สัทธรรมลำดับที่ : 843
ชื่อบทธรรม : -หมวด ง. ว่าด้วย อานิสงส์ของสัมมาอาชีวะผลสืบต่อของสัมมาอาชีวะ
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความนี้ ตรัสสำหรับบรรพชิต แต่หลักเกณฑ์นี้คฤหัสถ์ก็นำไปปฏิบัติได้ตามควร).--หมวด ง. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาอาชีวะ--ผลสืบต่อของสัมมาอาชีวะ--มหาราช ! สัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อมทำตน ให้เป็นสุขอิ่มหนำ ทำมารดาบิดา ให้เป็นสุข อิ่มหนำ ทำบุตรภรรยา ให้เป็นสุขอิ่มหนำ ทำทาสกรรมกร ให้เป็นสุขอิ่มหนำ ทำมิตรอำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ; ย่อมตั้งไว้ซึ่งทักษิณา อันอุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นทักษิณาทานมีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝักฝ่ายดี มีสุขเป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์. เมื่อเขาบริโภคโภคะเหล่านั้นโดยชอบอยู่อย่างนี้ พระราชาก็ไม่ริบโภคะเหล่านั้นไปได้โจรก็ไม่นำไปได้ ไฟก็ไม่ไหม้ได้ น้ำก็ไม่พัดไปได้ ทายาทอันไม่เป็นที่รักก็ไม่ยื้อแย่งไปได้. มหาราช ! โภคะเหล่านั้น อันเขาบริโภคอยู่โดยชอบอย่างนี้ ย่อมถึงซึ่งการได้บริโภคใช้สอย, ไม่สูญเปล่า.--มหาราช ! เปรียบเหมือนในที่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีสระ โบกขรณีมีน้ำใส เย็น น่าดื่ม สะอาด มีท่าขึ้นลงดี น่ารื่นรมย์. คนเขาขนน้ำนั้นไป--บ้าง ดื่มบ้าง อาบบ้าง ทำตามต้องการบ้าง. มหาราช ! น้ำนั้นอันเขาบริโภคใช้สอยอยู่โดยชอบอย่างนี้ ย่อมถึงซึ่งการได้บริโภคใช้สอยไม่สูญเปล่า, นี้ฉันใด; มหาราช ! สัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อมทำตนให้เป็นสุข อิ่มหนำ ทำมารดาบิดาให้เป็นสุข อิ่มหนำ ทำบุตรภรรยาให้เป็นสุข อิ่มหนำ ทำทาสกรรมกรให้เป็นสุข อิ่มหนำ ทำมิตรอำมาตย์ให้เป็นสุข อิ่มหนำ; ย่อมตั้งไว้ซึ่งทักษิณา อันอุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นทักษิณาทานมีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝักฝ่ายดี มีสุขเป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์. เมื่อเขาบริโภคโภคะเหล่านั้น โดยชอบอยู่อย่างนี้ พระราชาก็ไม่ริบโภคะเหล่านั้นไปได้โจรก็ไม่นำไปได้ ไฟก็ไม่ไหม้ได้ น้ำก็ไม่พัดไปได้ ทายาทอันไม่เป็นที่รักก็ไม่ยื้อแย่งไปได้. มหาราช ! โภคะเหล่านั้น อันเขาบริโภคอยู่โดยชอบอย่างนี้ ย่อมถึงซึ่งการได้บริโภคใช้สอย ไม่สูญเปล่า. ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สคา.สํ. 15/131/388.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สคา.สํ. ๑๕/๑๓๑/๓๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 844
ชื่อบทธรรม : -สัมมาอาชีวะ สมบูรณ์แบบสำหรับคฤหัสถ์
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาอาชีวะ สมบูรณ์แบบสำหรับคฤหัสถ์--คหบดี ! อริยสาวก นั้น ใช้โภคทรัพย์ ที่ตนหาได้มาด้วยความเพียร เป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการ สี่ ประการอย่างไรเล่า ? คหบดี ! สี่ประการในกรณีนี้คือ :---๑. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มาโดยชอบธรรม (ดังที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น) ในการ เลี้ยงตน ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารตนให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง, ในการ เลี้ยงมารดาและบิดา ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหาร--ท่านทั้งสองให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง, ในการ เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสและกรรมกรชายหญิง ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่กันอย่างเป็นสุขโดยถูกต้อง, ในการเลี้ยงมิตรอำมาตย์ ให้เป็นสุข อิ่มหนำ บริหารให้อยู่เป็นสุขโดยถูกต้อง นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบ ด้วยเหตุผล (อายตนโส). คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :--๒. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มาโดยชอบธรรม (ดังที่ กล่าวแล้วข้างต้น) ในการ ปิดกั้นอันตราย ทั้งหลาย ทำตนให้ปลอดภัยจากอันตราย ทั้งหลาย ที่เกิดจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร หรือจากทายาทที่ไม่เป็นที่รัก นั้นๆ. นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๒ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้วบรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล. คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :--๓. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหาได้มาโดยชอบธรรม (ดังที่ กล่าวแล้วข้างต้น) ในการ กระทำพลีกรรม ๕ ประการ คือ ญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ) อติถิพลี (สงเคราะห์แขก) ปุพพเปตพลี (สงเคราะห์ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ราชพลี (ช่วยชาติ) เทวตาพลี (สงเคราะห์เทวดา). นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๓ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล. คหบดี ! ข้ออื่นยังมีอีก :--๔. อริยสาวกนั้น ใช้โภคทรัพย์อันตนหามาได้โดยชอบธรรม (ดังที่ กล่าวแล้วข้างต้น) ในการ ตั้งไว้ซึ่งทักษิณา อุทิศแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้งดเว้นแล้วจากความประมาทมัวเมา ผู้ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้ฝึกฝน ทำความสงบ ทำความดับเย็น แก่ตนเอง อันเป็นทักษิณาทานที่มีผลเลิศในเบื้องบน เป็นฝ่ายดี มีสุขเป็นผลตอบแทน เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์ นี้เป็นการบริโภคทรัพย์ ฐานที่ ๔ อันอริยสาวกนั้นถึงแล้ว บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.--คหบดี ! อริยสาวกนั้น ย่อมใช้โภคทรัพย์ที่ตนหาได้มาด้วยความ เพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อกระทำกรรมในหน้าที่ ๔ ประการเหล่านี้.--คหบดี ! โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใด ถึงความหมดสิ้นไป โดย เว้นจากกรรมในหน้าที่ ๔ ประการ ดังกล่าวแล้วนี้ โภคทรัพย์เหล่านั้น เรากล่าวว่าเป็นโภคะอันบุคคลนั้นไม่ถึงแล้วโดยฐานะ ไม่บรรลุแล้ว ไม่บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.--คหบดี ! โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใด ถึงความหมดสิ้นไป โดย กรรมในหน้าที่ ๔ ประการ ดังกล่าวแล้วนี้ โภคทรัพย์เหล่านั้น เรากล่าวว่าเป็นโภคะอันบุคคลนั้นถึงแล้วโดยฐานะ บรรลุแล้ว บริโภคแล้วโดยชอบด้วยเหตุผล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/88 - 89/61.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๘๘ - ๘๙/๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 845
ชื่อบทธรรม : -หมวด จ. ว่าด้วย ปกิณณกะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด จ. ว่าด้วย ปกิณณกะ--การดำรงชีพสุจริต มิได้มีเฉพาะเรื่องปัจจัยสี่--ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ เป็นผู้สงบเสงี่ยมเต็มที่อยู่ได้ อ่อนน้อมถ่อมตนเต็มที่อยู่ได้ เยือกเย็นเต็มที่อยู่ได้ เพียงชั่วเวลาที่ถ้อยคำอันไม่น่าพอใจมากระทบเท่านั้น. ก็ เมื่อใด ถ้อยคำอันไม่น่าพอใจมากระทบอยู่ ก็ยังสงบเสงี่ยมอยู่ได้ นั่นแหละจึงเป็นที่รู้กันได้ว่าสงบเสงี่ยมจริง, ยังอ่อนน้อม--ถ่อมตนอยู่ได้ จึงจะอ่อนน้อมถ่อมตนจริง, ยังเยือกเย็นอยู่ได้ จึงจะว่าเยือกเย็นจริง.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นผู้ว่าง่าย หรือถึงความเป็นผู้ว่าง่าย เพราะ เหตุเพื่อจะได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช เราไม่กล่าวภิกษุนั้นว่าเป็นผู้ว่าง่ายเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช อยู่ ก็จะไม่เป็นผู้ว่าง่าย ไม่ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย.--ภิกษุ ท. ! ส่วนภิกษุใด สักการะธรรมะอยู่ เคารพธรรมะอยู่ นอบน้อมธรรมะอยู่ เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย อยู่ : นั่นแหละเรากล่าวว่า ผู้ว่าง่ายแท้จริง. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงทำการศึกษาสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้สักการะธรรมะอยู่ เคารพธรรมะอยู่ นอบน้อมธรรมะอยู่ เป็นผู้ว่าง่าย ถึงความเป็นผู้ว่าง่าย” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/254/266.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๕๔/๒๖๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 846
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๘
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๘--ว่าด้วยสัมมาอาชีวะ--จบ--นิทเทศ ๑๙ ว่าด้วย สัมมาวายามะ--(มี ๒๖ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วย อุทเทศ - วิภาค ของสัมมาวายามะ--อุทเทสแห่งสัมมาวายามะ--ภิกษุ ท. ! สัมมาวายามะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น; ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที 10/384/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที ๑๐/๓๘๔/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 847
ชื่อบทธรรม : -ปธานสี่ ในฐานะแห่งสัมมาวายาโม
เนื้อความทั้งหมด :-ปธานสี่ ในฐานะแห่งสัมมาวายาโม--ภิกษุ ท. ! ปธาน ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่าง คือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน.--ภิกษุ ท. ! สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังวรปธาน.--ภิกษุ ท. ! ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ปหานปธาน.--ภิกษุ ท. ! ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.--ภิกษุ ท. ! อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ปธาน ๔ อย่าง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/96 /69.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๙๖ /๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 848
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ-ไวพจน์-อุปมา ของสัมมาวายามะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ-ไวพจน์-อุปมา ของสัมมาวายามะ--ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เดินอยู่ ถ้า เกิดมีกามวิตก หรือ พ๎ยาปาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ขึ้นมา และภิกษุนั้นก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้เดินอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว(ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภความ เพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ ยืนอยู่ ถ้า เกิดมีกามวิตก หรือ พ๎ยาปาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ขึ้นมา และภิกษุนั้นก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้ยืนอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว (ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ นั่งอยู่ ถ้า เกิดมีกามวิตกหรือ พ๎ยาปาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ขึ้นมา และภิกษุนั้นก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นั่งอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว (ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภ ความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ นอนตื่นอยู่ ถ้า เกิดมีกามวิตก หรือ พ๎ยาปาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ขึ้นมา และภิกษุนั้นก็ ไม่รับเอาวิตกเหล่านั้นไว้ แต่สละ--ทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ. ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นอนตื่นอยู่ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส รู้สึกกลัว(ต่อสิ่งลามก) เป็นผู้ปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/17/11
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗/๑๑
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 849
ชื่อบทธรรม : -ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ
เนื้อความทั้งหมด :-ลักษณะของผู้มีความเพียรสี่อิริยาบถ--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมแล้ว มีปาติโมกข์ถึงพร้อมแล้ว สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่ดังนี้แล้ว ยังมีกิจอะไรที่เธอทั้งหลายต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้ เดินอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้เดินอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้ ยืนอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว,--ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้ยืนอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้ นั่งอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว, ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นั่งอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุแม้ นอนตื่นอยู่ เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา, ปราศจาก พ๎ยาบาท, ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็เป็นนิวรณ์ที่เธอละขาดแล้ว,ความเพียรเป็นธรรมที่เธอปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเป็นธรรมอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่ลืมหลง, กายสงบรำงับแล้วไม่กระวนกระวาย, จิตตั้งมั่นแล้วเป็นอารมณ์เดียว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้นอนตื่นอยู่ ก็เรียกว่า ผู้ทำความเพียรเผากิเลส ผู้กลัว (ต่อความเป็นทาสของกิเลส) เป็นผู้ปรารภความเพียรอุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/18/12.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘/๑๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 850
ชื่อบทธรรม : -ไวพจน์ของสัมมาวายามะ คือสัมมัปปธาน
เนื้อความทั้งหมด :-ไวพจน์ของสัมมาวายามะ คือสัมมัปปธาน--ภิกษุ ท. ! สัมมัปปธาน ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :---๑. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น.--๒. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว.--๓. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น.--๔. ย่อม ทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ท. ที่บังเกิดขึ้นแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/19/13.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙/๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 851
ชื่อบทธรรม : -ปธานสี่ ในฐานะสัมมัปปธาน
เนื้อความทั้งหมด :-ปธานสี่ ในฐานะสัมมัปปธาน--ภิกษุ ท. ! ปธาน ๔ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ สังวรปธาน ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน.--ภิกษุ ท. ! สังวรปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการรวบถือเอาทั้งหมด (รวมเป็นภาพเดียว) ไม่เป็นผู้ถือเอาในลักษณะที่เป็นการถือเอาโดยแยกเป็น--ส่วนๆ; อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ซึ่งอินทรีย์อันเป็นต้นเหตุคือตา ใด, เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมซึ่งอินทรีย์นั้น, ย่อมรักษาอินทรีย์คือตา ย่อมถึงการสำรวมในอินทรีย์คือตา (ในกรณีแห่งอินทรีย์คือ หู อินทรีย์คือ จมูก อินทรีย์คือ ลิ้น อินทรีย์คือ กาย และอินทรีย์คือ ใจ ก็มีข้อความที่ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า สังวรปธาน.--ภิกษุ ท. ! ปหานปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่รับเอาไว้ สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดเสีย ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว.... ซึ่งพ๎ยาบาทวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว .... ซึ่งวิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว .... ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๆ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ปหานปธาน.--ภิกษุ ท. ! ภาวนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญซึ่ง สติสัมโพชฌงค์ .... ซึ่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ .... ซึ่ง วิริยสัมโพชฌงค์ ..... ซึ่ง ปีติสัมโพชฌงค์ .... ซึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ .....ซึ่ง สมาธิสัมโพชฌงค์ .... ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน (แต่ละอย่างๆ) อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ภาวนาปธาน.--ภิกษุ ท. ! อนุรักขนาปธาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมตามรักษาซึ่งสมาธินิมิตอันเจริญ ที่เกิดขึ้นแล้ว (คือรักษาความสำคัญรู้ในภาวะของซากศพต่างๆกัน ๖ ชนิด) คือ อัฏฐิกสัญญา ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา--วิปุพพกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา๑. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อนุรักขนาปธาน.--ภิกษุ ท. ! ปธาน ๔ อย่าง เหล่านี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/20/14
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๐/๑๔
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 852
ชื่อบทธรรม : -การทำความเพียรดุจผู้บำรุงรักษาป่า
เนื้อความทั้งหมด :-การทำความเพียรดุจผู้บำรุงรักษาป่า--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงละอกุศลเสีย จงทำการประกอบความ เพียรอย่างทั่วถึงในกุศลธรรมทั้งหลาย. ด้วยการกระทำอย่างนี้ เธอทั้งหลายจัก ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนที่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีป่าสาละใหญ่ภูมิภาคปกคลุมไปด้วยต้นเอลัณฑะ. เกิดมีบุรุษคนใดคนหนึ่ง หวังประโยชน์เกื้อกูล ความปลอดภัย แก่ป่าสาละนั้น, เขาได้ตัดต้นสาละเล็กๆคดๆงอๆที่คอยแย่งอาหารออกไปทิ้งเสียภายนอก ชำระบริเวณภายในให้ราบเตียน บำรุงรักษาต้นสาละเล็กๆที่ตรง ที่งอกงามดี เป็นอย่างดี. ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้ โดยสมัยอื่น ป่าสาละนั้น ก็ถึงซึ่งความเจริญงอกงาม ไพบูลย์, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เธอทั้งหลาย จงละอกุศลเสีย จงทำการประกอบความเพียรอย่างทั่วถึงในกุศลธรรมทั้งหลาย. ด้วยการกระทำอย่างนี้ เธอ ทั้งหลายจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/252/265.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๕๒/๒๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 853
ชื่อบทธรรม : -๑. อัฏฐิก คือศพมีแต่กระดูก, ปุฬวก คือศพมีแต่หนอน, วินีลก คือศพขึ้นเขียว, วิปุพพก คือศพมีหนองไหล, วิจฉิททก คือศพขาดเป็นชิ้นเป็นท่อน, อุทธุมาตก คือศพขึ้นพอง.
เนื้อความทั้งหมด :-๑. อัฏฐิก คือศพมีแต่กระดูก, ปุฬวก คือศพมีแต่หนอน, วินีลก คือศพขึ้นเขียว, วิปุพพก คือศพมีหนองไหล, วิจฉิททก คือศพขาดเป็นชิ้นเป็นท่อน, อุทธุมาตก คือศพขึ้นพอง.--หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ - เหตุปัจจัย ของสัมมาวายามะ--ความสังเวชเป็นเหตุให้ปรารภความเพียร--ภิกษุ ท. ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำพวก เหล่าไหนเล่า ? สี่จำพวก คือ :---๑. ภิกษุ ท. ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคน ในกรณีนี้ ได้ยินว่า “ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา” ดังนี้ แล้ว เขาก็สังเวช ถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น ; ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญที่พอเห็นเงาของปฏักก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.--๒. ภิกษุ ท. ! จำพวกอื่นยังมีอีก : บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา, แต่เขาได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง เขาก็สังเวชถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น ; ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ถูกเขาแทงด้วยปฏักที่ขุมขนแล้ว ก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.--๓. ภิกษุ ท. ! จำพวกอื่นยังมีอีก : บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในกรณีนี้ ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา, ทั้งเขาไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง, แต่ญาติหรือสาโลหิตของเขาเป็นผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา เขาก็สังเวชถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น ; ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ถูกเขาแทงด้วยปฏักที่หนังก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.--๔. ภิกษุ ท. ! จำพวกอื่นยังมีอีก : บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนใน กรณีนี้ ไม่ได้ยินว่า ในบ้านหรือนิคมโน้น มีหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา และเขาไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยาด้วยตนเอง, ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขาเป็นผู้ถึงความทุกข์หรือทำกาลกิริยา แต่ว่าเขาเองถูกต้องแล้วด้วยทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ ซึ่งกล้าแข็ง แสบเผ็ดไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย เขาก็สังเวชถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้น; ครั้นสลดใจแล้ว ก็เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีตนส่งไปในแนวธรรมะ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญชนิดนี้ ว่ามีอุปมาเหมือน ม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ถูกเขาแทงด้วยปฏักถึงกระดูก ก็สังเวชถึงความสลดใจ ฉะนั้น.--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุรุษอาชาไนยผู้เจิญ ๔ จำพวก ซึ่งมีอยู่หาได้ อยู่ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/154/113.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕๔/๑๑๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 854
ชื่อบทธรรม : -บุพพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อความสิ้นอาสวะ
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความข้างบนนี้แสดงให้เห็นว่า ยิ่งมีความสลดสังเวชในเหตุการณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มากเท่าไร ก็ยิ่งมีกำลังใจเพื่อจะทำความเพียรมากขึ้นเท่านั้น).--บุพพภาคแห่งการทำความเพียรเพื่อความสิ้นอาสวะ--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น ไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอพึงทำความสำเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน“ ดังนี้เถิด.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์หมดจดใสสะอาด ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม ก็ยินดีพอใจว่า เป็นลาภหนอ บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือจะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า :---“เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีอภิชฌา หรือไม่มีอภิชฌา;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตพยาบาท หรือไม่มีจิตพยาบาท;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่ หรือปราศจากถีนมิทธะ;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีความฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่าน;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีวิจิกิจฉา หรือหมดวิจิกิจฉา;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย เป็นผู้มักโกรธ หรือไม่มักโกรธ;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตเศร้าหมอง หรือไม่มีจิตเศร้าหมอง;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีกายอันเครียดครัดในการปฏิบัติธรรม หรือมีกายไม่เครียดครัด;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย เป็นผู้เกียจคร้าน หรือเป็นผู้ปรารภความเพียร;--เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดย มีจิตตั้งมั่น หรือไม่มีจิตตั้งมั่น” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท ถีนมิทธะกลุ้มรุม ฟุ้งซ่าน มีวิจิกิจฉา มักโกรธ มีจิตเศร้าหมอง มีกายเครียดครัด เกียจคร้าน มีจิตไม่ตั้งมั่น” ดังนี้แล้ว,ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เช่นเดียวกับบุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ อันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น.--ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า “เราอยู่โดยมาก โดยความ เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท ปราศจากถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ฟุ้งซ่าน หมดวิจิกิจฉา ไม่มักโกรธ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีกายไม่เครียดครัด ปรารภความเพียร มีจิต-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/97/51.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๙๗/๕๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 67
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site