สัทธรรมลำดับที่ : 898
ชื่อบทธรรม : -สติในการเผชิญโลกธรรมของอริยสาวก
เนื้อความทั้งหมด :-สติในการเผชิญโลกธรรมของอริยสาวก--ภิกษุ ท. ! ลาภเกิดขึ้นแก่บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เขาไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ จึงไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้. (ในกรณีแห่ง ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).--ลาภ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; ความเสื่อมลาภ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่;--ยศ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; ความเสื่อมยศ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่;--นินทา ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; สรรเสริญ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่;--สุข ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; ทุกข์ ก็ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่.--ปุถุชนนั้น ย่อมยินดีในลาภ ย่อมยินร้ายใน ความเสื่อมลาภ อันเกิด ขึ้นแล้ว;--ย่อมยินดีใน ยศ ย่อมยินร้ายใน ความเสื่อมยศ อันเกิดขึ้นแล้ว;--ย่อมยินดีใน สรรเสริญ ย่อมยินร้ายใน นินทา อันเกิดขึ้นแล้ว;--ย่อมยินดีใน สุข ย่อมยินร้ายใน ทุกข์ อันเกิดขึ้นแล้ว.--เขาถึงพร้อมด้วยความยินดียินร้าย อยู่ดังนี้ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย, เรากล่าวว่า “เขาไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ลาภเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้มีการสดับ เขาพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ จึงรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า “ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” ดังนี้. (ในกรณีแห่ง ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).--ลาภก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; ความเสื่อมลาภ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่;--ยศ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; ความเสื่อมยศ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่;--นินทา ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; สรรเสริญ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่;--สุข ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่; ทุกข์ ก็ไม่ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่.--อริยสาวกนั้น ย่อมไม่ยินดีในลาภ ย่อมไม่ยินร้ายใน ความเสื่อมลาภ อันเกิดขึ้นแล้ว;--ย่อมไม่ยินดีใน ยศ ย่อมไม่ยินร้ายใน ความเสื่อมยศ อันเกิดขึ้นแล้ว;--ย่อมไม่ยินดีใน สรรเสริญ ย่อมไม่ยินร้ายใน นินทา อันเกิดขึ้นแล้ว;--ย่อมไม่ยินดีใน สุข ย่อมไม่ยินร้ายใน ทุกข์ อันเกิดขึ้นแล้ว.--เขามีความยินดีและยินร้ายอันละได้แล้ว อยู่ดังนี้ ย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย, เรากล่าวว่า “เขาหลุดพ้นได้จากทุกข์” ดังนี้.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ แปดอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงในหมู่มนุษย์ ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.--ผู้มีปัญญา มีสติ รู้ความข้อนี้แล้ว ย่อมเพ่งอยู่ในความแปรปรวนเป็นธรรมดาของโลกธรรมนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก.อํ. 23/159/96.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก.อํ. ๒๓/๑๕๙/๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 75
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 899
ชื่อบทธรรม : -หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาสติ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาสติ--อานิสงส์ตามปกติ แห่งอานาปานสติ--ก. อานิสงส์อย่างสังเขปที่สุด ๒ ประการ--(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับ ดังที่ กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ ถึง ๑๑๘๔ บรรทัดที่แปด แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ดังนี้แล้ว ได้ตรัสอานิสงส์แห่งอานาปานสตินี้ว่า :-)--ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่าง นี้ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้; คือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรม เทียว หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.--- มหาวาร.สํ. ๑๙/๓๙๖ - ๓๙๗/๑๓๑๑ - ๑๓๑๓.--ข. อานิสงส์ตามปกติ ๗ ประการ--(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับ ดังที่ กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ - ๔ แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่ผลมาก” ดังนี้แล้ว ได้ตรัสอานิสงส์แห่งอานาปานสตินี้ว่า :-)--ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้. ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ? ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ :---๑. การบรรลุ อรหัตตผลทันที ในทิฏฐธรรมนี้.--๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุ อรหัตตผล ในกาลแห่งมรณะ.--๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี.--๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี.--๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี.--๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี.--๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมหวังไว้ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/397/1314 - 1316.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔ - ๑๓๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 75
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 900
ชื่อบทธรรม : -ค. ทำสติปัฏฐานสี่ - โพชฌงค์เจ็ด - วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์
เนื้อความทั้งหมด :-ค. ทำสติปัฏฐานสี่ - โพชฌงค์เจ็ด - วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเอกนั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๔ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์; ครั้นธรรมทั้ง ๗ นั้น อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำธรรมทั้ง ๒ ให้บริบูรณ์ได้.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติสมาธินี้แล เป็นธรรมอันเอกซึ่งเมื่อบุคคล เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์ ; สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ ; โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์--ได้. (เนื้อเรื่องต่อไปนี้ดูรายละเอียดที่หน้า ๑๑๙๘ ถึงหน้า ๑๒๐๘ แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์ เมื่ออานาปานสติบริบูรณ์” “สติปัฏฐานสี่บริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์”. “โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/424/1402 - 1403.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๒ - ๑๔๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 75
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 901
ชื่อบทธรรม : -ง. อานิสงส์ตามที่เคยปรากฏแก่พระองค์เอง
เนื้อความทั้งหมด :-ง. อานิสงส์ตามที่เคยปรากฏแก่พระองค์เอง--(เมื่อได้ตรัสการกระทำอานาปานสติตามลำดับ ดังที่ กล่าวไว้ที่หน้า ๑๑๘๑ - ๔ แห่งหนังสือนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ดังนี้แล้ว ได้ตรัสอานิสงส์แห่งอานาปานสตินี้ว่า : - )--ภิกษุ ท. ! แม้เราเอง เมื่อยังไม่ตรัสรู้ ก่อนการตรัสรู้ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นอันมาก. ภิกษุ ท. ! เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นอันมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “กายของ เราไม่พึงลำบาก ตาของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า การปฏิบัติอานาปานสติไม่ทำร่างกายให้ลำบากเหมือนกัมมัฎฐานอื่นบางอย่าง เช่นไม่มีความรบกวนทางตา ไม่ต้องใช้สายตาเหมือนการเพ่งกสิณ เป็นต้น; แล้วยังสามารถทำจิตให้หลุดพ้นได้ด้วย).--จ. ละความดำริอันอาศัยเรือน--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “ความระลึกและดำริอันอาศัยเรือนเหล่าใดของเรามีอยู่ ความระลึกและความดำริเหล่านั้น--พึงสิ้นไป” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติป้องกันการดำริที่น้อมไปในทางกาม มีแต่ที่จะให้น้อมไปในทางเนกขัมมะ).--ฉ. สามารถควบคุมความรู้สึกเกี่ยวกับความปฏิกูล--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็น ผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่เป็นปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า การเจริญอานาปานสติช่วยให้เราเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริงของสิ่งที่รู้สึกว่าเป็นของไม่ปฏิกูลนั้นแท้จริงก็เป็นปฏิกูล เช่น มองอาหารที่มีกลิ่นและสีน่ารับประทานว่า ในที่สุดก็บูดเน่าไปในที่สุดเป็นธรรมดา เป็นต้น).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึง เป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติ สมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่าการปฏิกูลนั้นที่ไม่ใช่ปฏิกูลเพราะกลิ่นและสีที่น่าเกลียด หากแต่ว่าเป็นปฏิกูลตรงที่เป็นมายา และทำให้เกิดทุกข์ ฉะนั้นสิ่งที่มีสีและกลิ่นอันน่าเกลียด ถ้ามิได้เป็นเหตุให้เกิดกิเลสหรือเกิดทุกข์แล้ว ก็หาใช่สิ่งที่ปฏิกูลไม่).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงเป็นผู้ มีสัญญาว่า ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า สติและญาณ ในอานาปานสติสามารถทำให้เห็นความน่าขยะแขยง เพราะทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน ว่ามีอยู่ทั้งในสิ่งที่ตามธรรมดาถือกันว่าปฏิกูลและไม่ปฏิกูลหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ได้ว่า ไม่ควรถือเป็นตัวเป็นตนหรือของตน ทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึง เป็นผู้มีสัญญาว่า ไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า สติและญาณในอานาปานสติขั้นสูง ที่สามารถทำให้เห็นสุญญตาย่อมสามารถทำให้วางเฉยได้ทั้งในสิ่งที่ปฏิกูล และสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่โดยเสมอกัน).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึง เป็นผู้เว้นขาดจากความรู้สึกว่าปฏิกูล และความรู้สึกว่าไม่เป็นปฏิกูลทั้ง ๒ อย่างเสียโดยเด็ดขาดแล้ว เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี้แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า ในขั้นที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และอยู่ด้วยอุเบกขาจริงๆนั้น ย่อมไม่มีความรู้สึกว่าปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้ง ๒ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผลของอานาปานสติขั้นสูง กล่าวคือจตุกกะที่ ๔ ที่ทำให้เห็นความว่างจากตัวตน หรือว่างจากความหมายอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ โดยประการทั้งปวงจริงๆแล้ว).--ช. เป็นเหตุให้ได้รูปฌานทั้งสี่--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึง เป็นผู้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้ว แลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินั่นแหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดปฐมฌานได้สมตามความปรารถนา).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะวิตกวิจารระงับไป เราพึงเข้าถึง ทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายในเพราะธรรมอันเอก คือสมาธิผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสตินั่นแหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดทุติยฌานได้ ตามความปรารถนา).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ ปรารถว่า “เพราะความ จางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข, เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดตติยฌานได้ ตามความปรารถนา).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เราพึงเข้าถึง จตุถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความบริสุทธิ์แห่งสติเพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติ สามารถอำนวยให้เกิดจตุตถฌานได้ตาม ความปรารถนา).--ญ. เป็นเหตุให้ได้อรูปสมาบัติทั้งสี่--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาเสียโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะการไม่กระทำในใจ ซึ่งนานัตตสัญญามีประการต่างๆ เราพึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า อานาปานสติสมาธิ สามารถอำนวยให้เกิดอากาสานัญจายตนะได้ โดยเมื่อทำรูปฌานให้เกิดขึ้นแล้ว กำหนดนิมิตคือลมหายใจ โดยประจักษ์แล้ว ทำการเพิกถอนลมหายใจออกไปเสียจากนิมิตเหลือความว่างอยู่แทน และความว่างนั้น ตั้งอยู่ในฐานะเป็นอารมณ์อรูปฌาณขั้นที่หนึ่งในที่นี้ แม้ทำอย่างนี้ ก็กล่าวได้ว่าอากาสานัญจายตนะนั้น สืบเนื่องมาจากอานาปานสตินี้โดยตรง. ถ้าจำเป็นจะต้องสงเคราะห์อรูปฌาณเข้าในอานาปานสติอันมีวัตถุ ๑๖ แล้ว พึงสงเคราะห์เข้าในอานาปานสติขั้นที่ ๔ คือการทำกายสังขารให้รำงับ. เท่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (ในหนังสืออานาปานสติชุดธรรมโฆษณ์ของพุทธทาส) ไม่มีการกล่าวถึงอรูปสมาบัติ ก็เพราะไม่เป็นที่มุ่งหมายโดยตรงของการทำอานาปานสติที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะโดยเฉพาะ).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าว ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้ แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า ต้องมีการทำอากาสานัญจายตนะ ดังที่กล่าวแล้ว ในข้อบนให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคงเสียก่อน แล้วจึงเพิกถอนการกำหนดอากาศมากำหนดวิญญาณแทน หมายถึง วิญญาณธาตุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งจัดเป็นนามธาตุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งจัดเป็นนามธาตุหรือนามธรรม; เนื่องจากทำสืบต่อมาจากอานาปานสติ จึงกล่าวว่าสำเร็จมาจากอานาปานสติ จึงกล่าวว่าสำเร็จมาจากอานาปานสติ.)--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าว ล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่าไม่มีอะไร แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่ แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า เมื่อทำวิญญาณัญจายตนะให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคงแล้ว เพิกถอนการกำหนดอารมณ์ว่าวิญญาณไม่มีที่สุดเสีย มากำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์. เนื่องจากมีอานาปานสติเป็นมูล จึงกล่าวว่าสำเร็จมาจากอานาปานสติ).--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าว ล่วงอากิญจัญญายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า ได้มีการทำอากิญจัญญายตนะให้เกิดขึ้นแล้วอย่างมั่นคง แล้วเพิกถอนการกำหนดความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์นั้นเสีย หน่วงเอาความรำงับที่ประณีตยิ่งขึ้นไปคือความไม่ทำความรู้สึกอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่สลบหรือตาย จึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะซึ่งหมายความว่า จะว่ามีสัญญาอยู่ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีสัญญาเลยก็ไม่ใช่. เพราะมีอานาปานสติเป็นมูลในขั้นต้นด้วยกันทั้ง ๔ ขั้น จึงเรียกว่าสำเร็จมาแต่อานาปานสติ อีกอย่างหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าในขณะแห่งรูปฌานแม้ไม่มีการหายใจอยู่โดยตรง ก็ต้องถือว่า มีการหายใจอยู่โดยอ้อมคือ ไม่รู้สึก--ฉะนั้นเป็นอันกล่าวสืบไปว่า เพราะมีความชำนาญ หรือความเคยชินในการกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ทุกลมหายใจเข้า - ออกมาแล้วแต่ในขั้นก่อน ในขั้นนี้ ย่อมมีการกำหนดอารมณ์แห่งอรูปสมาบัติและความสงบอันเกิดจากอรูปสมาบัติ ตลอดถึงการพิจารณาหรือปัจจเวกขณ์ในอาการทั้งหลายแห่งอรูปสมาบัติ อยู่ทุกลมหายใจเข้า - ออก ทั้งโดยมีความรู้สึกตัวและไม่มีความรู้สึกตัว คือทั้งโดยตรงและโดยอ้อมอีกนั่นเอง).--ฎ. เป็นเหตุให้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราพึงก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้; อานาปานสติสมาธินั่นแหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.--(ข้อนี้หมายความว่า มีการทำเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง แล้วละความรู้สึกที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นเสีย น้อมจิตไปสู่ความรำงับ ที่ยิ่งไปกว่านั้นอีกคือการดับสัญญาและเวทนาเสีย ด้วยการทำไม่ให้เจตสิกชื่อสัญญาและเจตสิกชื่อเวทนาได้ทำหน้าที่ของตนตามปรกติแต่ประการใดเลย. ความรู้สึกที่เป็นสัญญาและเวทนาตามปรกติธรรมดาจึงไม่ปรากฏ. เรียกว่าเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ คือความดับไปแห่งสัญญาและเวทนา ตลอดเวลาเหล่านั้น ซึ่งเรียกกันสั้นๆว่าเข้าสู่นิโรธสมาบัติ หรือเรียกสั้นจนถึงกับว่าเข้านิโรธเฉยๆ. การกระทำอันนี้ตั้งต้นขึ้นด้วยอา นาปานสติสมาธิ ดังนั้นจึงกล่าวว่าสำเร็จมาจากอานาปานสติ.)--ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงว่า อานาปานสติภาวนานั้น นอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับปฏิบัติเพื่อทำอาสวะให้สิ้นโดยตรงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อการปฏิบัติที่ดำเนินไปในทางฝ่ายจิต หรือฝ่ายสมถะโดยส่วนเดียว จนกระทั่งถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ ได้ด้วยอาการอย่างนี้ และพร้อมกันนั้นซึ่งไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าเป็นไปในทางไหน แต่เป็นประโยชน์ทั่วไปสำหรับการปฏิบัติทุกแนวก็คือ การอยู่ด้วยอานาปานสตินั้นไม่ลำบากกาย และไม่ลำบากตา--ซึ่งนับว่าเป็นการพักผ่อนอยู่ในตัวเองป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว นับว่าเป็นอานิสงส์พิเศษส่วนหนึ่งของอานาปานสติ.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๐ - ๔๐๔/๑๓๒๗ - ๑๓๔๕.--ฏ. สามารถกำจัดบาปปอกุศลทุกทิศทาง--อานนท์ ! เปรียบเหมือนกองฝุ่นใหญ่มีอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทิศตะวันออก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น, ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศตะวันตก ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศเหนือ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น ถ้าเกวียนหรือรถมาจากทางทิศใต้ ก็บดขยี้กองฝุ่นนั้น นี้ฉันใด; อานนท์ ! เมื่อบุคคลมีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ ย่อม กำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยแท้, เมื่อบุคคลมีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ ย่อม กำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยแท้, เมื่อบุคคลมีปกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ ย่อม กำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยแท้, เมื่อบุคคลมีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ ย่อมกำจัดบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยแท้, ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/411/1362.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๔๑๑/๑๓๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 75
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 902
ชื่อบทธรรม : -อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ
เนื้อความทั้งหมด :-อานิสงส์พิเศษ แห่งอานาปานสติ--ก. กายไม่โยกโคลง--(ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหากัปปินะ ผู้มีกายไม่โยกโคลงแล้วได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า :-)--ภิกษุ ท. ! พวกเธอเห็นความหวั่นไหว หรือความโยกโคลงแห่งกายของมหากัปปินะบ้างหรือไม่?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เวลาใดที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เห็นท่านผู้มีอายุนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก็ดี นั่งในที่ลับคนเดียวก็ดี ในเวลานั้นๆ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ได้เห็นความหวั่นไหว หรือความโยกโคลงแห่งกายของท่านผู้มีอายุรูปนั้นเลย พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหว โยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิใด; ภิกษุมหากัปปินะนั้น เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสมาธินั้น.--ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหว โยกโคลงแห่งจิตก็ตาม มีขึ้นไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิเหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม จึงไม่มี ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตามไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น; ภิกษุนั้น มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก : เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าหายใจเข้ายาว, ....ฯลฯ .... (ตรัสอานาปานสติ อันมีวัตถุ ๑๖ ดังที่ปรากฏที่หน้า ๑๑๘๑ แห่งหนังสือเล่มนี้ หัวข้อว่า “แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก” ตั้งแต่หน้า ๑๑๘๒ ถึงหน้า ๑๑๘๔) .... เห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออกดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.--- มหาวาร.สํ. ๑๙/๓๙๙ - ๔๐๐/๑๓๒๒ - ๑๓๒๖.--ข. รู้ต่อเวทนาทุกประการ--ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ;--ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นสุข เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.--ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์ เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้นไม่ เที่ยงเธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.--ถ้าภิกษุนั้นเสวย เวทนาอันเป็นอทุกขมสุข เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่สยบมัวเมาแล้ว ย่อมรู้ตัวว่าเวทนานั้น อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.--ภิกษุนั้น ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวย เวทนานั้น; ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นทุกข์ ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนา--นั้น; ถ้าเสวย เวทนาอันเป็นอทุกขมสุข ก็เป็นผู้ไม่ติดใจพัวพันเสวยเวทนานั้น.--ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกาย เธอย่อมรู้ตัวว่าเรา เสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกาย ดังนี้. เมื่อเสวย เวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่าเราเสวยเวทนา อันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต ดังนี้;จนกระทั่งการทำลายแห่งกาย ในที่สุดแห่งการถือเอารอบซึ่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่า เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของดับเย็นในที่นี้นั่นเทียว ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ประทีปน้ำมันลุกอยู่ได้เพราะอาศัยน้ำมันด้วย เพราะอาศัยไส้ด้วย เมื่อหมดน้ำมันหมดไส้ ก็เป็นประทีปที่หมดเชื้อดับไป, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้น กล่าวคือเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกายย่อมรู้ตัวว่าเราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งกาย; เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต ย่อมรู้ตัวว่าเราเสวยเวทนา อันเป็นที่สุดรอบแห่งชีวิต; จนกระทั่งการทำลายแห่งกาย ในที่สุดแห่งการถือเอารอบซึ่งชีวิต เธอย่อมรู้ตัวว่าเวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว จักเป็นของดับเย็นในที่นี้นั่นเทียว ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/404/1346 - 1347.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๔๐๔/๑๓๔๖ - ๑๓๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 75
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site