สัทธรรมลำดับที่ : 924
ชื่อบทธรรม : -การบรรลุปฐมฌานพร้อมทั้งอุปมา
เนื้อความทั้งหมด :-การบรรลุปฐมฌานพร้อมทั้งอุปมา--มหาราช ! เมื่อภิกษุนั้น มองเห็นนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ ที่ตนละได้แล้ว อยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด; เมื่อปราโมทย์เกิด ปีติย่อมเกิด; กายของผู้มีใจปิติ ย่อมสงบรำงับ; ผู้มีกายสงบรำงับ ย่อมเสวยสุข; จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น. ภิกษุนั้น เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--มหาราช ! เปรียบเหมือน นายช่างอาบ ก็ดี หรือ ลูกมือของเขา ก็ดีเป็นคนฉลาด โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำลงในขันสำริด แล้ว--พรมน้ำหมักไว้, ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก ไม่ไหลหยด ฉันใด; มหาราช ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/98/127.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๙๘/๑๒๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 925
ชื่อบทธรรม : -การบรรลุทุติยฌาณพร้อมทั้งอุปมา
เนื้อความทั้งหมด :-การบรรลุทุติยฌาณพร้อมทั้งอุปมา--มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--มหาราช ! เปรียบเหมือน ห้วงน้ำอันลึก มีน้ำอันพลุ่ง ไม่มีปากทางน้ำเข้าทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตก๑ เพิ่มน้ำให้แก่ห้วงน้ำนั้น ตลอดกาลโดยกาล, ท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำ ประพรมทำให้ชุ่มถูกต้องห้วงน้ำนั้นเอง, ส่วนไหนๆของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นไม่--๑. บาลีคำนี้ว่า อนุปปเวจเฉยย (อนุปฺเวจฺเฉยฺย ก็มี - มู.ม. ๑๒ น. ๕๐๖); โดยอาศัยหลักบาลีแห่งอื่นที่มีข้อความอย่างเดียวกัน ซึ่งใช้คำว่า นานุปฺปเวจฺเฉยฺย เป็นหลัก จึงแปลว่า ไม่ตก (-ปญฺจก.อฺ. ๒๒/๒๗/๒๘).--ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด; มหาราช ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ, ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/98/128.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๙๘/๑๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 926
ชื่อบทธรรม : -การบรรลุตติยฌานพร้อมทั้งอุปมา
เนื้อความทั้งหมด :-การบรรลุตติยฌานพร้อมทั้งอุปมา--มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึง บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบด้วยสุขหาปิติมิได้, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปิติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--มหาราช ! เปรียบเหมือน ในหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัวบุณฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำ เจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้, ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก, ส่วนไหนๆของดอกบัวเหล่านั้นทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด; มหาราช ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปิติมิได้, ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหาปิติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/99/129.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๙๙/๑๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 927
ชื่อบทธรรม : -การบรรลุจตุตถฌานพร้อมทั้งอุปมา
เนื้อความทั้งหมด :-การบรรลุจตุตถฌานพร้อมทั้งอุปมา--มหาราช ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, จึง บรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกาลนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--มหาราช ! เปรียบเหมือน ชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ, ส่วนไหน ๆ ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด; : มหาราช ! ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้, ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/100/130.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๑๐๐/๑๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 928
ชื่อบทธรรม : -อาการที่อยู่ในฌาน เรียกว่าตถาคตไสยา
เนื้อความทั้งหมด :-อาการที่อยู่ในฌาน เรียกว่าตถาคตไสยา--ภิกษุ ท. ! การนอน ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่ อย่างคือ เปตไสยา กามโภคิไสยา สีหไสยา ตถาคตไสยา.--ภิกษุ ท. ! เปตไสยา (นอนอย่างเปรต) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! โดยมาก พวกเปรต ย่อมนอนหงาย. นี้เรียกว่า เปตไสยา.--ภิกษุ ท. ! กามโภคิไสยา (นอนอย่างคนบริโภคกาม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! โดยมาก คนบริโภคกาม ย่อมนอนตะแคงโดยข้าง เบื้องซ้าย. นี้เรียกว่า กามโภคิไสยา.--ภิกษุ ท. ! สีหไสยา (นอนอย่างสีหะ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สีหะเป็นพญาสัตว์ ย่อมสำเร็จการนอนโดยข้างเบื้องขวา เท้าเหลื่อมเท้าสอดหางไว้ที่ระหว่างแห่งขา. สีหะนั้นครั้นตื่นขึ้น ย่อมชะเง้อกายตอนหน้าขึ้นสังเกตกายตอนท้าย ถ้าเห็นความดิ้นเคลื่อนที่ของกาย (ในขณะหลับ) ย่อมมีความเสียใจเพราะข้อนั้น. ถ้าไม่เห็น ย่อมมีความดีใจ. นี้เรียกว่า สีหไสยา.--ภิกษุ ท. ! ตถาคตไสยา (นอนอย่างตถาคต) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลายเข้าถึง ฌานที่ ๑ ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เพราะวิตกวิจารรำงับไป เธอเข้าถึง ฌานที่ ๒ อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในสามารถให้สมาธิผุดขึ้นเป็นธรรมเอก ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เพราะปีติจางหายไป เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย เข้าถึง ฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยู่. เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอเข้าถึง ฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์และไม่สุขมีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. นี้เรียกว่า ตถาคตไสยา.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ แล การนอน ๔ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อฺ. 21/331/246.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อฺ. ๒๑/๓๓๑/๒๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 929
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ - เหตุปัจจัย ของสัมมาสมาธิ--ความรู้ที่ทำให้มีการอบรมจิต
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตความผิดแผกแตกต่างกันอย่างมาก ระหว่างการนอนทั้งสี่อย่างนี้ ก็จะเข้าใจได้ว่าวิญญาณหรือหัวใจของธรรมะมุ่งหมายอย่างไร สูงกว่าธรรมชาติเพียงใด จนกระทั่งว่า การอยู่ในฌานก็เรียกว่าการนอนอย่างหนึ่งด้วย เป็นการนอนทางวิญญาณ แม้กำลังอยู่--ในอิริยาบถอื่นซึ่งมิใช่อิริยาบถนอน ดังที่กล่าวอยู่ในหัวข้อว่า “ที่นั่ง - นอน - ยืน - เดิน อันเป็นทิพย์” ที่หน้า๑๓๔๕ แห่งหนังสือเล่มนี้).--หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ - เหตุปัจจัย ของสัมมาสมาธิ--ความรู้ที่ทำให้มีการอบรมจิต--ภิกษุ ท. ! จิตนี้ เป็นธรรมชาติประภัสสร แต่จิต (ที่มีธรรมชาติประภัสสร) นั้นแล เข้าถึงความเศร้าหมองแล้ว เพราะอุปกิเลสอันเป็นอาคันตุกะจรมา เรากล่าวว่า บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความจริงข้อนั้น เพราะเหตุนั้น จิตตภาวนา ย่อมไม่มีแก่บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! จิตนี้ เป็นธรรมชาติประภัสสร แต่จิต (ที่มีธรรมชาติประภัสสร) นั้นแล เป็นจิตพ้นวิเศษจากอุปกิเลสอันเป็นอาคันตุกะจรมานั้นได้. เรากล่าวว่าอริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งความจริงข้อนั้น เพราะเหตุนั้นจิตตภาวนา ย่อมมีแก่อริยสาวกผู้มีการสดับ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอก. อํ. 20/11 - 12/52 - 53
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอก. อํ. ๒๐/๑๑ - ๑๒/๕๒ - ๕๓
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 930
ชื่อบทธรรม : -บริขารเจ็ดของอริยสัมมาสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-(พระพุทธภาษิตนี้ มีความหมายลึกอยู่บางประการ จนทำให้มีผู้เข้าใจผิดไปว่า ถ้าจิตมีความเป็นประภัสสรตามธรรมชาติแล้ว ทำไมจึงเศร้าหมองได้เพราะอุปกิเลส; และว่า ถ้าจิตพ้นจากอุปกิเลสกลับไปสู่ความเป็นจิตประภัสสรอย่างเดิมแล้ว มันก็จะกลับเป็นจิตเศร้าหมองเพราะอุปกิเลสได้อีกในภายหลัง สลับกันไปไม่รู้สิ้นสุด ดังนี้. แต่ความจริงมีอยู่ว่า ประภัสสรตามธรรมชาตินั้น ถูกครอบงำด้วยอุปกิเลสได้ จึงต้องทำการภาวนา คืออบรมจิตให้เปลี่ยนสภาพเป็นประภัสสรสมุจเฉท ซึ่งอุปกิเลสจะครอบงำไม่ได้อีกต่อไป. เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ผู้รู้ความจริงเรื่องนี้เท่านั้น จึง ประสงค์การเจริญภาวนาอบรมจิต และอบรมจิตได้ตามประสงค์).--บริขารเจ็ดของอริยสัมมาสมาธิ--ภิกษุ ท. ! สมาธิบริขาร ๗ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. เจ็ดประการอย่างไรเล่า ? เจ็ดประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมัมตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--ภิกษุ ท. ! เอกัคคตาจิตที่แวดล้อมอยู่ด้วยองค์เจ็ดประการเหล่านี้ เราเรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ ที่มีที่ตั้งอาศัย บ้าง ที่มีบริขาร บ้าง ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/42/42.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๔๒/๔๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 931
ชื่อบทธรรม : -ธรรมเครื่องทำความเต็มเปี่ยมแห่งกำลังของสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า การที่พระองค์ทรงจัดให้องค์มรรคทั้งเจ็ดข้างต้น ตั้งอยู่ในฐานะเป็นบริวารขององค์สุดท้ายคือสัมมาสมาธิ นี้มีความหมายลึกซึ้ง เป็นเคล็ดลับของการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง ผู้ศึกษาพึงศึกษาจากหัวข้อว่า “อริยสัมมาสมาธิมีบริขารเจ็ด”,“การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด” ที่หน้า ๑๒๘๖ - ๑๒๙๕ แห่งหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องประกอบด้วย).--ธรรมเครื่องทำความเต็มเปี่ยมแห่งกำลังของสมาธิ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ. หกประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หกประการในกรณีนี้ คือ :---๑. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ;--๒. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ;--๓. ภิกษุ ไม่เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ;--๔. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยเอื้อเฟื้อ;--๕. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยติดต่อ;--๖. ภิกษุ ไม่เป็นผู้มีปกติกระทำด้วยธรรมเป็นที่สบาย (แก่สมาธิ).--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แล้ว เป็นผู้ ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ. หกประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หกประการในกรณีนี้ คือ :---๑. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการเข้าสู่สมาธิ;--๒. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการดำรงอยู่ในสมาธิ;--๓. ภิกษุ เป็นผู้ ฉลาดในการออกจากสมาธิ;--๔. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยเอื้อเฟื้อ;--๕. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำ (สมาธิ) โดยติดต่อ;--๖. ภิกษุ เป็นผู้ มีปกติกระทำด้วยธรรมเป็นที่สบาย (แก่สมาธิ).--ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบแล้วด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ควรเพื่อจะถึงความมีกำลังในสมาธิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/477/343.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๗๗/๓๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 932
ชื่อบทธรรม : -สมาธิจากการเดิน (จงกรม) ย่อมตั้งอยู่นาน
เนื้อความทั้งหมด :-สมาธิจากการเดิน (จงกรม) ย่อมตั้งอยู่นาน--ภิกษุ ท. ! อานิสงส์ในการเดิน (จงฺกม) ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ เป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑, เป็นผู้อดทนต่อการกระทำความเพียร ๑, เป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑, สิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว ลิ้มแล้ว ย่อมถึงการย่อยด้วยดี ๑, สมาธิที่ได้ในขณะแห่งการเดิน ย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑.--ภิกษุ ท. ! อานิสงส์ในการเดิน ห้าอย่างเหล่านี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/31/29.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๓๑/๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 933
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะของผู้ง่ายต่อการเข้าอยู่ในสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะของผู้ง่ายต่อการเข้าอยู่ในสมาธิ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ห้าประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปทั้งหลาย ๑, ไม่อดทนต่อเสียงทั้งหลาย ๑, ไม่อดทนต่อกลิ่นทั้งหลาย ๑, ไม่อดทนต่อรสทั้งหลาย ๑, ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะทั้งหลาย ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ ไม่ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ห้าประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ อดทนต่อรูป ทั้งหลาย ๑, อดทนต่อเสียง ทั้งหลาย ๑, อดทนต่อกลิ่น ทั้งหลาย ๑, อดทนต่อรส ทั้งหลาย ๑, อดทนต่อโผฏฐัพพะ ทั้งหลาย ๑. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ควรเพื่อเข้าถึงสัมมาสมาธิ แล้วแลอยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. 22/155/133.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. ๒๒/๑๕๕/๑๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 934
ชื่อบทธรรม : -หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาสมาธิ--บุพพภาคแห่งการเจริญสมาธิ ๕ ขั้น--มหาราช ! ภิกษุนั้น (๑) ประกอบแล้วด้วย ศีลขันธ์อันเป็นอริยะ นี้ด้วย (๒) ประกอบแล้วด้วย อินทรียสังวรอันเป็นอริยะ นี้ด้วย (๓) ประกอบ--ด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ นี้ด้วย (๔) ประกอบแล้วด้วย สันโดษอันเป็นอริยะ นี้ด้วย (๕) เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอนั้น ในเวลาภายหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอละ อภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา อยู่; ละ พยาบาทเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาทเครื่องประทุษร้ายอยู่; ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีสติมีสัมปชัญญะรู้สึกตัวคอยชำระจิตจากถีนมิทธะ อยู่; ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะอยู่; ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่านี่อะไรนี่อย่างไร ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา อยู่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/95/125.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๙๕/๑๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 935
ชื่อบทธรรม : -ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของสัมมาสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของสัมมาสมาธิ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ไม่ประพฤติความเสมอกัน ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายแล้ว จักทำอาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น : นั่น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้;๑--๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อาภิสมาจาริกธรรม กล่าวคือการปฏิบัติวัตรหรือมรรยาทที่สาธุชนทั่วไป จะพึงปฏิบัติในบ้านเรือน เพื่อนพ้อง และสังคมทั่วไป นี้ไม่ใช่สิ่งเล็กน้อยในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมในขั้นสูง; กล่าวสรุปสั้น ๆ ก็ว่า ไม่กระทำให้เกิดความเหมาะสมในการที่จะเป็นนักศึกษา. ขอให้ทุกคนทำการชำระสะสางอาภิสมาจาริกธรรมของตน ๆ ให้ดีที่สุดเท่าจะทำได้เป็นเรื่องแรกเสียก่อน.--ครั้นไม่ทำอาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักทำเสขธรรม (ธรรมที่ควรศึกษาสูงขึ้นไป ) ให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้;--ครั้นไม่ทำเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ดังนี้ นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้;--ครั้นไม่ทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ดังนี้ นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้;--ครั้นไม่ทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ดังนี้ นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ มีความเคารพ มีความยำเกรง ประพฤติความเสมอกัน ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายแล้ว จักทำอาภิสมาจาริกธรรมให้ บริบูรณ์ ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้;--ครั้นทำอาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักทำเสขธรรมให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้.--ครั้นทำเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้;--ครั้นทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้;--ครั้นทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/15 - 16/21.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๕ - ๑๖/๒๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 936
ชื่อบทธรรม : -การกระทำที่ถูกต้องตามกาละ
เนื้อความทั้งหมด :-การกระทำที่ถูกต้องตามกาละ--สำหรับสมาธินิมิต - ปัคคาหนิมิต - อุเบกขานิมิต--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสามโดยกาลอันควร คือ :---พึงทำในใจซึ่ง สมาธินิมิต โดยกาลอันควร--พึงทำในใจซึ่ง ปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร--พึงทำในใจซึ่ง อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียงสมาธินิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้, ฐานะเช่นนั้น จะ ทำให้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียงปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้, ฐานะเช่นนั้น จะ ทำจิตให้เป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียงอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้, ฐานะเช่นนั้น จะ ไม่ทำจิตให้ตั้ง มั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต กระทำในใจซึ่งสมาธินิมิต โดยกาลอันควร, กระทำในใจซึ่งปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร, กระทำ--ในใจซึ่งอุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร; ในกาลนั้น จิตนั้น ย่อมเป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน เป็นจิตประภัสสร ไม่รวนเร ย่อมตั้งมั่นโดยชอบเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ประกอบตัวเบ้าแล้วฉาบปากเบ้า แล้วจับแท่งทองด้วยคีม วางที่ปากเป้า แล้วสูบลมโดยกาลอันควร พรมน้ำโดยกาลอันควร ตรวจดูโดยกาลอันควร. ภิกษุ ท. ! ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง จะพึง สูบลมตะพึดไปโดยส่วนเดียว กะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็ จะทำทองให้ไหม้ (สุกเกิน); ถ้า พรมน้ำตะพึดไป กะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็ จะทำทองนั้นให้เย็น๑ (อยู่เช่นเดิม); ถ้า ตรวจดูตะพึดโดยส่วนเดียวกะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็ จะทำให้ทองนั้นไม่ถึงซึ่งความสุกอย่างพอดี. ภิกษุ ท. ! ในกาลใด ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง สูบลมโดยกาลอันควรกะทองนั้น, พรมน้ำโดยกาลอันควรกะทองนั้น, ตรวจดูโดยกาลอันควรกะทองนั้น; ในกาลนั้น ทองนั้น ย่อมเป็นทองมีเนื้ออ่อน ควรแก่การงานของช่างทอง มีรัศมีเนื้อไม่ร่วน และเหมาะสมแก่การกระทำของช่างทอง. ถ้าใครปรารถนาจะกระทำเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ตาบ ต้มหู สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลาก็ตาม ก็สำเร็จประโยชน์แก่เขานั้น, นี้ฉันใด;--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสามโดยกาลอันควร คือ พึงทำในใจซึ่งสมาธินิมิต โดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งอุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร,--๑. คำว่าเย็นคำนี้ คำบาลีว่า นิพพาน (ชาตรู?ป นิพฺพาเปยฺย) ขอผู้ที่ไม่ทราบว่านิพพานแปลว่า เย็น พึงทราบเสียในที่นี้ด้วย - ติก. อํ. ๒๐/๓๓๐/๕๔๒.--ฉันนั้นเหมือนกัน …. ฯลฯ …. ถ้าภิกษุน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ใดๆ เธอย่อมลุถึงซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในธรรมนั้นๆ นั่นเที่ยว ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ๆ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/329 - 331/542.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๒๙ - ๓๓๑/๕๔๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 937
ชื่อบทธรรม : -สิ่งที่ต้องย้ำวันละ ๓ หน ในวงการสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งที่ต้องย้ำวันละ ๓ หน ในวงการสมาธิ--ภิกษุ ท. ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อจะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำผลกำไรที่ได้รับอยู่แล้วให้งอกงามออกไป. สามประการ อย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! สามประการ คือ ชาวร้านตลาด ในกรณีนี้ ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุด ในเวลาเช้า; ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุด ในเวลากลางวัน; ย่อมจัดย่อมทำกิจการงานอย่างดีที่สุดในเวลาเย็น ภิกษุ ท. ! ชาวร้านตลาดที่ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นผู้ควรเพื่อจะได้ผลกำไรที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำผลกำไรที่ได้รับอยู่แล้วให้งอกงามออกไป. นี้ฉันใด;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันเหมือนกัน : ภิกษุที่ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้งอกงามยิ่งขึ้นไป. สามประการ อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สามประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม กำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อ ในเวลาเช้า; ย่อม กำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อ ในเวลากลางวัน ; ย่อมกำหนดสมาธินิมิตโดยเอื้อเฟื้อ ในเวลาเย็น. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่ประกอบด้วยธรรม ๓--ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้งอกงามยิ่งขึ้นไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/145/458.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๔๕/๔๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 938
ชื่อบทธรรม : -อนุสติภาวนา เป็นสิ่งที่เจริญได้ในทุกอิริยาบถ
เนื้อความทั้งหมด :-อนุสติภาวนา เป็นสิ่งที่เจริญได้ในทุกอิริยาบถ--มหานาม ! เธอ พึงตามระลึกถึงตถาคต ว่า “แม้เพราะเหตุอย่างนี้ๆพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.--มหานาม ! สมัยใด อริยสาวกตามระลึกถึงตถาคตอยู่; สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้น ไม่มีราคะกลุ้มรุม ไม่มีโทสะกลุ้มรุม ไม่มีโมหะกลุ้มรุม, สมัยนั้นจิตของเธอนั้น เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว. มหานาม ! อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไปตรงเพราะปรารภตถาคต ย่อมได้ความรู้สึกต่ออรรถ (อตฺถ เวท) ย่อมได้ความรู้สึกต่อธรรม (ธมฺมเวท) ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด; เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ; ผู้มีกายรำงับ ย่อมเสวยสุข; เมื่อมีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ.--มหานาม ! เธอ พึงเจริญพุทธานุสสตินี้ แม้ เมื่อเดินอยู่ พึงเจริญแม้ เมื่อยืนอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อนั่งอยู่ พึงเจริญแม้ เมื่อนอนอยู่ พึงเจริญแม้ เมื่อ กำลังทำงานอยู่ พึงเจริญ แม้เมื่อนอนเบียดบุตรอยู่บนที่นอน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. 24/361/219.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๖๑/๒๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 939
ชื่อบทธรรม : -สมาธิภาวนาแต่ละอย่างๆ อาจทำได้ถึง ๗ ระดับ
เนื้อความทั้งหมด :-(ในกรณีแห่งการเจริญธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวนุสสติ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน ผู้ปรารถนาโดยรายละเอียด พึงดูจากที่มาแห่งกรณีนั้นๆ.--สิ่งซึ่งอาจจะเป็นที่ประหลาดใจแก่พวกเรา ในที่นี้ ก็คือข้อที่ว่า อนุสสติภาวนานั้นเป็นสิ่งที่อาจเจริญได้ในทุกอิริยาบถ แม้ในขณะที่ผู้ที่เป็นพ่อแม่นอนกกลูกอยู่) .--สมาธิภาวนาแต่ละอย่างๆ อาจทำได้ถึง ๗ ระดับ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีกระภาคจงทรงแสดงธรรมนั้นโดยย่อ อันเป็นธรรมที่เมื่อข้าพระองค์ฟังแล้ว จะเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกไปสู่ที่สงัด เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมเบื้องสูง แล้วแลอยู่เถิด พระเจ้าข้า !”--ก็เรื่องอย่างเดียวกันนี่แหละ โมฆบุรุษบางพวกขอร้องให้เรากล่าวธรรมอย่างที่เธอถาม ครั้นเรากล่าวธรรมนั้นแล้วเขาก็ยังสำคัญแต่ในอันที่จะติดตาม เราเท่านั้น (ไม่สนใจที่จะหลีกออกอยู่ปฏิบัติผู้เดียว).--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตจงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้อพระองค์ ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะเข้าใจ เนื้อควรแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะเป็นทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด พระเจ้าข้า !”.--ภิกษุ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า :---(๑ หมวดตระเตรียม)--“จิตของเรา จักเป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดี ในภายใน; และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย จักไม่เกิดขึ้นครอบงำจิตตั้งอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--(๒ หมวดพรหมวิหาร)--ภิกษุ ! ในกาลใดแล จิตของเธอ เป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นครอบงำจิตตั้งอยู่; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่น แล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้; .ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :---๑. ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--๒. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--๓. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--๔. พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--๕. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--๖. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;--๗. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ--กรุณาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้; ในกาลนั้น เธอพึง เจริญซึ่งสมาธินี้ :---ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง .--(ในกรณีแห่ง มุทิตาเจโตวิมุตติ และ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้มีลำดับ ๗ อย่าง อย่างเดียวกันกับข้างบนนี้) .--(๓ หมวดสติปัฏฐาน)--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ (ในพรหมวิหารทั้งสี่ ดังที่กล่าวมาแล้วนี้) อันเธอเจริญ เจริญแล้วด้วยดีอย่างนี้; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้; ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :---ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้; ในกาลนั้นเธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอย่างเป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนี้ เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :---ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคด้วยความยินดี บ้าง;--พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.--(ในกรณีแห่ง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ มีลำดับ ๗ อย่าง อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งกายา - เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน).--(หมวดอานิสงส์)--ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ อันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอจักไปโดยทิศาภาคใดๆ ก็จักไปเป็นผาสุก ; จักยืนในที่ใด ๆ ก็จักยืนเป็นผาสุก ; จักนั่งในที่ใดๆ ก็จักนั่งเป็นผาสุก ; จักสำเร็จ การนอนในที่ใด ๆ ก็จักสำเร็จการนอนเป็นผาสุก แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/308-310/160.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๐๘-๓๑๐/๑๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 79
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site