สัทธรรมลำดับที่ : 818
ชื่อบทธรรม : -วิบากแห่งมิจฉาวาจา
เนื้อความทั้งหมด :-(คำพูดที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ และไร้ความหมาย เช่นคำพูดในตัวอย่างเหล่านี้เป็น ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาทระดับครูบาอาจารย์).--วิบากแห่งมิจฉาวาจา--ภิกษุ ท. ! มุสาวาท ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การถูก กล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง.--ภิกษุ ท. ! ปิสุณวาท (คำยุยงให้แตกกัน) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปิสุณวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การแตกจากมิตร.--ภิกษุ ท. ! ผรุสวาท (คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย--วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การได้ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจ.--ภิกษุ ท. ! สัมผัปปลาวาท (คำเพ้อเจ้อ) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งสัมผัปปลาปวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คื วิบากที่เป็นไปเพื่อ วาจาที่ไม่มีใครเชื่อถือ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ. 23/252/130.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฐก. อํ. ๒๓/๒๕๒/๑๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 819
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๖
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๖--ว่าด้วย สัมมาวาจา--จบ--นิทเทศ ๑๗ ว่าด้วย สัมมากัมมันตะ--(มี ๘ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วย อุทเทศ - วิภาค ของสัมมากัมมันตะ--อุทเทสแห่งสัมมากัมมันตะ--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการฆ่า เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้วเจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรา กล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที 10/348/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 820
ชื่อบทธรรม : -(บาลีแห่งอื่น มีข้อความแตกต่างออกไปว่า : -)
เนื้อความทั้งหมด :-(บาลีแห่งอื่น มีข้อความแตกต่างออกไปว่า : -)--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ : นี้เราเรียกว่า สัมมากัมมันตะ-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ.19/11/37.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร.สํ.๑๙/๑๑/๓๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 821
ชื่อบทธรรม : -(บาลีสูตรบนแสดงด้วย กาเมสุมิจฉาจาร บาลีสูตรล่างแสดงด้วย อพรหมจริยา เข้าใจว่าสูตรบนแสดงสำหรับฆราวาส สูตรล่างแสดงสำหรับบรรพชิต ; โดยทั่วไปแสดงอย่างสูตรบน เพราะแสดงอย่างสูตรล่างมีน้อยมาก).
เนื้อความทั้งหมด :-(บาลีสูตรบนแสดงด้วย กาเมสุมิจฉาจาร บาลีสูตรล่างแสดงด้วย อพรหมจริยา เข้าใจว่าสูตรบนแสดงสำหรับฆราวาส สูตรล่างแสดงสำหรับบรรพชิต ; โดยทั่วไปแสดงอย่างสูตรบน เพราะแสดงอย่างสูตรล่างมีน้อยมาก).--หลักวินิจฉัยกายกรรม ๓ สถาน--หมวดที่ ๑ : เมื่อจะกระทำ--ราหุล ! เธอใคร่จะทำกรรมใดด้วยกาย พึงพิจารณากรรมนั้นเสียก่อนว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้ ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอ ไม่พึงกระทำกายกรรมชนิดนั้นโดยถ่ายเดียว.--ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เราใคร่จะ กระทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ ไซร้, ราหุล ! เธอ พึงกระทำกายกรรมชนิดนั้น--หมวด ๒ : เมื่อกระทำอยู่--ราหุล ! เมื่อเธอกระทำกรรมใดด้วยกายอยู่ พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “กายกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้ ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ ดังนั้นไซร้, เธอ พึงเลิกละกายกรรมชนิดนั้นเสีย.--ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็น--กำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ไซร้, ราหุล ! เธอ พึงเร่งเพิ่มการกระทำกายกรรมชนิดนั้น.--หมวดที่ ๓ : เมื่อกระทำแล้ว--ราหุล ! เมื่อกระทำกรรมใดด้วยกายแล้ว พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้างเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมที่เป็นอกุศลมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้ ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนั้นไซร้, เธอ พึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำให้เป็นของหงาย ซึ่งกายกรรมนั้น ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย, ครั้นแสดง ครั้นเปิดเผย ครั้นกระทำให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป.--ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “กายกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นกายกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ ไซร้, ราหุล ! เธอ พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/126/129.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๑๒๖/๑๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 822
ชื่อบทธรรม : -สัมมากัมมันตะโดยปริยายสองอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมากัมมันตะโดยปริยายสองอย่าง--(โลกิยะ - โลกุตตระ)--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าว แม้สัมมากัมมันตะว่ามีโดยส่วนสอง คือ สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ--(สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่ ; สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็นวิบาก.--ภิกษุ ท. ! สัมมากัมมันตะ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากกายทุจริตทั้งสาม (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม.14/184/271-273.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม.๑๔/๑๘๔/๒๗๑-๒๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 823
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ ของสัมมากัมมันตะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ ของสัมมากัมมันตะ--คำไขความของสัมมากัมมันตะ--(ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย อยู่.--(อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน เว้นขาดจาก อทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาดเป็นอยู่.--(กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี-สำหรับฆาราวาส) เธอนั้น ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม (คือเว้นขาดจากการประพฤติผิด) ในหญิงซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือญาติ รักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.--(อพรหมจริยา เวรมณี-สำหรับบรรพชิต) เธอนั้น ละกรรมอันไม่ใช่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากการเสพเมถุนอันเป็นของชาวบ้าน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที.9/83/103.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที.๙/๘๓/๑๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 824
ชื่อบทธรรม : ลักษณะและวิบาก แห่งสัมมากัมมันตะ
เนื้อความทั้งหมด :-- ที่มาเฉพาะข้อกาเมฯ : - ทสก. อํ.๒๔/๒๘๗ - ๒๘๘/๑๖๕.--ลักษณะและวิบาก แห่งสัมมากัมมันตะ--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต. ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อัน--ไม่มีประมาณ. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานชั้นปฐม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่สี่) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละอทินนาทาน เว้นขาด จากอทินนาทาน. ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากอทินนาทานแล้ว ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อันไม่มีประมาณ. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สอง เป็นมหาทานรู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่ห้า) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุข อันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร. ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว--ย่อมชื่อว่า ให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณ; ครั้นให้อภัยทาน อเวรทาน อัพยาปัชฌทาน แก่สัตว์ทั้งหลายมากไม่มีประมาณแล้ว ย่อมเป็นผู้ มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ม่มีประมาณ. อันไม่มีประมาณ. ภิกษุ ท. ! นี้เป็น (อภัย) ทานอันดับที่สาม เป็นมหาทาน รู้จักกันว่าเป็นของเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นของประพฤติสืบกันมาแต่โบราณ ไม่ถูกทอดทิ้งเลย ไม่เคยถูกทอดทิ้งในอดีต ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ในปัจจุบัน และจักไม่ถูกทอดทิ้งในอนาคต อันสมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นท่อธารแห่งบุญ (อันดับที่หก) เป็นที่ไหลออกแห่งกุศล นำมาซึ่งสุข เป็นไปเพื่อยอดสุดอันดี มีสุขเป็นวิบาก เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อ ความสุขอันพึงปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. 23/250/129.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๕๐/๑๒๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 825
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย โทษและอานิสงส์ ของสัมมากัมมันตะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ค. ว่าด้วย โทษและอานิสงส์ ของสัมมากัมมันตะ--วิบากของมิจฉากัมมันตะ--ภิกษุ ท. ! ปาณาติบาต ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.--ภิกษุ ท. ! อทินนาทาน ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งอทินนาทานของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคะ.--ภิกษุ ท. ! กาเมสุมิจฉาจาร ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย. วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ก่อเวรด้วยศัตรู.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฐก.อํ 23/251/130.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฐก.อํ ๒๓/๒๕๑/๑๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 826
ชื่อบทธรรม : -กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความกระเสือกกระสน
เนื้อความทั้งหมด :-กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความกระเสือกกระสน--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี. ธรรมปริยายอันแสดงความกระเสือกกระสนไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลกรรมนั้น.--ภิกษุ ท. ! คนบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ มีปกติทำปาณาติบาต หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต. เขากระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ; กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาคด มโนกรรมของเขาคด ; คติของเขาคด อุปบัติของเขาคด. ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติคด มีอุบัติคดนั้น เรากล่าวคติอย่างใด--อย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขา คือ เหล่า สัตว์นรกผู้มีทุกข์โดยส่วนเดียว, หรือว่า สัตว์เดรัจฉานผู้มีกำเนิดกระเสือกกระสน ได้แก่ งู แมลงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้า หรือสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่น ที่เห็นมนุษย์แล้วกระเสือกกระสน. ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คือ อุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์, เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น, ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้อุปบัติแล้ว. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. 24/309/193.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. ๒๔/๓๐๙/๑๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 827
ชื่อบทธรรม : -(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ กระทำอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้กระทำปาณาติบาตดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีทุจริตสี่ มโนทุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย. ต่อไปนี้ ได้ตรัสข้อความฝ่ายกุศล :-)
เนื้อความทั้งหมด :-(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ กระทำอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้กระทำปาณาติบาตดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจีทุจริตสี่ มโนทุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย. ต่อไปนี้ ได้ตรัสข้อความฝ่ายกุศล :-)--กรรมที่เป็นเหตุให้ได้รับผลเป็นความไม่กระเสือกกระสน--ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำ กรรมใดไว้ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย. เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย ไม่กระเสือก กระสนด้วย (กรรมทาง) วาจา ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ; กาย--กรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง : คติของเขาตรงอุปบัติของเขาตรง. ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้น เรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่างแก่เขา คือเหล่า สัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว ๑ หรือว่า ตระกูลอันสูง ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาลอันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก. ภิกษุ ท. ! ภูตสัตว์ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ คืออุปบัติ (การเข้าถึงภพ) ย่อมมีแก่ภูตสัตว์, เขาทำกรรมใดไว้ เขาย่อมอุปบัติด้วยกรรมนั้น, ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้องภูตสัตว์นั้นผู้อุบัติแล้ว. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นทายาทแห่งกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.--(ในกรณีแห่งบุคคลผู้ ไม่กระทำอทินนาทาน ไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาต ดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ; และยังได้ตรัสเลยไปถึง วจี สุจริตสี่ มโนสุจริตสาม ด้วยข้อความอย่างเดียวกันอีกด้วย)--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือธรรมปริยาย อันแสดงความกระเสือกกระสน ไปตามกรรม (ของหมู่สัตว์).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/311/193.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 828
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๗
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ ๑๗--ว่าด้วยสัมมากัมมันตะ--จบ--๑. คำนี้พระบาลีฉบับมอญและฉบับยุโรป ว่า สวรรค์อันมีสุขโดยส่วนเดียว.--นิทเทศ ๑๘ ว่าด้วย สัมมาอาชีวะ--(มี ๑๖ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วย อุทเทศ - วิภาค ของสัมมาอาชีวะ--อุทเทสแห่งสัมมาอาชีวะ--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สาวกของ พระอริยเจ้า ในกรณีนี้ ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุ ท. ! อันนี้เราเรียกว่า สัมมาอาชีวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที. 10/348/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 829
ชื่อบทธรรม : -สัมมาอาชีวะโดยปริยายสองอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาอาชีวะโดยปริยายสองอย่าง--(โลกิยะ - โลกุตตระ)--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้ สัมมาอาชีวะ ว่ามีโดยส่วนสอง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่ สัมมาอาชีวะ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) ; เป็นองค์แห่งมรรค (มงฺคงฺค) ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญมีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ อริยสาวกละเสีย--ซึ่งการเลี้ยงชีวิตที่ผิด สำเร็จการเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ การงด การเว้น การงดเว้นเจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการเลี้ยงชีวิตที่ผิด (มิจฺฉาอาชีว)๑ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มี อนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมังคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม 14/186/276 - 278.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม ๑๔/๑๘๖/๒๗๖ - ๒๗๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 830
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา ของสัมมาอาชีวะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ - อุปมา ของสัมมาอาชีวะ--การดำรงชีพชอบ กินความไปถึงความสันโดษ--มหาราช ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้สันโดษ (ยินดีตามที่มีอยู่) ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย สันโดษด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง; ภิกษุนั้น จะหลีกไปโดยทิศใด ๆ ย่อมถือเอาบาตรและจีวรนั้นหลีกไปได้, โดยทิศนั้น ๆ.--มหาราช ! เปรียบเสมือนนกมีปีก จะบินไปโดยทิศใดๆ มีปีกอย่าง เดียวเป็นภาระบินไป ฉันใด ; ภิกษุก็ฉันนั้น : เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็น--๑. มิจฉาอาชีวะในกรณีของภิกษุ มีตรัสไว้โดยละเอียด ในบาลีสามัญญผลสูตร (สี.ที.๙/๘๙-๙๒/๑๑๔-๑๒๐) เป็นต้น มีอยู่หลายหมวดด้วยกัน ผู้ศึกษาพึงหาดูจากพระบาลีนั้นหรือจากหนังสือเล่มนี้ ที่หัวข้อว่า “ประมวลพรหมจรรย์ตลอดสาย” ที่ภาคผนวก ; หรือจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์.--เครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ถือเอาแล้วหลีกไปโดยทิศใด ๆ ได้.--มหาราช ! ภิกษุเป็นผู้สันโดษ อย่างนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/94/124.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๙๔/๑๒๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 831
ชื่อบทธรรม : -(เมื่อขยายความหมายของคำว่าอาชีวะกว้างออกไปเป็นการดำรงชีพชอบ ความสันโดษในปัจจัยเครื่องอาศัยของชีวิต ก็มีลักษณะแห่งการดำรงชีพชอบด้วยเหมือนกัน, ผู้รวบรวมเรื่องนี้ จึงนำเรื่องความสันโดษมาใส่ไว้ในหมวดนี้ด้วย).
เนื้อความทั้งหมด :-(เมื่อขยายความหมายของคำว่าอาชีวะกว้างออกไปเป็นการดำรงชีพชอบ ความสันโดษในปัจจัยเครื่องอาศัยของชีวิต ก็มีลักษณะแห่งการดำรงชีพชอบด้วยเหมือนกัน, ผู้รวบรวมเรื่องนี้ จึงนำเรื่องความสันโดษมาใส่ไว้ในหมวดนี้ด้วย).--แม้อยู่ป่า ก็ยังต่างกันหลายความหมาย--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถือ การอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่. ห้าจำพวก อย่างไรเล่า ? ห้าจำพวกคือ อยู่ป่าเพราะความโง่ เพราะความหลง ๑ อยู่ป่าเพราะเป็นผู้ปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ ๑ อยู่ป่าเพราะจิตฟุ้งซ่านจนหลงใหล ๑ อยู่ป่าเพราะคิดว่า พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ ๑ เป็นผู้อยู่ป่าเพราะอาศัยความปรารถนาน้อยโดยตรง เพราะอาศัยความสันโดษโดยตรง เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสโดยตรง เพราะอาศัยปวิเวกโดยตรง เพราะอาศัยความต้องการเช่นนั้นโดยตรง ๑. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก.--ภิกษุ ท. ! ในบรรดาภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า ๕ จำพวกเหล่านี้ พวกที่อยู่ป่าเพราะอาศัยความปรารถนาน้อยโดยตรง เพราะอาศัยความสันโดษโดยตรง เพราะอาศัยความขัดเกลากิเลสโดยตรง เพราะอาศัยปวิเวกโดยตรง เพราะอาศัยความต้องการเช่นนั้นโดยตรง นี้เป็นพวกที่เลิศ ประเสริฐ เด่น สูงสุด ประเสริฐกว่าทั้งหมด แห่งภิกษุ--ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้. เปรียบเหมือนนมสดได้มาจากแม่โค นมส้มได้มาจากนมสด เนยข้นได้มาจากนมส้ม เนยใสได้มาจากเนยข้น หัวเนยใสได้มาจากเนยใส. ในบรรดารสเกิดแต่แม่นมโคทั้งหลายเหล่านั้น หัวเนยใสปรากฏว่าเป็นของเลิศ, ฉันใดก็ฉันนั้น.--(ต่อจากนี้ ได้ตรัสถึงธุดงควัตรข้ออื่นๆ เช่น การถือผ้าบังสกุล อยู่โคนไม้ อยู่ป่าช้า อยู่กลางแจ้ง ไม่นอน อยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้ ฉันหนเดียว ไม่ฉันอาหารที่นำมาถวายเมื่อลงมือฉันแล้ว และการบิณฑบาตเป็นวัตร ว่ามีทั้งชนิดงมงาย หลอกลวง และบริสุทธิ์ ครบทั้งห้าจำพวกด้วยกันทั้งนั้น; ผู้ที่นับถือบูชาแก่ภิกษุผู้ถือธุดงค์พึงสังวรไว้ โดยนัยนี้).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/245-247/181-190.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๔๕-๒๔๗/๑๘๑-๑๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1073
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาวาจา
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ค. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาวาจา--ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาทระดับครูบาอาจารย์--ตัวอย่างประการที่ ๑--“พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องทางหรือมิใช่ทางนั้น แม้พราหมณ์ทั้งหลาย จะบัญญัติไว้ต่างๆ กัน คือพวกอัทธริยพราหมณ์ก็บัญญัติ พวกติตติริยพราหมณ์ก็บัญญัติ พวกฉันโทกพราหมณ์ก็บัญญัติ พวกพัวหริธาพราหมณ์ก็บัญญัติ แต่ทางทั้งหมดนั้นก็ล้วนแต่เป็นทางนำออก สามารถนำผู้ปฏิบัติตามทางนั้นไปสู่ความเป็นสหายแห่งพรหมได้ เปรียบเสมือนทางต่างๆ มีเป็นอันมากใกล้บ้านใกล้เมือง ก็ล้วนแต่ไปประชุมกันที่บ้านแห่งหนึ่งทุกๆ ทางฉันใดก็ฉันนั้น”.--วาเสฏฐะ ! ในบรรดาพราหมณ์ไตรเพททั้งหลายเหล่านั้น มี พราหมณ์สักคนหนึ่งไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ถ้าอย่างนั้น มีอาจารย์สักคนหนึ่งไหม ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ถ้าอย่างนั้น มีประธานอาจารย์แห่งอาจารย์สักคนหนึ่ง ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้นไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! มีอาจารย์ที่สืบกันมาถึงเจ็ดชั่ว ของพราหมณ์ไตรเพท เหล่านั้น สักคนหนึ่งไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ในบรรดาฤษีเก่าแก่ทั้งหลาย คือ ฤษีอัฏฐกะ ฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคี ฤษีอังคีรสะ ฤษีภารท๎วาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ผู้ได้ประกอบมนต์ขึ้น บอกกล่าวแก่พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ให้ขับตาม ให้กล่าวตาม ให้สวดตาม ให้บอกตาม กันสืบๆ มาจนกระทั่งกาลนี้ เหล่านั้น มีฤษีสักตนหนึ่งไหมในบรรดาฤษีเหล่านั้น ที่กล่าวยืนยันอยู่ว่า เรารู้เราเห็น ว่าพรหมอยู่ที่ไหน ด้วยอาการอย่างไร ณ ที่ใด ดังนี้ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! เมื่อไม่มีพราหมณ์ อาจารย์ของพราหมณ์ หรือฤษีผู้บอกมนต์แก่พราหมณ์ แม้สักคนหนึ่งที่เคยเห็นพรหมโดยประจักษ์ แล้วมาแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายแห่งพรหม อยู่ดังนี้ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์๑ (อปฺปาฏิหิริกตํ) มิใช่หรือ ?--๑. ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ คือไม่มีเหตุผลที่แสดงให้ผู้ฟังเห็นได้ว่าเป็นจริงตามที่เขากล่าว จนกระทั่งยอมเชื่อ.--“แน่แล้ว พระโคดม ! เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฎิหาริย์”--ถูกแล้ว, วาเสฏฐะ ! ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ไม่เห็นพรหมจะมากล่าวแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายกับพรหม ดังนี้นั้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนแถวคนตาบอดเกาะหลังกัน คนต้นแถวก็ไม่เห็นอะไร คนกลางแถวก็ไม่เห็นอะไร คนปลายแถวก็ไม่เห็นอะไร นี้ฉันใด; วาเสฏฐะ ! คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ก็มีอุปมาเหมือนแถวแห่งคนตาบอด ฉันนั้นแหละ คือผู้กล่าวพวกแรกก็ไม่เห็นพรหม ผู้กล่าวพวกต่อมาก็ไม่เห็นพรหม ผู้กล่าวพวกสุดท้ายก็ไม่เห็นพรหม; ดังนั้นคำกล่าวของพวกเขาก็ถึงซึ่งความเป็นคำกล่าวที่น่าหัว (หสฺสก) คำกล่าวที่ต่ำต้อย (นามก) คำกล่าว เปล่าๆปลี้ๆ (ริตฺตก) คำกล่าวเหลวไหล (ตุจฺฉก).--(นี้เป็นตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาปวาทระดับสูงชนิดที่หนึ่ง)--ตัวอย่างประการที่ ๒--วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ก็มองเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็มองเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่, ว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ขึ้นมาจากทิศไหนตกลงไปทางทิศไหน พากันอ้อนวอนอยู่ ชมเชยอยู่ ประนมมือนมัสการเดินเวียนรอบๆ อยู่ ด้วยกันทั้งสองพวก มิใช่หรือ ?--“อย่างนี้แหละ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อพวกพราหมณ์ ไตรเพทก็เห็น พวกชนเหล่าอื่นเป็นอันมากก็เห็น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ด้วย--กันทั้งสองพวก อยู่ดังนี้ พวกพราหมณ์ไตรเพทสามารถแสดงหนทางไปสู่ความเป็น อันเดียวกันกับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่หรือ ?--“ข้อนั้น หามิได้ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ก็เมื่อพวกพราหมณ์ไตรเพท และชนเป็นอันมากเห็น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ โดยประจักษ์ ก็ยังไม่สามารถแสดงทางไปสู่ความเป็นอันเดียวกันกับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ ดังนี้แล้ว พวกพราหมณ์ พวกอาจารย์ของพราหมณ์ และพวกฤาษีผู้บอกมนต์แก่พราหมณ์ ซึ่งล้วนแต่ไม่เคยเห็นพรหมโดยประจักษ์เลย แล้วจะมาแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายกับพรหมดังนี้นั้นท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ ?--“แน่แล้ว, พระโคดม ! เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความ เป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์”--ถูกแล้ว, วาเสฏฐะ ! ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ไม่เห็นพรหม จะมากล่าวแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายกับพรหม ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--ตัวอย่างประการที่ ๓--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือน มีบุรุษกล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาใคร่จะได้นางชนบทกัลยาณีในชนบทนี้” ดังนี้. คนทั้งหลายถามเขาว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้จักนางชนบทกัลยาณีที่ท่านปรารถนานั้นไหม ว่าเป็นนางกษัตริย์หรือนางพราหมณี หรือเป็นนางในวรรณะแพศย์ หรือนางในวรรณะศูทร ?’ เขาตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’. คน--เหล่านั้นถามอีกว่า ‘นางชนบทกัลยาณีที่ท่านประสงค์จะได้นั้น มีชื่ออะไร มีโคตรอะไร สูงหรือต่ำ หรือปูนกลาง ผิวดำ หรือผิวคล้ำ หรือผิวสีทอง อยู่ในหมู่บ้านโน้น อยู่ในนิคมหรือในนครเล่า ?’ เขาตอบว่า ‘ไม่ทราบเลย ท่าน !’ คนเหล่านั้นถามอีกว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านปรารถนาใคร่จะได้ผู้ที่ท่านไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็น กระนั้นหรือ ? ’ เขาตอบว่า ‘ถูกแล้ว ท่าน ! ’ วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของบุรุษนี้ ย่อมถึงความเป็นคำ กล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ ?--“แน่แล้ว, พระโคดม !”--ตัวอย่างประการที่ ๔--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือน บุรุษทำบันไดสำหรับจะพาดขึ้นสู่ปราสาท นำมาที่ถนนใหญ่สี่แพร่ง. คนทั้งหลายถามเขาว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านทำบันไดมาเพื่อจะพาดขึ้นสู่ปราสาท ท่านรู้จักปราสาทนั้นไหม ว่าอยู่ทิศตะวันออกหรือทิศใต้ ทางทิศตะวันตกหรือทิศเหนือ สูงหรือต่ำ หรือขนาดกลาง ?’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘ ไม่รู้จักเลย ท่าน !’ คนเหล่านั้นถามต่อไปว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านทำบันไดมาเพื่อจะพาดขึ้นสู่ปราสาทที่ท่านไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็น กระนั้นหรือ ?’ เขาตอบว่า ‘ถูกแล้ว ท่าน !’ วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของบุรุษนี้ ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปฏิหาริย์ มิใช่หรือ ?--“แน่แล้ว, พระโคดม ! ”--ตัวอย่างประการที่ ๕--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือน แม่น้ำอจิรวดี นี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปฝั่งโน้น เขายืนอยู่ที่ฝั่งนี้ร้องเรียก--ฝั่งโน้น ว่า ‘ฝั่งโน้นจงมา ฝั่งโน้นจงมา’ ดังนี้. วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำอจิรวดี จะมาสู่ฝั่งนี้ เพราะเหตุแห่งการร้องเรียก เพราะเหตุแห่งการขอ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา หรือเพราะเหตุแห่งความพอใจ ของบุรุษนั้น ได้หรือหนอ ? “พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/297-304/368-376.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๒๙๗-๓๐๔/๓๖๘-๓๗๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 64
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site