สัทธรรมลำดับที่ : 940
ชื่อบทธรรม : -ญาณ เกิดจากสมาธิของผู้ที่มีสติปัญญารักษาตน
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง ๆ สามารถเจริญให้สมบูรณ์ออกไปได้ถึง ๗ ระดับ ดังที่แสดงไว้ในสูตรนี้ เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง พึงสังเกตให้เห็นว่า สมาธิที่มีนิมิตเป็นนามธรรม เช่น การเจริญเมตตา ก็ดี และที่มีลักษณะเป็นวิปัสสนาเช่นกายนุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ดี สามารถนำมาเจริญในรูปแบบของสมาธิที่มีลักษณะแบ่งได้เป็น ๗ ระดับอย่างในสูตรนี้ ; ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ตั้งต้นเจริญภาวนาในรูปแบบของวิปัสสนา แล้วอาจจะย้ำให้แน่นลงไปโดยอาการแห่งสมถะ ๗ ระดับนี้ ; อาจจะเรียกได้ว่ามีวิปัสสานานำหน้าสมถะได้กระมัง).--ญาณ เกิดจากสมาธิของผู้ที่มีสติปัญญารักษาตน--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้า อยู่เถิด. เมื่อเธอเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มี--ประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้าอยู่, ญาณ ๕ ประการย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว. ห้าประการอย่างไรเล่า? ห้าประการ คือ :---ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ ให้เกิดสุขในปัจจุบันด้วย มีสุขเป็นวิบากต่อไปด้วย”;--ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ เป็นธรรมอันประเสริฐ ปราศจากอามิส”;--ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ คนชั่วคนถ่อยเสพไม่ได้”;--ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้ ว่า “สมาธินี้ รำงับประณีตได้แล้วด้วยปฏิปัสสัทธิ ถึงทับแล้วด้วยเอโกทิภาวะ (ความที่จิตมีธรรมอันเอก) ไม่ใช่บรรลุได้เพราะการข่มขี่และการห้ามด้วยสังขารธรรม (เครื่องปรุงแต่ง);--ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนนั้นเทียว ดังนี้ ว่า “เรามีสติเข้าถึงสมาธินี้มีสติออกจากสมาธินี้”.--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้า เมื่อเธอเจริญสมาธิมีคุณอันไม่มีประมาณ เป็นผู้มีปัญญารักษาตัว มีสติเฉพาะหน้าอยู่, ญาณ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อม เกิดขึ้นเฉพาะตนนั่นเทียว อย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/25/27.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๕/๒๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 80
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 941
ชื่อบทธรรม : -การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย
เนื้อความทั้งหมด :-การดำรงสมาธิจิต เมื่อถูกเบียดเบียนทั้งทางวาจาและทางกาย--ภิกษุ ท. ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ ๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล ๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง ๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย ๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ ๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมิโทสะในภายใน.--ภิกษุ ท. ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเนียก อย่างนี้แล.--(๑. อุปมาที่หนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือจอบและกะทอ (สมัยนี้คือปุ้งกี๋) มาแล้วกล่าวว่า “เราจักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน” ดังนี้; เขาขุดในที่นั้น ๆ เรี่ยรายดินในที่นั้นๆ ขากถุยอยู่ในที่นั้นๆ กระทืบเท้าอยู่ในที่นั้นๆ ปากพูดอยู่ว่า “มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป มึงไม่ต้องเป็นแผ่นดินอีกต่อไป” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้น จะทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ไม่เป็นแผ่นดิน ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุ--ไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แผ่นดินใหญ่นี้ลึกหาประมาณมิได้ เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้ไม่เป็นแผ่นดิน รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้นอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทางมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นดินใหญ่อันใครๆ จะกระทบกระทั่งให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--(๒. อุปมาที่สอง)--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือเอาสี มา เป็นสีครั่งบ้าง สีเหลืองบ้าง สีเขียวบ้าง สีแสดบ้าง กล่าวอยู่ว่า “เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฏอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่าง ๆ ในอากาศนี้ ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าอากาศนี้ เป็นสิ่งที่มีรูปไม่ได้ แสดงออกซึ่งรูปไม่ได้. ในอากาศนั้น ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเขียนรูป ทำให้มีรูปปรากฎอยู่ได้ รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก คับแค้นเสียเปล่า พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายในอยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไม่ยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนอากาศ อันใครๆ จะเขียนให้เป็นรูปปรากฎไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ). ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.--(๓. อุปมาที่สาม)--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษถือคบหญ้า ที่กำลังลุกโพลงมา กล่าวอยู่ว่า “เราจักเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือนพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลงนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะเผาแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่าน ด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง ได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่า แม่น้ำคงคาลึกหาประมาณมิได้ ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะเผาให้ร้อนจัด ให้เดือดพล่านด้วยคบหญ้าอันลุกโพลง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้.”--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำประการใดประการหนึ่งอยู่ เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของ--เราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทางมีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแม่น้ำคงคา อันใครๆ จะเผาให้ร้อนเดือดด้วยคบหญ้าไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น) ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.--(๔. อุปมาที่สี่)--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน แผ่นหนังแมวป่าขนฟู๑ ฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่มเหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง. ลำดับนั้น มีบุรุษถือท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งมา พลางพูดว่า “เราจักทำให้หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนี้ ส่งเสียง มีเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะทำหนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้นให้ส่งเสียงพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่งนั้นได้แลหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุว่า หนังแมวป่าขนฟูแผ่นนั้น เป็นของฟอกนวดแล้ว นวดทุบอย่างดี นวดทุบอย่างทั่วถึง อ่อนนิ่ม เหมือนปุยนุ่น ไม่ส่งเสียง ไม่ส่งกังวานเสียง ไม่เป็นการง่ายที่ใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ด้วยท่อนไม้หรือไม้หัวโหม่ง รังแต่บุรุษนั้นจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากคับแค้นเสียเปล่า ดังนี้ “.--๑. คำนี้ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า จะเป็นแผ่นหนังฟอกใช้ห่มคลุมเล่น หรือแผ่นหนังที่ทำเป็นถุงสำหรับใส่เสื้อผ้า ยังเป็นที่สงสัยอยู่, ขอให้ถือเอาแต่ใจความว่า มันเป็นสิ่งที่ส่งเสียงไม่ได้ก็แล้วกัน.--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ในบรรดาทางแห่งถ้อยคำสำหรับการกล่าวหาห้าประการนั้น เมื่อเขากล่าวหาเธอ ด้วยทางแห่งถ้อยคำ ประการใดประการหนึ่งอยู่, เธอพึงทำการสำเหนียกในกรณีนั้น อย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อยู่, จักมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูลใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. (คือมีจิตเหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟูที่ฟอกดีแล้วเห็นปานนั้น อันใครๆ จะทำให้มันส่งเสียงดังพรึมๆ ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.--(๕. อุปมาที่ห้า)--ภิกษุ ท. ! ถ้า โจรผู้คอยหาช่อง พึงเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ของใครถ้วยเลื่อยมีด้ามสองข้าง; ผู้ใดมีใจประทุษร้ายในโจรนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่มีใจประทุษร้ายต่อโจรนั้น ภิกษุ ท. ! ในกรณีนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป, เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูล มีจิตประกอบด้วยเมตตาไม่มีโทสะในภายใน อยู่, แผ่ไปยังบุคคลนั้น อยู่ และจักมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันเป็นจิตไพบูล ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เธอพึงทำการสำเหนียก อย่างนี้แล.--ภิกษุ ท. ! เธอพึงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เนืองๆ เถิด. ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทำในใจถึงโอวาทนั้นอยู่ เธอจะได้เห็นทาง--แห่งการกล่าวหาเล็กหรือใหญ่ที่เธออดกลั้นไม่ได้ อยู่อีกหรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายจงกระทำในใจถึงโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยนี้ อยู่เป็นประจำเถิด : นั่นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เธอทั้งหลาย ตลอดกาลนาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/255 - 280/267 - 273.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๕๕ - ๒๘๐/๒๖๗ - ๒๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 80
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 942
ชื่อบทธรรม : -สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่
เนื้อความทั้งหมด :-สัญญาในสิ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือก็มีอยู่--(โลกุตตรสมาธิ)--“มีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า ! การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิชนิดที่ไม่มีปฐวีสัญญาในดิน ไม่มีอาโปสัญญาในน้ำ ไม่มีเตโชสัญญาในไฟ ไม่มีวาโยสัญญาในลม ไม่มีอากาศสานัญจายตนสัญญาในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ ไม่มีวิญญาณัญจายตนสัญญาในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ ไม่มีอากิญจัญญายตนสัญญาในความไม่มีที่สุดแห่งความไม่มีอะไร ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีอิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาในโลกอื่น ไม่มีสัญญาแม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้ว สิ่งที่ใจติดตามแล้ว นั้นๆ เลย; แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่ ?”--อานนท์ ! การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่.--”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า “นั้นสงบรำงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่--สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”๑ ดังนี้.--อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิชนิดนี้ไม่มีปฐวีสัญญาในดิน ไม่มีอาโปสัญญาในน้ำ ไม่มีเตโชสัญญาในไฟ ไม่มีวาโยสัญญาในลม ไม่มีอากาสานัญจายตนสัญญาในความไม่มีที่สุดแห่งอากาศ ไม่มีวิญญาณัญจายตนสัญญาในความไม่มีที่สุดแห่งวิญญาณ ไม่มีอากิญจัญญายตนสัญญาในความไม่มีที่สุดแห่งความไม่มีอะไร ไม่มีเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาในความมีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีอิธโลกสัญญาในโลกนี้ ไม่มีปรโลกสัญญาในโลกอื่น ไม่มีสัญญาแม้ในสิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สิ่งที่บรรลุแล้ว สิ่งที่แสวงหาแล้ว สิ่งที่ใจติดตามแล้ว นั้น ๆ เลย; แต่ก็ยังเป็นผู้มีสัญญาอยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/343/214.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๓/๒๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 80
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 943
ชื่อบทธรรม : -[ต่อไปนี้เป็นคำตอบของพระสารีบุตรต่อคำถามของพระอานนท์ ซึ่งถามอย่างเดียวกันกับที่ทูลถามพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรก็ได้ตอบอย่างเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบ จนกระทั่งพระอานนท์สรรเสริญว่า พระศาสดาและสาวกมีคำกล่าวตรงกัน ทั้งโดยอรรถะและโดยพยัญชนะ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก.
เนื้อความทั้งหมด :-[ต่อไปนี้เป็นคำตอบของพระสารีบุตรต่อคำถามของพระอานนท์ ซึ่งถามอย่างเดียวกันกับที่ทูลถามพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรก็ได้ตอบอย่างเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบ จนกระทั่งพระอานนท์สรรเสริญว่า พระศาสดาและสาวกมีคำกล่าวตรงกัน ทั้งโดยอรรถะและโดยพยัญชนะ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก.--แต่ในที่อื่นในคราวอื่น (ทสก.อ ๒๔/๑๐/๗) พระสารีบุตรได้ตอบคำถามของพระอานนท์ซึ่งอานนท์ซึ่งถามเรื่องเดียวกัน คือเรื่องสมาธิที่ไม่มีสัญญาในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ หากแต่ถามเว้นอารมณ์จำพวกสุดท้าย คือ สิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้รู้สึก สิ่งที่ไม่รู้แจ้ง สิ่งที่ได้--๑. บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ”.--บรรลุ สิ่งที่ได้แสวงหา สิ่งที่ใจติดตาม เสียเท่านั้น, ซึ่งโดยหลักเกณฑ์นี้แล้ว ท่านควรจะตอบด้วยคำตอบเดียวกัน คือตอบว่าการได้สมาธิที่มีสัญญาในนิพพานดังบทว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต ดังนี้เป็นต้น, แต่ท่านกลับไปตอบว่าได้แก่ การได้สมาธิที่มีสัญญาว่า การดับไม่เหลือแห่งภพคือนิพพาน (ภวนิโรโธ นิพฺพานํ) ซึ่งเป็นสัญญาที่เคยเกิดแก่ท่านซ้ำ ๆ กันไปไม่ขาดสายเหมือนเปลวไฟที่เกิดขึ้นทยอยกันฉันนั้น อันเป็นการได้สมาธิที่ได้เมื่อท่านอาศัยอยู่ที่ป่าอันธวันใกล้เมืองสาวัตถี.--ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า คำตอบอย่างแรกโน้น บรรยายลักษณะของนิพพานในหลายแง่หลายมุม, ส่วนคำตอบในสูตรนี้ ระบุแต่เพียงแง่เดียวประเด็นเดียว ว่าได้แก่การดับไม่เหลือแห่งภพ. และขอให้เห็นลึกลงไปถึงว่า นิพพาน ไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ แต่ก็เป็นอารมณ์แห่งสัญญาได้เหมือนกัน สัญญาจึงเป็นสิ่งที่มีได้ทั้งในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือและในสิ่งที่มิได้เป็นอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ กล่าวคือ ในพระนิพพานนั่นเอง. สรุปความว่า สัญญามีได้ทั้งในสิ่งที่เป็นสังขตะและอสังขตะ โดยลักษณะที่ตรงกันข้ามทีเดียว].--สมาธิที่เป็นอสังขตมนสิการ--“มีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า ! การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิชนิดที่ไม่กระทำในใจซึ่งจักษุ (และ) รูป ซึ่งโสตะ (และ) เสียง ซึ่งฆานะ (และ) กลิ่น ซึ่งชิวหา (และ) รสซึ่งกาย (และ) โผฏฐัพพะ ไม่กระทำในใจซึ่งดิน ซึ่งน้ำ ซึ่งไฟ ซึ่งลม ไม่กระทำในใจซึ่งอากาสานัญจายตนะ ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ ซึ่งอากิญจัญญายตน ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่กระทำในใจซึ่งโลกนี้ ซึ่งโลกอื่น ไม่กระทำในใจแม้สิ่งซึ่งได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้ติดตามด้วยใจ นั้น ๆ แม้กระนั้นก็ยังกระทำในใจอยู่ ?”--อานนท์ ! การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่เธอถามนั้น มีอยู่.--“มีอยู่อย่างไร พระเจ้าข้า !”--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม กระทำในใจอย่างนี้ว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”๑ ดังนี้.--อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า การที่ภิกษุได้เฉพาะซึ่งสมาธิชนิดที่ไม่ กระทำในใจ ซึ่งจักษุ (และ) รูป ซึ่งโสตะ (และ) เสียง ซึ่งฆานะ (และ) กลิ่น ซึ่งชิวหา (และ) รส ซึ่งกาย (และ) โผฏฐัพพะ ไม่กระทำในใจซึ่งดิน ซึ่งน้ำ ซึ่งไฟ ซึ่งลม ไม่กระทำในใจซึ่งอากาสานัญจายตนะ ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ ซึ่งอากิญจัญญายตนะ ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่กระทำในใจ ซึ่งโลกนี้ ซึ่งโลกอื่น ไม่กระทำในใจแม้สิ่งซึ่งได้เห็น ได้ยิน ได้รู้สึก ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้ติดตามด้วยใจ นั้นๆ เลย ; แต่ก็ยังมีการกระทำในใจอยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/346/215.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๖/๒๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 80
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 944
ชื่อบทธรรม : -๑.บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ” จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนั้น มีลักษณะแห่ง การเจริญสมาธิที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ อาจจะใช้เป็นคำอธิบายแห่งคำว่า “อุปสุมานุสสติ” แห่งอนุสสติสิบ ได้ดี ดีกว่าที่อธิบายกันอยู่อย่างคลุมเครือ. ยิ่งกว่านั้นยังมีความวิเศษตรงที่ว่า ง่ายสำหรับทุกคนที่จะแยกจิตออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวง มากำหนดอยู่เฉพาะสิ่งที่เป็นอสังขตะนี้เพียงสิ่งเดียว ทำให้แสวงหาความสุขหรือความเย็นจากพระนิพพานได้ง่ายขึ้น).--๑.บาลีว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ”.--จากรูปฌานไปสู่อาสวักขยญาณโดยตรง--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเข้าไปอาศัยหมู่บ้าน หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่, เวลาเช้า เธอครองจีวร ถือบาตร เข้าไปสู่หมู่บ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต.ด้วยการรักษากาย, รักษาวาจา, รักษาจิต, ตั้งสติไว้มั่น, และด้วยการสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย, เธอได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวมถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วน ๆ; อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสจะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตาใด เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษา อินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.--(ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์ คือใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).--ภิกษุนั้น ภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). เธออยู่ป่า หรืออยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่าง ย่อมนั่งคู้ขาเข้าเป็นบัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอละ อภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌา อยู่; ละ พยาบาท อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณาจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่; ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธิ อยู่; ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจุ อยู่; ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉาอยู่.--ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต และทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเธอเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.เข้าถึง ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับรูปฌานทั้งสี่นี้ได้ จากเรื่องที่มีรูปฌานทั้งสี่ เช่นที่หน้า ๑๒๗๘ แห่งหนังสือเล่มนี้).--เธอนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ถึงความไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ. เธอ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์; และย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ, นี้เหตุให้เกิดอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปเหลือแห่งอาสวะ. เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นทั้งจากามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ; ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณว่าหลุดพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/113 - 114/76.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๓ - ๑๑๔/๗๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 80
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1077
ชื่อบทธรรม : -สมาธิภาวนาแต่ละอย่างๆ อาจทำได้ถึง ๗ ระดับ
เนื้อความทั้งหมด :-(ในกรณีแห่งการเจริญธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวนุสสติ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ผู้ปรารถนาโดยรายละเอียด พึงดูจากที่มาแห่งกรณีนั้นๆ.--สิ่งซึ่งอาจจะเป็นที่ประหลาดใจแก่พวกเรา ในที่นี้ ก็คือข้อที่ว่า อนุสสติภาวนานั้นเป็นสิ่งที่อาจเจริญได้ในทุกอิริยาบถ แม้ในขณะที่ผู้ที่เป็นพ่อแม่นอนกกลูกอยู่) .--สมาธิภาวนาแต่ละอย่างๆ อาจทำได้ถึง ๗ ระดับ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีกระภาคจงทรงแสดงธรรมนั้นโดยย่อ อันเป็นธรรมที่เมื่อข้าพระองค์ฟังแล้ว จะเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกไปสู่ที่สงัด เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมเบื้องสูง แล้วแลอยู่เถิด พระเจ้าข้า !”--ก็เรื่องอย่างเดียวกันนี่แหละ โมฆบุรุษบางพวกขอร้องให้เรากล่าวธรรมอย่างที่เธอถาม ครั้นเรากล่าวธรรมนั้นแล้วเขาก็ยังสำคัญแต่ในอันที่จะติดตาม เราเท่านั้น (ไม่สนใจที่จะหลีกออกอยู่ปฏิบัติผู้เดียว).--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตจงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้อพระองค์ ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะเข้าใจ เนื้อควรแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะเป็นทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด พระเจ้าข้า !”.--ภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า :---(๑ หมวดตระเตรียม)--“จิตของเรา จักเป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดี ในภายใน; และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย จักไม่เกิดขึ้นครอบงำจิตตั้งอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--(๒ หมวดพรหมวิหาร)--ภิกษุ ! ในกาลใดแล จิตของเธอ เป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นครอบงำจิตตั้งอยู่; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่น แล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้; .ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :---๑. ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--๒. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--๓. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--๔. พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--๕. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--๖. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;--๗. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ--กรุณาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้; ในกาลนั้น เธอพึง เจริญซึ่งสมาธินี้ :---ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .--(ในกรณีแห่ง มุทิตาเจโตวิมุตติ และ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้มีลำดับ ๗ อย่าง อย่างเดียวกันกับข้างบนนี้) .--(๓ หมวดสติปัฏฐาน)--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ (ในพรหมวิหารทั้งสี่ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้) อันเธอเจริญ เจริญแล้วด้วยดีอย่างนี้; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้; ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :---ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้; ในกาลนั้นเธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอย่างเป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนี้ เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :---ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคด้วยความยินดี บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.--(ในกรณีแห่ง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ มีลำดับ ๗ อย่าง อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งกายา - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน).--(หมวดอานิสงส์)--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอจักไปโดยทิศาภาคใดๆ ก็จักไปเป็นผาสุก ; จักยืนในที่ใด ๆ ก็จักยืนเป็นผาสุก ; จักนั่งในที่ใดๆ ก็จักนั่งเป็นผาสุก ; จักสำเร็จ การนอนในที่ใด ๆ ก็จักสำเร็จการนอนเป็นผาสุก แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/308-310/160.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๘-๓๑๐/๑๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 80
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site