สัทธรรมลำดับที่ : 855
ชื่อบทธรรม : -บุพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อความสิ้นอาสวะ--(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-ตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว, ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ แล้ว ประกอบโยคกรรม๑ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.--บุพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อความสิ้นอาสวะ--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้, เมื่อเป็น เช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน” ดังนี้เถิด.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์หมดจดใสสะอาด ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม ก็ยินดีพอใจว่า เป็นลาภหนอ บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือจะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า :---๑. โยคกรรม คือ การกระทำความเพียรอย่างมีระบบ อย่างแข็งขันเต็มที่ ในรูปแบบหนึ่งๆ เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมาย เรียกกันง่ายๆว่า โยคะ; เป็นคำกลางใช้กันได้ในระหว่างศาสนาทุกศาสนา.--“เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายใน ๑ หรือหนอ; หรือว่า ไม่ได้เจโตสมถะในภายใน.--เราเป็นผู้ ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา๒ หรือหนอ; หรือว่า ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะใน ภายใน แต่ยังไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา“ ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในเจโตสมถะในภายใน แล้วประกอบโยคกรรมเพื่อการได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา. ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่น ก็เป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราเป็นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาในภายใน แต่ยังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน“ ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แล้วประกอบโยคกรรมเพื่อการได้เจโตสมถะในภายใน. ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่น ก็เป็นผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย ได้เจโตสมถะในภายในด้วย.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เรายังไม่ได้เจโตสมถะในภายใน ยังไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา“ ดังนี้แล้ว. ภิกษุนั้น พึงกระทำ--๑. คำนี้ หมายถึงความสงบแห่งจิตด้วยอำนาจของสมาธิ ที่เป็นไปถึงที่สุดแห่งขั้นตอนที่อาจใช้เป็นรากฐานแห่งวิปัสสนาได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตจึงเรียกว่า เป็นไปในภายใน.--๒. การเห็นแจ้งในธรรมด้วยอำนาจปัญญาอันยิ่ง ถึงขนาดเห็นความจริงในขั้นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสิ่ง นั้นๆ.--ซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อได้เฉพาะซึ่งกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น นั่นเทียว เช่นเดียวกับบุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุนั้น ครั้นสมัยอื่นอีก ก็ เป็นผู้ได้เจโตสมถะในภายในด้วย ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนาด้วย.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราเป็นผู้ได้เจโตสมถะใน ภายใน ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา” ดังนี้แล้ว, ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วประกอบโยคกรรมเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. 24/104/54.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. ๒๔/๑๐๔/๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 68
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 856
ชื่อบทธรรม : -อินทรีสังวรเป็นอุปกรณ์แก่สัมมาวายามะ
เนื้อความทั้งหมด :-อินทรีสังวรเป็นอุปกรณ์แก่สัมมาวายามะ--(ส่วนที่เป็นการพากเพียรปิดกั้นการเกิดอกุศล)--มหาราช ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตา แล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาใน ลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็นส่วนๆ; อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่ง อินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตา ใด เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา.--(ในกรณีแห่ง อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีคือลิ้น อินทรีย์คือกาย และอินทรีย์ คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/93/122.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๙๓/๑๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 68
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 857
ชื่อบทธรรม : -เวทนาสามเกี่ยวกับความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล
เนื้อความทั้งหมด :-เวทนาสามเกี่ยวกับความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล--ท่านผู้จอมเทพ ! เรา กล่าวโสมนัสว่ามีสอง อย่างคือ โสมนัสที่ควรเสพ และโสมนัสที่ไม่ควรเสพ. กล่าว โทมนัสว่ามีสอง อย่างคือ โทมนัสที่ควรเสพ และโทมนัสที่ไม่ควรเสพ. กล่าว อุเบกขาว่ามีสอง อย่างคือ อุเบกขาที่ควรเสพ และอุเบกขาที่ไม่ควรเสพ.--บุคคลรู้โสมนัสใดว่าเมื่อเสพอยู่ อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ดังนี้แล้ว โสมนัสอย่างนี้ไม่ควรเสพ. บุคคลรู้โสมนัสใดว่าเมื่อเสพอยู่ อกุศลเสื่อม กุศลเจริญ ดังนี้แล้ว โสมนัสอย่างนี้ควรเสพ. ในบรรดาโสมนัสที่ควรที่ควรเสพนั้น มีทั้งโสมนัสที่มีวิตกมีวิจาร และโสมนัสที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร; โสมนัสที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นโสมนัสที่ประณีตกว่า. ท่านผู้จอมเทพ ! เรากล่าวโสมนัสว่ามีสองอย่างคือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้.--(ในกรณีแห่ง โทมนัส และอุเบกขา ก็มีหลักเกณฑ์ที่ตรัสไว้อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งโสมนัส. ที่กล่าวว่า ‘ไม่ควรเสพเพราะทำให้อกุศลเจริญ’ นั้นหมายถึงเวทนาที่เกิดจากการครองเรือน. ที่กล่าวว่า ‘ควรเสพเพราะทำให้กุศลเจริญ’ นั้น หมายถึง เวทนาที่อาศัยเนกขัมมะ ไม่เกี่ยวข้องกับเรือน. ที่กล่าวว่า ‘มีวิตกวิจาร’ นั้น หมายถึงเวทนาที่เกิดจากการปฏิบัตินับตั้งแต่ปฐมฌานลงมา. ที่กล่าวว่า ‘ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร’ นั้น หมายถึง เวทนาที่เกิดจากการปฏิบัตินับตั้งแต่ทุติยฌานขึ้นไป. ถ้าบุคคลเกี่ยวข้องกับเวทนาทั้งสามนี้อย่างถูกต้อง การทำความเพียรเพื่อละอกุศล และเจริญกุศล จักเป็นไปโดยง่าย).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา. ที. 10/312/257.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา. ที. ๑๐/๓๑๒/๒๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 68
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 858
ชื่อบทธรรม : -การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์
เนื้อความทั้งหมด :-การเสพที่เป็นอุปกรณ์และไม่เป็นอุปกรณ์--แก่ความเพียรละอกุศลและเจริญกุศล--๑. การเสพกายสมาจาร--สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจาร (การประพฤติประจำทางกาย) ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม, กายสมาจารชนิดนี้บุคคลไม่ควรเสพ. สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งกายสมาจารชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อมกุศลธรรมเจริญ, กายสมาจารชนิดนี้บุคคลควรเสพ.--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้เป็นผู้มีปาณาติบาต เป็นพราน มีมือเปื้อนเลือด วุ่นอยู่แต่การประหัตประหารไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต, และเป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย, และเป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือประพฤติผิดในหญิงทั้งหลาย ที่มีมารดารักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษา พี่น้องชายรักษา พี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้ที่สุดแต่หญิงที่มีผู้สวมมาลาหมั้นไว้. สารีบุตร ! เมื่อเสพกายสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ซึ่ง กายสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว--มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย, และเป็นผู้ ละอทินนาทาน เว้นขาดจากจากอทินนาทาน ไม่ถือเอาทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ ในบ้านก็ดี ในป่าก็ดี ด้วยอาการแห่งขโมย, และเป็นผู้ ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร คือไม่ประพฤติผิดในหญิงทั้งหลายที่มีมารดารักษา บิดารักษา มารดาและบิดารักษา พี่น้องชายรักษา พี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีสามี หญิงมีสินไหม แม้สุดแต่หญิงที่มีสวมมาลาหมั้นไว้. สารีบุตร ! เมื่อเสพกายสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.--๒. การเสพวจีสมาจาร--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่งวจีสมาจาร (การประพฤติประจำทางวาจา) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จ ไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดีเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ! ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าไปอย่างนั้น” บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นก็บอกว่าเห็น เห็นก็บอกว่าไม่เห็น ดังนี้ กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิสสินจ้างบ้าง, และเป็นผู้กล่าวคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว เก็บมาบอกฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น ทำคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ให้แตกจากกัน อุดหนุนส่งเสริมคนที่แตกกันอยู่แล้วให้แตกจากกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการเป็นพวกยินดีในการเป็นพวก เป็นคนพอใจในการเป็นพวก กล่าวแต่วาจาที่ทำให้เป็นพวก และเป็นผู้กล่าววาจาหยาบ เป็นวาจาทิ่มแทง กักขฬะ เผ็ด--ร้อน ขัดใจผู้อื่น กลัดกลุ้มอยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปด้วยสมาธิ, และเป็นผู้กล่าววาจาเพ้อเจ้อ ไม่กล่าวตามกาลอันควร ไม่กล่าวตามเป็นจริง ไม่กล่าวโดยอรรถ ไม่กล่าวโดยธรรม ไม่กล่าวโดยวินัย กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละไม่ถูกเทศะ ไม่มีที่จบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. สารีบุตร ! เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ซึ่ง วจีสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท ไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปในหมู่ญาติก็ดี ไปในท่ามกลางคนหมู่มากก็ดี ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี เขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “ท่านผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ว่าไปอย่างนั้น” เขานั้นเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ เห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น ดังนี้ ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่อามิสสินจ้างบ้าง, และเป็นผู้ ละปิสุณวาจา เว้นขาดจากปิสุณวาจา ได้เว้นขาดจากปิสุณวาจา ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง ยินดีในการพร้อมเพรียง พอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน, และเป็นผู้ ละผรุสวาจา เว้นขาดจากผรุสวาจา กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่, และเป็นผู้ ละสัมผัปปลาวาท เว้นขาดจากสัมผัปปลาวาท กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย--กล่าวแต่วาจาที่มีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์สมควรแก่เวลา. สารีบุตร ! เมื่อเสพวจีสมาจารชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.--๓. การเสพมโนสมาจาร--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่งมโนสมาจาร (การประพฤติประจำทางใจ) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา เพ่งต่อทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็นของเรา ดังนี้, และเป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย ว่า “ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงวินาศ อย่าได้มีอยู่” ดังนี้. สารีบุตร ! เมื่อเสพมโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้เสพอยู่ซึ่ง มโนสมาจาร ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา ไม่เพ่งต่อทรัพย์และอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “ทรัพย์ใดของใคร จงมาเป็นของเรา” ดังนี้, และเป็นผู้ ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย โดยมีความรู้สึกอยู่ว่า “ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ จงไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความลำบาก จงมีสุข บริหารตนอยู่เถิด” ดังนี้. สารีบุตร ! เมื่อเสพมโนสมาจารชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมกุศลธรรมย่อมเจริญ.--๔. การเสพจิตตุปบาท--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ซึ่ง จิตตุปบาท (ความมักเกิดขึ้นแห่งจิต) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่, เป็นผู้ มีพยาบาท มีจิตสหรคตด้วยพยาบาทอยู่, เป็นผู้ มีวิหิงสา มีจิตสหรคตด้วยวิหิงสาอยู่, สารีบุตร ! เมื่อเสพจิตตุปบาทชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่งจิตตุปบาท ชนิดไหนเล่า? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่, เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีจิตไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่, เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีจิตไม่สหรคตด้วยวิหิงสาอยู่, สารีบุตร ! เมื่อเสพจิตตุปบาทชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.--๕. การเสพสัญญาปฏิลาภ--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่ง สัญญาปฏิลาภ (การได้ความหมายมั่นเฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา อยู่ด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยอภิชฌา, เป็นผู้ มีพยาบาท อยู่ด้วยด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยพยาบาท, เป็นผู้มีวิหิงสา อยู่ด้วยสัญญาอันสหรคตด้วยวิหิงสา, สารีบุตร ! เมื่อเสพสัญญาปฏิ ลาภชนิดนี้ แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่งสัญญาปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่, เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีสัญญาไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่, เป็นผู้ไม่มีวิหิงสา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยด้วยวิหิงสาอยู่. สารีบุตร ! เมื่อเสพสัญญาปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.--๖. การเสพทิฏฐิปฏิลาภ--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ (การได้ทิฏฐิเฉพาะเรื่อง) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี, มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี,โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้. สารีบุตร ! เมื่อเสพทิฏฐิปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม.--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่ง ทิฏฐิปฏิลาภ ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “ทานที่ให้แล้ว มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว มี (ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว มี(ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี, โลกนี้ มี, โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกะสัตว์ มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้ว--ปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มี” ดังนี้. สารีบุตร ! เมื่อเสพทิฏฐิปฏิลาภชนิดนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.--๗. การเสพอัตตภาวปฏิลาภ--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่ง อัตตภาวปฏิลาภ (การได้อัตตภาพเฉพาะชนิด) ชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเกิดด้วยการได้อัตตภาพที่ยังประกอบด้วยทุกข์ เพราะภพของเขายังไม่ สิ้นไป อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม--สารีบุตร ! อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ แก่บุคคลผู้ เสพอยู่ ซึ่ง อัตตภาวปฏิลาภชนิดไหนเล่า ? สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเกิดด้วยการได้อัตตภาพที่ไม่ประกอบด้วยทุกข์ เพราะภพของเขาสิ้นไป อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ.--๘. การเสพอารมณ์หก--สารีบุตร ! เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม, รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ไม่ควรเสพ.--สารีบุตร ! เมื่อบุคคล เสพอยู่ ซึ่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ, รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุชนิดนี้ เป็นรูปอันบุคคล ควรเสพ.--(ในกรณีแห่งอารมณ์ห้าที่เหลือ คือเสียง ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่น ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจมูก รส ที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย และธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุข้างบนนี้).--๙. การเสพปัจจัยสาม--สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศล ธรรมเสื่อม, จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอันบุคคล ไม่ควรเสพ.--สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งจีวร ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศล ธรรมเจริญ, จีวรชนิดนี้ เป็นจีวรอันบุคคล ควรเสพ.--(ในกรณีแห่งปัจจัย คือ บิณฑบาต และเสนาสนะ ก็มีหลักเกณฑ์ที่ ได้ตรัสไว้ทำนอง เดียวกันกับในกรณีแห่ง จีวร ข้างบนนี้).--๑๐. – ๑๓. การเสพคาม - นิคม - นคร - ชนบท--สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม (หมู่บ้าน) ชนิดไร อกุศลธรรม เจริญ กุศลธรรมเสื่อม, คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ไม่ควรเสพ.--สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่งคาม ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศล ธรรมเจริญ, คามชนิดนี้ เป็นคามอันบุคคล ควรเสพ.--(ในกรณีแห่งปัจจัย คือ นิคม - นคร - ชนบท ก็มีหลักเกณฑ์ที่ได้ตรัสไว้ ทำนองเดียวกันกับ ในกรณีแห่ง คาม ข้างบนนี้ ).--๑๔. การเสพบุคคล--สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม, บุคคลชนิดนี้ เป็นบุคคลอันบุคคล ไม่ควรเสพ.--สารีบุตร ! เมื่อบุคคลเสพอยู่ ซึ่ง บุคคล ชนิดไร อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ, บุคคลชนิดนี้ เป็นบุคคลอันบุคคล ควรเสพ.--- อุปริ.ม.๑๔/๑๕๕,๑๕๗-๑๕๘,๑๖๐-๑๖๑,๑๖๓-๑๖๔/๒๒๑,๒๒๔-๒๒๖,๒๒๙,๒๓๒.--ชาคริยานุโยคคือส่วนประกอบของความเพียร--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม (กิเลสที่กั้นจิต) ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี, ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น, ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง อีก.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/221/319.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๑/๓๑๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 68
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 859
ชื่อบทธรรม : -ศิลปะแห่งการปลุกเร้าความเพียร
เนื้อความทั้งหมด :-ศิลปะแห่งการปลุกเร้าความเพียร--ภิกษุ ท. ! อารัพภวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร) ๘ อย่าง เหล่านี้มีอยู่. แปดอย่าง อย่างไรเล่า ? แปดอย่างคือ :---๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ การงานอันภิกษุจะต้องทำมีอยู่. ภิกษุนั้นมี ความคิดอย่างนี้ว่า “การงานเป็นสิ่งที่เราต้องกระทำ แต่เมื่อกระทำการงานอยู่ มันไม่เป็นการง่าย ที่จะกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๑.--๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : การงานอันภิกษุกระทำเสร็จแล้วมีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดว่า “เราได้กระทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่นั้น เราไม่สามารถกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่ กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๒.--๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุต้องเดิน มีอยู่. ภิกษุ นั้นมีความคิดว่า “หนทางเป็นสิ่งที่เราจักต้องเดิน แต่เมื่อเราเดินทางอยู่ มันไม่เป็นการง่าย ที่จะกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๓ .--๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : หนทางอันภิกษุเดินแล้ว มีอยู่. ภิกษุ นั้นมีความคิดว่า “เราได้เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ เราไม่สามารถกระทำในใจ ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้ แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๔.--๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ แต่กายของเรากลับเป็นกายที่เบา ควรแก่การงาน. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักอาศัยกายที่เบาควรแก่การประกอบการงานนั้นๆ รีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๕.--๖. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เมื่อเราเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเลวหรือประณีตเต็มตามที่ต้องการ แต่กายของเราก็ยังเป็นกายที่เบา ควรแก่การงานอยู่. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักอาศัยกายที่เบาควรแก่การประกอบการงานนั้นๆ รีบปรารภความ--เพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๖.--๗. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อาพาธเล็กน้อยที่เกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุ มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เราแต่มันอาจเป็นไปได้ว่า อาพาธนั้นจักลุกลาม. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๗.--๘. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้หายจากความเจ็บไข้แล้ว ไม่นาน มีอยู่. ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราหายจากความเจ็บไข้แล้วไม่นาน แต่มันอาจเป็นไปได้ว่า อาพาธนั้นจักหวนกลับมาอีก. เอาเถิด ถ้ากระไรเราจักรีบปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง” ดังนี้. เธอนั้นจึงปรารภความเพียร เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อถึงทับสิ่งที่ยังไม่ถึงทับ เพื่อกระทำให้แจ้งสิ่งที่ยังไม่กระทำให้แจ้ง. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น อารัพภวัตถุข้อที่ ๘.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อารัพภวัตถุ (ที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร) แปดอย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ.23/345/186.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ.๒๓/๓๔๕/๑๘๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 68
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site