สัทธรรมลำดับที่ : 891
ชื่อบทธรรม : -กายคตาสติ เป็นอุปกรณ์แก่อินทรยสังวร
เนื้อความทั้งหมด :-(ที่ว่า มีข้อที่ควรระวังในการเจริญสติปัฏฐานสี่ ก็คือ อย่าเอาอารมณ์แห่งสติปัฏฐานสี่ เช่นกายเป็นต้น มาทำให้เป็นอารมณ์ของวิตกอันเป็นองค์ฌานที่หนึ่งแห่งองค์ฌานทั้งห้า เพราะว่าจะต้องละสิ่งที่เรียกว่าวิตก จึงจะเลื่อนจากปฐมฌานเป็นทุติยฌาน หรือฌานที่สูงขึ้นไป อันไม่มีวิตก ได้; ถ้าเอากายเป็นต้นมาเป็นอารมณ์แห่งวิตก มันก็จะเลื่อนลำดับแห่งฌานไม่ได้; เพราะกายเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่ตลอดไป จึงควรพิจารณากายในฐานะเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาอย่าเอามาเป็นอารมณ์แห่งวิตก การเจริญภาวนาจึงจะเป็นไปได้ตามที่ตรัสไว้ในพระบาลีนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐานสี่โดยตรง).--กายคตาสติ เป็นอุปกรณ์แก่อินทรยสังวร--ก. โทษของการไม่มีกายคตาสติ--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง; คือเขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก, จับลิง, มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ แล้วผูกรวมเข้าด้วยกันเป็นปมเดียวในท่ามกลาง ปล่อยแล้ว. ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นทั้งหกชนิด มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ : งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า. ครั้นเหนื่อยล้ากันทั้งหกสัตว์แล้ว สัตว์ใดมีกำลังกว่า สัตว์นอกนั้นก็ต้องถูกลากติดตามไปตามอำนาจของสัตว์นั้น. ข้อนี้ฉันใด;--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใดไม่อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ, รูปที่ไม่น่าพอใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; หู ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง, เสียงที่ไม่น่าฟังก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; จมูก ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม, กลิ่นที่ไม่น่าสูดดมก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; ลิ้น ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ, รสที่ไม่ชอบใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; กาย ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ, สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; และ ใจ ก็จะฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ, ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจก็กลายเป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.--ข. คุณของกายคตาสติ--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวมกันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่ง, จับจรเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก และจับลิง, มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ ครั้นแล้ว นำไปผูกไว้กับเสาเขื่อนหรือเสาหลักอีกต่อหนึ่ง ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีที่อาศัยและที่เที่ยวต่างๆกัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปสู่ที่อาศัยที่เที่ยวของตนๆ : งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ, นกจะบินขึ้นไปในอากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า, ลิงก็จะไปป่า. ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ความเป็นไปภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว; ในกาลนั้น มันทั้งหลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อนหรือเสาหลักนั้นเอง. ข้อนี้ฉันใด;--ภิกษุ ท. ! ภิกษุรูปใดได้อบรมทำให้มากในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ, รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง, เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; จมูก ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหากลิ่นที่น่าสูดดม, กลิ่นที่ไม่น่าสูดดม ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่ชอบใจ, รสที่ไม่ชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; กาย ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาสัมผัสที่ยั่วยวนใจ, สัมผัสที่ไม่ยั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; และ ใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ถูกใจ, ธรรมารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.--ภิกษุ ท. ! คำว่า “เสาเขื่อน หรือเสาหลัก” นี้เป็นคำเรียกแทนชื่อแห่ง กายคตาสติ.--ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจ ไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นยานเครื่องนำไป กระทำให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียงตั้งไว้เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภสม่ำเสมอด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ.18/246,248/348,350.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ.๑๘/๒๔๖,๒๔๘/๓๔๘,๓๕๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 892
ชื่อบทธรรม : -หลักสำคัญสำหรับผู้หลีกออกเจริญสติปัฏฐานอยู่ผู้เดียว
เนื้อความทั้งหมด :-หลักสำคัญสำหรับผู้หลีกออกเจริญสติปัฏฐานอยู่ผู้เดียว--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมนั้นโดยย่อ อันเป็นธรรมที่เมื่อข้าพระองค์ฟังแล้ว จะเป็นผู้ผู้เดียวออกไปสู่ที่สงัดเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมเบื้องบน แล้วแลอยู่เถิดพระเจ้าข้า !”--ก็เรื่องอย่างเดียวกันนี่แหละ โมฆบุรุษบางพวกขอร้องให้เรากล่าวธรรมอย่างที่เธอถาม ครั้นเรากล่าวธรรมนั้นแล้วเขาก็ยังสำคัญแต่ในอันที่จะติดตามเราเท่านั้น (ไม่สนใจที่จะหลีกออกอยู่ปฏิบัติผู้เดียว).--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ในลักษณะที่ข้าพระองค์--จะเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะเป็นทายาท(ผู้รับมรดกธรรม) แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น”.--ภิกษุ ท. ! ถ้าอย่างนั้น ในกรณีนี้ เธอจงชำระธรรมอันเป็นเบื้องต้นอย่างยิ่งในบรรดากุศลธรรมทั้งหลาย. ก็อะไรเล่าเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย? ธรรมอันเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายคือ ศีลอันบริสุทธิ์หมดจด ๑, ทิฏฐิอันเป็นไปตรง ๑. ภิกษุ ท. ! เมื่อศีลของเธอบริสุทธิ์หมดจด ทิฏฐิของเธอไปตรงแล้ว, เธอจงอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีล แล้วจง เจริญสติปัฏฐานทั้งสี่ โดย วิธีทั้งสาม เถิด. เจริญสติปัฏฐานทั้งสี่โดยวิธีทั้งสาม นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เธอจงเป็นผู้ มีปกติตามเห็นกายในกาย อันเป็นภายใน อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่เถิด; และจงเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย อันเป็นภายนอก อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่เถิด; และจงเป็นผู้มีปกติตามเห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอก อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่เถิด.--(ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! เมื่อเธออาศัยศีลตั้งอยู่ในศีล แล้วเจริญสติปัฏฐานทั้งสี่โดยวิธีทั้งสาม อย่างนี้แล้ว ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น เป็นสิ่งที่เธอหวังได้ ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง หาความเสื่อมมิได้เลย.--ภิกษุนั้น ยินดีรับพระพุทธภาษิต ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว เป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกไปสู่ที่สงัด ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในธรรมเบื้องสูงอยู่ ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งได้ ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ในทิฏฐธรรมนี้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้วแลอยู่ อันเป็นประโยชน์ที่พึงประสงค์ของกุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือน ดังนี้แล.--- มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๙๒ - ๑๙๓/๖๘๖ - ๖๙๐.--ตรัสให้มีสติคู่กันไปกับสัมปชัญญะ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้ มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสาสนีของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้สติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร,การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป--การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติอยู่ อย่างมีสัมปชัญญะ : นี้เป็นอนุสาสนีของเราแก่พวกเธอทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที. 10/112/90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที. ๑๐/๑๑๒/๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 893
ชื่อบทธรรม : -การฝึกเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ
เนื้อความทั้งหมด :-การฝึกเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะ--ภิกษุ ท. ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อสติสัมปชัญญะ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ; สัญญาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ; วิตกเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สมาธิภาวนาอันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. 21/58/41.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. ๒๑/๕๘/๔๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 894
ชื่อบทธรรม : -การฝึกเพื่อมีสติสัมปชัญญะโดยอ้อมและโดยตรง
เนื้อความทั้งหมด :-การฝึกเพื่อมีสติสัมปชัญญะโดยอ้อมและโดยตรง--อานนท์ ! ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ มีเท่าไร ? “มีห้าอย่าง พระเจ้าข้า !” ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน .... เข้าถึง ทุติยฌาน .... เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ กระทำไว้ในใจซึ่ง อาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนฉันนั้น, กลางคืนฉันใด กลางวันฉันนั้น, เธอมีจิตอันเปิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ไม่มีอะไรห่อหุ้ม ยังจิตที่มีแสงสว่างทั่วพร้อมให้เจริญอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อการได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ จากพื้นเท้าขึ้นไปสู่เบื้องบน จากปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า : ในกายนี้มี ผม ท. ขน ท. เล็บ ท. ฟัน ท. หนัง เนื้อ เอ็น ท. กระดูก ท. เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อการละซึ่งกามราคะ.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ พึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้ง ไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ ตายแล้ววันหนึ่ง บ้าง ตายแล้ว สองวัน บ้าง ตายแล้ว--สามวัน บ้าง กำลังขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีหนองไหลน่าเกลียด ฉันใด, เธอนั้น พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ฉันนั้น ว่า แม้กายนี้ ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้; หรือว่าภิกษุ พึงเห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ อันฝูงกาบ้าง จิกกินอยู่ อันฝูงนกตะกรุมบ้าง จิกกินอยู่ อันฝูงแร้งบ้าง เจาะกินอยู่ อันฝูงสุนัขบ้าง กัดกินอยู่ อันฝูงสุนัขจิ้งจอกบ้าง กัดกินอยู่ อันหมู่หนอนต่างชนิดบ้าง บ่อนกินอยู่ ฉันใด, เธอนั้น ก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้น ว่า แม้กายนี้ ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้; หรือว่า ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด, เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังมีน้ำเลือดเปื้อนอยู่ ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด, เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นรึงรัด, เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ไม่มีเอ็นรึงรัด กระจัดกระจายไปในทิศต่างๆ กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกสันหลังไปทาง กระโหลกศีรษะไปทาง, ฉันใด, เธอนั้นก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้; หรือว่า ภิกษุ พึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูกทั้งหลาย มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์, เป็น ชิ้นกระดูกทั้งหลาย เป็นกองๆเรี่ยรายนานเกินกว่าปีหนึ่ง เป็น กระดูกทั้งหลาย เปื่อยเป็นผงละเอียด, ฉันใด, เธอนั้นก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า แม้กายนี้ ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อถอนขึ้นซึ่งอัส๎มิมานะ.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้และ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อการแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เหล่านี้แล ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๕ อย่าง.--ดีละ ดีละ อานนท์ ! อานนท์ ! ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำ ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติที่หก นี้ไว้ คือ ภิกษุในกรณีนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสติสำเร็จการนอนอยู่ มีสติอธิษฐานการงาน. อานนท์ ! นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/360 - 362/300.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๐ - ๓๖๒/๓๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 895
ชื่อบทธรรม : -โอวาทแห่งการทำสติ เมื่อถูกติหรือถูกชม
เนื้อความทั้งหมด :-(ฐานะแห่งอนุสสติ ๕ ข้อ ข้างต้น เป็นสติสัมปชัญญะโดยอ้อม แม้จะเป็นสาวกภาษิต แต่ก็เป็นคำกล่าวแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จนพระองค์ทรงรับรอง ถือว่ามีน้ำหนักเท่ากับพระพุทธภาษิต จึงนำมาใส่ไว้ในที่นี้ ส่วนสติสัมปชัญญะโดยตรงนั้น ได้แก่ อนุสสติ ฐานะที่หก มีความหมายชัดแจ้งอยู่ในพุทธภาษิตนั้นแล้ว).--โอวาทแห่งการทำสติ เมื่อถูกติหรือถูกชม--ก. ฝ่ายถูกติ--ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียน สงฆ์, ในกรณีเช่นนี้ เธอทั้งหลายไม่พึงทำความอาฆาต เกลียดชัง เจ็บใจ ในชนเหล่านั้น.--ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียน สงฆ์, ในกรณีเช่นนั้น ถ้าเธอทั้งหลายจักโกรธ ไม่พอใจ ในชนเหล่านั้นแล้ว ไซร้ อันตรายจะมีแก่เธอเพราะเหตุนั้น.--ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียน สงฆ์, ในกรณีเช่นนั้น ถ้าเธอทั้งหลายจักโกรธ ไม่พอใจ ในชนเหล่านั้นแล้วไซร้ เธอจะรู้ได้ไหมว่า คำกล่าวของเขานั้นเป็นสุภาษิตหรือทุพภาษิต ? “ไม่มีทาง ที่จะรู้ได้เลย พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ท. ! จะพึงมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียน สงฆ์, ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงแถลงให้เห็นเรื่องไม่จริง โดยความเป็นเรื่องไม่จริง ว่า “นี้ไม่จริงเพราะเหตุนี้ๆ นี่ไม่ใช่อย่างนั้นเพราะเหตุนี้ๆ สิ่งอย่างนี้ไม่มีใน พวกเรา สิ่งชนิดนั้นหาไม่ได้ในพวกเรา” ดังนี้.--ข. ฝ่ายถูกชม--ภิกษุ ท. ! หรือว่า จะมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวสรรเสริญเรา สรรเสริญ ธรรม สรรเสริญสงฆ์, ในกรณีเช่นนั้น เธอทั้งหลายไม่พึงกระทำความเพลิดเพลิน ยินดี ไม่พึงกระทำความตื่นเต้นแห่งใจ ในคำกล่าวสรรเสริญนั้น.--ภิกษุ ท. ! จะมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวสรรเสริญเรา สรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์, ในกรณีเช่นนั้น ถ้าเธอทั้งหลายจักทำความเพลิดเพลิน ยินดีมีความตื่นเต้นแห่งใจ แล้วไซร้ อันตรายจะมีแก่เธอเพราะเหตุนั้น.--ภิกษุ ท. ! จะมีฝ่ายตรงข้ามกล่าวสรรเสริญเรา สรรเสริญธรรม สรรเสริญสงฆ์, ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงกระทำให้เขาทราบเรื่องจริงโดยความเป็นเรื่องจริง ว่า “นี่จริงเพราะเหตุนี้ๆ นี่เป็นอย่างนั้นเพราะเหตุนี้ๆ สิ่งอย่างนี้มีอยู่ ในพวกเรา สิ่งชนิดนั้นหาได้ในพวกเรา” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/3/1.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๓/๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 896
ชื่อบทธรรม : -ความมีสติเมื่อถูกประทุษร้าย
เนื้อความทั้งหมด :-ความมีสติเมื่อถูกประทุษร้าย--ผัดคุนะ ! ถ้ามีใครกล่าวติเตียนเธอต่อหน้า; ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงละฉันทะและวิตกชนิดที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย. ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่วิปริต เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และเราจักยังคงเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีเมตตาจิตไม่มีโทษอยู่ในภายใน” ดังนี้. ผัดคุนะ ! เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้.--ผัดคุนะ ! ถ้ามีใครประหารเธอด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศาตรา; ผัดคุนะ ! ในกรณีแม้เช่นนั้น เธอพึงละฉันทะและวิตกชนิดที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเสีย. ผัดคุนะ ! ในกรณีเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกอย่างนี้ว่า “จิตของเราจักไม่วิปริต เราจักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ และเราจักยังคงเป็นผู้มีความเอ็นดูเกื้อกูล มีเมตตาจิต ไม่มีโทษอยู่ในภายใน” ดังนี้. ผัดคุนะ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/250/264.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๕๐/๒๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 897
ชื่อบทธรรม : -ทรงขอให้มีสติเร็วเหมือนม้าอาชาไนย
เนื้อความทั้งหมด :-(ฉันทะและวิตกที่เป็นวิสัยแห่งชาวบ้านเมื่อถูกประทุษร้ายนั้น คือพอใจที่จะแก้แค้นคิดที่จะแก้แค้น; ส่วนที่เป็นวิสัยแห่งบรรพชิตนั้น กลับทำอย่างที่ตรัสไว้ในพระบาลีนี้ ซึ่งจัดว่าเป็นความมีสติด้วยเหมือนกัน).--ทรงขอให้มีสติเร็วเหมือนม้าอาชาไนย--ภิกษุ ท. ! อนุสาสนี เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องกระทำในภิกษุเหล่านั้น อีกแล้ว เพราะว่า กิจที่ต้องกระทำด้วยการเกิดขึ้นแห่งสติ ได้มีอยู่แล้วในภิกษุเหล่านั้น.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน รถเทียมด้วยม้าอาชาไนยที่ฝึกดีแล้ว ผูกเครื่องผูกครบถ้วนแล้ว เป็นรถที่จอดอยู่ที่หนทางสี่แพร่ง มีภูมิภาคอันดี สารถีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกม้า เป็นชั้นอาจารย์ ขยันขันแข็ง ขึ้นสู่รถนั้นแล้ว จับเชือก ด้วยมือซ้าย จับปฏักด้วยมือขวา เพียงแต่ยกปฏักขึ้นเป็นสัญญาณ ก็สามารถให้ม้าพารถไปข้างหน้า หรือให้ถอยกลับไปข้างหลัง ได้ตามที่ตนปรารถนา, นี้ฉันใด, ภิกษุ ท. ! อนุสาสนีเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องกระทำในภิกษุเหล่านั้นอีกแล้ว เพราะว่ากิจที่ต้องกระทำด้วยการเกิดขึ้นแห่งสติ ได้มีอยู่แล้วในภิกษุเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ เธอทั้งหลายพึงละอกุศลเสีย พึงกระทำความเพียรอย่างทั่วถึงในกุศลธรรมทั้งหลายเถิด : ด้วยการกระทำอย่างนี้ เธอทั้งหลายจักถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/251/265.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๕๑/๒๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1075
ชื่อบทธรรม : -หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาสติ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาสติ--การทำสติในรูปแห่งกายานุปัสสนา--๑. ตามนัยแห่งอานาปานสติสูตร--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ (๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้, หรือว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้ก็ดี; (๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเรา--หายใจเข้าสั้น ดังนี้, หรือว่า เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้ก็ดี; (๓) ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้; (๔) ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้; ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย๑ อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--๒. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ นั้นเป็น อย่างไรเล่า ?--ก. หมวดลมหายใจเข้า - ออก (คือกาย)--๑. เห็นกายในกาย หมายถึงความจริงของกาย ที่กายนั่นเอง, และเห็นทุกๆส่วนของกายที่เป็นกายส่วนย่อยในกายส่วนรวมคือทั้งหมด. ลมหายใจ ก็คือกายอย่างหนึ่ง และปรุงแต่งร่างกายทั้งหมด ดังนี้เป็นต้น, จนกระทั่งความสุข ทางนามกาย ในขณะแห่งฌานเป็นต้น; เห็นโดยความเป็นของปรุงแต่งอยู่ ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม, ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอผู้มีสตินั่นเทียว หายใจเข้า มีสติหายใจออก (๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัด ว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; หรือว่า(๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัด ว่าเราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น, (๓) เธอย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก, (๔) เธอย่อมฝึกหัดศึกษาว่า เรา ทำกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าออก) ให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า, เราทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก, เช่นเดียวกับนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว, เมื่อชักเชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.--ด้วยอาการอย่าง (กล่าวมา) นี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายใน (คือของตน) อยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง, ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, ก็แหละ สติ (คือความระลึก) ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้๑ เพียงเพื่ออาศัยระลึก, ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้--๑. เพียงเพื่อความรู้ คือระลึกยึดเอากายขึ้นเป็นอารมณ์สำหรับพิจารณาหาความรู้, ไม่ได้เข้าใจหรือยึดมั่นว่า กายเป็นธรรมชาติที่มีตัวตนอันจะเข้ายึดถือเป็นของตนได้. แม้ในเวทนา จิต ธรรม ก็เหมือนกัน.--และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.--ข. หมวดอิริยาบถ (คือกาย)--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ (๑) เมื่อเดินอยู่ ย่อมรู้ชัด ว่า “เรา เดินอยู่”,๑ (๒) เมื่อยืน ย่อมรู้ชัด ว่า “เรายืนอยู่”, (๓) เมื่อนั่ง ย่อมรู้ชัด ว่า “เรานั่งอยู่”, (๔) เมื่อนอน ย่อมรู้ชัด ว่า “เรานอนอยู่”; เธอ ตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่าง ใดๆ ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้น ด้วยอาการอย่างนั้นๆ.--ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอัน เป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .... ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า – ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--ค. หมวดสัมปชัญญะ (ในกาย)--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : (๑) ภิกษุย่อมเป็นผู้ มีปกติ๒ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการก้าวไปข้างหน้า ในการถอยกลับข้างหลัง. (๒) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการแลดู ในการเหลียวดู. (๓) เป็น--๑. รู้ว่าเดินด้วยอนัตตานุปัสสนาญาณโดยปรมัตถ์ คือประชุมแห่งนามรูปเคลื่อนไหวไปอยู่ หาใช่สัตว์เดิน บุคคลเดิน เหมือนเสียงที่กล่าวกันไม่, นั่ง นอน ยืน ก็อย่างเดียวกัน.--๒. คำว่ามีปกติ คือมีการทำอย่างนั้นๆ เป็นประจำไม่มีขาดระยะ ได้แก่ทำเสมอ, คำนี้ ท่านหมายความหนักยิ่งกว่าคำว่าทำจนเคยชิน ทำชินแล้วอาจไม่ทำก็ได้ ส่วนคำนี้เป็นการทำเรื่อย อย่างที่เรียกว่าติดสันดานจนถึงดับลมหายใจ.--ผู้มีปกติความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการคู้ ในการเหยียด(อวัยวะ). (๔) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัว--ทั่วพร้อม ในการทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร๑. (๕) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัว--ทั่วพร้อม ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม๒. (๖) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัว--ทั่วพร้อม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. (๗) เป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม--ในการไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.--ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกาย อันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--ง. หมวดมนสิการในสิ่งปฏิกูล (คือกาย)--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ พิจารณาเห็นกายนี้แล จากพื้น เท้าขึ้นไปสู่เบื้องบน จากปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า : ในกายนี้มีผม ท. ขน ท. เล็บ ท. ฟัน ท. หนัง เนื้อ เอ็น ท. กระดูก ท. เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต--๑. ถ้าผู้ศึกษาเป็นคฤหัสถ์ เปลี่ยนเป็นการนุ่งห่มผ้านุ่งห่ม และใช้สอยภาชนะอันใดก็ได้ ในข้ออื่น ก็พึงรู้ความหมายอย่างเดียวกัน.--๒. กินคือกินอาหารมื้อประจำวัน เคี้ยวคือกินของกินเล่นจุบจิบ ดื่มกับลิ้มก็นัยเดียวกัน.--เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำหล่อข้อ น้ำมูตร๑ ดังนี้; เช่นเดียวกับไถ้๒ มีปากสองข้าง เต็มไปด้วยธัญญชาติมีอย่างต่างๆคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา ข้าวสาร. บุรุษผู้มีตาดี(ไม่บอด) แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พิจารณาเห็นได้ว่า พวกนี้ข้าวสาลี พวกนี้ข้าวเปลือก พวกนี้ถั่วเขียว พวกนี้ถั่วราชมาส พวกนี้งา พวกนี้ข้าวสาร, ฉันใดก็ฉันนั้น.--ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาหารอย่างนี้”).--จ. หมวดมนสิการในธาตุ (ซึ่งเป็นกาย)--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นกายอันตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ตามปกตินี้แล โดยความเป็นธาตุ ว่า “ในกายนี้ มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ” ดังนี้; เช่นเดียวกับคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญ ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ ที่หนทางสี่แยก, ฉันใดก็ฉันนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ....--๑. จำนวนที่เราถือกันว่า ๓๒ อย่างนั้น เป็นการนับทำนองอรรถกถา หรือปกรณ์รุ่นหลัง โดยท่านแยกให้มีเนื้อเยื่อสมองกระดูก(มันสมอง) ต่อท้ายเข้าอีกอันหนึ่ง จึงเป็น ๓๒. ส่วนในบาลีนับเยื่อในสมองนี้รวมในเยื่อในกระดูกเสียจึงมีเพียง๓๑.--๒. ถุงชนิดมีปากรูดได้สองข้าง ไม่นิยมว่าข้างไหนเป็นก้นเป็นปาก.--(คำที่ละไว้ ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า-ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”) .--ฉ. หมวดนวสีวถิกา (คือกาย)--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : (๑) ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง ตายแล้วสองวันบ้าง ตายแล้วสามวันบ้าง กำลังขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีหนองไหลน่าเกลียด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แลที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า-อก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--(๒) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่ทิ้งศพ อันฝูงกาบ้าง เจาะกินอยู่, อันฝูงนกตะกรุมบ้าง จิกกินอยู่, อันฝูงแร้งบ้าง เจาะกินอยู่, อันฝูงสุนัขบ้าง กัดกินอยู่, อันฝูงสุนัขจิ้งจอกบ้าง กัดกินอยู่, อันหมู่หนอนต่างชนิดบ้าง บ่อนกินอยู่ ฉันใด, เธอก็พึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แลที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--(๓) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--(๔) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อ แต่ยังมีน้ำเลือดเปื้อนอยู่ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--(๕) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้”--ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--(๖) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นร่างกระดูกไม่มีเอ็นรึงรัด กระจัดกระจายไปทิศต่างๆ กระดูกมือไปทาง กระดูกเท้าไปทาง กระดูกแข้งไปทาง กระดูกขาไปทาง กระดูกสะเอวไปทาง กระดูกหลังไปทาง ๑ กระดูกข้อสันหลังไปทาง ๑ กระดูกซี่โครงไปทาง กระดูกหน้าอกไปทาง กระดูกไหล่ไปทาง กระดูกแขน ไปทาง๒ กระดูกคอไปทาง กระดูกคางไปทาง กระดูกฟันไปทาง กระโหลกศีรษะไปทาง ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “ห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--๑. นี้เป็นการแยกคงไว้ตามฉบับพระไตรปิฎก, ส่วนสวดมนต์ฉบับหลวง และฉบับหลักสูตรนักธรรมเอก รวมเป็นศัพท์เดียวกัน แปลว่ากระดูกสันหลังเลย.--๒. ฉบับสวดมนต์ยกเอากระดูกแขนไปไว้หน้ากระดูกไหล่.--(๗) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูกทั้งหลาย มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่าง นี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .....ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของ หมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--(๘) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้นกระดูกทั้งหลาย เป็นกองๆเรี่ยรายอยู่นานเกินกว่าปีหนึ่ง ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, .....ฯลฯ.... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยลมหายใจเข้า - ออก ตั้งแต่คำว่า “ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้”).--(๙) ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพึง เห็นซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นที่ทิ้งศพ เป็นกระดูกทั้งหลาย เปื่อยเป็นผงละเอียด ฉันใด, เธอพึงน้อมเข้าไปเปรียบกับกายนี้ ฉันนั้นว่า “แม้กายนี้แล ก็มีธรรมดาเป็นอย่างนี้ มีภาวะเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากความเป็นอย่างนี้ไปได้” ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง,--ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายในและภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย(นี้) อยู่ บ้าง. เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่แม้ด้วยอาการอย่างนี้.---นัยแห่งอานาปานสติสูตร:๑๔/๑๙๕/๒๘๙.---นัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร :๑๐/๓๒๕ - ๓๓๒/๒๗๔ - ๒๘๗.--การทำสติในรูปแห่งเวทนานุปัสสนา--๑. ตามนัยแห่งอานาปานสติสูตร--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ (๑) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้; (๒) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้; (๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตต-สังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้; (๔) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้; ภิกษุ ท. !--สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนา๑ ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออกทั้งหลาย ว่าเป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--๒. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ท. อยู่นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ : (๑) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขก็ตาม ย่อมรู้ชัด ว่า “เราเสวยเวทนาอันเป็นสุข”, (๒) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์”, (๓) เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข”, (๔) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขเป็นไปกับด้วยอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยสุขเวทนาเป็นไปกับด้วยอามิส”, (๕) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขปราศจากอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยสุขเวทนาอันปราศจากอามิส”, (๖) เมื่อเสวย--๑. เห็นโดยวิธีเดียวกับการเห็นกายในกาย ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น หากแต่ในที่นี้ เห็นเวทนาคือปีติและสุข.--เวทนาอันเป็นทุกข์เป็นไปกับด้วยอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยทุกขเวทนาเป็นไปกับด้วยอามิส”, (๗) เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ปราศจากอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยทุกขเวทนาอันปราศจากอามิส”, (๘) เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข อันเป็นไปกับด้วยอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า “เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาเป็นไปกับด้วยอามิส”, (๙) เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข อันปราศจากอามิสก็ตาม ย่อมรู้ชัดว่า“เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาอันปราศจากอามิส.”--ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนา ท. อันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในเวทนา ท. อันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ในเวทนา ท. ทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งเวทนา) ในเวทนา ท. (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งเวทนา) ในเวทนา ท. (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นทั้งธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป(แห่งเวทนา) ในเวทนา ท. (นี้) อยู่ บ้าง. ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “เวทนา ท.มีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก. ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.---นัยแห่งอานาปานสติสูตร:๑๔/๑๙๖/๒๘๙.---นัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร : ๑๐/๓๓๒/๒๘๘.--การทำสติในรูปแห่งจิตตานุปัสสนา--๑. ตามนัยแห่งอานาปานสติสูตร--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ (๑) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้--พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้; (๒) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้; (๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้; (๔) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต๑ อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุ นั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--๒. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ (๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีราคะ ว่า “จิตมีราคะ”, (๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากราคะ ว่า “จิตปราศจากราคะ”, (๓)--๑. เห็นโดยวิธีเดียวกับการเห็นกายในกาย ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น หากแต่ในที่นี้ เห็นจิต--รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า “จิตมีโทสะ” (๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโทสะ ว่า “จิตปราศจากโทสะ” (๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโมหะ ว่า “จิตมีโมหะ” (๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโมหะ ว่า “จิตปราศจากโมหะ” (๗) รู้ชัดซึ่งจิตอันหดหู่ ว่า “จิตหดหู่” (๘) รู้ชัดซึ่งจิตอันฟุ้งซ่าน ว่า “จิตฟุ้งซ่าน” (๙) รู้ชัดซึ่งจิตอันถึงความเป็นจิตใหญ่๑ ว่า “จิตถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่” (๑๐) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า “จิตไม่ถึงแล้ว ซึ่งความเป็นจิตใหญ่” (๑๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า” (๑๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า “จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า” (๑๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันตั้งมั่น ว่า “จิตตั้งมั่น” (๑๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ตั้งมั่น ว่า “จิตไม่ตั้งมั่น” (๑๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว” (๑๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังไม่หลุดพ้น ว่า “จิตยังไม่หลุดพ้น”.--ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นจิต ในจิตอัน เป็นภายในอยู่ บ้าง, ในจิตอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งจิต)ในจิต (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งจิต) ในจิต (นี้) อยู่บ้าง. ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “จิตมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้เพียงเพื่อความอาศัยระลึก. ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิ--๑. จิตถึงความเป็นจิตใหญ่คือ จิตตั้งอยู่ในรูปสัญญาและอรูปสัญญา. ที่ไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ได้แก่จิตอันยังอยู่ในกาม--อาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติตามเห็นจิตในจิตอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.---นัยแห่งอานาปานสติสูตร:๑๔/๑๙๖/๒๘๙.---นัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร : ๑๐/๓๓๔/๒๘๙.--การทำสติในรูปแห่งธัมมานุปัสสนา--๑. ตามนัยแห่งอานาปานสติสูตร--ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ (๑) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้; (๒) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้; (๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้; (๔) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้; ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรม๑ ทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--๑. เห็นความจริงของธรรม ในธรรมทั้งหลาย จนไม่ยึดมั่นธรรมใดๆ, ตั้งแต่ต่ำที่สุด จนถึงสูงที่สุด มีนิพพานเป็นต้น--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.--๒. ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร--ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ท. อยู่นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ก. หมวดนิวรณ์ (คือธรรม)--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลาย คือนิวรณ์ ๕ อย่าง อยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคือนิวรณ์ห้าอย่างอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ :---รู้ชัดซึ่ง กามฉันทะ อันมีอยู่ในภายใน ว่ามีอยู่;--รู้ชัดซึ่งกามฉันทะอันไม่มีอยู่ในภายใน ว่าไม่มีอยู่;--รู้ชัดซึ่งการเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นอย่างไร;--รู้ชัดซึ่งการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ว่าละไปแล้วอย่างไร;--รู้ชัดซึ่งการไม่เกิดขึ้นอีกแห่งกามฉันทะที่ละแล้ว ว่าไม่เกิดขึ้นอีกอย่างไร.--(ในกรณีแห่งนิวรณ์คือ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ก็มีข้อความ ที่ตรัสว่า ภิกษุรู้ชัดทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งกามฉันทนิวรณ์ข้างบนนี้).--ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรม ท. อันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในธรรม ท. อันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ในธรรม ท. อันเป็นทั้งภายในภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งธรรม) ในธรรม ท. (นี้) อยู่ บ้าง เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งธรรม) ในธรรม ท. (นี้) อยู้ บ้าง, เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งธรรม) ในธรรม ท. (นี้) อยู่ บ้าง. ก็แหละสติ (คือความระลึก) ว่า “ธรรม ท.๑ มีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก, ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลก. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคือนิวรณ์ห้าอย่าง แม้ด้วยอาการอย่างนี้.--ข. หมวดขันธ์ (คือธรรม)--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง อยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ห้าอย่าง อยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น ว่า “รูป เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดรูปเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งรูปเป็นอย่างนี้. เวทนา เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดเวทนาเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้. สัญญา เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดสัญญาเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้. สังขาร ท. เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดสังขาร ท. เป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งสังขาร ท. เป็นอย่างนี้.วิญญาณ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดวิญญาณเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้.” ดั?
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. 14/268-270/396-401.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. ๑๔/๒๖๘-๒๗๐/๓๙๖ - ๔๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 74
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site