สัทธรรมลำดับที่ : 957
ชื่อบทธรรม : -หมวด ฉ. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาสมาธิ--นิวรณ์ - ข้าศึกแห่งสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-(บาลีพระสูตรนี้ ได้ทำให้เกิดประเพณีสวดคิริมานนทสูตร ให้คนเจ็บฟัง เพื่อจะได้หายเจ็บไข้ เช่นเดียวกับโพชฌงคสูตร. บางคนอาจจะสงสัยว่า มิเป็นการผิดหลักกรรมหรือเหตุปัจจัยไปหรือ ที่ความทุกข์ดับไปโดยไม่มีการดับเหตุแห่งทุกข์ ตามหลักแห่งจตุราริยสัจ. ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่า การฟังธรรมของพระคิริมานนท์ ทำให้มีธรรมปีติอย่างแรงกล้า อำนาจของธรรมปีตินั้นสามารถระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงระงับไป ดุจดังว่าหายจากอาพาธ; กล่าวได้ว่ามีปัจจัยเพื่อการดับแห่งทุกข์อริยสัจ; ไม่ผิดไปจากกฎเกณฑ์แห่งกรรมหรือกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยเลย; เป็นการดับทุกข์ได้วิธีหนึ่ง จึงนำข้อความนี้ มาใส่ไว้ในหมวดนี้).--หมวด ฉ. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาสมาธิ--นิวรณ์ - ข้าศึกแห่งสมาธิ--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น แต่เขานอนคลุมศีรษะของตนอยู่ที่ริมฝั่งนี้. วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจะไปจากฝั่งในสู่ฝั่งนอกแห่งแม่น้ำอจิรวดีได้หรือหนอ ? “ไม่ได้แน่ ท่านพระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้เรียกกันในอริยวินัย ว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ กามฉันทนิวรณ์ พ๎ยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์. วาเสฏฐะ ! นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัย ว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง.--วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ถูกนิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว. วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมะที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะที่ไม่ทำความเป็นพราหมณ์ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่ อัน นิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างเปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะเป็นไปได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306-307/378-379.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๓๐๖-๓๐๗/๓๗๘-๓๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 958
ชื่อบทธรรม : -นิวรณ์เป็นเครื่องทำกระแสจิตไม่ให้รวมกำลัง
เนื้อความทั้งหมด :-นิวรณ์เป็นเครื่องทำกระแสจิตไม่ให้รวมกำลัง--ภิกษุ ท. ! นิวรณ์เป็นเครื่องกางกั้น ๕ อย่างเหล่านี้ ท่วมทับจิตแล้วทำปัญญาให้ถอยกำลัง มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ : ---นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;--นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;--นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;--นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง;--นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญาให้ถอยกำลัง.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว จักรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลัง ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ไหลไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดพาสิ่งต่างๆ ไปได้ มีบุรุษมาเปิดช่องทั้งหลายที่เขาขุดขึ้น ด้วยเครื่องไถทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสกลางแม่น้ำนั้น ก็ซัดส่าย ไหลผิดทาง ไม่ไหลไปสู่ที่ไกลไม่มีกระแสเชี่ยว ไม่พัดสิ่งต่างๆ ไปได้, นี้ฉันใด;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุ ที่ไม่ละนิวรณ์อันเป็นเครื่องกางกั้นจิต ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว จะรู้ซึ่งประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น หรือประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษอันควรแก่ความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันทุพพลภาพ ไร้กำลังดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--(ต่อไปนี้ ได้ตรัสโดยปฏิปักขนัย คือ ภิกษุละนิวรณ์ แล้วทำญาณวิเศษให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันมีกำลัง เหมือนแม่น้ำที่เขาอุดรูรั่วทั้งสองฝั่งเสียแล้ว มีกระแสเชี่ยวแรงมาก ฉะนั้น).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/72/51.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๒/๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 959
ชื่อบทธรรม : -จิตตระหนี่ เป็นสิ่งที่ต่ำเกินไป
เนื้อความทั้งหมด :-จิตตระหนี่ เป็นสิ่งที่ต่ำเกินไป--สำหรับการบรรลุฌาน และทำให้แจ้งมรรคผล--ภิกษุ ท. ! เพราะไม่ละธรรม ๕ อย่าง บุคคลจึงไม่ควรเข้าอยู่ ซึ่ง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล. ธรรม ๕ อย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ความตระหนี่อาวาส ความตระหนี่ตระกูล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณะ (ความดี) ความตระหนี่ธรรม (เครื่องให้บรรลุมรรคผล).--(ต่อจากนี้ ได้ตรัสโดยนัยตรงกันข้ามถึงการละธรรม ๕ อย่างนั้นแล้ว ควรเพื่อเข้าอยู่ในฌานและกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/302/256 - 357.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๐๒/๒๕๖ - ๓๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 960
ชื่อบทธรรม : -หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณณกะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณณกะ--สนิมจิต เทียบสนิมทอง--ภิกษุ ท. ! สนิมแห่งทอง ๕ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ เป็นสนิมทำให้ทองเศร้าหมอง มีเนื้อไม่อ่อน ไม่ควรแก่การงานของช่างทอง ไม่ส่งรัศมี มีเนื้อร่วน และไม่เหมาะสมแก่การกระทำของช่างทอง. สนิม ๕ ประการนั้นอย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ เหล็ก โลหะ ดีบุก ตะกั่ว เงิน. ภิกษุ ท. ! เมื่อใดทองปราศจากสนิม ๕ ประการ เหล่านี้แล้ว ทองนั้น ย่อมเป็นทองมีเนื้ออ่อน ควรแก่การงานของช่างทอง มีรัศมี เนื้อไม่ร่วน และเหมาะแก่การกระทำของช่างทอง. ถ้าใครปรารถนาจะกระทำเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน ตุ้มหู สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลา ก็ตาม ก็สำเร็จประโยชน์แก่เขานั้น, นี่ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : สนิมแห่งจิต ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เป็นสนิมทำให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อนโยน ไม่ควรแก่การงานของจิต ไม่ประภัสสร รวนเร และไม่ตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ. สนิมแห่งจิต ๕ ประการนั้นอย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา. ภิกษุ ท. ! เมื่อใดจิตปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ๕ ประการเหล่านี้แล้ว จิตนั้นย่อมเป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานของจิต เป็นจิตประภัสสร ไม่รวนเร และตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/18/23.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๘/๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 961
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามต่อกันโดยธรรมชาติ
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งที่เป็นเสี้ยนหนามต่อกันโดยธรรมชาติ--ภิกษุ ท. ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ตามที่มหาสาวกเหล่านั้น เมื่อพยากรณ์ก็พยากรณ์โดยชอบ. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวฌานว่า มีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม จริง.--ภิกษุ ท. ! เสี้ยนหนาม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สิบอย่างอย่างไรเล่า ? สิบอย่าง คือ : ---ความยินดีในการระคนด้วยหมู่ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ยินดีในปวิเวก ;--การตามประกอบในสุภนิมิต เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้ตามประกอบในอสุภนิมิต ;--การดูการเล่น เป็นเสี้ยนหนามแก่ ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ;--การเกี่ยวข้องกับมาตุคาม เป็นเสี้ยนหนามแก่ พรหมจรรย์ ;--เสียง เป็นเสี้ยนหนามแก่ ปฐมฌาน ;--วิตกวิจาร เป็นเสี้ยนหนามแก่ ทุติยฌาน ;--ปีติ เป็นเสี้ยนหนามแก่ ตติยฌาน ;--อัสสาสะปัสสาสะ เป็นเสี้ยนหนามแก่ จตุตถฌาน ;--สัญญาและเวทนา เป็นเสี้ยนหนามแก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ;--ราคะ เป็นเสี้ยนหนาม โทสะ เป็นเสี้ยนหนาม.--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเป็นผู้หมดเสี้ยนหนาม อยู่เถิด. ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีเสี้ยนหนาม หมดเสี้ยนหนาม แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/145/72.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๔๕/๗๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 962
ชื่อบทธรรม : -การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
เนื้อความทั้งหมด :-(หนามที่สิบ คือราคะและโทสะเป็นหนาม แต่ไม่ระบุว่าเป็นหนามแก่สิ่งใดเหมือนข้อบนๆ; เข้าใจว่าเป็นหนามแก่ธรรมทั่วไป. การที่ไม่ระบุโมหะว่าเป็นหนามด้วย เข้าใจว่าเป็นเพราะโมหะไม่มีลักษณะเสียบแทงเหมือนหนาม หรือเหมือนกับราคะและโทสะ).--การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ มีความประสงค์จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหรือป่าเปลี่ยว”.--อุบาลี ! เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว อยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ยาก ความอยู่คนเดียว เป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสีย ซึ่งใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิอยู่. อุบาลี ! ผู้ใดพูดว่า “เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้ เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจักจมลงหรือจิตจักปลิวไป.--อุบาลี ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่. ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์๑ หรือเจ็ดรัตน์ครึ่ง มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า “เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา” ดังนี้; ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น, เพราะเหตุไร ? อุบาลี ! เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้. ครั้งนั้น กระต่ายหรือแมวป่า มาเห็นช้างนั้นแล้วคิดว่า “ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็นอะไรที่ไหนไป ดังนั้น เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา” ดังนี้; กระต่าย หรือแมวป่านั้น กระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น โดยไม่พิจารณา ผลที่มันหวังได้ก็คือ จมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?--๑. หนึ่งรัตน์เท่ากับ ๒ วิทัตถิ, เท่าที่ทดสอบกันในประเทศไทยแล้ว ปรากฏว่า หนึ่งวิทัตถิ ประมาณเท่ากับ ๑ ฟุต.--เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึงไม่อาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึก, นี้ฉันใด; อุบาลี ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ผู้ใด พูดว่า “เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่า หรือป่าเปลี่ยว” ดังนี้ เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้คือ จิตจักจมลง หรือจิตจักปลิวไป.--(เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การออกไปอยู่ป่ามิได้เหมาะสำหรับทุกคน. ผู้ใดคิดว่าจักบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน กระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอันไม่มีอาสวะ ด้วยเหตุเพียงสักว่าอยู่ป่าอย่างเดียวนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้ เพราะไม่ชื่อว่า เป็นผู้ตามถึงประโยชน์ตน (อนุปฺปตฺตสทตฺถ) ได้ด้วยเหตุสักว่าการอยู่ป่า ; ดังนั้นพระองค์จึงตรัสกะภิกษุอุบาลีว่า : -)--อุบาลี ! เธอ จงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด ความผาสุกจักมีแก่เธอผู้อยู่ในหมู่สงฆ์, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/216/99.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 963
ชื่อบทธรรม : -ลำดับพฤติจิตของผู้ที่จะเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท
เนื้อความทั้งหมด :-ลำดับพฤติจิตของผู้ที่จะเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท--ภิกษุ ท. ! บุคคลเป็นผู้ มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลสำรวม จักขุนทรีย์ อยู่ จิตย่อมไม่เกลือกกลั้วในรูปทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ; เมื่อเขามีจิตไม่เกลือกกลั้ว ปราโมทย์ย่อมเกิด; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด; เมื่อมีใจปีติ กายย่อมสงบ; ผู้มีกายสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข; จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น; เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ; เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ บุคคลนั้น ย่อมถึงซึ่งการนับว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยแท้.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าบุคคลเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท.--(ในกรณีแห่งผู้ มีปกติอยู่ด้วยความประมาท ก็ตรัสไว้โดยนัยตรงกันข้าม).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/98/144.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๙๘/๑๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 964
ชื่อบทธรรม : -สัจจสัญญาอันสุขุมยิ่งขึ้นไปตามลำดับในรูปฌานสี่
เนื้อความทั้งหมด :-สัจจสัญญาอันสุขุมยิ่งขึ้นไปตามลำดับในรูปฌานสี่--[กรณีของปฐมฌาน]--โปฏฐปาทะ ! เมื่อภิกษุนั้นมองเห็นนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ ที่ตนละได้แล้ว อยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด; เมื่อปราโมทย์เกิด ปีติย่อมเกิด; กายของผู้มีใจปีติ ย่อมสงบรำงับ; ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข; จิตของผู้มีสุข ย่อมตั้งมั่น. ภิกษุนั้น เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. สัญญาในกามอันมีในกาลก่อนของเธอนั้น ย่อมดับไป; สัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่วิเวก ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้น, เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่วิเวก ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษาอย่างนี้สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น, สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป. แม้นี้ ก็เป็นการศึกษา.--[กรณีของทุติยฌาน]--โปฏฐปาทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุ ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งในภายใน นำให้เกิดสมาธิ--มีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่วิเวก ที่มีในกาลก่อน ของเธอนั้นย่อมดับไป; สัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิ ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้น, เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิ ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษาอย่างนี้ สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น, สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป. แม้นี้ ก็เป็นการศึกษา.--[กรณีของตติยฌาน]--โปฏฐปาทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึงบรรลุ ฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียดในปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ที่มีในกาลก่อน ของเธอนั้น ย่อมดับไป; สัจจสัญญาอันละเอียดในอุเปกขาสุข ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้น, เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดในอุเปกขาสุข ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษาอย่างนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น, สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป. แม้นี้ ก็เป็นการศึกษา.--[กรณีของจตุตถฌาน]--โปฏฐปาทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, จึงบรรลุ ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. สัจจสัญญาอันละเอียดในอุเปกขาสุข ที่มีในกาลก่อน ของเธอนั้น ย่อมดับไป; สัจจสัญญาอันละเอียดในอทุกขมสุข ย่อมมีขึ้นในสมัยนั้น, เธอ--ย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียดในอทุกขมสุข ในสมัยนั้น. เพราะการศึกษาอย่างนี้ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้น, สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมดับไป, แม้นี้ ก็เป็นการศึกษา.--(ในกรณีแห่ง อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/226- 227/279 - 282.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๒๖- ๒๒๗/๒๗๙ - ๒๘๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 965
ชื่อบทธรรม : -เจโตวิมุตติชนิดที่ยังมีอุปสรรค
เนื้อความทั้งหมด :-เจโตวิมุตติชนิดที่ยังมีอุปสรรค--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำพวกอย่างไรเล่า ? สี่จำพวกคือ :---๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ (ความดับแห่งสักกายะ), เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ, จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธไม่ได้. เปรียบเหมือนบุรุษมือเปื้อนตังเหนียว จับกิ่งไม้, มือของเขาข้องอยู่ จับอยู่ ติดอยู่ (ไม่เป็นอิสระ), นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ, เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธอยู่, จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธไม่ได้, ฉันนั้นเหมือนกัน.--๒. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ, เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธอยู่, จิตของเธอก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในสักกายนิโรธ, ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธได้. เปรียบเหมือนบุรุษมือสะอาด จับกิ่งไม้, มือของเขาก็ไม่ข้องอยู่ ไม่จับอยู่ ไม่ติดอยู่ (ยังเป็นอิสระ), นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธ, เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสักกายนิโรธอยู่, จิตของเธอก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในสักกายนิโรธ. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังสักกายนิโรธได้, ฉันนั้นเหมือนกัน.--๓. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภท (การทำลายแห่งอวิชชา), เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่, จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่น้อมไป ในอวิชชาปเภท, ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทไม่ได้. เปรียบเหมือนชัมพาลี๑ อันสร้างมาแล้วหลายปี คนเขาปิดทางน้ำไหลเข้าของมันเสีย และเปิดทางน้ำไหลออกไว้ทั้งหมด ทั้งฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ การที่จะมีน้ำไหลออกจากขอบคันแห่งตระพังนั้น ก็เป็นอันไม่มีหวัง, นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภท, เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่, จิตของเธอ (ก็ยัง) ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ดำรงอยู่ ไม่--น้อมไป ในอวิชชาปเภท, ๑. ตระพังใหญ่ที่ทิ้งของโสโครกประจำเมือง มีขอบคัน. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทไม่ได้, ฉันนั้นเหมือนกัน.--๔. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ในกรณีนี้ เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อม (อาศัยเจโตวิมุตตินั้น) กระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภท, เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่, จิตของเธอ ก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในอวิชชาปเภท. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทได้. เปรียบเหมือนชัมพาลี อันสร้างมาแล้วหลายปี คนเขาเปิดทางน้ำไหลเข้าของมัน และปิดทางน้ำไหลออกไว้ทั้งหมด ทั้งฝนก็ตกตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ การที่จะมีน้ำไหลออกจากขอบคันแห่งตระพังนั้น ก็เป็นอันหวังได้, นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุตติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแลอยู่. เธอย่อมกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภท, เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งอวิชชาปเภทอยู่, จิตของเธอ ก็แล่นไป เลื่อมใส ดำรงอยู่ น้อมไป ในอวิชชาปเภท. ความเป็นอย่างนี้ของภิกษุนั้น ทำให้เธอหวังอวิชชาปเภทได้, ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวก เหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/223 - 225/178.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๒๓ - ๒๒๕/๑๗๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 966
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๒๑
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๒๑--ว่าด้วย สัมมาสมาธิ--จบ--นิเทศ ๒๒ ว่าด้วย ข้อความสรุปเรื่องมรรค--(มี ๗๕ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วย ไวพจน์--อริยอัฏฐังคิกมัคคอธิวจนะ--(ไวพจน์แห่งอัฏฐังคิกมรรค)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สามัญญะ .... ภิกษุ ท. ! สามัญญะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? สามัญญะนั้นคือ อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ นั่นเอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า สามัญญะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/30/99 - 100.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๐/๙๙ - ๑๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 967
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งธัมมยานอันประเสริฐ
เนื้อความทั้งหมด :-[ในสูตรอื่น (๑๙/๓๐/๑๐๕) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า พรหมัญญะ.--ในสูตรอื่น (๑๙/๓๑/๑๑๑) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า พรหมจริยะ.--ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๖๑) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมัตตะ.--ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๖๔) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า กุสลธัมม.--ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๖๗) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมาปฏิปทา.--ในสูตรอื่น (๑๙/๒๐/๙๑) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สัมมาปฏิปัตติ.--ในสูตรอื่น (๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า มัชฌิมาปฏิปทา.--ในสูตรอื่น (๑๔/๕๒๔/๘๒๙) ตรัสเรียกอัฏฐังคิกมรรคว่า สมถะและวิปัสสนา].--อัฏฐังคิกมรรคในฐานะแห่งธัมมยานอันประเสริฐ--(พระอานนท์ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ นั่งรถขาวเทียมด้วยม้าขาวเครื่องประดับประดาทุกส่วนขาว ถือพัดวาลวีชนีขาว จนกระทั่งประชาชนเห็นแล้วร้องว่า พรหมยาน ว่าลักษณะแห่งพรหมยาน, ดังนี้แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า :-)--“ข้าแต่พระองค์ผู้องค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาค อาจจะบัญญัติพรหมยานขึ้น ในธรรมวินัยนี้ ได้หรือไม่หนอ ?”--อาจซิ อานนท์ ! คำว่า พรหมยาน นั้น เป็นอธิวจนะ (คำแทนชื่อ) แห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เอง; เรียกว่า พรหมยาน บ้าง ธรรมยาน บ้าง อนุตตรสังคามวิชัย บ้าง.--อานนท์ ! สัมมาทิฏฐิ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน.--สัมมาสังกัปปะ .... สัมมาวาจา .... สัมมากัมมันตะ .... สัมมาอาชีวะ .... สัมมาวายามะ .... สัมมาสติ .... สัมมาสมาธิ .... อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว เป็นธรรมมีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน มีการออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน.--อานนท์ ! พึงทราบโดยปริยายนี้แล ว่าคำว่า พรหมยาน นั้นเป็น อธิวจนะแห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคนี้เอง ; เรียกว่า พรหมยาน บ้าง ธรรมยาน บ้าง อนุตตรสังคามวิชัย บ้าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/6 - 7/13 - 23.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๖ - ๗/๑๓ - ๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 968
ชื่อบทธรรม : -อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงทราบว่า คำว่า พรหมยาน เป็นคำสูงสุดในฝ่ายศาสนาพราหมณ์ พระอานนท์อยากจะมีคำเช่นนั้นในพระพุทธศาสนานี้บ้าง จึงทูลถาม; แต่พระองค์ตรัสตอบอย่างธัมมาธิษฐาน ระบุเอาอัฏฐังคิกมรรคเป็นพรหมยาน, และแถมยังมีคำว่า ธรรมยาน และอนุตตรสังคามวิชัย อีกด้วย. เราเห็นว่า คำว่า ธรรมยาน สำคัญกว่า จึงยกเอามาเป็นชื่อแห่งหัวข้อนี้.--อนึ่ง อัฏฐังคิกมรรคนี้ จำแนกความหมายได้หลายอย่าง เช่นจำแนกเป็น วิเวกนิสฺสิตํ วิราคนิสฺสิตํ นิโรธนิสฺสิตํ โวสฺสคฺคปริณามี ดังในหัวข้อ ที่จัด อัฏฐังคิกมรรคเป็น กัลยาณมิตร เป็นต้น บ้าง, และในหัวข้อทรงจำแนกเป็น ราค - โทส - โมหวินย - ปริโยสานบ้าง, ในหัวข้อว่า “อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว” เป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้ในหมายเหตุท้ายหัวข้อนั้นๆ ที่หน้า ๑๔๑๙, ๑๔๒๑, ๑๔๕๘ แห่งหนังสือนี้ ทรงจำแนกว่า อมโตคธ อมตปรายน อมตปริโยสาน บ้าง, นิพฺพานนินฺน นิพฺพานโปณ นิพฺพานปพฺภาร บ้าง).--อัฏฐังคิกมรรค เป็นสัมมาปฏิปทา--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง มิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งข้อความนั้น.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? มิจฉาปฏิปทานี้คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? สัมมาปฏิปทานี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สัมาปฏิปทา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/22/65 - 67.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๒/๖๕ - ๖๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 82
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site