สัทธรรมลำดับที่ : 71
ชื่อบทธรรม : -การรู้อริยสัจควรแลกเอาแม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี
เนื้อความทั้งหมด :-การรู้อริยสัจควรแลกเอา--แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า “เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เขาจักแทงท่านด้วยหอกร้อยเล่มตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็น. ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ จนมีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี ; โดยล่วงไปแห่งร้อยปีแล้ว ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ท่านยังไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้นเบื้องต้นและที่สุดแห่งการประหารด้วยหอกด้วยดาบด้วยหลาวด้วยขวาน ก็จะไม่ปรากฏ, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น : เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์กับด้วยโทมนัสก็หามิได้ ; แต่ เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วยสุขกับด้วยโสมนัสทีเดียว. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/551/1718.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 72
ชื่อบทธรรม : -เมื่อยังไม่รู้อริยสัจก็ไม่สามารถลงหลักแห่งความรู้ของตน
เนื้อความทั้งหมด :-เมื่อยังไม่รู้อริยสัจ--ก็ไม่สามารถลงหลักแห่งความรู้ของตน--ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์บางพวก ไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ คือทุกข์, นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อมมองสีหน้าของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ” ดังนี้. เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา ลมพาไปได้, เมื่อวางอยู่บนพื้นที่อันเสมอ ลมทิศตะวันออกก็พัดพามันไปทางทิศตะวันตก, ลมทิศตะวันตกก็พัดพามันไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือก็พัดพามันไปทิศใต้,ลมทิศใต้ก็พัดพามันไปทางทิศเหนือ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุ ท. ! เพราะปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบา ; ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวกไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ คือทุกข์, นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อม มองสีหน้าของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.--ภิกษุ ท. ! ส่วนสมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์, นี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้คือทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อมไม่มองสีหน้าของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ” ดังนี้. เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาอินทขีล มีรากลึก เขาฝังไว้--ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน, แม้พายุฝนอย่างแรงพัดมาจากทิศตะวันออก....จากทิศตะวันตก ... จากทิศเหนือ ... จากทิศใต้, ก็ไม่สั่นคลอน ไม่สั่นสะเทือนไม่หวั่นไหว. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะมีรากลึก เพราะฝังไว้ดี, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์, นี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อม ไม่มองสีหน้าของ--สมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่ด้วยดีแล้ว. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/554/1722-1723.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๔/๑๗๒๒-๑๗๒๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 73
ชื่อบทธรรม : -สัตว์จำพวกวินิบาตกับการเห็นจตุราริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-สัตว์จำพวกวินิบาตกับการเห็นจตุราริยสัจ--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษทิ้งแอก (ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูอยู่เพียงรูเดียว ลงไปในมหาสมุทร. ในมหาสมุทรนั้น มีเต่าตาบอดตัวหนึ่ง ล่วงไปร้อยปี ๆ จะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :--จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอดตัวนั้น ล่วงไปร้อยปี ๆ จึงผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนั้นจะเป็นไปได้บ้าง ก็ต่อเมื่อล่วงกาลนานยาว ในบางคราว”.--ภิกษุ ท. ! ข้อที่ เต่าตาบอด ตัวนั้น ต่อ ล่วงไปร้อยปี ๆ จึงผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง ๆ จะพึง ยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ยังจะเร็วเสียกว่าการที่คนพาลซึ่งเข้าถึงการเกิดเป็นวินิบาตแล้ว จักได้ความเป็นมนุษย์สักครั้งหนึ่ง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุ ว่า ในหมู่สัตว์จำพวกวินิบาตนั้น ไม่มีธัมมจริยา ไม่มีสมจริยา ไม่มีกุสลกิริยา ไม่มีบุญญกิริยา, มีแต่การเคี้ยวกินซึ่งกันและกัน. ภิกษุ ท. ! การที่ สัตว์มีกำลังมากกว่าเคี้ยวกินสัตว์ที่มีกำลังน้อยกว่า ย่อม เป็นไป เป็นธรรมดา ในหมู่สัตว์จำพวกวินิบาตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่ไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/568/1743.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 74
ชื่อบทธรรม : -การรู้อริยสัจทำให้มีตาครบสองตา
เนื้อความทั้งหมด :-การรู้อริยสัจทำให้มีตาครบสองตา--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สามจำพวกอย่างไรเล่า ? สามจำพวกคือ คนตาบอด (อนฺโธ) คนมีตาข้างเดียว (เอกจกฺขุ) คนมีตาสองข้าง (ทฺวิจกฺขุ).--ภิกษุ ท. ! คนตาบอด เป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง ; และไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลอกุศล - ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาวนี้อีกอย่างหนึ่ง. ภิกษุ ท. ! นี้แล คนตาบอด (ทั้งสองข้าง).--ภิกษุ ท. ! คนมีตาข้างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ; แต่ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลอกุศล - ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว. ภิกษุ ท. ! นี้แล คนมีตาข้างเดียว.--ภิกษุ ท. ! คนมีตาสองข้าง เป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ ทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง ; และ มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรม ที่เป็นกุศลอกุศล- ธรรมมีโทษไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง. ภิกษุ ท. ! นี้แล คนมีตาสองข้าง. ...--ภิกษุ ท. ! ภิกษุมีตาสมบูรณ์ (จกฺขุมา) เป็นอย่างไรเล่า ? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อม รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ ความทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้แล ภิกษุมีตาสมบูรณ์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/162, 147/468, 459.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๑๖๒, ๑๔๗/๔๖๘, ๔๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 75
ชื่อบทธรรม : -การสิ้นอาสวะมีได้เพราะการรู้อริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-การสิ้นอาสวะมีได้เพราะการรู้อริยสัจ--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ว่ามีได้สำหรับผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่เท่านั้น, หาได้กล่าวว่า มีได้สำหรับผู้ไม่รู้อยู่ผู้ไม่เห็นอยู่ ไม่. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ สำหรับผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ? ผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่ซึ่งสัจจะว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/544/1705.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 76
ชื่อบทธรรม : -เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐเหล่านี้ มีอยู่ ๔ อย่าง. สี่อย่าง--เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่าง คือ ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์ ความจริงอันประเสริฐเรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความจริงอันประเสริฐเรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความจริงอันประเสริฐเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง เหล่านี้แล เป็น ตถา คือมีความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถา คือไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถา คือไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากความเป็นอย่างนั้น ; เพราะเหตุนั้น เรา จึงกล่าวสัจจะเหล่านั้นว่าเป็น “อริยะ (อันประเสริฐ)” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/545/1707.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๕/๑๗๐๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 77
ชื่อบทธรรม : -เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐเรื่องทุกข์ ความจริงอันประเสริฐเรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความจริงอันประเสริฐเรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ความจริงอันประเสริฐเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.--ผู้กล่าวสัจจะเหล่านั้นคือตถาคตผู้เป็นอริยะ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ; เพราะเหตุนั้น เรา จึงกล่าวสัจจะเหล่านั้น ว่าเป็น “อริยะ” ดังนี้.--เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้”, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/545/1708.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๕/๑๗๐๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 78
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่สำหรับความเป็นอริยบุคคล
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่สำหรับความเป็นอริยบุคคล--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นเทพ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม และสงัดแล้วจากสิ่งอันเป็นอกุศลทั้งหลายบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ ; เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ บรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ทำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ ; เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่ ; เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน บรรลุฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงความเป็นเทพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ แผ่จิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา สู่ทิศที่หนึ่ง ทิศที่สอง ที่สาม และที่สี่ โดยลักษณะอย่างเดียวกันตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง, ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา อันไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นจิตกว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงความเป็นพรหม ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงอาเนญชา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้, เพราะผ่านพ้นการกำหนดหมายในรูปเสียได้ โดยประการทั้งปวง, เพราะความดับแห่งการกำหนดหมายในอารมณ์ที่ขัดใจ, และเพราะการไม่ทำในใจซึ่งการกำหนดหมายในภาวะต่าง ๆ เสียได้ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้, แล้วแลอยู่ ; เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้, แล้วแลอยู่; เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้, แล้วแลอยู่ ; เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ, แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงอาเนญชา ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ”, ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ”, ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ความ--ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ”, ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ ” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นอริยะ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/249/190.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๔๙/๑๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 79
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจจธรรมรวมอยู่ในหมู่ธรรมที่ใครค้านไม่ได้
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจจธรรมรวมอยู่ในหมู่ธรรมที่ใครค้านไม่ได้--ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้นี่แล อันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ เป็นอย่างไรเล่า ?--.... (ทรงแสดง ธาตุ หก) ....--.... (ทรงแสดง ผัสสายตนะ หก) ....--.... (ทรงแสดง มโนปวิจาร สิบแปด) ....--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คือ อริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.--....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....--ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้า--หมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี; เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่, นามรูปย่อมมี ; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ภิกษุ ท. ! เ ราย่อมบัญญัติว่า “นี้ เป็นความทุกข์” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นทุกขสมุทัย” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธ” ดังนี้ ; ว่า “นี้ เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้ ; แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนา.--ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์, แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, แม้โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์, การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์, ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ : กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ; เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา ; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน ; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ; เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้--ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว. จึงมีความดับแห่งสังขาร ; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติสัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.--ภิกษุ ท. ! ข้อที่ว่า “ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า ‘เหล่านี้ คืออริยสัจทั้งหลาย ๔ ประการ’ ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้” ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ; ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความดังกล่าวมานี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/225/501.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๒๕/๕๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 81
ชื่อบทธรรม : -ประเภทหรือเค้าโครงของอริยสัจ
เนื้อความทั้งหมด :-ประเภทหรือเค้าโครงของอริยสัจ--หลักอริยสัจมีอย่างเดียว แต่คำอธิบายมีปริยายมากมาย--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็น ทุกข์, นี้เป็น เหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์,” ดังนี้, เป็นสิ่งที่เราได้บัญญัติแล้ว : แต่ในความจริงนั้น, มีการพรรณาความ การลงอักษร และการจำแนกเพื่อพิสดารมากจนประมาณไม่ได้ ว่าปริยายเช่นนี้ ๆ เป็นความจริงคือทุกข์ ถึงแม้เช่นนี้ ก็เป็นความจริงคือทุกข์ ฯลฯ.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ;” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/539/1696.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๙/๑๖๙๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 82
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่โดยสังเขป
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่โดยสังเขป--(นัยทั่วไป)--ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก--เป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.--ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ, ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.--ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเองคือความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น.--ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้องการพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นที่ถูกต้อง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.วิ. 4/18/14.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.วิ. ๔/๑๘/๑๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 83
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจสี่โดยสังเขป(อีกนัยหนึ่ง)ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจสี่โดยสังเขป(อีกนัยหนึ่ง)--(ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์)--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ--คือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คำตอบคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้น อะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม, ตัณหาในความมีความเป็น, ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั่นเอง อันใด. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทาง อันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์--๘ นี้นั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/534-5/1678-1683.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔-๕/๑๖๗๘-๑๖๘๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 7
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site