สัทธรรมลำดับที่ : 869
ชื่อบทธรรม : -สมัยที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำความเพียร
เนื้อความทั้งหมด :-สมัยที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำความเพียร--ภิกษุ ท. ! สมัยที่ไม่สมควรแก่การกระทำความเพียร ๕ อย่าง เหล่านี้มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ :---๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ชรา ถูกความชราครอบงำแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่ ๑ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ เจ็บไข้ ถูกความเจ็บไข้ ครอบงำแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่ ๒ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัย ทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑะ (ก้อนข้าว) หาได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะเป็นอยู่ตามสบาย. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่ ๓ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัยที่มีภัย มีการกำเริบในป่าดง ประชาชนขึ้นล้อเลื่อนหนีไป. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่ ๔ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัยที่ สงฆ์แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันก็มีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน ใส่ความกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน. ในที่นั้น ๆ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใส ผู้ที่เคยเลื่อมใสก็เปลี่ยนไปโดยประการอื่น. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่ ๕ ที่ไม่สมควรกระทำความเพียร.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล เป็นสมัยที่ไม่สมควรกระทำความเพียร ๕ อย่าง.--ภิกษุ ท . ! สมัยที่สมควรกระทำความเพียร ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ :---๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ หนุ่มแน่นกำยำ มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความหนุ่มอันเจริญปฐมวัย. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่หนึ่ง ที่สมควรกระทำความเพียร.--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารที่ย่อยได้สม่ำเสมอ ปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การบำเพ็ญเพียร. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่สอง ที่สมควรกระทำความเพียร.--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : เป็นสมัยที่ ภิกษาหาง่าย ข้าวกล้า ไม่เสียหาย บิณฑะ (ก้อนข้าว) หาได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะเป็นอยู่ตามสบาย. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่สาม ที่สมควรกระทำความเพียร.--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : มนุษย์ทั้งหลายสมัครสมานชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่สี่ ที่สมควรกระทำความเพียร.--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : สงฆ์สามัคคี ปรองดองกัน ไม่วิวาท กัน มีอุเทสเดียวกัน อยู่เป็นผาสุก; เมื่อสงฆ์สามัคคีกันก็ไม่มีการด่ากันและกัน ไม่มีบริภาษกันและกัน ไม่ใส่ความกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกันและกันในที่นั้นๆ ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสก็เลื่อมใส ผู้ที่เคยเลื่อมใสก็มีความเลื่อมใสยิ่งๆขึ้นไป. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สมัยที่ห้า ที่เกื้อกูลสมควรกระทำความเพียร.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สมัยที่สมควรกระทำความเพียรห้าอย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ.22/75/54.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ.๒๒/๗๕/๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 870
ชื่อบทธรรม : -ผู้อยู่อย่างคนมีทุกข์ก็ทำกุศลธรรมให้เต็มเปี่ยมได้
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้อยู่อย่างคนมีทุกข์ก็ทำกุศลธรรมให้เต็มเปี่ยมได้--ภิกษุ ท. ! .... ภิกษุ พิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ว่า “เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมยิ่งเจริญ กุศลธรรมเสื่อมไป ; เมื่อเราดำรงตนอยู่ในความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ; ถ้ากระไรเราดำรงตนอยู่ในความลำบากเถิด”. ภิกษุนั้น ดำรงตนอยู่ในความลำบาก ; เมื่อดำรงตนอยู่ในความลำบาก อยู่, อกุศลธรรม ก็เสื่อมไป กุศลธรรมก็เจริญยิ่ง. สมัยต่อมา ภิกษุนั้น ไม่ต้องดำรงตนอยู่ในความลำบากอีก เพราะเหตุว่าประโยชน์ที่เธอจำนงหวังนั้นสำเร็จแล้วตามที่เธอประสงค์. เปรียบเสมือนลูกศรที่ช่างศรลนและดัดจนตรงใช้การได้แล้ว ไม่ต้องมีความด้วยการลนและดัดอีกต่อไปฉะนั้น. ....--ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. 14/16/15.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. ๑๔/๑๖/๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 871
ชื่อบทธรรม : -ในการละกิเลสแม้ชั้นสูง ก็ยังมีการอยู่เป็นสุข
เนื้อความทั้งหมด :-ในการละกิเลสแม้ชั้นสูง ก็ยังมีการอยู่เป็นสุข--โปฏฐปาทะ ! เราย่อมแสดงธรรม เพื่อการละการได้ซึ่ง อัตตาแม้ชนิดหยาบ ซึ่งเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามธรรมนั้นแล้ว สังกิเลสิกธรรมทั้งหลายจักละไป โวทานิยธรรมทั้งหลายจักเจริญโดยยิ่ง จักกระทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.--โปฏฐปาทะ ! ความคิดอาจจะเกิดขึ้นแก่ท่าน อย่างนี้ว่า “การที่สังกิเลสิกธรรมทั้งหลายจักละไป โวทานิยธรรมทั้งหลายจักเจริญโดยยิ่ง จักกระทำ--ให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญาได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่นั้น แต่การอยู่นั้นจักเป็นทุกข์ลำบาก” ดังนี้ ก็ได้. โปฏฐปาทะเอ๋ย ! ข้อนั้นท่านอย่าเห็นอย่างนั้นเลย : สังกิเลสิกธรรมทั้งหลายก็จักละได้ด้วย โวทานิยธรรมทั้งหลายก็จักเจริญโดยยิ่งด้วย จักกระทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญาได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ด้วย ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติ สัมปชัญญะ ก็จักมี และการอยู่นั้นก็เป็นสุขด้วย.--(ต่อไปนี้ได้ทรงแสดงธรรมเพื่อการละเสียซึ่งการได้ อัตตาอันเป็นมโนมยะ และอัตตาอันเป็นอรูปี และทรงยืนยันว่าการปฏิบัติเพื่อการละนั้น ไม่เป็นการอยู่ที่เป็นทุกข์ แต่เป็นการอยู่ที่เป็นสุขเช่นเดียวกัน. พวกเราในบัดนี้มักจะเข้าใจไปว่า การปฏิบัติธรรมจะต้องเกิดเป็นความทุกข์ลำบากเสมอ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/241-243/303-305.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๔๑-๒๔๓/๓๐๓-๓๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 872
ชื่อบทธรรม : -เพียงแต่รู้ชัดอริยสัจ สัมมาวายามะยังไม่ใช่ถึงที่สุด
เนื้อความทั้งหมด :-เพียงแต่รู้ชัดอริยสัจ สัมมาวายามะยังไม่ใช่ถึงที่สุด--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สามจำพวก เหล่าไหนเล่า ? สามจำพวกคือ คนมีจิตเหมือนแผลกลัดหนอง คนมีจิตเหมือนฟ้าแลบ คนมีจิตเหมือนเพชร.--๑. ภิกษุ ท. ! คนมีจิตเหมือนแผลกลัดหนอง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคนเป็นผู้ มักโกรธ มากด้วยความคับแค้น ถูกเขาว่ากล่าวเพียงเล็กน้อยก็ขัดใจมาก ก็โกรธ พยาบาท ขึ้งเคียด กระทำความโกรธความขัดเคืองให้ปรากฏมากกว่าเหตุ เปรียบเหมือนแผลกลัดหนอง ถูก--กระทบด้วยชิ้นไม้หรือกระเบื้อง ย่อมมีหนองไหลออกเกินประมาณ ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้แล บุคคลผู้มีจิตเหมือนแผลกลัดหนอง.--๒. ภิกษุ ท. ! คนมีจิตเหมือนฟ้าแลบ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ย่อม รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ทุกข์, นี้ ทุกขสมุทัย, นี้ทุกขนิโรธ, นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ชั่วขณะ เหมือนบุรุษมีตาตามปกติ เห็นรูปทั้งหลายชั่วขณะฟ้าแลบในราตรีอันมืดมิด ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้แล บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ.--๓. ภิกษุ ท. ! คนมีจิตเหมือนเพชร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน กระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ (อาสวะใดๆเหล่าไหน ที่วิมุตติของท่านจะพึงทำลายไม่ได้นั้นไม่มี) เปรียบเหมือนแก้วมณีหรือหินไร ๆ ที่เพชรจะพึงทำลายไม่ได้นั้น ไม่มี ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้แล บุคคลผู้มีจิตเหมือนเพชร.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคล ๓ จำพวก ที่มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. 20/155/464.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. ๒๐/๑๕๕/๔๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 873
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๙
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๙--ว่าด้วยสัมมาวายามะ--จบ--นิทเทศ ๒๐ ว่าด้วย สัมมาสติ--(มี ๔๑ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วยอุทเทศ - วิภาค ของสัมมาสติ--อุทเทสแห่งสัมมาสติ--ภิกษุ ท. ! สัมมาสติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ ; ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจ ในโลก ออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที. 10/349/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที. ๑๐/๓๔๙/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 874
ชื่อบทธรรม : -สติปัฏฐานสี่ เป็นเอกายนมรรค
เนื้อความทั้งหมด :-สติปัฏฐานสี่ เป็นเอกายนมรรค--ภิกษุ ท. ! หนทางนี้ เป็นหนทางเครื่องไปอันเอกทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งโสกะและปริเทวะ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อถึงทับซึ่งญายธรรม เพื่อทำพระ--นิพพานให้แจ้ง ; หนทางนี้คือ สติปัฏฐานสี่. สี่อย่างไรเล่า ? สี่คือ ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ :---๑. เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.--๒. เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.--๓. เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิตทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.--๔. เป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลก ออกเสียได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที.10/325/273.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที.๑๐/๓๒๕/๒๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 875
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา ของสัมมาสติ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา ของสัมมาสติ--ลักษณะแห่งความมีสติสัมปชัญญะของภิกษุ--มหาราช ! ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?--มหาราช ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้ กระทำความรู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้การเหยียด, การทรงสังฆาฏิบาตรจีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไปการหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง.--มหาราช ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที.9/94/123.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที.๙/๙๔/๑๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 876
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะสัมปชัญญะระดับสูงสุด
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะสัมปชัญญะระดับสูงสุด--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ (อาการที่ ) เวทนา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้ง (วิทิตา) แก่ภิกษุ, (อาการที่) เวทนาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) เวทนาดับลงก็แจ่มแจ้ง.--(อาการที่) วิตก เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ, (อาการที่) วิตกเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) วิตกดับลงก็แจ่มแจ้ง--(อาการที่) สัญญา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ, (อาการที่)สัญญาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) สัญญาดับลงก็แจ่มแจ้ง--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/242/804.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๒๔๒/๘๐๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 877
ชื่อบทธรรม : -สัมมาสติ ในฐานะเครื่องทำตนให้เป็นที่พึ่ง
เนื้อความทั้งหมด :-(สัมปชัญญะในบาลีทั่วๆไปเป็นระดับธรรมดา ซึ่งหมายถึงการรู้สึกตัวอยู่ในการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถหนึ่งๆ ดังข้อความที่กล่าวไว้ในหน้า๗๘๘ แห่งหนังสือเล่มนี้. ส่วนสัมปชัญญะในกรณีนี้ เป็นระดับสูงสุด คือรู้สึกอย่างแจ่มแจ้งในเมื่อ เวทนา สัญญา และวิตก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีผลในทางให้เกิดความสิ้นอาสวะได้มากกว่า).--สัมมาสติ ในฐานะเครื่องทำตนให้เป็นที่พึ่ง--อานนท์ ! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะไม่ มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด.--อานนท์ ! อย่างไรเล่า เรียกว่าภิกษุผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็น สรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มี สิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่ ?--อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก ; เป็นผู้ ตามเห็นซึ่งเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก ; เป็นผู้ ตามเห็นซึ่งจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก; เป็นผู้ ตามเห็นซึ่งธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.--อานนท์ ! อย่างนี้แล ภิกษุ ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่ .--อานนท์ ! ในกาลนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแล้วแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจัก เป็นผู้มีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ : มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่. คนเหล่านั้น จักเป็นภิกษุผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุด ; ได้แก่พวกที่มีความใคร่ในสิกขา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที 10/119/93.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที ๑๐/๑๑๙/๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 878
ชื่อบทธรรม : -สติปัฏฐานสี่ เป็นโคจรสำหรับสมณะ
เนื้อความทั้งหมด :-สติปัฏฐานสี่ เป็นโคจรสำหรับสมณะ--ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตนเถิด เมื่อเธอเที่ยวไปในที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน, มารจักไม่ได้ช่องทาง และไม่ได้โอกาสที่จะทำตามอำเภอใจของมัน. ภิกษุ ท. ! ที่ที่ควรเที่ยวไปซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน คืออะไรเล่า ? คือ สติปัฏฐานสี่. สี่อย่างไรเล่า ? สี่คือ ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ :---๑. เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัม ปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--๒. เป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--๓. เป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มี สัม ปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--๔. เป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปะชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.--ภิกษุ ท. ! นี้แล ที่ที่ควรเที่ยวไป ซึ่งเป็นวิสัยแห่งบิดาตน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/198/700.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๙๘/๗๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 879
ชื่อบทธรรม : -สติปัฏฐานสี่ ที่ส่งผลถึงวิชชาและวิมุตติ
เนื้อความทั้งหมด :-สติปัฏฐานสี่ ที่ส่งผลถึงวิชชาและวิมุตติ--กุณฑลิยะ ! สติปัฏฐานสี่ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ ?--กุณฑลิยะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก ; (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--กุณฑลิยะ ! สติปัฏฐานสี่ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์.--กุณฑลิยะ ! โพชฌงค์เจ็ด อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ ?--กุณฑลิยะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง ; (ในกรณีแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--กุณฑลิยะ ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.--- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐๗ - ๑๐๘/ ๓๙๘-๓๙๙.--แบบการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเอก อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่. ธรรมอันเอกนั้น คืออะไรเล่า ? คือ อานาปานสติ.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้ มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?--(แบบที่หนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่าง ก็ ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (นั่งขัดสมาธิ) ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :--เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกยาว;--หรือว่า เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจออกสั้น;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงจักหายใจออก ดังนี้ ;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้ ;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้;--ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ.19/394/1305-1306.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ.๑๙/๓๙๔/๑๓๐๕-๑๓๐๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 880
ชื่อบทธรรม : -(แบบที่สอง)
เนื้อความทั้งหมด :-(แบบที่สอง)--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ(ความสลัดลง); ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ; ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ; ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็น สัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ; ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ; ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก--อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ; ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อันเป็นสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อโวสสัคคะ.--ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ.19/395/1308.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ.๑๙/๓๙๕/๑๓๐๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 881
ชื่อบทธรรม : -การเจริญสติปัฏฐานของคนฉลาด
เนื้อความทั้งหมด :-การเจริญสติปัฏฐานของคนฉลาด--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูป เป็นคนเขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่ฉลาด เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสตินำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่. เมื่อเธอนั้นตามเห็นกายในกายอยู่ (เพราะความเขลาแห่งตน) ก็ทำจิตให้ตั้งมั่นไม่ได้ ทำอุปกิเลสให้ละไปไม่ได้กำหนดนิมิตนั้นไม่ได้. (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! ภิกษุซึ่งเป็นคนเขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่ฉลาด นั้น จึง เป็นผู้ไม่ได้สุขวิหารในทิฏฐธรรมเลย ไม่ได้สติสัมปชัญญะ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นเป็นคนเขลา ไม่เฉียบแหลม ไม่ฉลาด กำหนดนิมิตแห่งจิตของตนไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูป เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ฉลาด เป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออก--ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่. เมื่อนั้นตามเห็นกายในกาย อยู่ (เพราะความฉลาดของตน) ก็ทำจิตให้ตั้งมั่นได้ ทำอุปกิเลสให้ละไปได้ กำหนดนิมิตนั้นได้. (ในกรณีแห่ง เวทนา จิต และ ธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).--ภิกษุ ท. ! ภิกษุซึ่งเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ฉลาด นั้น จึงเป็นผู้ได้ สุขวิหารในทิฏฐธรรมเทียว ได้สติสัมปชัญญะ. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ฉลาด กำหนดนิมิตแห่งจิตของตนได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. 19/201,202/705,707.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ. ๑๙/๒๐๑,๒๐๒/๗๐๕,๗๐๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 882
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ - เหตุปัจจัยโดยอัตโนมัติ ของสัมมาสติ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ - เหตุปัจจัยโดยอัตโนมัติ ของสัมมาสติ--ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสติ--ภิกษุ ท. ! ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ในฐานะ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :---๑. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึง กระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่ากำหนัดแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย” ดังนี้.--๒. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคล พึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าขัดเคืองแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองทั้งหลาย” ดังนี้.--๓. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึง กระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าหลงแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย” ดังนี้.--๔. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคล พึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่ามัวเมาแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย เพราะปราศจากราคะ, จิตไม่ขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองทั้งหลาย เพราะปราศจากโมหะ, จิตไม่มัวเมาในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย เพราะปราศจากโทสะ, จิตไม่หลงในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย เพราะปราศจากโมหะ, จิตไม่มัวเมาในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย เพราะปราศจากความมัวเมา, ดังนี้แล้ว; ในกาลนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่หวาดหวั่น ไม่ถึงความสะดุ้ง และก็มิใช่ถึงธรรมนี้แม้เพราะเหตุแห่งคำของสมณะ (แต่เป็นเพราะการตามรักษาจิตอย่างถูกต้อง ในฐานะทั้งสี่).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/161/117.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖๑/๑๑๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 883
ชื่อบทธรรม : -ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ แก่อานาปานสติภาวนา
เนื้อความทั้งหมด :-ธรรมเป็นอุปการะเฉพาะ แก่อานาปานสติภาวนา--(นัยที่หนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ มุ่งประพฤติกระทำอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมแทงตลอด อกุปปธรรม (สมุจเฉทวิมุตติ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว. ห้าประการอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ห้าประการคือ ในกรณีนี้ ภิกษุ:--เป็นผู้ มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริกขาร แห่งชีวิต ๑;--เป็นผู้ มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องอันพร่อง ๑ ;--เป็นผู้ ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น ๑ ;--เป็นผู้ มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ คือ ธรรมเหล่าใดอันงดงามใน เบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด แสดงอยู่ซึ่งพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ ธรรมมีลักษณะเห็นปานนั้น เป็นธรรมที่เธอสดับแล้วมาก ทรงจำไว้ ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑;--พิจารณาเห็นเฉพาะอยู่ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว (ตามลำดับ) อย่างไร ๑.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มุ่งประพฤติกระทำอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมแทงตลอดอกุปปธรรมได้ต่อกาลไม่นานเทียว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. 22/135/96.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. ๒๒/๑๓๕/๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 70
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site