.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. 24/299/178
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. ๒๔/๒๙๙/๑๗๘
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 972
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย การสงเคราะห์องค์มรรค
เนื้อความทั้งหมด :-(กุศลกัมมบถสิบ และ อกุศลกัมมบถสิบ ซึ่งเรียกชื่อว่า อริยมรรค และอนริยมรรคในที่นี้, ในสูตรอื่นเรียกว่า สุกกมรรค - กัณหมรรค ก็มี - ๒๔/๓๐๐/๑๗๙).--หมวด ข. ว่าด้วย การสงเคราะห์องค์มรรค--องค์แปดแห่งอริยมรรค สงเคราะห์ลงในสิกขาสาม--“ข้าแต่แม่เจ้า ! อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นอย่างไรเล่า ?”--“อาวุโสวิสาขะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนั้น ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ”.--“ข้าแต่แม่เจ้า ! อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นสังขตธรรม หรืออสังขตธรรม ?”--“อาวุโสวิสาขะ ! อริยอัฏฐังคิกมรรค เป็นสังขตธรรม”.--“ข้าแต่แม่เจ้า ! ขันธ์ทั้งสาม (ศีล - สมาธิ - ปัญญาขันธ์) สงเคราะห์ด้วยอริยอัฏฐังคิกมรรคหรือ, หรือว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค สงเคราะห์ด้วยขันธ์สาม ?”--“อาวุโสวิสาขะ ! ขันธ์ทั้งสาม ไม่ได้สงเคราะห์ในอริยอัฏฐังคิกมรรค; แต่ อริยอัฏฐังคิกมรรค ต่างหาก สงเคราะห์ในขันธ์ทั้งสาม, คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สามอย่างนี้ สงเคราะห์ใน ศีลขันธ์; สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สามอย่างนี้ สงเคราะห์ใน สมาธิขันธ์; สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สองอย่างนี้ สงเคราะห์ใน ปัญญาขันธ์. .... ฯลฯ .... ”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/549, 555/508,513.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๕๔๙, ๕๕๕/๕๐๘,๕๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 973
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความข้างบนนี้ เป็นคำของธัมมทินนาเถรี กล่าวตอบแก่วิสาขอุบาสก ครั้นอุบาสกนำข้อความนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “วิสาขะ ! ธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก; ถ้าเธอถามข้อความนั้นกะเรา เราก็จะพยากรณ์กะเธอเช่นเดียวกับที่ธัมมทินนาภิกษุณีพยากรณ์แล้วแก่เธอ เธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้.” ดังนั้นเป็นอันว่า ข้อความของธรรมทินนาเถรีมีค่าเท่ากับพระพุทธภาษิต จึงนำมาใส่ไว้ในหนังสือนี้ ในลักษณะเช่นนี้).--ลักษณะแห่งสิกขาสามโดยละเอียด--๑. สีลขันธ์ โดยละเอียด--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสีลขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”--มาณพ ! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์. ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.--คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธรย่อมพิจารณาเห็น ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาส (คือที่โปร่งโล่ง) อันยิ่ง; การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไรเราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.--โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.--กุลบุตรนั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้ง หลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล มีอาชีวะบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล ....--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ....ฯลฯ .... (ข้อความต่อไปนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๔๑ ตั้งแต่ คำว่า เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขาดจากอทินนาทาน ... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยสีลขันธ์) .... ที่หน้า ๑๕๕๑).--๒. สมาธิขันธ์ โดยละเอียด--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ ! อริยสมาธิขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?” (บุรพภาคแห่งการเจริญสมาธิ)--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?--มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ ; อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.--(ในกรณีแห่งอินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).--.... มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล.--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไป การหยุด, การนั่ง การนอน , การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.--.... มาณพ ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.--มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไรเล่า ? มาณพ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใดๆ ย่อม ถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลักไปได้ โดยทิศนั้นๆ.--มาณพ ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่างเดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด; ภิกษุก็ฉันนั้น : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใดๆ ได้.--.... มาณพ ! ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ ด้วยอาการอย่างนี้แล.--(การเจริญสมาธิ)--ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยสีสขันธ์ (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยอินทรีย์นี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสติสัมปชัญญะนี้ด้วย ประกอบด้วยอริยสันตุฏฐินี้ด้วย แล้ว, เธอเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง), ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว เธอนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ ดูได้ที่ภาคผนวกหน้า ๑๕๕๓ แห่งหนังสือเล่มนี้ ตั้งแต่คำว่า ละอภิชฌาโลภะแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ .... ไปถึงคำว่า .... (จบอริยสมาธิขันธ์) .... ที่หน้า ๑๕๕๘).--๓. ปัญญาขันธ์ โดยละเอียด--“ท่านอานนท์ผู้เจริญ! อริยปัญญาขันธ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ที่พระสมณโคดมทรงสรรเสริญ และทรงชักชวนมหาชนนี้ให้สมาทาน ให้เข้าไปอยู่ ให้ตั้งไว้เฉพาะ ?”--ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูป ประกอบอยู่ด้วยมหาภูตทั้งสี่ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั้นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา, แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น; (เธอรู้เห็นอย่างชัดเจน) เปรียบเหมือนมณีไพฑูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง, ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, บุรุษ--ผู้มีตาดี วางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพฑูรย์นี้ เป็นของสวยงาม สมชาติแก้ว แปดเหลี่ยม เจียระไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง. ในแก้วนี้มีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง, ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้นี้ ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง. ....ฯลฯ.... (ข้อความตอนต่อจากนี้ไป ดูได้ที่ภาคผนวกแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๑๕๕๙ ตั้งแต่คำว่า ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อการนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ. เธอถอดกายอื่นออกจากกายนี้ .... ไปจนถึงคำว่า .... (จบอริยปัญญาขันธ์)., ที่หน้า ๑๕๖๔).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/252 - 272/318 - 337.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๕๒ - ๒๗๒/๓๑๘ - ๓๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 974
ชื่อบทธรรม : -สิกขาสาม เป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันตามลำดับ
เนื้อความทั้งหมด :-สิกขาสาม เป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันตามลำดับ--(เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่อุทยานอัมพลัฏฐิกา ในราชอาคาร ทรงกระทำ ธรรมมีกถาเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ว่า :-)--ศีล เป็นอย่างนี้, สมาธิ เป็นอย่างนี้, ปัญญา เป็นอย่างนี้. สมาธิ ที่ศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่; ปัญญา ที่สมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่; จิต ที่ปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย โดยชอบเทียว, คือพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/96/76.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๙๖/๗๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 975
ชื่อบทธรรม : -อธิสิกขาสาม
เนื้อความทั้งหมด :-อธิสิกขาสาม--ภิกษุ ท. ! สิกขา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/303/529.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 976
ชื่อบทธรรม : -อธิสิกขาสาม (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-อธิสิกขาสาม (อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! สิกขา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ .... ฯลฯ .... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.--ภิกษุ ท. ! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้ว แลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--พึงเป็นผู้มีความเพียร มีกำลัง มีความตั้งมั่น มีความเพ่ง มีสติ สำรวมอินทรีย์ ประพฤติอธิศีลอธิจิตและอธิปัญญาเถิด พึงแผ่จิตครอบงำทิศทั้งปวง ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้ เช่น เดียวกันทั้งข้างหน้าข้างหลัง ทั้งข้างหลังข้างหน้า เช่นเดียวกันทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง ทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำ เช่นเดียวกันทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งกลางคืนกลางวัน. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นเสขปฏิปทา หรือ การประพฤติธรรมหมดจดด้วยดี. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นผู้รู้พร้อมในโลก มีปัญญา ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ.--วิโมกข์แห่งจิต ย่อมมีแก่บุคคลนั้นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา เพราะความดับสนิทแห่งวิญญาณ เหมือนความดับสนิทแห่งไฟ ฉะนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/303/530.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๐๓/๕๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 977
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะความสมบูรณ์แห่งศีล
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะความสมบูรณ์แห่งศีล--ดูก่อนจุนที ! ศีลทั้งหลายมีประมาณเท่าไร, ผู้รู้กล่าวกันว่า อริยกันตศีล (ศีลเป็นที่ชอบใจของพระอริยเจ้า) เลิศกว่าศีลเหล่านั้น; กล่าวคือ ศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทแก่ตัว วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิลูบคลำ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ.--จุนที ! บุคคลเหล่าใด ทำให้บริบูรณ์ในอริยกันตศีล, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่ากระทำให้บริบูรณ์ในสิ่งอันเลิศ; ก็วิบากอันเลิศ ย่อมมีแก่ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสิ่งอันเลิศ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/38/32.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๘/๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 978
ชื่อบทธรรม : -เมื่อตีความคำบัญญัติผิด
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อตีความคำบัญญัติผิด--แม้ทารกนอนเบาะก็มีศีลโดยอัตโนมัติ--(อุคคาหมานปริพพาชก ได้กล่าวกะช่างไม้ชื่อปัญจกังคะว่า “ถปติ ! เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดม อันใครๆ รบให้แพ้ไม่ได้. สี่อย่างอย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ บุคคลในกรณีนี้ ย่อมไม่กระทำกรรมอันเป็นบาปด้วยกาย ๑ ย่อมไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป ๑ ย่อมไม่ดำริ--ความดำริอันเป็นบาป ๑ ย่อมไม่เลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพอันเป็นบาป ๑.” ช่างไม้ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำนั้น เข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลข้อความนั้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทุกประการ. ตรัสว่า :-)--ถปติ ! ถ้าเป็นอย่างที่ปริพพาชกนั้นกล่าวแล้ว เด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะ ก็จะกลายเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดม อันใครๆรบให้แพ้ไม่ได้ ไปเสีย. ถปติ ! สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้น แม้แต่ความรู้จักว่า “กายๆ” ดังนี้ ก็ยังมิได้มีแล้ว จักกระทำกรรมอันเป็นบาปด้วยกายได้แต่ที่ไหน อย่างมากก็เพียงกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนเบาะ. ถปติ ! สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้น แม้แต่ความรู้จักว่า “วาจาๆ” ดังนี้ ก็ยังมิได้มี แล้ว จักกล่าววาจาอันเป็นบาปได้แต่ที่ไหน อย่างมากก็เพียงส่งเสียงร้องไห้. ถปติ! สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้น แม้แต่ความรู้จักว่า “ดำริๆ” ดังนี้ ก็ยังมิได้มี. แล้ว จักดำริความดำริอันเป็นบาปได้แต่ที่ไหน อย่างมากก็เพียงแสดงอาการอึดอัด (ตามประสาเด็ก). ถปติ ! สำหรับเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะนั้น แม้แต่ความรู้จักที่ว่า “อาชีพๆ” ดังนี้ ก็ยังมิได้มี. แล้ว จักเลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพอันเป็นบาปได้แต่ที่ไหน อย่างมากทำได้ก็แต่เพียงกินนมแม่. ถปติ ! เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะ จักเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดม อันใครๆรบให้แพ้ไม่ได้ ดังคำกล่าวของอุคคาหมานปริพพาชกนั้นได้อย่างไร.--ถปติ ! เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง (ตามที่อุคคาหมานปริพพาชกกล่าวนั้น) ว่า ยังไม่ใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์ ยังไม่ใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง ยังไม่ใช่สมณะผู้บรรลุถึงการบรรลุอันอุดมอันใครๆ รบให้แพ้ไม่ได้ อย่างมาก บุคคลนั้นเพียงแต่จะดีกว่าเด็กอ่อนนอนหงายอยู่บนเบาะบ้างเท่านั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/343 - 345/358 - 360.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๓๔๓ - ๓๔๕/๓๕๘ - ๓๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 83
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site