สัทธรรมลำดับที่ : 919
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิเป็นผู้นำในการละมิจฉัตตะ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อน ว่าองค์มรรคเจ็ดองค์ข้างต้น ถูกจัดให้เป็นบริวารขององค์สุดท้ายคือ สัมมาสมาธิ แล้วทำให้สัมมาสมาธินั้นได้นามสูงขึ้นไปว่าอริยสัมมาสมาธิ. องค์ห้าองค์ข้างต้น คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ถูกจัดให้แวดล้อมด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายะ สัมมาสติ. โดยเหตุที่สัมมาวายามะและสัมมาสติไปทำหน้าที่แวดล้อมองค์ห้าองค์ข้างต้นเสีย จึงไม่ถูกยกขึ้นมาจัดเป็นกลุ่มเฉพาะของตน จึงไม่มีกลุ่มที่หกที่เจ็ด. ส่วนสัมมาทิฏฐินั้น มีความสำคัญจนจัดเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งของตัวเอง แล้วยังไปทำหน้าที่เป็นผู้แวดล้อมในกลุ่มทั้งห้าอีกด้วยทุกกลุ่ม. ส่วนสัมมาวายามะก็ดี สัมมาสติก็ดี ซึ่งไม่มีกลุ่มของตน เพราะเข้าไปแทรกทำหน้าที่อยู่ในกลุ่มนั้นๆ ทุกกลุ่ม เพื่อให้หน้าที่ในกลุ่มนั้นๆ สมบูรณ์ ราวกะว่าซ่อนตัวอยู่อย่างลึกลับ แต่ก็ไม่ได้หายไปไหน. สัมมาทิฏฐิได้ชื่อว่าเป็นผู้นำหน้าของทุกกลุ่ม เพราะเข้าไปรู้ลักษณะองค์ธรรมอันเป็นชื่อประจำกลุ่มนั้นๆ ซึ่งได้ทรงจำแนกไว้ทั้งสองประเภท คือประเภทเป็นไปกับด้วยอาสวะ และประเภทที่ไม่เป็นไปกับด้วยอาสวะ และยังรู้ถึงฝ่ายตรงกันข้าม คือเป็นฝ่าย “มิจฉา” หรือฝ่ายผิด อย่างครบถ้วนอีกด้วย จึงทำให้สัมมาวายามะและสัมมาสติแห่งกลุ่มนั้นๆ ดำเนินไปโดยถูกทาง ดังนั้น จึงได้ชื่อว่าเป็น “ผู้นำหน้า”. ผู้ศึกษาพึงสังเกตจนเข้าใจความสัมพันธ์กันดังกล่าวนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว จนเป็นเหตุให้ท่านทราบว่า กิจแห่งองค์มรรคทั้งหลาย สัมพันธ์กันด้วยดีอย่างไร มรรคจึงจะเป็นไปถึงขนาดที่ดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ).--สัมมาทิฏฐิเป็นผู้นำในการละมิจฉัตตะ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดา องค์แห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิเป็นองค์ นำหน้า นำหน้าอย่างไร ? ภิกษุ ท. !--สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาทิฏฐิ ;--สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาสังกัปปะ;--สัมมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาวาจา;--สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมากัมมันตะ;--สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาอาชีวะ;--สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาวายามะ;--สัมมาสมาธิ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาสติ;--สัมมาญาณะ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาสมาธิ;--สัมมาวิมุตติ ย่อมมีเพียงพอ แก่ผู้มี สัมมาญาณะ.--ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์แปดย่อมเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์สิบ.--ภิกษุ ท. ! ในบรรดา องค์แห่งมรรคเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิเป็นองค์นำหน้า. นำหน้าอย่างไร ?--ภิกษุ ท. ! มิจฉาทิฏฐิ ของผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ; และ บาปอกุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนกที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย; และ กุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนก ที่มีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย.--(ในกรณีที่เกี่ยวกับ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกัน จนกระทั่งถึง :-)--ภิกษุ ท. ! มิจฉาญาณะ ของผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ ; และ บาปอกุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนกที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาญาณะเป็นปัจจัย ของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย; และ กุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนก ที่มีสัมมาญาณะเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาวิมุตติ ของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมสลายไปไม่มีเหลือ ; และ บาปอกุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนกที่เกิดมีขึ้นเพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ของผู้นั้น ก็พลอยสลายไปไม่มีเหลือด้วย ; และ กุศลธรรม ทั้งหลายเป็นอเนก ที่มีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็จะถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งการงอกงามขึ้นมาด้วย.--ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งกุศล มีปริมาณยี่สิบ, ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งกุศล มีปริมาณยี่สิบ ธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล มีปริมาณยี่สิบ : ธรรมปริยายมีปริมาณสี่สิบ อันกว้างขวาง เป็นธรรมปริยายอันเราให้หมุนไปแล้ว อันสมณะหรือพราหมณ์ หรือเทพ หรือมาร หรือ พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ให้หมุนกลับไม่ได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ .ม. 14/187/279 - 280.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ .ม. ๑๔/๑๘๗/๒๗๙ - ๒๘๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 78
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 920
ชื่อบทธรรม : -สัมมาสมาธิชนิดที่มีพรหมวิหารเป็นอารมณ์
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อัฎฐังคิกมรรคมีองค์แปด ครั้นเติมเข้าอีกสององค์คือ สัมมาญาณะ แล สัมมาวิมุตติ กลายเป็นสัมมัตตะมีองค์สิบ ตลอดทั้งสายนี้ มีสัมมาทิฏฐิเป็นองค์นำหน้า องค์ที่เป็น “มิจฉา” ใดๆ ก็ตาม จะกลายเป็น “สัมมา” ขึ้นมาได้ ก็ล้วนแต่ต้องอาศัยสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้าด้วยกันทั้งนั้น องค์แปดเป็นธรรมสำหรับพระเสนะ องค์สิบเป็นธรรมสำหรับ พระอรหันต์ เป็นหลักที่ผู้ศึกษาควรกำหนดไว้ให้ดี ).--สัมมาสมาธิชนิดที่มีพรหมวิหารเป็นอารมณ์--วาเสฎฐะ ! เมื่อภิกษะนั้นมองเห็นนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ ที่ตนละได้แล้วอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด; เมื่อปราโมทย์เกิด ปีติย่อมเกิด; กายของผู้มีใจปีติย่อมสงบรำงับ; ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข; จิตของผู้มีสุข ย่อมเป็นสมาธิ. เธอนั้น ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วยเมตตา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนอย่างนั้น, เธอแผ่ไปตลอดโลกทั้งหมดทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวงทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำและเบื้องขวาง ด้วยจิตอันเป็นไปกับด้วย เมตตา เป็นจิตไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท กว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวง ไม่มีขีดจำกัด แล้วแลอยู่. วาเสฎฐะ ! เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยาก ฉันใด; ในเมตตาเจโตวิมุตติ๑ ที่เจริญแล้ว อย่าง (ข้างบน) นี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด๒ ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ใน (เมตตาเจโตวิมุตติอันเป็นกรรมที่ไม่มีขีดจำกัด) นั้น, ก็ฉันนั้น. วาเสฎฐะ ! นี้เป็นทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมทั้งหลาย.--(ต่อไปนี้ ทรงแสดงข้อ กรุณา ,มุทิตา , อุเบกขา, อีก โดยเนื้อความอย่างเดียวกัน. ทุกๆ ข้อเป็นหนทางเหมือนกัน ในพระบาลีว่า แม้นี้ ๆ ก็เป็นหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมทั้งหลาย).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/310/383-384
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๓๑๐/๓๘๓-๓๘๔
ลำดับสาธยายธรรม : 78
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 921
ชื่อบทธรรม : -๑ เมตตาเจโตวิมุตติ คือ อัปปนาสมาธิ ที่ประกอบด้วยเมตตา.
เนื้อความทั้งหมด :-๑ เมตตาเจโตวิมุตติ คือ อัปปนาสมาธิ ที่ประกอบด้วยเมตตา.--๒. ที่มีขีดจำกัด หมายเอา เมตตาที่จำกัดที่, และยังเป็นกามาวจรกุศล, ยังไม่เป็นรูปาวจรกุศลเหมือนที่กล่าวมา. สุมงฺ. ๑/๔๖๓.--วิโมกข์ แปด--ภิกษุ ท. ! วิโมกข์แปดเหล่านี้ มีอยู่. แปดเหล่าไหนเล่า ? แปดเหล่านี้คือ :---(๑) ผู้มีรูป (ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (อันเป็นสมาธินิมิตเหล่านั้น ) : นี้คือ วิโมกข์ที่หนึ่ง.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย).--(๒) ผู้ไม่มีสัญญาในรูปซึ่งเป็นภายใน (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเป็นรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) : นี้คือ วิโมกข์ที่สอง.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย).--(๓) เป็นผู้น้อมใจ (ไปในรูปนิมิตแห่งสมาธิ) ด้วยความรู้สึกว่า “งาม” เท่านั้น : นี้คือ วิโมกข์ที่สาม.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรบกวนของความรู้สึกว่าเป็นปฏิกูลในสิ่งที่เป็นปฎิกูล).--(๔) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวงเพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาทั้งหลายเป็นผู้ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มี ที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่ : นี้คือวิโมกข์ที่สี่.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของรูปสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในรูปทั้งหลายอันให้เกิดการกระทบกระทั่งกับสิ่งที่เป็นรูปนั่นเอง).--(๕) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่ห้า.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากาสานัฐจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทแรกคืออากาสานัญจายตนะนั่นเอง).--(๖) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ แล้วแล อยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่หก.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของวิญญาณัญจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สองคือวิญญาณัญจายตนะนั่นเอง).--(๗) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่เจ็ด.--(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สามคืออากิญจัญญายตนะนั่นเอง).--(๘) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่แปด.--(ย่อมมีวิโมกข์ คืนพ้นจากอิทธิพลของเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สี่คือเนวสัญญานาสัญญายตนะนั่นเอง).--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล วิโมกข์แปดนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฎฐก.อ 23/315/163.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฎฐก.อ ๒๓/๓๑๕/๑๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 78
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 922
ชื่อบทธรรม : -รูปฌานและอรูปสมาบัติ ยังมิใช่ธรรมชั้นที่เป็นเครื่องขูดเกลา
เนื้อความทั้งหมด :-รูปฌานและอรูปสมาบัติ ยังมิใช่ธรรมชั้นที่เป็นเครื่องขูดเกลา--จุนทะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน--ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องขูดเกลา” ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ ปฐมฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.--จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ ทุติยฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.--จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้. เข้าถึง ตติย-ฌาน แล้วแลอยู่ ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา“ ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ ตติยฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.--จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและ--โทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ จตุตถฌานนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลาในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฎฐธรรม ในอริยวินัย.--จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา, เพราะไม่ได้ทำความในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่างๆ, พึงบรรลุ อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ อากาสานัญจายตนะนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ใน อริยวินัย.--จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่ ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนะ นี้เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลาในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่า เป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ในอริยวินัย.--จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะ ผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุ อากิญจัญ--ญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆ ไม่มี” แล้วแลอยู่. ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ อากิญจัญญายตนะนี้ เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่าเป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ในอริยวินัย.--จุนทะ ! อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือ ภิกษุบางรูปในกรณีนี้ เพราะผ่านพ้นนอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่ ความคิดอาจจะมีแก่เธอนั้น อย่างนี้ว่า “เราอยู่ด้วยธรรมเครื่องขูดเกลา” ดังนี้. จุนทะ ! แต่ธรรมคือ เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้เรายังไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขูดเกลา ในอริยวินัย ก่อน; กล่าวแต่เพียงว่าเป็นธรรม เครื่องอยู่สงบ ในอริยวินัย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/72 - 74/102 - 103.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๗๒ - ๗๔/๑๐๒ - ๑๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 78
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 923
ชื่อบทธรรม : -อุปมาแห่งจิตที่ปราศจากนิวรณ์ห้า
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาแห่งจิตที่ปราศจากนิวรณ์ห้า--มหาราช ! เปรียบเทียบชายผู้หนึ่ง กู้หนี้เขา ไปทำการงานสำเร็จผล ใช้หนี้ต้นทุนเดิมหมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยาได้ถมไป ; เขาคงคะนึงถึงโชคลาภว่า “เมื่อก่อนเรากู้หนี้เขาไปทำการงานสำเร็จผล ใช้หนี้ต้นทุนเดิมหมดแล้ว กำไรยังเหลือพอเลี้ยงภรรยาได้ถมไป” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิง ใจโสมนัสเพราะข้อนี้เป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อย่างหนึ่ง).--มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ป่วยไข้หนัก ทนทุกข์อาหารไม่ตก กำลังน้อย. ครั้นเวลาอื่นเขาหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลัง--ก็มี ; เขาต้องนึกถึงกาลเก่าว่า “เมื่อก่อน เราป่วยไข้หนัก ทนทุกข์ อาหารก็ไม่ตก กำลังน้อยลง บัดนี้เราหายจากไข้นั้น อาหารก็ตั้ง กำลังก็มีมา” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง).--มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง ติดเรือนจำ ครั้นเวลาอื่นเขาหลุดจากเรือนจำโดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์; เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เราติดเรือนจำ บัดนี้เราหลุดมาได้โดยสะดวก ไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง).--มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง เป็นทาสเขา พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้. ครั้นถึงสมัยอื่น เขาพ้นจากการเป็นทาส พึ่งตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้; เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจไม่ได้ ครั้นถึงสมัยอื่น เราพ้นจากการเป็นทาส พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เที่ยวตามอำเภอใจได้” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง).--มหาราช ! เปรียบเหมือนชายอีกผู้หนึ่ง นำทรัพย์เดินทางไกล อันกันดาร ภิกษาหายาก ประกอบด้วยภัย. ครั้นสมัยอื่น พ้นทางกันดารได้โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย (ไม่ต้องเสียโภคทรัพย์) ; เขาต้องนึกถึงกาลเก่าอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อน เรานำทรัพย์เดินทางไกลอันกันดาร ภิกษา--หายาก ประกอบด้วยภัย ครั้นบัดนี้ เราพ้นทางกันดารได้โดยสะดวก ลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ไม่มีภัย” ดังนี้, เขาย่อมปราโมทย์บันเทิงใจโสมมนัสเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉันใด, (นี้อีกอย่างหนึ่ง).--มหาราช ! ภิกษุ พิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการ ที่ตนยังละไม่ได้ว่าเป็นเช่นกับการกู้หนี้ เช่นกับการเป็นโรค เช่นกับการติดเรือนจำ เช่นกับการเป็นทาส และการนำทรัพย์ข้ามทางกันดาร. และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละเสียได้แล้วในตนเอง เป็นเช่นกับการหมดหนี้ การหมดโรค การหลุดจากเรือนจำ การพ้นจากทาส การบรรลุถึงที่พ้นภัย ฉันนั้นเหมือนกันแล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี่.ที. 9/96 - 97/126
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี่.ที. ๙/๙๖ - ๙๗/๑๒๖
ลำดับสาธยายธรรม : 78
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1076
ชื่อบทธรรม : -การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด
เนื้อความทั้งหมด :-การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด--๑. กลุ่มสัมมาทิฏฐิ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็น ธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไรเล่า ? คือ เขารู้มิจฉาทิฏฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้สัมมาทิฏฐิ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาทิฏฐิเป็น อย่างไรเล่า ? นั้นคือทิฏฐิที่เห็นว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว--ไม่มี (ผล) ผล, วิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี , มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี, โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มีอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาทิฏฐิว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ (สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่ ; สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ (อนาสว) นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก (โลกุตฺตร) เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ทาน ที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี, โลกนี้ มี, โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกะสัตว์ มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มี อนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เพื่อทำสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ; การกระทำของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ มีสติทำสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อม ซึ่งสัมมาทิฏฐิ๑; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๒. กลุ่มสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็น ธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือเขารู้มิจฉาสังกัปปะ ว่าเป็นมิจฉา--๑. คำกล่าวที่ว่า ธรรม ๓ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิรวมอยู่ด้วย ติดตามแวดล้อมสัมมาทิฏฐิ นั้นหมายความว่า มีสัมมาทิฏฐิพื้นฐานเป็นการเริ่มต้น ช่วยให้เกิดสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์แบบ เต็มตามความหมายของคำคำนั้น.--สังกัปปะ, รู้สัมมาสังกัปปะ ว่าเป็นสัมมาสังกัปปะ ; ความรู้ของเขานั้นเป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? กามสังกัปปะ พ๎ยาปาทสังกัปปะ วิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาสังกัปปะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ชนิด คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่; สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบ แห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เนกขัมมสังกัปปะ อัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ ความตรึก (วิตกฺก) ความตรอง (วตกฺก) ความดำริ (สงฺกปฺป) ความคิดแน่วแน่ (อปฺปนา) ความคิดแน่วแน่ถึงที่สุด (พฺยปฺปนา) การงอกงามแห่งความคิดถึงที่สุดของจิต (เจตโส อภินิโรปนา) และเจตสิกธรรมเครื่องปรุงแต่งการพูดจา (วจีสงฺขาโร) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสว--จิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ เพื่อทำสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม ; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ มีสติทำสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติเขานั้นเป็น สัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาสังกัปปะ ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๓. กลุ่มสัมมาวาจา--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือ เขารู้มิจฉาวาจา ว่าเป็นมิจฉาวาจา, รู้สัมมาวาจา ว่าเป็นสัมมาวาจา ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? มุสาวาท ปิสุณวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปวาท. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาวาจา.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาวาจาว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ ; สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพานก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปิสุณวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากผรุสวาท เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากสัมผัปปลาวาท. ภิกษุ ท. ! นี้คือสัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด (อารติ) การเว้นขาด (ปฏิวิรัติ) และเจตนาเป็นเครื่องเว้น (เวรมณี) จากวจีทุจริตทั้งสี่ (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะนำขึ้นสู้ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาวาจา เพื่อทำสัมมาวาจาให้ถึง พร้อม; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาวาจา มีสติทำสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็นสัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาวาจา; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๔. กลุ่มสัมมากัมมันตะ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือเขารู้มิจฉากัมมันตะ ว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ, รู้สัมมากัมมันตะ ว่าเป็นสัมมากัมมันตะ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉากัมมันตะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษะ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมากัมมันตะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ ; สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะนำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็น--อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนา เป็นเครื่องเว้น จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉากัมมันตะ เพื่อทำสัมมากัมมันตะให้ถึงพร้อม ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉากัมมันตะ มีสติทำสัมมากัมมันตะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ ; สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมากัมมันตะ ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๕. กลุ่มสัมมาอาชีวะ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือ เขารู้มิจฉาอาชีวะ ว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้สัมมาอาชีวะ ว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? การพูดโกหก (กุหนา) การพูดหลอกลวง (ลปนา) การพูดหว่านล้อม (เนมิตฺตกตา) การพูดทำให้เจ็บใจจนต้องยอมตกลง (นิปฺเปสิกตา) การล่อลาภด้วยลาภ (ลาเภนลาภํชิคึสนตา).--ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาอาชีวะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ ; สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นไปสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้สะมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอานาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมัคคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ เพื่อทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติสะเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ มีสติทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็นสัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาอาชีวะ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/181 - 186/254 - 278.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๑ - ๑๘๖/๒๕๔ - ๒๗๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 78
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site