สัทธรรมลำดับที่ : 903
ชื่อบทธรรม : -ค. มีสุขวิหารอันสงบเย็น
เนื้อความทั้งหมด :-ค. มีสุขวิหารอันสงบเย็น--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธินี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมเป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และ--ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามก อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป ให้รำงับไป โดยควรแก่ฐานะ.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนฝุ่นธุลีฟุ้งขึ้นแห่งเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน ฝนหนักที่ผิดฤดูตกลงมา ย่อมทำฝุ่นธุลีเหล่านั้นให้อันตรธานไป ให้รำงับไปได้โดยควรแก่ฐานะ, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ก็เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไปโดยควรแก่ฐานะได้ ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! ก็อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า ? ที่เป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหารและย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไปโดยควรแก่ฐานะได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น. ภิกษุนั้น ....ฯลฯ.... (ตรัสอานาปานสติ อันมีวัตถุ ๑๖ ดังที่ปรากฏที่หน้า ๑๑๘๑ แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ตั้งแต่หน้า ๑๑๘๒ ถึงหน้า ๑๑๘๔) .... เห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเป็นของรำงับ เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุข--วิหาร และย่อมยังอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานไป โดยควรแก่ฐานะ ดังนี้ แล.--(ข้อนี้สรุปความว่า อานาปานสติ เป็นเครื่องทำให้เกิดความเย็นใจ หรือสุขวิหารสำหรับบุคคลผู้มีความกระวนกระวาย หรือความฟุ้งซ่านรำคาญ ไม่พอใจในการเป็นอยู่หรือชีวิตประจำวันของตน อันเกิดมาแต่ความเบื่อระอาสิ่งต่างๆ หรือความไม่ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตนกระทำ เป็นต้น). - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๗/๑๓๕๒ - ๑๓๕๔.--ง. เป็นสุขแล้วดำเนินไปในตัวเอง จนสิ้นอาสวะ--ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์ลัทธิอื่นถามพวกเธอว่า สมณโคดมอยู่ตลอดพรรษากาลเป็นอันมาก ด้วยวิหารธรรมอย่างไหน ดังนี้แล้วพวกเธอพึงตอบว่า “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ! พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่ตลอดพรรษากาลเป็นอันมาก ด้วยอานาปานสติสมาธิ”.--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เราเป็นผู้มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก : เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว; หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว ....ฯลฯ ....--(ตรัสอานาปานสติ อันมีวัตถุ ๑๖ ดังที่มีปรากฏที่หน้า ๑๑๘๑ แห่งหนังสือเล่มนี้หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก“ ตั้งแต่หน้า ๑๑๘๒ ถึงหน้า ๑๑๘๔) .--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใครผู้ใด จะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี ว่าเป็นพรหมวิหารก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหารก็ดี เขาพึงกล่าว อานาปานสติสมาธินี่แหละ ว่าเป็นอริยวิหาร ว่าเป็นพรหมวิหาร ว่าเป็นตถาคตวิหาร.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใดยังเป็น เสขะ ยังไม่ลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคเขมธรรมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า; ภิกษุเหล่านั้น เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.--ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็น อรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีสิ่งที่ต้องทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพทั้งหลายสิ้นรอบแล้ว เป็นผู้หลุดแล้วเพราะรู้โดยชอบ; ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเจริญทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นสุขวิหารในทิฏฐธรรมนี้ด้วย เพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ ด้วย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/412/1364 - 1367.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๒/๑๓๖๔ - ๑๓๖๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 904
ชื่อบทธรรม : -จ. ควรแก่นามว่า อริยวิหาร-พรหมวิหาร-ตถาคตวิหาร
เนื้อความทั้งหมด :-จ. ควรแก่นามว่า อริยวิหาร-พรหมวิหาร-ตถาคตวิหาร--ภิกษุ ท. ! ฉะนั้น เมื่อใครจะกล่าวสิ่งใดให้ถูกต้องชอบธรรม ว่าเป็นอริยวิหาร ก็ดี ว่าเป็นพรหมวิหาร ก็ดี ว่าเป็นตถาคตวิหาร ก็ดี เขาพึงกล่าว อานาปานสติสมาธิ นี่แหละ ว่าเป็น อริยวิหาร ว่าเป็น พรหมวิหาร ว่าเป็น ตถาคตวิหาร ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/413/1368.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๔๑๓/๑๓๖๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 905
ชื่อบทธรรม : -ฉ. ทำสังโยชน์ให้สิ้น - กำจัดอนุสัย - รู้ทางไกล - สิ้นอาสวะ
เนื้อความทั้งหมด :-ฉ. ทำสังโยชน์ให้สิ้น - กำจัดอนุสัย - รู้ทางไกล - สิ้นอาสวะ--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อการละ สัญโญชน์ ทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงเป็นไปเพื่อการละสัญโญชน์ทั้งหลาย ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น; ภิกษุนั้นมีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจออก . . . . (มีรายละเอียดแห่งอานาปานสติ ๑๖ ขั้น ดังที่เคยกล่าวให้ดูเนื้อความเต็มแล้วในข้อ ก. เป็นต้น จนกระทั่งถึงคำว่า) .... ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อการละสัญโญชน์ทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการ กำจัดเสียซึ่งอนุสัย .... (มีใจความเต็มเหมือนข้อสัญโญชน์).--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ รอบรู้ซึ่งทางไกล (อวิชชา) .... (มีใจความเต็มเหมือนข้อสัญโญชน์).--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย .... (มีใจความเต็มเหมือนข้อสัญโญชน์).--(ข้อความทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นโดยสรุปว่า อานาปานสติ มีผลทำให้ละสัญโญชน์ได้, ทำให้กำจัดอนุสัยได้, ทำให้รอบรู้ซึ่งทางไกลคืออวิชชา เหตุให้เกิดอวิชชา ความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา และทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอวิชชา, ในที่สุดย่อมทำอาสวะให้สิ้นไป; ซึ่งโดยใจความแล้ว ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือการดับกิเลสสิ้นเชิงนั่นเอง. ทั้งนี้เพราะอานาปานสติภาวนา ทำสติปัฎฐาน ๔ ให้สมบูรณ์; สติปัฎฐาน ๔ สมบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ให้สมบูรณ์; โพชฌงค์ ๗ สมบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้สมบูรณ์; ดังมีพุทธภาษิตตรัสไว้ ซึ่งนำมาใส่ไว้ในหนังสือเล่มนี้ โดยหัวข้อว่า “อานิสงส์ตามปกติแห่งอานาปานสติ” ข้อ ค. ที่หน้า ๑๒๔๙, และหัวข้อว่า “สติปัฎฐานสี่สมบูรณ์ เมื่ออานาปานสติบริบูรณ์”, โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์” ที่หน้า ๑๑๙๘ ถึงหน้า ๑๒๐๘).--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๕ - ๔๒๖/๑๔๐๖ - ๑๔๑๐.--ช. รู้จักลมหายใจอันจักมีเป็นครั้งสุดท้ายแล้วดับจิต--(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับครบ ๑๖ ขั้น ดังที่กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ ถึง ๑๑๘๔ บรรทัดที่แปด แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ดังนี้แล้ว ได้ตรัสอานิสงส์แห่งอานาปานสตินี้ ว่า :- )--ราหุล ! เมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากซึ่งอานาปานสติอย่างนี้แล้ว ลมอัสสาสะปัสสาสะอันจะมีเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อจะดับจิตนั้น จะเป็นสิ่งที่เขารู้แจ้งแล้วดับไป หาใช่เป็นสิ่งที่เขาไม่รู้แจ้งไม่ ดังนี้. (รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดูได้ จากหนังสืออานาปานสติ (ชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส) หน้า ๕๑๕).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/140 - 142/146.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๑๔๐ - ๑๔๒/๑๔๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 906
ชื่อบทธรรม : -ญ. เหตุปัจจัยที่พระศาสนาจะตั้งอยู่นานภายหลังพุทธปรินิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-ญ. เหตุปัจจัยที่พระศาสนาจะตั้งอยู่นานภายหลังพุทธปรินิพพาน--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมจะไม่ตั้งอยู่นาน ? ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระสัทธรรมจะตั้งอยู่นาน พระเจ้าข้า !”--พราหมณ์ ! เพราะไม่มีการทำให้เจริญ เพราะไม่มีการกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่นาน.--แต่ พราหมณ์เอ๋ย ! เพราะมีการกระทำให้เจริญ เพราะมีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมตั้งอยู่นาน. สติปัฏฐานสี่อย่างไรเล่า? พราหมณ์ ! ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ (ข้อความต่อจากนี้ไป ก็เหมือนกับข้อความที่ตรัสไว้ในที่อื่นๆ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/232/778 - 779.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๒๓๒/๗๗๘ - ๗๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 907
ชื่อบทธรรม : -อานิสงส์ แห่งความไม่ประมาทคือสติ
เนื้อความทั้งหมด :-อานิสงส์ แห่งความไม่ประมาทคือสติ--ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป, เหมือนความไม่ประมาท นี้. ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว, กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ก็เสื่อมสิ้นไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอกก.อํ. 20/13/60.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอกก.อํ. ๒๐/๑๓/๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 908
ชื่อบทธรรม : -สติปัฏฐานสี่เป็นเครื่องละปุพพันตอปรันตสหคตทิฏฐินิสสัย
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่นทรงแสดงอานิสงส์แห่งความไม่ประมาท ว่าทำให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ อันใหญ่หลวง (มหโต อตฺถาย สํวตฺตติ). - ๒๐/๑๘/๘๔.--ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ความไม่เลอะเลือนความไม่สูญหายแห่งพระสัทธรรม (สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตติ). - ๒๐/๒๓/๑๑๖.--ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์อันใหญ่หลวงชนิดที่เป็นไปในภายใน. - ๒๐/๒๑/๑๐๐).--สติปัฏฐานสี่เป็นเครื่องละปุพพันตอปรันตสหคตทิฏฐินิสสัย--จุนทะ ! สติปัฏฐาน ๔ ประการ เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วอย่างนี้เพื่อละเสีย เพื่อก้าวล่วงเสีย ซึ่งทิฏฐินิสสัยทั้งหลาย ทั้งประเภทที่สหรคตด้วยปุพพันตขันธ์ และประเภทที่สหรคตด้วยอปรันตขันธ์๑ เหล่านั้น.--สติปัฏฐาน ๔ ประการ เหล่าไหนเล่า ? จุนทะ ! สี่ประการคือภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ .--๑. คำว่า “ทิฏฐินิสสัยที่สหรคตด้วยปุพพันตขันธ์” และ “ทิฏฐินิสสัยที่สหรคตด้วยอปรันตขันธ์” ดูรายละเอียดในข้อความตอนที่ว่า [หมวด ๑ ปุตพันตกัปปิกวาท ๑๘ ประการ] และข้อความตอนที่ว่า [หมวด ๒ อปรันตกัปปิวาท ๔๔ ประการ] ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ.ที่หน้า ๗๓๒ - ๗๔๗ และที่หน้า ๗๕๐ - ๗๖๕.--จุนทะ ! สติปัฏฐาน ๔ ประการเหล่านี้แล อันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว เพื่อละเสีย เพื่อก้าวล่วงเสีย ซึ่งทิฏฐินิสสัยทั้งหลาย ทั้งประเภทที่สหรคต ด้วยปุพพันตขันธ์ และประเภทที่สหรคตด้วยอปรันตขันธ์ เหล่านั้นด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปา.ที. 11/155/128.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา.ที. ๑๑/๑๕๕/๑๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 909
ชื่อบทธรรม : -ง. การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการอารักขาทั้งตนเองและผู้อื่น
เนื้อความทั้งหมด :-(ภิกษุผู้มีสติปัฏฐานทั้งสี่อยู่ ย่อมไม่มีความรู้สึกว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา; ดังนั้น จึงไม่มีทางที่จะเกิดความเห็นว่า อัตตาและโลกเป็นของเที่ยง ดังนี้เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดทิฏฐิว่าอัตตามีในภพก่อน อัตตามีในภพหลั).--ง การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการอารักขาทั้งตนเองและผู้อื่น--ภิกษุ ท. ! เรื่องเคยมีมาแล้วในกาลก่อน : บุรุษจัณฑาลวังสิกะ๑ ยกไม้จัณฑาลวังสะตั้งขึ้นแล้ว ร้องสั่งผู้ช่วยซึ่งทำหน้าที่ถือถาดน้ำมันของเขา ด้วยคำว่า “เพื่อนถาดน้ำมัน ! จงมา, จงขึ้นไปสู่ไม้จัณฑาลวังสะ แล้วทรงตัวอยู่ในเบื้องบนแห่งลำตัวของเรา” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! บุรุษเมทกถาลิกะผู้ช่วยของเขารับคำว่า “ขอรับอาจารย์” แล้วขึ้นไปสู่ไม้จัณฑาลวังสะ ดำรงตัวอยู่เบื้องบนแห่งลำตัวของอาจารย์.--ภิกษุ ท. ! ลำดับนั้น จัณฑาลวังสิกบุรุษผู้เป็นอาจารย์ ได้กล่าวแก่เมทกถาลิกบุรุษซึ่งเป็นผู้ช่วยของเขาว่า “สหาย เมทกถาลิกะเอ๋ย ! ท่านจงรักษาซึ่งเรา เราก็จักรักษาซึ่งท่าน; เราคุ้มครองรักษาซึ่งกันและกันอยู่อย่างนี้ จักได้แสดงซึ่งศิลปะด้วย จักได้ลาภด้วยและจักลงจากไม้จัณฑาลวังสะได้โดยสวัสดีด้วย”.--๑. นักแสดงกายกรรมด้วยการยกไม้ไผ่ชูตั้งขึ้น โคนไม้จดศีรษะหรืออกตามที่ตนต้องการแสดง แล้วมีบุรุษถือถาดน้ำมันไปทรงตัวอยู่บนปลายไม้; เป็นศิลปะหาเลี้ยงชีพของคนนอกวรรณะหรือวรรณะต่ำ ซึ่งเรียกกันว่าพวกจัณฑาล.--ภิกษุ ท. ! เมทกถาลิกบุรุษซึ่งเป็นผู้ช่วยได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวกะจัณฑาลวังสิกบุรุษผู้เป็นหัวหน้าของเขาว่า “ทำอย่างนั้นไม่ได้ดอก ท่านอาจารย์ ! ท่านอาจารย์จงรักษาตัวเอง ผมก็จักรักษาตัวผม; เมื่อเราต่างฝ่ายต่างคุ้มครองรักษาตนของตนอยู่อย่างนี้ จึงจักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้ลาภด้วย จักลงจากไม้จัณฑาลวังสะได้โดยสวัสดีด้วย”.--นี่คือ เคล็ดอันเป็นใจความสำคัญของเรื่องที่เราจักต้องเข้าใจ คือพระผู้มีพระภาคได้กล่าวเช่นเดียวกับที่เมทกถาลิกบุรุษซึ่งเป็นผู้ช่วยได้กล่าวกะอาจารย์ของเขา; คือได้ตรัสว่า :---ภิกษุ ท. ! เธอพึงเจริญสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘เราจักรักษาซึ่งตน’; เธอพึงเจริญสติปัฏฐานด้วยคิดว่า ‘เราจักรักษาซึ่งผู้อื่น’. ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาตน ก็คือรักษาผู้อื่น : เมื่อรักษาผู้อื่นก็คือรักษาตน๑ .--ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาตนก็คือรักษาผู้อื่น นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อนี้หมายความว่า รักษาตนด้วยการเสพธรรมะ ด้วยการเจริญธรรมะ ด้วยการทำให้มากซึ่งธรรมะ. นี้แหละคือ เมื่อรักษาตนอยู่ จะมีผลเป็นการรักษาผู้อื่น.--ภิกษุ ท. ! เมื่อรักษาผู้อื่นก็คือรักษาตน นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ข้อนี้หมายความว่า รักษาผู้อื่นด้วยการอดทน ด้วยการไม่เบียดเบียน ด้วยเมตตาจิต ด้วยความรักใคร่เอ็นดู. นี้แหละคือ เมื่อรักษาผู้อื่นอยู่ จะมีผลเป็นการรักษาตนด้วย.--ภิกษุ ท. ! เมื่อคิดว่าเราจักรักษาตน ก็จงเจริญสติปัฏฐานเถิด, เมื่อคิดว่าเราจักรักษาผู้อื่น ก็จงเจริญสติปัฏฐานเถิด; เพราะว่าเมื่อเจริญสติปัฏฐาน--๑. คำนี้หมายความว่า เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อประโยชน์แก่ตน ก็จักมีประโยชน์ถึงผู้อื่นเนื่องกันไปในตัวด้วย เหมือนกับที่บุรุษผู้รักษาโคนไม้กับบุรุษผู้อยู่ปลายไม้ ต่างฝ่ายต่างมุ่งรักษาตนดีแล้วก็จะเป็นการรักษาซึ่งกันและกันให้ไม่พลาดพลั้งลงไป, ฉันใดก็ฉันนั้น.--เพื่อรักษาตน ก็เป็นการรักษาผู้อื่น : เมื่อเจริญสติปัฏฐานเพื่อรักษาผู้อื่นก็เป็นการรักษาตนด้วย; อย่างนี้แล. (ข้อนี้หมายความว่า การทำให้เกิดสติปัฏฐานชื่อว่ารักษาตน. ในสติปัฏฐานนั้นมีการระลึกด้วยพรหมวิหาร จึงถือว่ามีการรักษาผู้อื่นด้วย).--- มหาวาร.สํ. ๑๙/๒๒๔ - ๒๒๕/๗๕๘ - ๗๖๒.--หมวด ฉ. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาสติ--จิตที่ปราศจากสติ ย่อมปรารถนาลาภได้ทั้งที่ชอบอยู่ป่า--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๘ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. แปด จำพวก อย่างไรเล่า? แปดจำพวก คือ :---ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ลาภก็ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภ เธอก็เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ หลงใหล. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนาลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก คร่ำครวญ และเคลื่อนจากสัทธรรม.--ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภ เธอก็มัวเมา ประมาท ถึงความประมาทเต็มที่. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนาลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ได้ลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจากสัทธรรม (ด้วยเหมือนกัน).--ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ลาภไม่เกิดขึ้น เพราะไม่ได้ลาภ เธอก็เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ หลงใหล. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก คร่ำครวญ และเคลื่อนจากสัทธรรม (ด้วยเหมือนกัน).--ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เมื่อภิกษุอยู่อย่างผู้สงัด แต่ไม่ประพฤติสำรวมอย่างติดต่อ ความปรารถนาลาภก็เกิดขึ้น เธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ แต่ลาภก็เกิดขึ้น เพราะได้ลาภ เธอก็มัวเมา ประมาท ถึงความประมาทเต็มที่. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภิกษุผู้ปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อลาภอยู่ แต่มีลาภ มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจากสัทธรรม (ด้วยเหมือนกัน).--(ต่อไปได้ตรัสถึง ภิกษุ ๔ จำพวก โดยปฏิปักขนัย เป็นผู้อยู่ในที่สงัด ปรารถนาลาภ ได้ลาภหรือไม่ได้ลาภ ก็ไม่ประมาทมัวเมา หรือไม่โศกเศร้าคร่ำครวญเป็นทุกข์ และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม ทั้ง ๔ จำพวก).--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคล ๘ จำพวก ที่มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก (แม้อยู่ในที่สงัดก็ยังปรารถนาลาภ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก.อํ. 23/302 - 304/151.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก.อํ. ๒๓/๓๐๒ - ๓๐๔/๑๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 910
ชื่อบทธรรม : -หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณณกะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณณกะ--ลักษณะของผู้อาจและไม่อาจเจริญสติปัฏฐานสี่--ภิกษุ ท. ! บุคคคลไม่อาจเพื่อเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่เพราะเขาไม่ละธรรม ๖ อย่าง. หกอย่าง อย่างไรเล่า ? หกอย่างคือ ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีในการคุยฟุ้ง ความเป็นผู้ยินดีในการหลับ--ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค. ภิกษุ ท. ! เพราะไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล บุคคลจึงเป็นผู้ไม่อาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่.--(ในกรณีที่ไม่อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกายในภายใน - ในภายนอก - ในภายในและภายนอก และเป็นผู้ไม่อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา ตามเห็นจิตในจิต - ตามเห็นธรรมในธรรม ก็ดี ล้วนแต่มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! บุคคลอาจเพื่อเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่ เพราะเขาละธรรม ๖ อย่าง. หกอย่าง อย่างไรเล่า? หกอย่างคือ ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ความเป็นผู้ยินดีในการคุยฟุ้ง ความเป็นผู้ยินดีในการหลับ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภค. ภิกษุ ท. ! เพราะละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล บุคคลจึงเป็นผู้อาจเพื่อเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่.--(ในกรณีที่อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกายในภายใน - ในภายนอก - ในภายในและภายนอก และเป็นผู้อาจเป็นผู้ มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา - ตามเห็นจิตในจิต - ตามเห็น ธรรมในธรรม ก็ดี ล้วนแต่มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. 22/499 - 500/388 - 394.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. ๒๒/๔๙๙ - ๕๐๐/๓๘๘ - ๓๙๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 911
ชื่อบทธรรม : -ทั้งนวกะ - เสขะ - อเสขะ ก็พึงเจริญสติปัฏฐาน
เนื้อความทั้งหมด :-ทั้งนวกะ - เสขะ - อเสขะ ก็พึงเจริญสติปัฏฐาน--(ก.พวกนวกะ)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้บวชใหม่บวชแล้วไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้. ภิกษุเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงชักชวน พึงให้เข้าอยู่ พึงให้ตั้งมั่นในการเจริญซึ่งสติปัฏฐานสี่. สี่อย่างไรเล่า ? (พึงชักชวนว่า :- )--มาเถิดท่านผู้มีอายุ ท.! จงเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่เถิด เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ ให้สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น เป็นจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้ตามเป็นจริงซึ่งกาย; (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และ ธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--(ข. สำหรับพระเสขะ)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็นเสขะ มีความประสงค์แห่งใจอันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่; ถึงแม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ยังจะเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ ให้สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น เป็นจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรอบรู้ซึ่งกาย; (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--(ค. สำหรับพระอเสขะ)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำกระทำเสร็จแล้ว มีภาระปลงลงแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันตามบรรลุแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ; ถึงแม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ยังจะเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อยู่ เป็นผู้อยู่อย่างมีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ ให้สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น เป็นจิตมีอารมณ์เดียว (เพื่อความเป็น) ผู้ไม่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกาย; (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--- มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๙๔ - ๑๙๕/๖๙๑ - ๖๙๔.--(พุทธบริษัทพึงทราบถึงหลักการพิเศษที่มีอยู่ว่า แม้เป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังปฏิบัติธรรมที่ทำความเป็นพระอรหันต์ ที่ตนเคยปฏิบัติอยู่เพื่อความเป็นพระอรหันต์ ก่อนการบรรลุความเป็นพระอรหันต์; การทำเช่นนั้นก็เพื่อเป็นตัวอย่าง หรือกำลังใจ แก่ผู้ที่ยังไม่บรรลุความเป็นพระอรหันต์บ้าง เพื่อความอยู่เป็นสุขของตนเองบ้าง. ส่วนในกรณีแห่งสูตรนี้ เพื่อมีชีวิตอยู่อย่างแยกตัวห่างจากสิ่งซึ่งเคยเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น หรือแห่งอภิชฌาและโทมนัส ดังนี้แล้ว นับประสาอะไรกับผู้ที่ยังไม่บรรลุความเป็นพระอรหันต์ จะไม่พึงขะมักเขม้นในการปฏิบัติเพื่อบรรลุความเป็นพระอรหันต์ด้วยเล่า. และพึงมองเห็นความน่าอัศจรรย์แห่งพระธรรมที่มีลักษณะอย่างนี้).--สติปัฏฐานสี่เหมาะสมทั้งแก่อเสขะ - เสขะ – และคฤหัสถ์--กันทรกะ ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นจริง. กันทรกะ ! ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นจริง. พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้มีแล้วในอดีตกาลนานไกล; พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ทรงยังภิกษุสงฆ์ให้ดำเนินไปชอบอย่างยิ่งเพียงเท่านั้น เหมือนภิกษุสงฆ์ที่เราให้ดำเนินไปชอบในบัดนี้. กันทรกะ ! พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จักมีอยู่ในอนาคตกาลนานไกล; พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงยังภิกษุสงฆ์ให้ดำเนินไปชอบอย่างยิ่งเพียงเท่านั้นเหมือนภิกษุสงฆ์ที่เราให้ดำเนินไปชอบในบัดนี้.--กันทรกะ ! ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ มี ภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำอันกระทำแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันตามถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. กันทรกะ ! อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ มี ภิกษุผู้เป็นเสขะ (กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์) มีศีลไม่ขาดสาย มีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญาเครื่อง--รักษาตน มีความประพฤติเป็นไปด้วยปัญญาเครื่องรักษาตน. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น๑ เป็นผู้มีจิตตั้งไว้เฉพาะด้วยดีในสติปัฏฐานทั้งสี่ อยู่. สี่อย่างไรเล่า ? สี่คือ ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย .... มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย .... มีปกติตามเห็นจิตในจิต .... มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่.--(เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ นายเปสสหัตถาโรหบุตร กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า :-)--“น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ! ไม่เคยมี พระเจ้าข้า ! คือข้อที่สติปัฏฐานสี่เหล่านี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะปริเทวะ เพื่อความดับแห่งทุกขโทมนัส เพื่อถึงทับซึ่งญายธรรม เพื่อการกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีพวกข้าพเจ้าทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว ก็มีจิตตั้งไว้ดีแล้วในสติปัฏฐานสี่เหล่านี้ ตลอดกาลอันควรอยู่; คือข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีปรกติตามเห็นกายในกาย .... มีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย .... มีปกติตามเห็นจิตในจิต .... มีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่. น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ! ไม่เคยมี พระเจ้าข้า ! คือข้อที่เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ไม่เปิดเผย เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์เดนกากเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์โอ้อวด เป็นไปอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงทราบสิ่งอันเป็นประโยชน์และไม่--๑. นี้หมายความว่า ภิกษุทั้งหมดทั้งที่เป็นพระอรหันต์และยังเป็นเสขะ ล้วนแต่เจริญสติปัฏฐานสี่ คำถามอาจจะมีว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว เจริญสติปัฏฐานไปทำไมกัน? คำตอบคือ เพื่อความอยู่เป็นผาสุขของท่าน เช่นนั้นเอง.--เป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย (ทุกจำพวก) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัตว์ลึกลับคือพวกมนุษย์ สัตว์เปิดเผย คือพวกปสุสัตว์ ....-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/2 - 3/2 -3.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๒ - ๓/๒ -๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 76
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site