สัทธรรมลำดับที่ : 837
ชื่อบทธรรม : -การดำรงชีพชอบ ตามหลักอริยวงศ์
เนื้อความทั้งหมด :-การดำรงชีพชอบ ตามหลักอริยวงศ์--ภิกษุ ท. ! อริยวงศ์ (ธรรมที่เป็นเชื้อสายของพระอริยเจ้า) สี่อย่าง เหล่านี้ ปรากฏว่า เป็นธรรมอันเลิศ ยั่งยืน เป็นแบบแผนมาแต่ก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ จักไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว. อริยวงศ์สี่อย่าง อะไรบ้างเล่า ? สี่อย่าง คือ :---(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และ เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้, ไม่ทำอเนสนา (การแสวงหาไม่สมควร) เพราะจีวรเป็นเหตุ, ไม่ได้จีวรก็ไม่ทุรนทุราย, ได้จีวรแล้วก็ไม่ยินดีเมาหมกพัวพัน, เห็นส่วนที่เป็นโทษแห่งสังสารวัฏฏ์, มีปัญญาในอุบายที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ, นุ่งห่มจีวรนั้น. อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น. ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ใน อริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.--(๒) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และเป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้, ไม่ทำอเนสนา (การแสวงหาไม่สมควร) เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ, ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ทุรนทุราย, ได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ยินดีเมาหมกพัวพัน, เห็นส่วนที่เป็นโทษแห่งสังสารวัฏฏ์, มีปัญญาในอุบายที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ, บริโภคบิณฑบาตนั้น. อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น. ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.--(๓) อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และเป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้, ไม่ทำอเนสนา (การแสวงหาไม่สมควร) เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ, ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่ทุรนทุราย, ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่ยินดีเมาหมกพัวพัน, เห็นส่วนที่เป็นโทษแห่งสังสารวัฏฏ์,--มีปัญญาในอุบายที่จะถอนตัวออกอยู่เสมอ, ใช้สอยเสนาสนะนั้น. อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น. ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้านมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.--(๔) อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ เป็นผู้มีใจยินดีในการบำเพ็ญสิ่งที่ควร บำเพ็ญ ยินดีแล้วในการบำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญ, เป็นผู้มีใจยินดีในการละสิ่งที่ควรละ ยินดีแล้วในการละสิ่งที่ควรละ. อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุดังกล่าวนั้น. ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในการบำเพ็ญสิ่งที่ควรบำเพ็ญและการละสิ่งที่ควรละนั้น เราเรียกภิกษุนี้ว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.--ภิกษุ ท. ! อริยวงศ์สี่อย่างเหล่านี้แล ปรากฏว่า เป็นธรรมเลิศยั่งยืน เป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ จักไม่ถูกทอดทิ้ง เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.--ภิกษุ ท. ! ก็แลภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยอริยวงศ์สี่อย่างเหล่านี้ แม้หากอยู่ในทิศตะวันออก .... ทิศตะวันตก .... ทิศเหนือ .... ทิศใต้ เธอย่อมย่ำยีความไม่ยินดีเสียได้ข้างเดียว ความไม่ยินดีหาย่ำยีเธอได้ไม่. ที่เป็นเช่นนั้น เพราะอะไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อมเป็นผู้ย่ำยีเสียได้ ทั้งความไม่ยินดีและความยินดี, ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. 21/35/28.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ. ๒๑/๓๕/๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 66
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 838
ชื่อบทธรรม : -การดำรงชีพชอบโดยหลักแห่งมหาปุริสวิตก (แปดอย่าง)
เนื้อความทั้งหมด :-การดำรงชีพชอบโดยหลักแห่งมหาปุริสวิตก (แปดอย่าง)--(หรือการดำรงชีพชอบของพระอริยเจ้า)--ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ! ดีละ ที่เธอตรึกแล้ว ซึ่งมหาปุริสวิตก ว่า : ---“ ๑. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีความปรารถนาน้อย, ธรรมมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ปรารถนาใหญ่.--๒. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สันโดษ, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้ไม่สันโดษ.--๓. ธรรมะนี้ สำหรับผู้สงบสงัด, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่.--๔. ธรรมะนี้ สำหรับผู้ปรารภความเพียร, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้เกียจคร้าน.--๕. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับผู้มีสติอันหลงลืม.--๖. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีจิตตั้งมั่น, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้มี จิตไม่ตั้งมั่น.--๗. ธรรมะนี้ สำหรับผู้มีปัญญา, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้ทรามปัญญา ดังนี้.--อนุรุทธะ ! แต่เธอควรจะตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ด้วยว่า :---“๘. ธรรมะนี้ สำหรับผู้พอใจในความไม่เนิ่นช้า๑, ผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า, ธรรมะนี้ มิใช่สำหรับสำหรับผู้พอใจในความเนิ่นช้า ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า” ดังนี้.--๑. ธรรมที่ทำความเนิ่นช้าแก่การบรรลุนิพพาน คือตัณหา มานะ ทิฏฐิ. เขาเป็นผู้ยินดีพอใจในความปราศจากตัณหา มานะ ทิฏฐิ.--(อานิสงส์แห่งการดำรงชีพชอบ โดยหลักแห่งมหาปุริสวิตกแปด)--๑. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการเหล่านี้, เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน อันประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.--๒. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการเหล่านี้, เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น มีปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่ประกอบด้วยวิตก ไม่ประกอบด้วยวิจาร เพราะความรำงับไปแห่งวิตกและวิจารทั้งหลาย แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.--๓. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการเหล่านี้, เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ และสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะความจางคลายแห่งปีติ เข้าถึง ตติย-ฌาน อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.--๔. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้ง ๘ ประการ เหล่านี้, เมื่อนั้น เธอจักหวังได้ ซึ่งความเป็นผู้เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน อันไม่มีความทุกข์และความสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาเพราะละเสียได้ซึ่งสุขและเพราะละเสียได้ซึ่งทุกข์ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน แล้วแลอยู่ ตามที่เธอหวัง.--(อานิสงส์ที่ครอบคลุมไปถึงความหมายแห่งปัจจัยสี่)--๑. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ ด้วย ดังนี้แล้ว; อนุรุทธะ ! เมื่อนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับผ้าที่เต็มอยู่ในหีบผ้าที่ย้อมด้วยสีต่างๆ ของคหบดีหรือ คหบดีบุตร (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง), ฉันใดก็ฉันนั้น.--๒. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว ; อนุรุทธะ ! เมื่อนั้น ก้อนข้าวที่เธอได้มาด้วยลำแข้ง จักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับข้าวสุกแห่งข้าวสาลีไม่มีเม็ดดำ มีแกงและกับเป็นอันมาก ของคหบดีหรือคหบดีบุตร (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง), ฉันใดก็ฉันนั้น.--๓. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว; อนุรุทธะ ! เมื่อนั้น รุกขมูลเสนาสนะจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับเรือนยอด ของคหบดีหรือคหบดีบุตร อันเป็นเรือนยอดที่--ฉาบขึ้นฉาบลงดีแล้ว ลมผ่านไม่ได้ มีลิ่มสลักแน่นหนา มีหน้าต่างปิดได้สนิท (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง), ฉันใดก็ฉันนั้น.--๔. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว; อนุรุทธะ ! เมื่อนั้น ที่นั่งที่นอนอันทำด้วยหญ้าจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับบัลลังก์ ของคหบดีหรือคหบดีบุตร อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีอันทำด้วยหนังชะมด มีเพดานข้างบน มีหมอนข้างแดงสองข้าง (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง), ฉันใดก็ฉันนั้น.--๕. อนุรุทธะ ! เมื่อใด เธอจักตรึกซึ่งมหาปุริสวิตกทั้งแปดประการเหล่านี้ ด้วย และ จักเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน อันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐรรมประกอบด้วยจิตอันยิ่ง ทั้งสี่เหล่านี้ด้วย ดังนี้แล้ว; อนุรุทธะ ! เมื่อนั้น ปูติมุตตเภสัช (ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า) จักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ เป็นอยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้ง ด้วยผาสุกวิหารอันก้าวลงสู่นิพพาน เหมือนกับเภสัชนานาชนิด ของคหบดีหรือคหบดีบุตร อันได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง), ฉันใดก็ฉันนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/233-235/120.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๓๓-๒๓๕/๑๒๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 66
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 839
ชื่อบทธรรม : -การดำรงชีพชอบ คือการลงทุนเพื่อนิพพาน
เนื้อความทั้งหมด :-การดำรงชีพชอบ คือการลงทุนเพื่อนิพพาน--(พระผู้มีพระภาคเสร็จการบิณฑบาตในย่านตลาดแห่งอังคุตตราปนิคม แล้วเสด็จเข้าไปประทับเพื่อทิวาวิหาร ในพนาสณฑ์ใกล้นิคมนั้น ประทับนั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. คฤหบดีคนหนึ่งชื่อโปตลิยะผู้อาศัยอยู่ในนิคมนั้น ซึ่งได้จัดตัวเองไว้ในฐานะเป็นผู้สำเร็จกิจแห่งชีวิต พ้นจากข้อผูกพันของฆราวาส ยกทรัพย์สมบัติให้ลูกหลานหมดแล้ว ดำรงชีวิตอย่างคนหลุดพ้น ตามที่เขาสมมติกัน นุ่งห่มอย่างคนที่ถือกันว่าหลุดพ้นแล้ว มีร่ม มีรองเท้า เดินเที่ยวหาความพักผ่อนตามราวป่า ได้เข้าไปสู่พนาสณฑ์ที่พระองค์กำลังประทับอยู่ ทักทายให้เกิดความคุ้นเคยกันแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่โปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่อย่างนั้นว่า :-)--ท่านคฤหบดี ! ที่นั่งนี้ก็มีอยู่ เชิญท่านนั่งตามประสงค์.--(โปตลิยคฤหบดี โกรธ ไม่พอใจ ในข้อที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกเขาว่าเป็นคฤหบดี ในเมื่อเขาจัดตัวเองว่าเป็นผู้พ้นจากความเป็นผู้ประกอบกิจอย่างฆราวาส ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งการดูหมิ่นเขาอย่างมาก เขาก็ยืนเฉยเสียไม่นั่งลง ; แม้พระผู้มีพระภาคจะตรัสเชื้อเชิญเขาเป็นครั้งที่สอง ด้วยถ้อยคำอย่างเดียวกัน เขาก็โกรธไม่พอใจ ยืนเฉยเสีย ไม่นั่งลง; ครั้นพระองค์ตรัสเชื้อเชิญเขาให้นั่งลงเป็นครั้งที่สาม ด้วยถ้อยคำอย่างเดียวกันอีก, เขาก็กล่าวตอบด้วยความโกรธไม่พอใจว่า :- )--“ท่านโคดมเอ๋ย ! นั่นไม่ถูก นั่นไม่สมควร ในการที่ท่านจะมาเรียกข้าพเจ้า ว่า คฤหบดี”.--ท่านคฤหบดีเอ๋ย ! ก็กิริยาอาการ ลักษณะ ท่าทางของท่าน แสดงว่าเป็น คฤหบดีนี่.--“ท่านโคดม ! การงานต่าง ๆ ข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว ; โวหาร (การลงทุนเพื่อผลกำไร) ต่างๆ ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว”.--ท่านคฤหบดี ! ท่านเลิกการงานต่างๆ ตัดขาดการลงทุนต่างๆ หมดสิ้น แล้วอย่างไรกันเล่า ?--“ท่านโคดม ! ในเรื่องนี้นะหรือ ; ทรัพย์ใด ๆ มีอยู่, ข้าวเปลือก เงินทองมีอยู่ ; ทั้งหมดนั้นข้าพเจ้าได้มอบให้บุตรทั้งหลายไปหมดสิ้นแล้ว. ข้าพเจ้าไม่สั่งสอนบ่นว่าใครอีกต่อไปในที่นั้น ๆ, ต้องการเพียงข้าวกินและเสื้อผ้าบ้างเป็นอย่างยิ่ง อยู่ดังนี้. ท่านโคดมเอ๋ย ! นี้แหละคือการงานต่างๆ ที่ข้าพเจ้าเลิกหมดแล้ว ; การลงทุนต่าง ๆ ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว”.--ท่านคฤหบดี ! การเลิกละโวหาร (การลงทุน) ตามที่ท่านกล่าวนั้นมัน เป็นอย่างหนึ่ง ; การเลิกละโวหาร (การลงทุน) ในอริยวินัยนั้น มันเป็นอย่างอื่น.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ๑ การเลิกละโวหาร (การลงทุน) ในอริยวินัย นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงแสดงธรรมเรื่องการเลิกละโวหาร (การลงทุน) ใน อริยวินัยเถิด”--คฤหบดี ! ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.--คฤหบดี ! ธรรมทั้งหลาย ๘ ประการ เหล่านี้ เป็นไปเพื่อการตัดขาด ซึ่งโวหาร (การลงทุนเพื่อกำไรอย่างใดอย่างหนึ่ง) ในอริยวินัย. แปดประการอย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ :---๑. พึงสังเกตว่า ต่อจากนี้ไป เขาเปลี่ยนคำพูดที่ไม่แสดงความเคารพ มาเป็นคำพูดแสดงความเคารพ คือแทนที่จะใช้คำว่า “พระโคดม ! ” ซึ่งไม่เป็นการแสดงความเคารพ ก็เปลี่ยนมาเป็นใช้คำว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า” หรือ “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !” ดังนี้ ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพ.--๑. อาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาต ละเสียซึ่งกรรมอันเป็นปาณาติบาต--๒. อาศัยการถือเอาแต่สิ่งที่เขาให้ ละเสียซึ่งการถือเอาสิ่งซึ่งเขาไม่ได้ให้--๓. อาศัยวาจาสัจจ์ ละเสียซึ่งมุสาวาท--๔. อาศัยอปิสุณวาจา ละเสียซึ่งปิสุณวาจา--๕. อาศัยความไม่โลภด้วยความกำหนัด ละเสียซึ่งความโลภด้วยความกำหนัด--๖. อาศัยความไม่มีโทสะเพราะถูกนินทา ละเสียซึ่งโทสะเพราะถูกนินทา--๗. อาศัยความไม่คับแค้นเพราะความโกรธ ละเสียซึ่งความคับแค้นเพราะความโกรธ--๘. อาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน ละเสียซึ่งความดูหมิ่นท่าน.--คฤหบดี ! ธรรม ๘ ประการ เหล่านี้แล อันเรากล่าวแล้วโดยย่อไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร แต่ก็เป็นไปเพื่อการตัดโวหาร (การลงทุนเพื่อกำไร) ในอริยวินัย.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรม ๘ ประการที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแต่โดยย่อ มิได้จำแนกแล้วโดยพิสดาร ก็ยังเป็นไปเพื่อการตัดขาดโวหาร (การลงทุนเพื่อกำไร) ในอริยวินัย นั้น, ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงจำแนกธรรม ๘ ประการเหล่านี้ โดยพิสดารเพราะอาศัยความเอ็นดูแก่ข้าพระองค์เถิด”--คฤหบดี ! ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.--คฤหบดี ! ข้อที่เรากล่าวว่า “อาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาตละเสียซึ่งกรรมอันเป็นปาณาติบาต“ ดังนี้นั้น เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลดังนี้--ว่า อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมใคร่ครวญเห็นดังนี้ว่า เราปฏิบัติแล้วดังนี้เพื่อละเสียเพื่อตัดขาดเสีย ซึ่งสังโยชน์อันเป็นเหตุให้เรากระทำปาณาติบาต. อนึ่ง เมื่อเรา ประกอบกรรมอันเป็นปาณาติบาตอยู่ แม้เราเองก็ตำหนิตนเองได้เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย, วิญญูชนใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนเราได้เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย, ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ทุคติก็หวังได้เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย. ปาณาติบาตนั่นแหละเป็นสังโยชน์ ปาณาติบาตนั่นแหละ เป็นนิวรณ์. อนึ่ง อาสวะเหล่าใดอันเป็นเครื่องกระทำความคับแค้นและเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ; ครั้นเว้นขาดจากปาณาติบาตเสียแล้ว อาสวะอันเป็นเครื่องกระทำความคับแค้นและเร่าร้อนเช่นนั้นเหล่านั้น ย่อมไม่มี ดังนั้น พึงอาศัยกรรมอันไม่เป็นปาณาติบาต ละกรรมอันเป็นปาณาติบาตเสีย, ดังนี้.--(สำหรับหัวข้อธรรมะที่ว่า อาศัยการถือเอาแต่สิ่งที่เขาให้ ละอทินนาทานเสีย ก็ดี อาศัยสัจจวาจา ละมุสาวาทเสีย ก็ดี อาศัยอปิสุณวาจา ละปิสุณวาจาเสีย ก็ดี อาศัยอคิทธิโลภละคิทธิโลภเสีย ก็ดี อาศัยอนินทาโทส ละนินทาโทสเสีย ก็ดี อาศัยอโกธุปายาส ละโกธุปายาสเสีย ก็ดี อาศัยอนติมานะ ละอติมานะเสีย ก็ดี ซึ่งมีคำแปลและความหมายดังที่กล่าวแล้วข้างต้นก็ได้ทรงอธิบายด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับคำอธิบายของหัวข้อธรรมะที่ว่า “อาศัยอปาณาติบาตละปาณาติบาตเสีย” ดังที่กล่าวแล้วข้างบนนี้; คือ อริยสาวกพิจารณาเห็นว่า มีสังโยชน์เป็นเหตุให้กระทำ ครั้นทำแล้วตนเองก็ตำหนิตนเองได้ ผู้รู้ใคร่ครวญก็ติเตียนได้ ตายแล้วไปสู่ทุคติจึงจัดการกระทำนั้นๆ ว่า เป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์ ครั้งละการกระทำนั้น ๆ เสียก็ไม่มีอาสวะอันเป็นเครื่องดับแค้นเดือดร้อน (ระดับนั้น) อีกต่อไป; แล้วได้ตรัสข้อความนี้สืบต่อไป ว่า :- )--คฤหบดี ! ธรรมทั้งหลาย ๘ ประการ เหล่านี้ (อันเรากล่าวแล้วแม้ อย่างนี้ ก็ยังเป็นการ) กล่าวแล้วโดยสังเขป ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร (แม้จะ) เป็นไป--เพื่อการตัดขาดโวหาร (การลงทุนเพื่อกำไร) ในอริยวินัย ก็จริง แต่ยังไม่ได้เป็นการตัดขาดซึ่งโวหารกรรมนั้นๆทั้งหมดทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวงในอริยวินัย นี้ก่อน--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงซึ่งธรรมอันเป็นการตัดขาดซึ่งโวหารกรรมนั้นๆทั้งหมดทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวงในอริยวินัย แก่ข้าพระองค์เถิด”--คฤหบดี ! ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.--(ต่อจากนี้ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถึง กามและโทษอันเลวร้ายของกาม ซึ่ง เปรียบด้วย ท่อนกระดูกไม่สามารถสนองความหิวของสุนัขหิว ชิ้นเนื้อในปากนกมีนกอื่นแย่ง จุดคบเพลิงถือทวนลม หลุมถ่านเพลิงอันน่ากลัว ของในฝันซึ่งตื่นแล้วก็หายไป ของยืมซึ่งต้องคืนเจ้าของและเปรียบด้วยผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมฆ่าต้นของมันเอง (มีรายละเอียดหาดูได้ที่หน้า ๓๐๐ แห่งหนังสือเล่มนี้ โดยหัวข้อว่า “กามเปรียบด้วยท่อนกระดูก” เป็นต้นไป) อันอริยสาวกใคร่ครวญเห็นโทษทุกข์อุปายาสอันยิ่ง ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง แล้วละอุเบกขามีอารมณ์ต่าง ๆ เสียได้ แล้วเจริญอุเบกขามีอารมณ์เดียวอันเป็นที่ดับอุปาทานในโลกามิสโดยไม่มีส่วนเหลือ.--อริยสาวกนั้น อาศัยสติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขามีอารมณ์เดียวอันไม่มีอื่นยิ่งกว่านี้แล้ว ระลึกได้ซึ่ง ปุพเพนิวาสานุสสติญาณมีอย่างเป็นอเนก และ มีจักษุทิพย์เห็นสัตว์จุติอุบัติไปตามกรรมของตน และในที่สุด ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุติติอันไม่มีอาสวะ ในทิฏฐธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วแลอยู่ ; แล้วตรัสต่อไปว่า :- )--คฤหบดี ! ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามี การตัดขาดโวหารกรรม(การลงทุนเพื่อกำไร) นั้น ๆ ทั้งหมดทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง ในอริยวินัยนี้. คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ท่านได้มองเห็นการตัดขาดซึ่ง โวหารกรรมอย่างนี้เหล่านี้ ว่ามีอยู่ในท่านบ้างไหม ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! จะมีอะไรกันเล่าสำหรับข้าพระองค์ ข้าพระองค์ยังห่างไกล จากการตัดขาดโวหารกรรมอย่างนี้ เหล่านี้ ในอริยวินัยนั้น.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ในกาลก่อน ข้าพระองค์ได้สำคัญพวกปริพาชก เดียรถีย์เหล่าอื่น ซึ่งไม่ใช่ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง ได้คบพวกปริพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น ผู้ไม่รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบผู้รู้ทั่วถึง ได้ตั้งผู้รู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งผู้รู้ทั่วถึง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ได้สำคัญภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง ได้คบภิกษุผู้รู้ทั่วถึง ในฐานะเป็นการคบผู้ไม่รู้ทั่วถึง ได้ตั้งผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งผู้ไม่รู้ทั่วถึง.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ ข้าพระองค์รู้จักพวกปริพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น ซึ่งไม่ใช่ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักคบผู้ไม่รู้ทั่วถึงในฐานะเป็นการคบผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักตั้งผู้รู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งผู้ไม่รู้ทั่วถึง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์จักรู้จักภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง จักคบผู้รู้ทั่วถึงในฐานะเป็นการคบผู้รู้ทั่วถึง จักตั้งผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะแห่งผู้รู้ทั่วถึง.--ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคได้ทรงยังความรักสมณะของข้าพระองค์ให้เกิดขึ้นในหมู่สมณะ ยังความเลื่อมใสสมณะของข้าพระองค์ให้เกิดขึ้นในหมู่สมณะ ยังความ เคารพสมณะของข้าพระองค์ให้เกิดขึ้นในหมู่สมณะ แล้ว.--ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! ไพเราะนัก พระเจ้าข้า ! เปรียบเหมือนการหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตั้งประทีปน้ำมันไว้ในที่มืด เพื่อว่าคนมีตาจะได้ เห็นรูป ดังนี้” (ต่อจากนี้ไป เขาได้แสดงตนเป็นอุบาสก).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/33 - 47/36 - 55
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๓๓ - ๔๗/๓๖ - ๕๕
ลำดับสาธยายธรรม : 66
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 840
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติของสัมมาอาชีวะหลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า “โวหาร” ในที่นี้ คงจะเป็นคำแปลกประหลาดสำหรับผู้อ่านที่ไม่เคยทราบว่า คำคำนี้ได้แปลได้หลายอย่าง คือแปลว่า คำพูด ก็ได้ สำนวน วิธีพูด ก็ได้ อรรถคดีในโรงศาล ก็ได้ การซื้อขาย ก็ได้ การลงทุนหากำไร ก็ได้ และความหมายอื่นๆอีก, ในพระบาลีนี้ หมายถึงการเป็นอยู่อย่างฆราวาสที่ทำหน้าที่ของตนจนถึงระดับสุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสร็จกิจในหน้าที่ของมนุษย์คนหนึ่ง ๆ. ดังนั้น อาจจะถือได้ว่า การดำรงชีวิตของตนให้ดีจนกระทั่งบรรลุพระนิพพานนั้น ก็เป็น “โวหาร” ได้อย่างหนึ่งเหมือนกัน. แม้จะกล่าวตามธรรมชาติล้วนๆ ชีวิตทุกชีวิต ย่อมเป็นการลงทุนอยู่ในตัวมันเอง เพื่อผลอย่างหนึ่ง คือจุดหมายปลายทางของชีวิต. พุทธบริษัททั่วไป ควรจะสนใจข้อความแห่งพระบาลีสูตรนี้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้จัดให้ชีวิตของตน เป็นการลงทุนที่ประเสริฐที่สุด ได้ผลดีที่สุดไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา.--การดำรงชีพชอบเพื่อบรรลุนิพพานนี้ มีความหมายแห่งสัมมาอาชีโว แม้จะเป็นสัมมาอาชีโวที่สูงเกินไป ก็ยังจัดว่าเป็นสัมมาอาชีโวอยู่นั่นเอง จึงนำข้อความนี้ มารวมไว้ในหมวดนี้แห่งหนังสือนี้).--หมวด ค. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาอาชีวะ--หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยสี่--ก. เกี่ยวกับจีวร--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง นุ่งห่มจีวร เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลายอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ ให้ความละอายกำเริบ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/434/329
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๓๔/๓๒๙
ลำดับสาธยายธรรม : 66
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 841
ชื่อบทธรรม : -ข. เกี่ยวกับบิณฑบาต
เนื้อความทั้งหมด :-ข. เกี่ยวกับบิณฑบาต--ภิกษุ ท. ! เราย่อมฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว (คือฉันหนเดียวลุกขึ้นแล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น). ภิกษุ ท. ! เมื่อเราฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียวอยู่ ย่อมรู้สึกว่าเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีความเบากายกระปรี้กระเปร่ามีกำลัง และมีความผาสุกด้วย.--ภิกษุ ท. ! มาเถิด แม้พวกเธอทั้งหลาย ก็จงฉันโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย เมื่อฉันอยู่ซึ่งโภชนะแต่ในที่นั่งแห่งเดียว จักรู้สึกความที่เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีความเบากาย กระปรี้กระเปร่า มี กำลัง และมีความผาสุกด้วย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/163/160.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๑๖๓/๑๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 66
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 842
ชื่อบทธรรม : -เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง บริโภคบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง, แต่บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์, ด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียได้ ไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น, ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความ อยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา.
เนื้อความทั้งหมด :-เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง บริโภคบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง, แต่บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์, ด้วยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสียได้ ไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น, ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความ อยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา.--ค. เกี่ยวกับเสนาสนะ--เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง ใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อบำบัด ความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลายอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันเกิดแต่ฤดู และเพื่อความเป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้นอยู่.--ง. เกี่ยวกับคิลานเภสัช--เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึง บริโภคเภสัชซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้ เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนาอันเกิดจากอาพาธต่างๆ และเพียงเพื่อความเป็นผู้ไม่ต้องทนทุกข์เป็นอย่างยิ่ง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/434/329.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๓๔/๓๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 66
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site