สัทธรรมลำดับที่ : 945
ชื่อบทธรรม : -หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาสมาธิ--ประโยชน์ของการเจริญสมาธิ--นัยที่หนึ่ง : เห็นความไม่เที่ยงของอายตนิกธรรม--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีจิตเป็นสมาธิแล้ว (ธรรมลักษณะ) ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า จะปรากฏตามที่เป็นจริง ?--จักษุ จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้;--รูปทั้งหลาย จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้;--จักขุวิญญาณ จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้;--จักขุสัมผัส จะปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้;--เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี เป็นอทุกขมสุขก็ดี ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริงว่า เป็น อนิจจัง ดังนี้.--(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด. เมื่อภิกษุมีจิตเป็นสมาธิแล้ว (ธรรมลักษณะ) ย่อมปรากฏตามที่เป็นจริง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/181/249.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๑/๒๔๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 946
ชื่อบทธรรม : -นัยที่สอง : เห็นความเกิดดับของเบญจขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-นัยที่สอง : เห็นความเกิดดับของเบญจขันธ์--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งรูป .... แห่งเวทนา .... แห่งสัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่งวิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้นแห่งรูป .... แห่งเวทนา .... แห่งสัญญา .... แห่งสังขาร .... แห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่. ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในรูป, ความเพลิดเพลินนั้นคืออุปาทาน. เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีของ การเกิดขึ้นแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ ก็มีข้อความที่ ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา …. แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ.--ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งรูป …. แห่ง เวทนา …. แห่ง สัญญา …. แห่ง สังขาร …. แห่ง วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม ไม่เพลิดเพลิน ย่อม ไม่พร่ำสรเสริญ ย่อม ไม่เมาหมกอยู่. ภิกษุนั้นย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูป. เมื่อภิกษนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูป, นันทิ (ความเพลิน) ใด ในรูป, นันทินั้นย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมี--ความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--(ในกรณีของ การดับแห่งเวทนา แห่ง สัญญา แห่ง สังขาร และแห่ง วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน เปลี่ยนแต่ชื่อขันธ์ เท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! นี้คือ ความดับแห่งรูป …. แห่งเวทนา …. แห่งสัญญา …. แห่งสังขาร …. แห่งวิญญาณ, แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. 17/18 - 19/27 - 29 .
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๑๘ - ๑๙/๒๗ - ๒๙ .
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 947
ชื่อบทธรรม : -อานุภาพแห่งสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-อานุภาพแห่งสมาธิ--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามที่เป็นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้ . ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีมีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามที่เป็นจริง.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำความเพียรเพื่อให้รู้ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/520/1654.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 948
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรอื่นทรงแสดงอานุภาพแห่งสมาธิ ด้วยการรู้ชัดความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี. -๑๗/๑๘/๒๗. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๑๒๗-๑๓๑ และที่หน้า ๓๓๘-๓๔๑ )
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่นทรงแสดงอานุภาพแห่งสมาธิ ด้วยการรู้ชัดความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี. -๑๗/๑๘/๒๗. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๑๒๗-๑๓๑ และที่หน้า ๓๓๘-๓๔๑ )--ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการรู้ชัด อายตนิกธรรม ๖ หมวด หมวดละ ๕ อย่างคือ จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. – ๑๘/๙๙/๑๔๗. อีกสูตรหนึ่ง แสดงไว้ด้วยการปรากฏของ อายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. -๑๘/๑๘๐/๒๔๙).--อานิสงส์ของการหลีกเร้น--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้น (ปฏิสลฺลาณ) เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น จงเป็นผู้ตามประกอบเจโตสมถะในภายใน มีฌานอันตนไม่ละเลย ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนความยินดีในสุญญาคารอยู่เถิด. ภิกษุ ท. ! เมื่อประพฤติกระทำเช่นนั้นอยู่, ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผลทั้งสอง เป็นอันเธอหวังได้ คือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม นี้ หรือว่าเมื่อเชื้อ (อุปาทิ) เหลืออยู่ ก็มี ความเป็น อนาคามี.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/259/223.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๙/๒๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 949
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์แห่งการหลีกเร้นไว้ด้วยการ รู้ชัดการเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี. - ๑๗/๒๐/๓๐. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๒๕๙ - ๒๖๒ และที่หน้า ๓๓๘ - ๓๔๑ .
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์แห่งการหลีกเร้นไว้ด้วยการ รู้ชัดการเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ห้า ก็มี. - ๑๗/๒๐/๓๐. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า ๒๕๙ - ๒๖๒ และที่หน้า ๓๓๘ - ๓๔๑ .--ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอริยสัจสี่ ก็มี ดังที่ได้ยกมาไว้ในภาคนำแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๗๕.--ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอายตนิกธรรม ๖ หมวดๆ ละ ๕ อย่างคือ จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม ๓๐ อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๐๐/๑๔๘.--ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง ๖ หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๘๑/๒๕๐).--แม้เพียงปฐมฌาน ก็ชื่อว่าเป็นที่หลบพ้นภัยจากมาร--(พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสข้อความปรารภการสงครามระหว่างเทวดากับอสูร : ถ้าฝ่ายใดแพ้ถูกไล่ติดตามไปจนถึงภพเป็นที่อยู่แห่งตน ก็พ้นจาการถูกไล่ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน. สรุปความว่า ภพแห่งตนเป็นที่พึ่งที่ต้านทานของตน สำหรับชนสามัญทั่วไป; ส่วนสำหรับภิกษุนั้น ตรัสว่า :-)--ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกมีวิจาร มีปิติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ ; ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมคิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ เรา มีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัวอยู่ มารจะไม่ทำอะไรได้”. ภิกษุ ท. ! แม้มารผู้มีบาป ก็คิดอย่างนี้ว่า “ในกาลนี้ ภิกษุมีตนอันถึงแล้ว ซึ่งที่ต้านทานสำหรับสัตว์ผู้กลัว อยู่ เราจะทำอะไรไม่ได้”.--(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว จักข้ามไปยังข้อความที่กล่าวถึงอากาสานัญจายตนะ :-)--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งรูปสัญญาเสียได้โดยประการทั้งปวง เพราะการดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศ--ไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น.--(ในกรณีแห่ฌานที่ถัดไป คือ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ได้ตรัสข้อความทำนองเดียวกัน ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌาน ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ ในที่นี้ให้ยืดยาว. ส่วนในกรณีแห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ได้ตรัสว่า:-)--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่, อาสวะของเธอก็สิ้นสุดไป เพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้กระทำมารให้ถึงที่สุด ให้ไม่มีทางไป ได้ถึงที่ซึ่งจักษุของมารผู้มีบาปมองไม่เห็น , ข้ามได้แล้วซึ่งเครื่องข้อง (คือตัณหา) ในโลก ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก.อ. 23/450-453/243.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก.อ. ๒๓/๔๕๐-๔๕๓/๒๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 950
ชื่อบทธรรม : -(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อจิตอยู่ในปฐมฌาน, เพียงเท่านั้นจิตก็จะพ้นจากการรบกวนทำร้ายของมาร คือนิวรณ์ กิเลส และความรู้สึกอันเป็นทุกข์อื่นๆ เพราะอำนาจของปฐมฌานมีมากพอที่จะระงับความรู้สึกอันเป็นทุกข์นั้นเสียได้ แม้ไม่ตลอดไปก็ต้องได้ในระยะหนึ่งๆ เพื่อเป็นโอกาสให้ได้ปฏิบัติสูงขึ้นไป จนถึงที่สุด. ดังนั้น เราควรฝึกฝนอย่างน้อยที่สุดในปฐมฌาน สำหรับ เป็นที่หลบภัยจากมารเมื่อไรก็ได้ ดังกล่าวแล้ว).
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อจิตอยู่ในปฐมฌาน, เพียงเท่านั้นจิตก็จะพ้นจากการรบกวนทำร้ายของมาร คือนิวรณ์ กิเลส และความรู้สึกอันเป็นทุกข์อื่นๆ เพราะอำนาจของปฐมฌานมีมากพอที่จะระงับความรู้สึกอันเป็นทุกข์นั้นเสียได้ แม้ไม่ตลอดไปก็ต้องได้ในระยะหนึ่งๆ เพื่อเป็นโอกาสให้ได้ปฏิบัติสูงขึ้นไป จนถึงที่สุด. ดังนั้น เราควรฝึกฝนอย่างน้อยที่สุดในปฐมฌาน สำหรับ เป็นที่หลบภัยจากมารเมื่อไรก็ได้ ดังกล่าวแล้ว).--แม้เพียงปฐมฌาน ก็บำบัดกิเลสอันเป็นเครื่องระคายใจได้--(ในตอนต้นแห่งพระบาลีสูตรนี้ ตรัสเล่าถึงช้างจ่าโขลงรำคาญอยู่ด้วยการรบกวนของช้างพลาย ช้างพัง ช้างรุ่น และลูกช้าง ที่ติดตามห้อมล้อม โดยกินหญ้าอ่อนเสียก่อนบ้าง กินยอดไม้ที่หักลงมาได้เสียก่อนบ้าง ลงไปทำน้ำให้ขุ่นเสียก่อนบ้าง ถูกเดินเบียดเสียดเมื่อขึ้นมา--จากน้ำบ้าง จึงตัดสินใจหลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ต้องทนความรำคาญอีกต่อไป หักกิ่งไม้ฟาดตัวระงับความคันทั่วตัวอยู่อย่างสบาย เป็นอุปมาดังนี้แล้ว ได้ตรัสถึงภิกษุในกรณีนี้ ดังต่อไปนี้ :- )--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ในสมัยใด ภิกษุ๑ เป็นผู้เกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ราชา มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย; ภิกษุ ท. ! ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นได้มีความคิดว่า “เดี๋ยวนี้เราเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ราชา มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีร์ และสาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย. ถ้าไฉน, เราพึง หลีกออกจากหมู่คณะ ไปอยู่ผู้เดียวเถิด” ดังนี้.--ภิกษุนั้น เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอนั้น ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอ ละอภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌาอยู่; ละพยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่; ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธะ อยู่; ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ อยู่; ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรม ทั้งหลาย ชำระจิตจากวิจิกิจฉา อยู่.--๑. คำว่า “ภิกษุ” ในที่นี้ มีความหมายกว้าง รวมทั้งพระองค์เอง และผู้ปฏิบัติธรรมะอยู่เพราะความเห็นภัยในวัฏฏสงสารทุกท่าน, ในที่นี้แปลตามบาลี ซึ่งมีอยู่แต่เพียงคำว่า ภิกษุคำเดียว.--ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ทั้งห้าอย่าง อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌานอันมีวิตกมีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้น บำบัดกิเลสเป็นเครื่องระคายใจได้ อย่างเป็นที่พอใจของตน.--(ในกรณีแห่งการบรรลุ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ กระทั่งถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งการบรรลุปฐมฌานข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อฌาน. ส่วนในกรณีแห่งการบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ตรัสว่า :- )--ภิกษุนั้น เพราะก้าวล่วง ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. เพราะเห็นด้วยปัญญาอาสวะของเธอนั้น ก็สูญสิ้นไป. เธอนั้น บำบัดกิเลสเป็นเครื่องระคายใจได้ อย่างเป็นที่พอใจของตน แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก.อํ. 23/453 - 456/244.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก.อํ. ๒๓/๔๕๓ - ๔๕๖/๒๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 951
ชื่อบทธรรม : -เจโตสมาธิที่สามารถเพิ่มผาสุกทางกาย
เนื้อความทั้งหมด :-เจโตสมาธิที่สามารถเพิ่มผาสุกทางกาย--อานนท์ ! สมัยใด ตถาคต เข้าถึงเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง และเพราะดับเสียซึ่งเวทนาบางพวก แล้วแลอยู่; สมัยนั้น กายของตถาคต ก็เป็นกายที่ผาสุกกว่า.--อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย จงมีตนป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.--(ต่อไปนี้ได้ตรัส การปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ ในฐานะเป็นการมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ, แล้วตรัสว่า:- )--อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ตาม ในกาลที่ล่วงไปแล้วแห่งเราก็ตาม ภิกษุใด มีตนเป็นที่พึ่งมีตนเป็นสรณะ มีธรรมเป็นที่พึ่งมีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ แล้ว, ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้เลิศที่สุด แห่งภิกษุผู้ใคร่ในสิกขา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที. 10/118/93.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที. ๑๐/๑๑๘/๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 952
ชื่อบทธรรม : -ที่นั่ง - นอน - ยืน - เดิน อันเป็นทิพย์
เนื้อความทั้งหมด :-ที่นั่ง - นอน - ยืน - เดิน อันเป็นทิพย์--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ที่นั่งนอนสูงใหญ่อันเป็นทิพย์ ซึ่งในบัดนี้ พระโคดมผู้เจริญได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?”--พราหมณ์ ! ในกรณีนี้ เราเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เวลาเช้าครองจีวร เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมนั้น. ครั้นเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว เที่ยวไปตามแนวป่า. เรานั้น, วัตถุใดมีอยู่ในที่นั้นๆ จะเป็นหญ้าหรือใบไม้ก็ตาม, คร่ามาแล้ว (ทำเป็นที่รองนั่ง) นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า, เรานั้นสงัดจากกามและอกุศธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึง ฌานที่๑ ....๑ ที่ ๒ .... ที่ ๓ .... ที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่, พราหมณ์ ! เราขณะเมื่อเป็นอย่างนี้ ถ้าเดินอยู่, ในสมัยนั้น สถานที่ตรงนั้น ก็ชื่อว่า ที่เดินอันเป็นทิพย์, ถ้ายืนอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่ยืนอันเป็นทิพย์, ถ้านั่งอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า อาสนะทิพย์, ถ้าสำเร็จการนอนอยู่ สถานที่ตรงนั้น ในสมัยนั้น ก็ชื่อว่า ที่นอนอันเป็นทิพย์. พราหมณ์ ! นี้แล ที่นั่งนอน--๑. ที่ละไว้ด้วยจุด ดูคำเต็มเรื่องรูปฌานทั้งสี่ เช่นในหัวข้อว่า “อาการที่อยู่ในฌาน เรียกว่าตถาคตไสยา” ที่หน้า ๑๓๐๙ แห่งหนังสือเล่มนี้.--สูงใหญ่อันเป็นทิพย์ ซึ่งใน บัดนี้ เราได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/234/503.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๓๔/๕๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 953
ชื่อบทธรรม : -ธรรมที่ทำความเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมที่ทำความเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิต--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ แล้ว ย่อม ทำจิตให้อยู่ในอำนาจ (ของตน) ได้ และภิกษุนั้นก็ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของจิต. เจ็ดประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เจ็ดประการ ในกรณีนี้คือ :---๑. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในสมาธิ;--๒. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ;--๓. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ;--๔. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในการออกจากสมาธิ;--๕. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในความเหมาะสมแห่งสมาธิ;--๖. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในธรรมเป็นโคจรแห่งสมาธิ;--๗. ภิกษุเป็นผู้ ฉลาดในอภินิหารสมาธิ;--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรมเจ็ดประการเหล่านี้แล ย่อมทำให้จิตอยู่ในอำนาจ (ของตน) ได้ และภิกษุนั้นก็ไม่ตกอยู่ในอำนาจของจิต.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 32/35/37.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๓๒/๓๕/๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 954
ชื่อบทธรรม : -ฌานระงับความรัก - เกลียดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่น (ฉกฺก.อํ. ๒๒/๓๔๘/๒๙๖) ตรัสว่า การระลึกถึง ตถาคต ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ถึงศีล ถึงจาคะ ถึงธรรมทำความเป็นเทวดา ๖ ประการนี้ ทำให้จิตไม่ถูกกลุ้มรุมด้วยราคะ-โทสะ-โมหะ เป็นจิตไปตรง ก้าวออก หลุดพ้น ออกจากตัณหาซึ่งเป็นการเปลื้องจิตออกมาเสียจากการครอบงำของกิเลส ด้วยเหมือนกัน; ผู้สนใจพึงอ่านดูจากที่มานั้น).--ฌานระงับความรัก - เกลียดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ--ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ. สี่ประการอย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ความรักเกิดจากความรัก ความเกลียดเกิดจากความรัก ความรักเกิดจากความเกลียด ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาน่ารักใคร่พอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด.--ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้เกิดในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือธรรมารมณ์ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ.--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่; สมัยนั้น ความรักใดที่เกิดจากความรัก ความรักนั้นก็ไม่มี, ความเกลียดใดที่เกิดจากความรัก ความเกลียดนั้นก็ไม่มี, ความรักใดที่เกิดจากความเกลียด ความรักนั้นก็ไม่มี, ความเกลียดใดที่เกิดจากความเกลียด ความเกลียดนั้นก็ไม่มี.--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ เข้าถึงทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่; สมัยนั้น ความรักใดที่เกิดจากความรัก ความรักนั้นก็ไม่มี, ความเกลียดใดที่เกิดจากความรัก ความเกลียดนั้นก็ไม่มี, ความรักใดที่เกิดจากความเกลียด ความรักนั้นก็ไม่มี, ความเกลียดใดที่เกิดจากความเกลียด ความเกลียดนั้นก็ไม่มี.--(ข้อความตอนต่อไปจากนี้ กล่าวถึงการบรรลุวิมุตติ ซึ่งระงับความรักและความเกลียดอย่างถอนราก พึงดูรายละเอียดจากหัวข้อ ว่า “ผู้ถอนรากแห่งความรักและความเกลียดได้แล้ว” ที่หน้า ๖๓๗ แห่งหนังสือนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/290 - 292/200.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๙๐ - ๒๙๒/๒๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 955
ชื่อบทธรรม : -ญาณในตถาคตพลญาณ มีได้เฉพาะแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-ญาณในตถาคตพลญาณ มีได้เฉพาะแก่ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาตถาคตพลญาน ๖ ประการเหล่านั้น เรากล่าวยถาภูตญาณในสิ่งซึ่งเป็นฐานะโดยความเป็นฐานะ และในสิ่งซึ่งเป็นอฐานะโดยความเป็นอฐานะ ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.--เรากล่าว ยถาภูตญาณในสิ่งซึ่งเป็นวิบาก โดยฐานะโดยเหตุ ของกัมมสมาทาน อันเป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.--เรากล่าว ยถาภูตญาณในความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.--เรากล่าว ยถาภูตญาณในปุพเพนิวาสานุสสติ ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.--เรากล่าว ยถาภูตญาณในการจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.--เรากล่าว ยถาภูตญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ว่าญาณนั้น มีได้สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ใช่สำหรับผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น.--ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล สมาธิ เป็นมรรค (แท้) อสมาธิเป็นมรรคลวง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/469/335.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๙/๓๓๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 956
ชื่อบทธรรม : -ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมสัญญาในฐานะแห่งธรรมโอสถโดยธรรมปีติ--(การรักษาโรคด้วยอำนาจสมาธิ)--อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ. สัญญา ๑๐ ประการนั้นคือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญาสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา อานาปานสติ.--อานนท์ ! อนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ ว่า--“รูป ไม่เที่ยง; เวทนา ไม่เที่ยง; สัญญา ไม่เที่ยง; สังขาร ไม่เที่ยง; วิญญาณ ไม่เที่ยง” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา.--อานนท์ ! อนัตตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ตา เป็นอนัตตา รูป เป็นอนัตตา; หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา; จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา; ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา; กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา; ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา” ดังนี้ เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งภายในและภายนอกหก เหล่านี้ อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา.--อานนท์ ! อสุภสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นโดยประจักษ์ซึ่งกายนี้นี่แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไปถึงเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาถึงเบื้องล่าง ว่ามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของอสุจิมีประการต่างๆ; คือกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร; เป็นผู้ตามเห็นความไม่งาม ในกายนี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อสุภสัญญา.--อานนท์ ! อาทีนวสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า--“กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก; คือในกายนี้มีอาพาธต่างๆ เกิดขึ้น, กล่าวคือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคที่ศีรษะ โรคที่หู โรคที่ปาก โรคที่ฟัน โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้มีพิษร้อน ไข้เซื่องซึม โรคกระเพาะ โรคลมสลบ ลงแดง จุกเสียด เจ็บเสียว โรคเรื้อรัง โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน คุดทะราด โรคละออง โรคโลหิต โรคดีซ่าน เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง ริดสีดวงทวาร อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฎฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ไข้สันนิบาต ไข้เพราะฤดูแปรปรวน ไข้เพราะบริหารกายไม่สม่ำเสมอ ไข้เพราะออกกำลังเกิน ไข้เพราะวิบากกรรม ความไม่สบายเพราะความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ” ดังนี้; เป็นผู้ตามเห็นโทษในกายนี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ : นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา.--อานนท์ ! ปหานสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง กามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง พยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป; ไม่ยอมรับไว้ซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีอีกต่อไป : นี้เรียกว่า ปหานสัญญา.--อานนท์ ! วิราคสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อ ย่างนี้ว่า--“ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า วิราคสัญญา.--อานนท์ ! นิโรธสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาอยู่โดยประจักษ์อย่างนี้ว่า “ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต : กล่าวคือ ธรรมชาติอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความดับ เป็นความดับเย็น” ดังนี้ : นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา.--อานนท์ ! สัพพโลเกอนภิรตสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ อนุสัย (ความเคยชิน) ในการตั้งทับในการฝังตัวเข้าไปยึดมั่นแห่งจิตด้วยตัณหาอุปาทาน ใดๆ ในโลก มีอยู่, เธอละอยู่ซึ่งอนุสัยนั้นๆ งดเว้นไม่เข้าไปยึดถืออยู่ : นี้เรียกว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี).--อานนท์ ! สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง ต่อสังขารทั้งหลายทั้งปวง : นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง).--(สัญญาข้อที่เก้านี้ ควรจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญา หรือมิฉะนั้นก็ควรจะมีชื่อว่าสัพพสังขาเรสุทุกขสัญญา จึงจะสมกับเนื้อความตามที่กล่าวอยู่, และสัญญาข้อที่แปดข้างบนแห่งข้อนี้ ที่มีชื่อว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น น่าจะมีชื่อว่า สัพพโลเกอนุปาทานสัญญามากกว่า จึงจะมีความสมชื่อ, ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน).--อานนท์ ! อานาปานสติ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง ก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก.--เมื่อ หายใจเข้า ยาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว , เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ; เมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น , เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจออกสั้น; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.--ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เราทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตตสังขารให้ระงับอยู่ หายใจออก.--ทำการศึกษาว่า เรา รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า, รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า, ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก.--ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า, ตามเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความจางคลาย หายใจเข้า, ตามเห็นความจางคลาย หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจเข้า, ตามเห็นความดับไม่เหลือ หายใจออก; ทำการศึกษาว่า เรา ตามเห็นความสลัดคืน หายใจเข้า, ตามเห็นความสลัดคืน หายใจออก.--นี้เรียกว่า อานาปานสติ.--อานนท์ ! ถ้าเธอจะเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการเหล่านี้ แก่เธอแล้ว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือภิกษุคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธอันเป็นทุกข์หนักของเธอก็จะระงับไป โดยควรแก่ฐานะ.--ลำดับนั้นแล ท่านอานนท์จำเอาสัญญาสิบประการเหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาท่านคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญาสิบประการแก่ท่าน เมื่อท่านพระคิริมานนท์ฟังสัญญาสิบประการแล้ว อาพาธก็ระงับไปโดยฐานะอันควร. ท่านคิริมานนท์หาย แล้วจากอาพาธ และอาพาธก็เป็นเสมือนละไปแล้วด้วย แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/115 - 120/60.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๕ - ๑๒๐/๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 81
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site