สัทธรรมลำดับที่ : 860
ชื่อบทธรรม : -ผู้มีลักษณะควรประกอบความเพียร
เนื้อความทั้งหมด :-ผู้มีลักษณะควรประกอบความเพียร--ภิกษุ ท. ! ปธานิยังคะ (องค์แห่งผู้สมควรประกอบความเพียร) ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :---๑. เป็นผู้ มีศรัทธา ย่อมเชื่อความตรัสรู้ของตถาคต ว่า “แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึก อย่างไม่มีใคร--ยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์” ดังนี้.--๒. เป็นผู้ มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารที่ย่อย ได้สม่ำเสมอ ปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การบำเพ็ญเพียร.--๓. เป็นผู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นผู้เปิดเผยตนเองตามที่เป็นจริง ใน พระศาสดา, หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย ก็ตาม.--๔. เป็นผู้ ปรารภความเพียร เพื่อการละสิ่งอันเป็นอกุศล เพื่อถึงพร้อมด้วยสิ่งอันเป็นกุศล มีกำลัง มีความบากบั่น หนักแน่น ไม่ทอดทิ้งธุระ ในสิ่งทั้งหลายอันเป็นกุศล.--๕. เป็นผู้ มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาซึ่งสามารถกำหนดความเกิดขึ้นและความดับหายไป เป็นปัญญาอันประเสริฐ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปธานิยังคะ ๕ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/74/53.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๔/๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 861
ชื่อบทธรรม : -หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาวายามะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาวายามะ--เพียรละอกุศลแข่งกับความตาย--ภิกษุ ท. ! มรณสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ เป็นธรรมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.--ภิกษุ ท. ! มรณสติ (อันบุคคลเจริญเห็นปานนั้น) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ผ่านกลางวันมาถึงกลางคืนแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมาก คืองูฉกเรา แมลงป่อง๑ ต่อยเรา หรือตะขาบ๑ กัดเรา, หรือว่าเราเดินพลาดล้มลง อาหารไม่ย่อย ดีกำเริบ เสมหะกำเริบ หรือลมสัตํถกวาตกำเริบ, หรือว่าพวกมนุษย์หรืออมนุษย์ทำร้ายเรา, ความตายก็จะมีแก่เรา : นั่นเป็นอันตรายของเรา” ดังนี้. ภิกษุนั้น พึงพิจารณาสืบไปว่า “มีอยู่หรือไม่หนอ บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ แล้วเป็นอันตรายแก่เรา ผู้กระทำกาละลงไปในคืนนี้” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า บาปอกุศลธรรมอย่างนั้นมีอยู่, ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อละเสียซึ่งบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น (โดยด่วน) เช่นเดียวกับบุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะอันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณา--๑. ศัพท์ว่า วิจฺฉิกา เคยแปลกันว่าแมลงป่อง ศัพท์ว่า สตปที เคยแปลกันว่าตะขาบ จะเป็นปัจจัยแห่งความตาย ได้อย่างไรนั้น ผู้ศึกษาพึงพิจารณาดูเอง.--อยู่ รู้สึกว่า บาปอกุศลธรรมอย่างนั้นไม่มีอยู่, ภิกษุนั้น พึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้นนั่นแหละ ตามศึกษาอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.--(ในกรณีแห่งภิกษุผู้ ผ่านกลางคืนมาถึงกลางวัน ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ให้ปฏิบัติอย่าง เดียวกัน, ผิดกันแต่เวลาเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! มรณสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ เป็นธรรมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ. 23/331/171.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ. ๒๓/๓๓๑/๑๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 862
ชื่อบทธรรม : -(ธรรมที่มีอมโตคธะเป็นอานิสงส์นั้น ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วย สัญญาสิบ ก็มี :-)
เนื้อความทั้งหมด :-(ธรรมที่มีอมโตคธะเป็นอานิสงส์นั้น ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วย สัญญาสิบ ก็มี :-)--ภิกษุ ท. ! สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้ มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.--สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ อสุภสัญญา (ความสำคัญรู้ในความไม่งาม) มรณสัญญา (ความสำคัญรู้ในความตาย) อาหารเรปฏิกูลสัญญา (ความสำคัญรู้ในปฏิกูลแห่งอาหาร) สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญรู้ในความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง) อนิจจสัญญา (ความสำคัญรู้ในความไม่เที่ยง) อนิจเจทุกขสัญญา (ความสำคัญรู้ในความเป็นของแปรเปลี่ยนและแตกสลาย) ทุกเขอนัตตสัญญา (ความสำคัญรู้ในความเป็นของแตกสลายและไม่ใช้ตัวตนจริง) ปหานสัญญา (ความสำคัญรู้ในการละเสีย) วิราคสัญญา (ความสำคัญรู้ในความคลายกำหนัด) นิโรธสัญญา (ความสำคัญรู้ในความดับไม่เหลือ).--ภิกษุ ท. ! สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. 24/112/56.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. ๒๔/๑๑๒/๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 863
ชื่อบทธรรม : -(สัญญาสิบ อีกปริยายหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(สัญญาสิบ อีกปริยายหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้ มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.--สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อัฏฐิกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพมีแต่กระดูก) ปุฬวกทกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพมีแต่หนอน) วินีลกสัญญา(ความสำคัญรู้ในศพขึ้นเขียว) วิจฉิททกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพเป็นชิ้นๆท่อนๆ) อุทธุมาตกสัญญา (ความสำคัญรู้ในศพขึ้นพอง).--ภิกษุ ท. ! สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะป็นปริโยสาน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/112 - 113/57.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๑๒ - ๑๑๓/๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 864
ชื่อบทธรรม : -การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย
เนื้อความทั้งหมด :-การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย--ภิกษุ ท. ! ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้มองเห็น อยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้น อยู่ตลอดไป, เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คืออะไรบ้างเล่า ? ห้าประการคือ :---๑. ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์วัย ยังรุ่นคะนอง มีผมยังดำสนิท ตั้งอยู่ในวัยกำลังเจริญ คือปฐมวัย;--แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ความแก่ จะมาถึงร่างกายนี้, ก็คนแก่ถูกความชราครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏ ก็ไม่ทำได้ง่ายๆเลย. ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความแก่) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะแก่เฒ่าก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุให้ความอบอุ่นสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การทำความเพียร; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ความเจ็บไข้ จะมาถึงร่างกายนี้, ก็คนที่เจ็บไข้ถูกพยาธิครอบงำแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ง่ายๆเลย. ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือความเจ็บไข้) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว แม้จะเจ็บไข้ ก็จักอยู่เป็นผาสุก” ดังนี้.--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ ข้าวกล้างามดี บิณฑะ(ก้อนข้าว) หาได้ง่าย เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ภิกษาหายาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑะหาได้ยาก ไม่เป็นการสะดวกที่จะยังชีวิตให้เป็นไปด้วยความพยายามแสวงหาบิณฑบาต, เมื่อภิกษาหายาก ที่ใดภิกษาหาง่าย คน--ทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการคลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าชัฎก็ไม่ทำได้ง่ายๆ เลย ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือภิกษาหายาก) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดทุพภิกขภัย” ดังนี้.--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ คนทั้งหลายสมัครสมานชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดุจดั่งนมผสมกับน้ำมองแลกันด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่กัน เป็นอยู่; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ ภัย คือโจรป่ากำเริบ ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ในอาณาจักรแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไป,เมื่อมีภัยเช่นนี้ ที่ใดปลอดภัย คนทั้งหลายก็อพยพกันไป ที่นั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้น ความอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คนก็จะมีขึ้น เมื่อมีการอยู่คลุกคลีปะปนกันในหมู่คน จะมนสิการถึงคำสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย ; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัดซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ง่ายๆเลย ; ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือโจรภัย) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวที่เกิดโจรภัย” ดังนี้.--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุพิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทสเดียวกัน อยู่เป็นผาสุก; แต่จะมีสักคราวหนึ่งที่ สงฆ์แตกกัน, เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการถึงคำสอนของ--ท่านผู้รู้ทั้งหลายนั้น ไม่ทำได้สะดวกเลย ; และจะเสพเสนาสนะอันเงียบสงัดซึ่งเป็นป่าชัฏก็ไม่ทำได้ง่ายๆเลย. ก่อนแต่สิ่งอันไม่เป็นที่ต้องการ ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ (คือสงฆ์แตกกัน) นั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ถึงแล้ว จักอยู่เป็นผาสุก แม้ในคราวเมื่อสงฆ์แตกกัน” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้แล ซึ่งภิกษุผู้มองเห็น อยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป, เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/117/78.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๗/๗๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 865
ชื่อบทธรรม : -การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย
เนื้อความทั้งหมด :-การทำความเพียรแข่งกับอนาคตภัย--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ภัยในอนาคตเหล่านี้ มีอยู่ ๕ ประการ ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่ามองเห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ตลอดไป, เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว. ภัยในอนาคต ๕ ประการนั้น คือ อะไรบ้างเล่า ? ห้าประการคือ :---๑. ภิกษุผู้อยู่ป่าในกรณีนี้ พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า งูพิษ หรือ แมลงป่อง หรือตะขาบ จะพึงขบกัดเราผู้อยู่ผู้เดียว ในป่า,--กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น, อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา, เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ให้ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเราอยู่ผู้เดียวในป่า เราจะพึงพลาดตกหกล้มบ้าง อาหารที่เราบริโภคแล้ว จะพึงเกิดเป็นพิษบ้าง น้ำดีของเรากำเริบบ้าง เสมหะของเรากำเริบบ้าง ลมสัตถกวาตของเรากำเริบบ้าง, กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น, อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา, เราจะรีบทำความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเราอยู่ผู้เดียวในป่า จะพึง มาร่วมทางกันด้วยสัตว์ทั้งหลาย มีสิงห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หรือเสือดาว, สัตว์ร้ายเหล่านั้นจะพึงปลิดชีพเราเสีย, กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น, อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา, เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า ก็เมื่อเราอยู่ผู้เดียวในป่า จะพึง มาร่วมทางกันด้วยพวกคนร้าย ซึ่งทำโจรกรรมมาแล้วหรือยังไม่ได้ทำ (แต่เตรียมการจะไปทำ) ก็ตาม, พวกคนร้ายเหล่านั้นจะพึงปลิดชีพเราเสีย, กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้--เพราะเหตุนั้น, อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา, เราจะรีบทำความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุผู้อยู่ป่า พิจารณาเห็นชัดแจ้งว่า “บัดนี้ เราอยู่ผู้เดียวในป่า พวกมนุษย์ดุร้ายก็มีอยู่ในป่า พวกมันจะพึงปลิดชีพเราเสีย, กาลกิริยาของเราจะพึงมีได้เพราะเหตุนั้น, อันตรายอันนั้นจะพึงมีแก่เรา, เราจะรีบทำความเพียรเพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสีย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้ แล ซึ่งภิกษุผู้อยู่ป่ามอง เห็นอยู่ ควรแท้ที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นตลอดไป, เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้งเสียโดยเร็ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/115/77.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๑๕/๗๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 866
ชื่อบทธรรม : -บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร
เนื้อความทั้งหมด :-บทอธิษฐานจิตเพื่อทำความเพียร--ภิกษุ ท. ! เรายังรู้สึกได้อยู่ซึ่งธรรม ๒ อย่าง คือ ความไม่รู้จักอิ่ม จักพอ (สันโดษ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยกลับ (อัปปฏิวานี) ในการทำความเพียร.--ภิกษุ ท. ! เราย่อมตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต) ว่า “หนังเอ็นกระดูก จักเหลืออยู่, เนื้อและเลือด--ในสรีระจะเหือดแห้งไปก็ตามที ; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ, ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! การตรัสรู้เป็นสิ่งที่เราถึงทับ--แล้วด้วยความไม่ประมาท อนุตตรโยคักเขมธรรม ก็เป็นสิ่งที่เราถึงทับแล้วด้วยความไม่ประมาท.--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความเพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิฐานจิต) ว่า “หนังเอ็นกระดูก จักเหลืออยู่, เนื้อและเลือดในสรีระจะเหือดแห้งไปก็ตามที ; ประโยชน์ใด อันบุคคลจะพึงบรรลุได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ, ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้วจักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้ แล้วไซร้ ; ภิกษุ ท. ! พวกเธอ ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือนเป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. 20/64/251.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 867
ชื่อบทธรรม : -หมวด จ. ว่าด้วย ปกิณณกะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด จ. ว่าด้วย ปกิณณกะ--อุปสรรคของการประกอบสัมมาวายามะ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด ยังละเครื่องตรึงจิตห้าอย่างไม่ได้ ยังตัดเครื่อง ผูกพันจิตห้าอย่างไม่ได้; ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ใน ธรรมวินัยนี้ : นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--ก. เครื่องตรึงจิต ๕ อย่าง--เครื่องตรึงจิตที่ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้ ๕ อย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เครื่องตรึงจิตอย่างที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระธรรม. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เครื่องตรึงจิตอย่างที่สอง ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลง ใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เครื่องตรึงจิตอย่างที่สาม ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ใน สิกขา. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อทำความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำ--อย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เครื่องตรึงจิตอย่างที่สี่ ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ยังเป็นผู้ โกรธกรุ่นอยู่ในเพื่อน สพรหมจารี ไม่ชอบใจ มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีเครื่องตรึงจิตเกิดแล้ว. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) อย่างนี้แล เครื่องตรึงจิตอย่างที่ห้า ที่เธอนั้นยังละไม่ได้.--เครื่องตรึงจิตห้าอย่างนี้แล ของภิกษุนั้น อันเธอยังละไม่ได้.--ข. เครื่องผูกพันจิต ๕ อย่าง--เครื่องผูกพันจิต ๕ อย่าง ที่ภิกษุนั้นยังตัดขาดไม่ได้ เป็นอย่างไร เล่า ?--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจาก ฉันทะ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากตัณหา ในกาม. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เป็น เครื่องผูกพันจิต อย่างที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจาก ฉันทะ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากตัณหา ในกาย. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของ--ภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เป็นเครื่องผูกพันจิตอย่างที่สอง ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจาก ฉันทะ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากตัณหา ในรูป. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เป็นเครื่องผูกพันจิตอย่างที่หนึ่ง ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ฉันอาหารอิ่มท้องแล้ว ตามประกอบความสุขในการนอน สุขในการเอน สุขในการซบเซา อยู่. ภิกษุใดเป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลสเครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เป็น เครื่องผูกพันจิตอย่างที่สี่ ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! อย่างอื่นยังมีอีก : ภิกษุ ประพฤติพรหมจรรย์ โดยหวังเข้าสู่เทพนิกาย พวกใดพวกหนึ่งว่า “ด้วยศีลนี้ วัตรนี้ ตบะนี้ พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทพยดาอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้. ภิกษุใด เป็นดังกล่าวนี้ จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เครื่องตามประกอบ เครื่องกระทำอย่างติดต่อไม่ขาดสาย (คือไม่เป็นไปเพื่อสัมมาวายามะ) : อย่างนี้แล เป็น เครื่องผูกพันจิตอย่างที่ห้า ที่เธอนั้นยังตัดให้ขาดไม่ได้.--เครื่องผูกพันจิต ๕ อย่าง เหล่านี้แล ของภิกษุนั้น อันเธอยังตัดให้ขาดไม่ได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด ยังละเครื่องตรึงจิตห้าอย่างเหล่านี้ไม่ได้ ยังตัด เครื่องผูกพันจิตห้าอย่างเหล่านี้ไม่ได้, แล้ว; ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ : นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--(ยังมีการตรัสโดย ปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้าม ซึ่งเป็นการส่งเสริมการประกอบความเพียร ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้ด้วยตนเอง ไม่จำต้องนำมาใส่ไว้ในที่นี้.)-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/204- 210/227 – 232.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๐๔- ๒๑๐/๒๒๗ – ๒๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 868
ชื่อบทธรรม : -ข้อแก้ตัวของคนขี้เกียจ
เนื้อความทั้งหมด :-ข้อแก้ตัวของคนขี้เกียจ--ภิกษุ ท. ! กุสีตวัตถุ (ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน) ๘ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่แปดอย่าง อย่างไรเล่า ? แปดอย่างคือ :---๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ การงานอันภิกษุจะต้องทำมีอยู่. ภิกษุนั้นมี ความคิดอย่างนี้ว่า “การงานเป็นสิ่งที่เราจักต้องกระทำ แต่เมื่อกระทำการงานอยู่ กายจักเหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๑.--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : การงานอันภิกษุกระทำเสร็จแล้วมีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราได้กระทำการงานแล้ว ก็เมื่อเรากระทำการงานอยู่นั้น กายก็เหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอนเสีย”--ดังนี้ ; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๒.--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุต้องเดิน มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “หนทางเป็นสิ่งที่เราจักต้องเดิน แต่เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักเหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้ ; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๓.--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุเดินแล้ว มีอยู่. ภิกษุนั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราได้เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักเหน็ดเหนื่อย เอาเถิด ถ้ากระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้ ; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๔.--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ กายของเราก็เหน็ดเหนื่อย ทำอะไรไม่ได้ เอาเถิดถ้ากระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้ ; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๕.--๖. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ กายของเราก็เป็นกายหนัก เหมือนเม็ดถั่วถูกแช่น้ำพอง ทำอะไรไม่ได้ เอาเถิดถ้ากระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้ ; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๖.--๗. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อาพาธเล็กน้อยที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุ มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ “อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา มีข้ออ้างเพื่อจะนอน มีเหตุผลควรที่จะนอน เอาเถิดถ้ากระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้ ; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๗.--๘. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุได้หายจากความเจ็บไข้แล้วไม่นาน มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราหายจากความเจ็บไข้แล้วไม่นาน กายของเรายังอ่อนเพลีย ยังไม่ควรจะทำอะไร เอาเถิดถ้ากระไรเราจะนอนเสีย” ดังนี้ ; เธอนั้นก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น กุสีตวัตถุ ข้อที่ ๘.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กุสีตวัตถุ (ที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน) แปดอย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ.23/343/185.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ.๒๓/๓๔๓/๑๘๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 69
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site