สัทธรรมลำดับที่ : 84
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่โดยสังเขป (อีกนัยหนึ่ง)ทรงแสดงด้วยอายตนะหก
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่โดยสังเขป (อีกนัยหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยอายตนะหก)--ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้.. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือทุกขสมุทัย อริยสัจคือทุกขนิโรธ อริยสัจคือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อายตนะภายในหก. อายตนะภายในหก เหล่าไหนเล่า ? คือจักขุอายตนะโสตะอายตนะ ฆานะอายตนะ ชิวหาอายตนะ กายะอายตนะ มนะอายตนะ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ; ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกขสมุทัย.--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั่นเอง. ภิกษุ ท. ! นี้เรา เรียกว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธ.--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อริยสัจ ๔ อย่าง.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธ เป็นอย่างนี้, ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/535/1684-1689.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๕/๑๖๘๔-๑๖๘๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 85
ชื่อบทธรรม : -ทรงวางลำดับแห่งอริยสัจ อย่างตายตัว
เนื้อความทั้งหมด :-ทรงวางลำดับแห่งอริยสัจ อย่างตายตัว--....แน่ะภิกษุ ! ถูกแล้ว, ถูกแล้ว. แน่ะภิกษุ ! เธอจำอริยสัจสี่ประการ อันเราแสดงไว้แล้วโดยถูกต้อง คือ : เราแสดงอริยสัจคือทุกข์ ไว้เป็นข้อที่หนึ่ง, แสดงอริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สอง, แสดงอริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สาม, และแสดงอริยสัจ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สี่. แน่ะภิกษุ ! เธอจงทรงจำ อริยสัจสี่ไว้โดยประการที่เราแสดงนั้น ๆ เถิด.--แน่ะภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/536/1691.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๖/๑๖๙๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 86
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่ในรูปแบบพิเศษ
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่ในรูปแบบพิเศษ--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สี่ประการคืออะไรเล่า ? สี่ประการคือ ธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่ ; ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่ ; ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่ ; ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรรอบรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.--ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?อวิชชา และ ภวตัณหา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.--ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง.--ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ? วิชชา และ วิมุตติ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง.--ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล มีอยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. 21/333/254.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. ๒๑/๓๓๓/๒๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 87
ชื่อบทธรรม : -การวางลำดับใหม่ ไม่มีเหตุผลเลย
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อริยสัจสี่ในรูปแบบนี้ มีแปลกจากแบบธรรมดาทั้งโดยชื่อ และโดยลำดับ.)--การวางลำดับใหม่ ไม่มีเหตุผลเลย--แน่ะภิกษุ ! การที่ผู้ใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตาม จะพึงกล่าวว่า “อริยสัจที่พระสมณะโคดม แสดง ทุกข์ ไว้เป็นข้อที่หนึ่ง, เหตุให้เกิดทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สอง, ความดับไม่เหลือของทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สาม, และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ไว้เป็นข้อที่สี่ นั้น เป็นไปไม่ได้, เราคัดค้าน, เราบัญญัติเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ จะเป็นคำมีเหตุผลเป็นหลักฐาน--ไม่ได้เลย. แน่ะภิกษุ ! เธอจงทรงจำอริยสัจสี่ อันเราแสดงแล้ว โดยประการที่แสดงแล้วอย่างนั้น ๆ เถิด.--แน่ะภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/538/1693.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๘/๑๖๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 88
ชื่อบทธรรม : -หน้าที่อันเกี่ยวกับอริยสัจ มีสี่ชนิด
เนื้อความทั้งหมด :-หน้าที่อันเกี่ยวกับอริยสัจ มีสี่ชนิด--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, - เหตุให้เกิดทุกข์, - ความดับไม่เหลือของทุกข์, - และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! ในความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสีย ก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้ง ก็มี, และความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ก็มี.--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรกำหนดรอบรู้ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละเสีย ได้แก่ ความ--จริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้งได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/546/1709.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 89
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่ มีสามรอบ มีสิบสองอาการ--๑. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ญาณ, ปัญญา, วิชชา, และแสงสว่างของเราได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือทุกข์, ๒. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้, ๓. ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว.--๒. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า ๑. นี้เป็นความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ๒. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย, ๓. ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ละเสียแล้ว.--๓. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์, ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือ--ของทุกข์ นี้ ควรทำให้แจ้ง, ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว.--๔. ภิกษุ ท. ! ดวงตา, ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้วในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อนว่า ๑. นี้เป็น ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์, ๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้ ควรทำให้เจริญ, ๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้เจริญแล้ว.--ภิกษุ ท. ! ตลอดเวลาที่ ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริง ในอริยสัจสี่อันมีรอบสาม มีอาการสิบสอง เช่นนี้ ยังไม่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี, เราก็ยังไม่ปฏิญญา ว่า ได้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อยู่เพียงนั้น. เมื่อใด บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี, เมื่อนั้น เราก็ ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้ รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๙-๕๓๐/๑๖๖๖-๑๖๗๐.--อริยสัจสี่ เนื่องกันจนเห็นแต่อริยสัจเดียวไม่ได้--ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า--“ภิกษุ ท. ! ผู้ใดเห็นทุกข์, ผู้นั้น ย่อมเห็นแม้ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ผู้ใดเห็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, ผู้นั้น ย่อมเห็นแม้ซึ่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ผู้ใดเห็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ผู้นั้น ย่อมเห็นแม้ซึ่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ผู้ใดเห็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ผู้นั้น ย่อมเห็นแม้ซึ่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมเห็นแม้ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.” ดังนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/546/1711.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๑๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 90
ชื่อบทธรรม : -ไวพจน์ หรือคำแทนชื่อ ของจตุราริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-(ความหมายของคำว่า “จากพระโอษฐ์” ในกรณีอย่างนี้ หมายความว่าท่านผู้กล่าวเป็นผู้ยืนยันในที่นี้ ว่าพระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนั้นจริง.)--ไวพจน์ หรือคำแทนชื่อ ของจตุราริยสัจ--....ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรกำหนดรอบรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ อุปาทานขันธ์ห้า ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ : รูปเป็นอุปาทานขันธ์, เวทนาเป็นอุปาทานขันธ์, สัญญาเป็นอุปาทานขันธ์, สังขารเป็นอุปาทานขันธ์, และวิญญาณเป็นอุปาทานขันธ์. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ อวิชชา และ ภวตัณหา,--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ วิชชา และ วิมุตติ. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ สมถะ และ วิปัสสนา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/524/829.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๔/๘๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 91
ชื่อบทธรรม : “จากพระโอษฐ์” ในกรณีอย่างนี้ หมายความว่าท่านผู้กล่าวเป็นผู้ยืนยันในที่นี้ ว่าพระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนั้นจริง.
เนื้อความทั้งหมด :-(ความหมายของคำว่า “จากพระโอษฐ์” ในกรณีอย่างนี้ หมายความว่าท่านผู้กล่าวเป็นผู้ยืนยันในที่นี้ ว่าพระผู้มี พระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนั้นจริง.)--ไวพจน์ หรือคำแทนชื่อ ของจตุราริยสัจ--....ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรกำหนดรอบรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ อุปาทานขันธ์ห้า ; ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ : รูปเป็นอุปาทานขันธ์, เวทนาเป็นอุปาทานขันธ์, สัญญาเป็นอุปาทานขันธ์, สังขารเป็นอุปาทานขันธ์, และวิญญาณเป็นอุปาทานขันธ์. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ อวิชชา และ ภวตัณหา,--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ วิชชา และ วิมุตติ. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบคือ สมถะ และ วิปัสสนา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/78/291-294.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๘/๒๙๑-๒๙๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 92
ชื่อบทธรรม : -อุปาทานขันธ์ = ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ โดยสรุปได้แก่ ทุกขสัจ ; อวิชชา และภวตัณหา ได้แก่ สมุทัยสัจ ; วิชชา คือความรู้แจ้งวิมุตติ คือความหลุดพ้น ได้แก่ นิโรธสัจ; สมถะคืออุบายสงบใจเป็นสมาธิ วิปัสสนา คืออุบายให้เห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง ได้แก่ มรรคสัจ ; จึง กล่าวว่าเป็นไวพจน์ของจตุราริยสัจ ในที่นี้. - ผู้รวบรวม.
เนื้อความทั้งหมด :-อุปาทานขันธ์ = ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ โดยสรุปได้แก่ ทุกขสัจ ; อวิชชา และภวตัณหา ได้แก่ สมุทัยสัจ ; วิชชา คือความรู้แจ้งวิมุตติ คือความหลุดพ้น ได้แก่ นิโรธสัจ; สมถะคืออุบายสงบใจเป็นสมาธิ วิปัสสนา คืออุบายให้เห็นแจ้งในธรรมทั้งปวง ได้แก่ มรรคสัจ ; จึง กล่าวว่าเป็นไวพจน์ของจตุราริยสัจ ในที่นี้. - ผู้รวบรวม.--ไวพจน์ของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยคำว่า อันตะ)--ภิกษุ ท. ! อันตะ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ อันตะคือสักกายะ อันตะคือสักกายสมุทัย อันตะคือสักกายนิโรธ อันตะคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! อันตะคือสักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า. ห้าอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะคือสักกายะ.--ภิกษุ ท. ! อันตะคือสักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินมีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ; ได้แก่ตัณหาเหล่านี้คือ กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะคือสักกายสมุทัย.--ภิกษุ ท. ! อันตะคือสักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ ความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะคือ สักกายนิโรธ.--ภิกษุ ท. ! อันตะคือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะคือ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.--ภิกษุ ท. ! อันตะ ๔ อย่าง เหล่านี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/192/274-278.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๒/๒๗๔-๒๗๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 93
ชื่อบทธรรม : -ไวพจน์ของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)ทรงแสดงด้วยคำว่า สักกายะ
เนื้อความทั้งหมด :-ไวพจน์ของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยคำว่า สักกายะ)--ภิกษุ ท. ! เราจะแสดง ซึ่งสักกายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธและสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.--ภิกษุ ท. ! สักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า. อุปาทานขันธ์ห้าเหล่าไหนเล่า ? อุปาทานขันธ์ห้าคือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายะ.--ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ; ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายสมุทัย.--ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ ความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธ.--ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปดประการ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. 17/193/284-288.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๓/๒๘๔-๒๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 94
ชื่อบทธรรม : -ไวพจน์ของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ไวพจน์ของจตุราริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยคำว่า โลก)--ภิกษุ ท. ! โลก เป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ตถาคตเป็นผู้ถอนตนจากโลกได้แล้ว. เหตุให้เกิดโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว. ตถาคต ละเหตุให้เกิดโลกได้แล้ว. ความดับไม่เหลือแห่งโลก--เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ตถาคต ทำให้แจ้งความดับไม่เหลือแห่งโลกได้แล้ว. ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว. ตถาคต ทำให้เกิดมีขึ้นได้แล้วซึ่งทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งโลกนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/321/293.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 95
ชื่อบทธรรม : ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติ โลก
เนื้อความทั้งหมด :-....แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติ โลก, เหตุเกิดของโลก, ความดับไม่เหลือของโลก, และทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกไว้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/64/46.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๔/๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 96
ชื่อบทธรรม : - นัยที่หนึ่ง-อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร--(นัยที่หนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ท. คือ อริยสัจ ๔ อย่างอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์,” ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือ เหตุให้เกิดทุกข์,” ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”--๑. ทุกขอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความโศก ความร่ำไร---รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์, ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์,ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การเกิดการกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่งความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลาย ในจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์นั้น ๆ, นี้เราเรียกว่าความเกิด.--ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ, นี้เราเรียกว่าความแก่.--ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การจุติความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละการแตกแห่งขันธ์ ท. การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ, นี้เราเรียกว่าความตาย.--ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความโศกการโศก ภาวะแห่งการโศก ความโศกในภายใน ความโศกทั่วในภายใน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว, นี้เราเรียกว่าความโศก.--ภิกษุ ท. ! ความร่ำไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ภาวะแห่งผู้คร่ำครวญภาวะแห่งผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งหรือของบุคคลผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว. นี้เราเรียกว่าความร่ำไรรำพัน.--ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางกายการทนยากที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบทางกายใด ๆ, นี้เราเรียกว่าความทุกข์กาย.--ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทนยากที่เป็นไปทางใจ การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางใจ การทนยากที่เกิดแต่ความกระทบทางใจ ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบทางใจใด ๆ, นี้เราเรียกว่าความทุกข์ใจ.--ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความกลุ้มใจ ความคับแค้นใจ ภาวะแห่งผู้กลุ้มใจ ภาวะแห่งผู้คับแค้นใจ ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผู้อันทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว, นี้เราเรียกว่าความคับแค้นใจ.--ภิกษุ ท. ! ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น อัน--เป็นที่ไม่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ แก่ผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา. การที่ไปด้วยกัน การมาด้วยกัน การหยุดอยู่ร่วมกัน ความปะปนกันกับด้วยอารมณ์ หรือบุคคลเหล่านั้น, นี้เราเรียกว่า ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะเหล่านั้น อันเป็นที่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ ของผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้หวังประโยชน์หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขาคือมารดาบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม, การที่ไม่ได้ไปร่วม การที่ไม่ได้มาร่วม การไม่ได้หยุดอยู่ร่วม ไม่ได้ปะปนกับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น, นี้เราเรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความที่สัตว์ปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังเป็นทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาและความเกิดไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ,” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์. ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา และความแก่ไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ,” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์. ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่--สัตว์ผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา.... มีความตายเป็นธรรมดา.... มีความโศกความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา....(ความทำนองเดียวกันกับข้างต้น) .... ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา. แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่รูป, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่เวทนา, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่สัญญา, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่สังขาร, ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ วิญญาณ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เราเรียกว่า กล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือเป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์.--๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ตัณหานี้ใด ทำความเกิดใหม่เป็นปกติ เป็นไปกับด้วยความกำหนัดเพราะความเพลิน มักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ, นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.--ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ? เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ? สิ่งใดในโลกมีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ; ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ?--ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย.... กลิ่นทั้งหลาย.... รสทั้งหลาย.... โผฏฐัพพะทั้งหลาย....ธรรมารมณ์ทั้งหลาย.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ความรู้แจ้งทางตา....ความรู้แจ้งทางหู....ความรู้แจ้งทางจมูก....ความรู้แจ้งทางลิ้น....ความรู้แจ้งทางกาย....ความรู้แจ้งทางใจ.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--การกระทบทางตา...การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก...การกระทบทางลิ้น...การกระทบทางกาย...การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางหู...ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ความจำหมายในรูป... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายในกลิ่น...ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมายในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ความนึกถึงรูป...ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความนึกถึงรส...ความนึกถึงโผฏฐัพพะ....ความนึกถึงธรรมารมณ์....(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ความอยากในรูป...ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น.... ความอยากในรส.... ความอยากในโผฏฐัพพะ... ความอยากในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง)มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ความตริหารูป...ความตริหาเสียง... ความตริหากลิ่น... ความตริหารส...ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)...ความไตร่ตรองต่อเสียง...ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ..ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็น--ที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น. เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.--๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความคลายคืน โดยไม่มีเหลือและความดับไม่เหลือ ความละวาง ความสละคืน ความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! ก็ ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละได้ ย่อมละได้ในที่ไหน ? เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่ไหน ? สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละได้ในสิ่งนั้น, เมื่อจะดับย่อมดับได้ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ?--ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย... กลิ่นทั้งหลาย... รสทั้งหลาย...โผฏฐัพพะทั้งหลาย... ธรรมารมณ์ทั้งหลาย... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ความรู้แจ้งทางตา ... ความรู้แจ้งทางหู ... ความรู้แจ้งทางจมูก...ความรู้แจ้งทางลิ้น ... ความรู้แจ้งทางกาย ... ความรู้แจ้งทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--การกระทบทางตา... การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก...การกระทบทางลิ้น... การกระทบทางกาย... การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแก่การกระทบทางหู... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ความจำหมายในรูป... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายในกลิ่น... ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมายในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ความนึกถึงรูป ... ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความนึกถึงรส... ความนึกถึงโผฏฐัพพะ... ความนึกถึงธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ความอยากในรูป... ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น....ความอยากในรส... ความอยากในโผฏฐัพพะ... ความอยากในธรรมารมณ์...(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ความตริหารูป ... ความตริหาเสียง ... ความตริหากลิ่น... ความตริหารส... ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว) ... ความไตร่ตรองต่อเสียง ...ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ ... ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ; ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ--ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง, องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.--ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.--ภิกษุ ท. ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความดำริในการออก (จากกาม) ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.--ภิกษุ ท. ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.--ภิกษุ ท. ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.--ภิกษุ ท. ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ--ภิกษุ ท. ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิตย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียรย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ--ภิกษุ ท. ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาปมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;--เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.--ภิกษุ ท. ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/340-350/294-299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๔๐-๓๕๐/๒๙๔-๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 8
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site