สัทธรรมลำดับที่ : 912
ชื่อบทธรรม : -กองอกุศลและกองกุศลชนิดแท้จริง
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อนี้เป็นหลักการที่ยอมรับได้ว่า แม้ฆราวาสก็สมควรเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ ดังที่บรรพบุรุษชาวไทยได้เคยกระทำกันมาแต่ก่อน).--กองอกุศลและกองกุศลชนิดแท้จริง--ภิกษุ ท. ! ผู้ที่กล่าวอยู่ว่านิวรณ์ทั้งห้า คืออกุสลราสี (กองอกุศล) นั่นแหละคือผู้ที่กล่าวอยู่โดยถูกต้อง. ภิกษุ ท. ! อกุสลราสีทั้งกองนี้ ได้แก่ นิวรณ์ทั้งห้า. ห้าอย่างไรกันเล่า? ห้าคือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา.--ภิกษุ ท. ! ผู้ที่กล่าวอยู่ว่าสติปัฏฐานทั้งสี่ คือกุสลราสี (กองกุศล) นั่นแหละคือผู้ที่กล่าวอยู่โดยถูกต้อง. ภิกษุ ท. ! กุสลราสีทั้งกองนี้ ได้แก่สติปัฏฐานทั้งสี่. สี่อย่างไรกันเล่า? สี่ ในกรณีนี้ คือ ภิกษุเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่. (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/196/696 - 697.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๙๖/๖๙๖ - ๖๙๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 77
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 913
ชื่อบทธรรม : -ธัมมสงเคราะห์ที่ทุกคนควรกระทำ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เมื่อกล่าวถึงกองอกุศล คนทั่วไปก็เล็งถึงการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต ฉ้อโกง เป็นต้นต่างๆนานา; และเมื่อกล่าวถึงกองกุศล คนทั่วไปก็พากันเล็งไปยัง การทำบุญสุนทาน ทอดกฐินผ้าป่า เป็นต้นต่างๆนานา. ส่วนในกรณีนี้ ตรัสระบุให้เห็นว่านิวรณ์ที่รบกวนอยู่ในจิตของแต่ละคนแต่ละวันนั่นแหละเป็นกองอกุศล; และว่าการเจริญสติปัฏฐานสี่เป็นกองกุศล และที่น่าสนใจในหัวข้อที่ว่ากองกุศลชนิดนี้ ไม่ต้องใช้เบี้ยหอยเงินทอง แม้แต่สักเบี้ยเดียว, ขอช่วยกันพิจารณาด้วย).--ธัมมสงเคราะห์ที่ทุกคนควรกระทำ--ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอคิดจะสงเคราะห์ชนเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้สำคัญเธอว่าเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง จะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ก็ตาม ภิกษุ ท. ! เธอพึงสงเคราะห์ชนเหล่านั้นด้วยการชักชวน ให้เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะ ในการเจริญสติปัฏฐานสี่ เถิด. สี่อย่างไรเล่า? สี่ ในกรณีนี้ คือ เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.--ภิกษุ ท. ! นี่แหละคือข้อที่ ถ้าเธอคิดจะสงเคราะห์ชนเหล่าใด ซึ่งเป็นผู้สำคัญเธอว่าเป็นผู้ที่เขาควรเชื่อฟัง จะเป็นมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ก็ตาม เธอพึงสงเคราะห์ชนเหล่านั้น ด้วยการชักชวนให้เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะในการเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/251/834.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๕๑/๘๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 77
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 914
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๒๑ ว่าด้วย สัมมาสมาธิ(มี ๕๑ เรื่อง)หมวด ก. ว่าด้วยอุทเทศวิภาคของสัมมาสมาธิ--อุทเทศแห่งสัมมาสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-(โดยทั่วไป เราคิดจะสงเคราะห์กันแต่ด้วยวัตถุสิ่งของเงินทอง ญาติมิตรสหายของเราจึงยังจมอยู่ในกองทุกข์. ถ้าอย่างไร เราจะคิดสงเคราะห์กันด้วยธรรมสงเคราะห์อย่างนี้บ้าง โลกนี้ก็จะมีความสุขยิ่งขึ้น).--นิทเทศ ๒๐--ว่าด้วยสัมมาสติ--จบ--นิทเทศ ๒๑ ว่าด้วย สัมมาสมาธิ--(มี ๕๑ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วยอุทเทศ - วิภาคของสัมมาสมาธิ--อุทเทศแห่งสัมมาสมาธิ--ภิกษุ ท. ! สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ; เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปิติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “ป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที. 10/349/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที. ๑๐/๓๔๙/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 77
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 915
ชื่อบทธรรม : -สมาธิภาวนา มีประเภทสี่
เนื้อความทั้งหมด :-สมาธิภาวนา มีประเภทสี่--ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ ภิกษุ ท. ! มี สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว--ย่อมเป็นไป เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม (ทิฏฐธมฺมสุขวิหาร). ภิกษุ ท. ! มี สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ (ญาณทสฺสนปฏิลาภ). ภิกษุ ท. ! มี สมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อสติสัมปชัญญะ (สติสมฺปชญฺญ) ภิกษุ ท. ! มีสมาธิภาวนา อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ (อาสวกฺขย).--ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ;เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อนเข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.--ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ การได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุ--ในกรณีนี้ กระทำไว้ในใจซึ่งอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่ากลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น, กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น, เธอมีจิตอันเปิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไม่มีอะไรห่อหุ้ม ยังจิตที่มีแสงสว่างทั่วพร้อมให้เจริญอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.--ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ; สัญญาเกิดขึ้น (หรือ)ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ ; วิตกเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ. ภิกษุ ท. ! นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.--ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นแห่งอาสวะ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มีปกติตามเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไป ในอุปทานขันธ์ทั้งห้า ว่า “รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ; เวทนา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ ; สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ; สังขาร เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ; วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ; ดังนี้. ภิกษุ ท. !--นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ สมาธิภาวนา ๔ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. 21/57/41.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. ๒๑/๕๗/๔๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 77
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 916
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา ของสัมมาสมาธิ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา ของสัมมาสมาธิ--ลักษณะแห่งสัมมาสมาธิชั้นเลิศ ๕ ประการ--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ. ภิกษุ ท. ! การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?--๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก นั้น, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน นายช่างอาบ ก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดี เป็นคนฉลาด โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้, ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก ไม่ไหลหยด ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก, ส่วนใดส่วนหนึ่ง--ของกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้าอันเป็นอริยะ ประการที่หนึ่ง.--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้จึงบรรลุ ฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ห้วงน้ำอันลึก มีน้ำพลุ่งขึ้น ไม่มีปากทางน้ำ เข้าทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ แห่งห้วงน้ำนั้น และฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล แต่ขณะนั้นท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำนั้น ไหลทับไหลท่วม แผ่ทั่วเต็มไปหมดซึ่งห้วงน้ำนั้นเอง ด้วยน้ำอันเย็น, ส่วนไหนๆ ของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ภิกษุประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ, ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สอง.--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยด้วยนามกาย จึงบรรลุ ฌานที่สาม--อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนใน หนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัวบุณฑริก มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำ เจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้, ดอกบัวเหล่านั้นถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก, ส่วนไหน ๆ ของดอกบัวเหล่านั้นทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด; ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยสุขหาปีติมิได้, ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอ ที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สาม.--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ, เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, จึงบรรลุ ฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัว ด้วยผ้าขาวตลอด ศีรษะ, ส่วนไหน ๆ ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว)--มิได้มี ข้อนี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้, ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่สี่.--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ปัจจเวกขณนิมิต เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นถือเอาแล้วด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดี เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา (ชัดเจน) เปรียบเหมือน คนคนหนึ่ง เห็นคนอีกคนหนึ่ง หรือว่าเหมือนคนยืน เห็นคนนั่ง หรือว่าเหมือน คนนั่ง เห็นคนนอน, ฉันใดก็ฉันนั้นที่ปัจจเวกขณนิมิต เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นถือเอาแล้วด้วยดี กระทำในใจแล้วด้วยดี เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! นี้คือ การเจริญสัมมาสมาธิ ที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ ประการที่ห้า.--ภิกษุ ท. ! เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุ เจริญกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ ในธรรมอันควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ นั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึงซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ๆ. ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน หม้อน้ำมีหูจับ ตั้งอยู่บนเชิงรอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปาก กาดื่มได้ บุรุษมีกำลังจับหม้อน้ำนั้นหมุนไปทางใดๆ น้ำย่อมกระฉอกไปทางนั้นๆ มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุ เจริญทำให้มากแล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรกระทำให้แจ้ง--ด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ ในธรรมอันควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ นั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึงซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ ๆ.--ภิกษุ ท. ! หรือเปรียบเหมือน สระโบกขรณี สี่เหลี่ยม กั้นไว้ด้วยขอบคัน เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปาก กาดื่มได้ มีบุรุษผู้มีกำลังมาเจาะขอบคันที่ใดๆ น้ำย่อมไหลออกมาโดยที่นั้นๆ มิใช่หรือ ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ ในธรรมอันควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น ๆ นั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึงซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ ๆ.--ภิกษุ ท. ! หรือเปรียบเหมือน รถเทียมด้วยม้าอาชาไนยที่ฝึกดีแล้ว ผูกเครื่องผูกครบถ้วนแล้ว เป็นรถที่จอดอยู่หนทางสี่แพร่ง มีภูมิภาคอันดีสารถีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกม้า เป็นชั้นอาจารย์ ขยันขันแข็ง ขึ้นสู่รถนั้นแล้วจับเชือกด้วยมือซ้าย จับปฏักด้วยมือขวา เพียงแต่ยกปฏักขึ้นเป็นสัญญาณ ก็สามารถให้ม้าพารถไปข้างหน้า หรือให้ถอยหลัง ได้ตามที่ตนปรารถนา, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ห้า อันเป็นอริยะ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมใดๆ ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งอยู่ ในธรรมอันควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ--นั่นแหละ เธอนั้นย่อมลุถึงซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในเมื่ออายตนะยังมีอยู่ๆ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. 22/26 - 30/28.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. ๒๒/๒๖ - ๓๐/๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 77
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 917
ชื่อบทธรรม : -อริยสัมมาสมาธิมีบริขารเจ็ด
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัมมาสมาธิมีบริขารเจ็ด--(เรื่องควรดูประกอบในขุม.โอ.หน้า ๓๐๐)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง อริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร. เธอจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว.--ภิกษุ ท. ! อริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! องค์แห่งมรรคเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เหล่าใด อันเป็นองค์ ๗ ประการ ที่แวดล้อมเอกัคคตาจิตอยู่ ; เอกัคคตาจิตชนิดนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสัมมาสมาธิที่มีที่ตั้งอาศัย ดังนี้บ้าง ที่มีบริขาร ดังนี้บ้าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. 14/180/252 - 253.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. ๑๔/๑๘๐/๒๕๒ - ๒๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 77
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 918
ชื่อบทธรรม : -การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด
เนื้อความทั้งหมด :-การทำหน้าที่สัมพันธ์กันของบริขารเจ็ด--๑. กลุ่มสัมมาทิฏฐิ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็น ธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไรเล่า ? คือ เขารู้มิจฉาทิฏฐิ ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ รู้สัมมาทิฏฐิ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาทิฏฐิเป็น อย่างไรเล่า ? นั้นคือทิฏฐิที่เห็นว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว--ไม่มี (ผล) ผล, วิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี , มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี, โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มีอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาทิฏฐิว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ (สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่ ; สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ (อนาสว) นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก (โลกุตฺตร) เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ทาน ที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี, โลกนี้ มี, โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกะสัตว์ มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มี อนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เพื่อทำสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ; การกระทำของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาทิฏฐิ มีสติทำสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อม ซึ่งสัมมาทิฏฐิ๑; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๒. กลุ่มสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็น ธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือเขารู้มิจฉาสังกัปปะ ว่าเป็นมิจฉา--๑. คำกล่าวที่ว่า ธรรม ๓ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิรวมอยู่ด้วย ติดตามแวดล้อมสัมมาทิฏฐิ นั้นหมายความว่า มีสัมมาทิฏฐิพื้นฐานเป็นการเริ่มต้น ช่วยให้เกิดสัมมาทิฏฐิสมบูรณ์แบบ เต็มตามความหมายของคำคำนั้น.--สังกัปปะ, รู้สัมมาสังกัปปะ ว่าเป็นสัมมาสังกัปปะ ; ความรู้ของเขานั้นเป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? กามสังกัปปะ พ๎ยาปาทสังกัปปะ วิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาสังกัปปะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ชนิด คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่; สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบ แห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เนกขัมมสังกัปปะ อัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ ความตรึก (วิตกฺก) ความตรอง (วตกฺก) ความดำริ (สงฺกปฺป) ความคิดแน่วแน่ (อปฺปนา) ความคิดแน่วแน่ถึงที่สุด (พฺยปฺปนา) การงอกงามแห่งความคิดถึงที่สุดของจิต (เจตโส อภินิโรปนา) และเจตสิกธรรมเครื่องปรุงแต่งการพูดจา (วจีสงฺขาโร) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสว--จิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ เพื่อทำสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม ; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาสังกัปปะ มีสติทำสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติเขานั้นเป็น สัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาสังกัปปะ ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๓. กลุ่มสัมมาวาจา--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือ เขารู้มิจฉาวาจา ว่าเป็นมิจฉาวาจา, รู้สัมมาวาจา ว่าเป็นสัมมาวาจา ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? มุสาวาท ปิสุณวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปวาท. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาวาจา.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาวาจาว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ ; สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพานก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปิสุณวาท เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากผรุสวาท เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากสัมผัปปลาวาท. ภิกษุ ท. ! นี้คือสัมมาวาจา ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด (อารติ) การเว้นขาด (ปฏิวิรัติ) และเจตนาเป็นเครื่องเว้น (เวรมณี) จากวจีทุจริตทั้งสี่ (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะนำขึ้นสู้ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาวาจา เพื่อทำสัมมาวาจาให้ถึง พร้อม; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉาวาจา มีสติทำสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็นสัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาวาจา; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๔. กลุ่มสัมมากัมมันตะ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือเขารู้มิจฉากัมมันตะ ว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ, รู้สัมมากัมมันตะ ว่าเป็นสัมมากัมมันตะ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉากัมมันตะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษะ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมากัมมันตะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ ; สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั้นคือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะนำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็น--อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนา เป็นเครื่องเว้น จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉากัมมันตะ เพื่อทำสัมมากัมมันตะให้ถึงพร้อม ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติละเสียซึ่งมิจฉากัมมันตะ มีสติทำสัมมากัมมันตะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่ ; สติของเขานั้นเป็น สัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมากัมมันตะ ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.--๕. กลุ่มสัมมาอาชีวะ--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาองค์เจ็ดแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมนำหน้า. นำหน้าอย่างไร ? คือ เขารู้มิจฉาอาชีวะ ว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้สัมมาอาชีวะ ว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ; ความรู้ของเขานั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ.--ภิกษุ ท. ! มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? การพูดโกหก (กุหนา) การพูดหลอกลวง (ลปนา) การพูดหว่านล้อม (เนมิตฺตกตา) การพูดทำให้เจ็บใจจนต้องยอมตกลง (นิปฺเปสิกตา) การล่อลาภด้วยลาภ (ลาเภนลาภํชิคึสนตา).--ภิกษุ ท. ! นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาอาชีวะว่ามีอยู่ ๒ ชนิด คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก ก็มีอยู่ ; สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นไปสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีผลเนื่องอยู่กับของหนัก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้สะมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะ ที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีผลเนื่องอยู่กับของหนัก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ธรรมคือ การงด การเว้น การเว้นขาด และเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอานาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมัคคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค ใดแล ; ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ ไม่เป็นไปด้วยอาสวะ นำขึ้นสู่ระดับเหนือโลก เป็นองค์ประกอบแห่งหนทางเพื่อนิพพาน.--เขานั้น เพียรพยายามเพื่อละเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ เพื่อทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม; ความเพียรพยายามของเขานั้น เป็น สัมมาวายามะ. เขามีสติสะเสียซึ่งมิจฉาอาชีวะ มีสติทำสัมมาอาชีวะให้ถึงพร้อม แล้วแลอยู่; สติของเขานั้นเป็นสัมมาสติ.--ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า ธรรม ๓ อย่าง นั้น ย่อม ติดตามแวดล้อมซึ่งสัมมาอาชีวะ; สามอย่างนั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/181 - 186/254 - 278.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๑ - ๑๘๖/๒๕๔ - ๒๗๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 77
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site