สัทธรรมลำดับที่ : 806
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๖ ว่าด้วย สัมมาวาจา--(มี ๑๓ เรื่อง)
เนื้อความทั้งหมด :-นิทเทศ๑๕--ว่าด้วย สัมมาสังกัปปะ--จบ--นิทเทศ ๑๖ ว่าด้วย สัมมาวาจา--(มี ๑๓ เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วย อุทเทศ - วิภาค ของสัมมาวาจา--อุทเทสแห่งสัมมาวาจา--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการพูดไม่จริง เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่อง เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที. 10/348/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 807
ชื่อบทธรรม : -หลักวิธีการพูดจาที่เป็น อริยะและอนริยะ
เนื้อความทั้งหมด :-หลักวิธีการพูดจาที่เป็น อริยะและอนริยะ--ภิกษุ ท. ! อนริยโวหาร (โวหารพูดที่มิใช่อริยะ แต่เป็นของคนพาล) ๘ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการคือ :---คนมักกล่าวว่า ได้เห็นในสิ่งที่มิได้เห็น;--คนมักกล่าวว่า ได้ฟังในสิ่งที่มิได้ฟัง;--คนมักกล่าวว่า ได้รู้สึกในสิ่งที่มิได้รู้สึก;--คนมักกล่าวว่า ได้รู้แจ้งในสิ่งที่มิได้รู้แจ้ง;--คนมักกล่าวว่า มิได้เห็นในสิ่งที่เห็น;--คนมักกล่าวว่า มิได้ฟังในสิ่งที่ได้ฟัง;--คนมักกล่าวว่า มิได้รู้สึกในสิ่งที่ได้รู้สึก;--คนมักกล่าวว่า มิได้รู้แจ้งในสิ่งที่ได้รู้แจ้ง ;--ภิกษุ ท. ! อนริยโวหาร ๘ ประการ เหล่านี้ แล.--ภิกษุ ท. ! อริยโวหาร (โวหารพูดที่เป็นอริยะ ไม่ใช่ของคนพาล) ๘ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปดประการ คือ :---คนมักกล่าวว่า มิได้เห็นในสิ่งที่มิได้เห็น;--คนมักกล่าวว่า มิได้ฟังในสิ่งที่มิได้ฟัง;--คนมักกล่าวว่า มิได้รู้สึกในสิ่งที่มิได้รู้สึก;--คนมักกล่าวว่า มิได้รู้แจ้งในสิ่งที่มิได้รู้แจ้ง;--คนมักกล่าวว่า ได้เห็นในสิ่งที่เห็น;--คนมักกล่าวว่า ได้ฟังในสิ่งที่ได้ฟัง;--คนมักกล่าวว่า ได้รู้สึกในสิ่งที่ได้รู้สึก;--คนมักกล่าวว่า ได้รู้แจ้งในสิ่งที่ได้รู้แจ้ง ;--ภิกษุ ท. ! อริยโวหาร ๘ ประการ เหล่านี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก.อํ.23/316/164 - 165.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺฐก.อํ.๒๓/๓๑๖/๑๖๔ - ๑๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 808
ชื่อบทธรรม : -สัมมาวาจาโดยปริยายสองอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาวาจาโดยปริยายสองอย่าง--(โลกิยะ - โลกุตตระ)--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้ สัมมาวาจาว่ามีโดยส่วนสอง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสวา)--เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่; สัมมาวาจา อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท (คำเท็จ) เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปิสุณวาท (คำส่อเสียด) เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากผรุสวาท (คำหยาบ) เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาวาท (คำเพ้อเจ้อ) ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือการงด (อารติ) การเว้น (วิรติ) การเว้นขาด (ปฏิวิรติ) และเจตนาเป็นเครื่องเว้น (เวรมณี) จากวจีทุจริตทั้งสี่ (ตามที่กล่าวแล้วข้างบน) ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคีผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม.14/183-184/266-268.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม.๑๔/๑๘๓-๑๘๔/๒๖๖-๒๖๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 809
ชื่อบทธรรม : -หลักวินิจฉัยวจีกรรม ๓ สถาน
เนื้อความทั้งหมด :-หลักวินิจฉัยวจีกรรม ๓ สถาน--หมวดที่ ๑ : เมื่อจะกระทำ--ราหุล ! เธอใคร่จะทำกรรมใดด้วยวาจา พึงพิจารณากรรมนั้นเสียก่อนว่า “วจีกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง--เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้, ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณารู้สึกอยู่ดังนี้ไซร้, เธอ ไม่พึงกระทำวจีกรรมชนิดนั้นโดยถ่ายเดียว.--ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกดังนี้ว่า “วจีกรรมที่เราใคร่จะกระทำนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ไซร้, ราหุล ! เธอพึงกระทำวจีกรรมชนิดนั้น.--หมวดที่ ๒ เมื่อกระทำอยู่--ราหุล ! เมื่อเธอกระทำกรรมใดด้วยวาจาอยู่ พึงพิจารณากรรมนั้นว่า “วจีกรรมที่เรากำลังกระทำอยู่นี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้, ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ ไซร้, เธอ พึงเลิกละวจีกรรมชนิดนั้นเสีย.--ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “วจีกรรมที่เรากำลังกระทำ อยู่นี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมอันเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ไซร้, ราหุล ! เธอ พึงเร่งเพิ่มการกระทำวจีกรรม ชนิดนั้น.--หมวดที่ ๓ เมื่อกระทำแล้ว--ราหุล ! เมื่อเธอกระทำกรรมใดด้วยวาจาแล้ว พึงพิจารณากรรมนั้น ว่า “วจีกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก หรือไม่หนอ ?” ดังนี้, ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ไซร้, เธอพึงแสดง พึงเปิดเผย พึงกระทำให้เป็นของหงาย ซึ่งวจีกรรมนั้น ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย, ครั้นแสดง ครั้นเปิดเผย ครั้นกระทำให้เป็นของหงายแล้ว พึงถึงซึ่งความระวังสังวรต่อไป.--ราหุล ! ถ้าเธอพิจารณา รู้สึกอยู่ดังนี้ว่า “วจีกรรมที่เรากระทำแล้วนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง เป็นวจีกรรมที่เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก” ดังนี้ไซร้, ราหุล ! เธอ พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม.13/128/130.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม.๑๓/๑๒๘/๑๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 810
ชื่อบทธรรม : -ข้อควรสรรเสริญหรือควรติเตียนเกี่ยวกับสัมมาวาจา
เนื้อความทั้งหมด :-ข้อควรสรรเสริญหรือควรติเตียนเกี่ยวกับสัมมาวาจา--โปตลิยะ ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สี่จำพวก คือ :- โปตลิยะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ กล่าวติเตียน บุคคลที่ควรติเตียน ตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร แต่ไม่กล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควรสรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.--โปตลิยะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ กล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควร สรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร แต่ไม่กล่าวติเตียน บุคคลที่ควร ติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.--โปตลิยะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ไม่กล่าวติเตียน บุคคลที่ควร ติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร และไม่กล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควร สรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.--โปตลิยะ ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ กล่าวติเตียน บุคคลที่ควร ติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญ บุคคลที่ควร สรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร.--โปตลิยะ ! บุคคลสี่จำพวกเหล่านี้ แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. โปตลิยะเอ๋ย ! ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกนี้ บุคคลจำพวกไหนเล่า ควรจะเป็น บุคคลที่งดงามกว่า ประณีตกว่า สำหรับท่าน.--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกเหล่านั้น บุคคลจำพวกที่ไม่กล่าวติเตียนบุคคลที่ควรติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร และไม่กล่าวสรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร, บุคคลจำพวกนี้ แลควรจะเป็นบุคคลที่งดงามกว่า ประณีตกว่า สำหรับข้าพระองค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า นั่น งดงามยิ่งด้วยอุเบกขา”.--โปตลิยะ ! ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกเหล่านั้น บุคคลจำพวกใด กล่าวติเตียนบุคคลที่ควรติเตียนตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญตามที่เป็นจริง โดยกาลอันควร; บุคคลจำพวกนี้ เป็น--บุคคลพวกที่งดงามกว่า ประณีตกว่า ในบรรดาบุคคลสี่จำพวกเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? โปตลิยะ ! นั่น งดงามเพราะความเป็นผู้รู้กาละในกรณีนั้น ๆ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/131/100.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๓๑/๑๐๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 811
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ ของสัมมาวาจา
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะ ของสัมมาวาจา--คำไขความของสัมมาวาจาสี่--(อมุสาวาท) เธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่ความจริงรักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด มีคำพูดควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก.--(อปิสุณวาท) เธอนั้น ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกแก่ฝ่ายโน้น เพื่อแตกจากฝ่ายนี้; หรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่เก็บมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อแตกจากฝ่ายโน้น; แต่จะสมานคนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อมเพรียงกัน อุดหนุนคนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ให้พร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น; เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง เป็นคนยินดีในการพร้อมเพรียง เป็นคน พอใจในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพียงกัน.--(อผรุสวาท) เธอนั้น ละการกล่าวคำหยาบเสีย เว้นขาดจากการกล่าว คำหยาบ กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของมหาชน กล่าวแต่วาจาเช่นนั้นอยู่.--(อสัมผัปปลาวาท) เธอนั้น ละคำพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาอันสมควร กล่าวแต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม เป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์ สมควรแก่เวลา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/83/103.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๘๓/๑๐๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 812
ชื่อบทธรรม : -สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา
เนื้อความทั้งหมด :-สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา--ภิกษุ ท. ! วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน. องค์ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการ คือ :---กล่าวแล้วโดยกาลอันควร (กาเลน ภาสิตา โหติ),--กล่าวแล้วตามสัจจ์จริง (สจฺจา ภาสิตา โหติ),--กล่าวแล้วอย่างอ่อนหวาน (สณฺหา ภาสิตา โหติ),--กล่าวแล้วอย่างประกอบด้วยประโยชน์ (อตฺถสญฺหิตา ภาสิตา โหติ),--กล่าวแล้วด้วยเมตตาจิต (เมตฺตจิตฺเตน ภาสิตา โหติ).--ภิกษุ ท. ! วาจา อันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการเหล่านี้แล เป็น วาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/271/198
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๑/๑๙๘
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 813
ชื่อบทธรรม : -สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา
เนื้อความทั้งหมด :-สุภาษิตวาจา ในฐานะสัมมาวาจา--(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน. องค์สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการ คือ :---กล่าวเป็นสุภาษิตเท่านั้น ไม่กล่าวเป็นทุพภาษิต;--กล่าวเป็นธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวเป็นอธรรม;--กล่าววาจาน่ารัก (แก่ผู้ฟัง) เท่านั้น ไม่กล่าววาจาไม่น่ารัก (แก่ผู้ฟัง);--กล่าววาจาสัจจ์เท่านั้น ไม่กล่าววาจาเหลาะแหละ.--ภิกษุ ท. ! วาจา อันประกอบด้วยองค์ ๔ ประการเหล่านี้แล เป็น วาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สุตต. ขุ. 25/411/356.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สุตต. ขุ. ๒๕/๔๑๑/๓๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 814
ชื่อบทธรรม : -วาจาของสัตตบุรุษและอสัตตบุรุษ
เนื้อความทั้งหมด :-วาจาของสัตตบุรุษและอสัตตบุรุษ--๑. วาจาของอสัตบุรุษ--ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น อสัตบุรุษ. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการ คือ :---ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษในกรณีนี้ แม้ไม่มีใครถามถึง ความไม่ดีของ บุคคลอื่น ก็นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่มีทางหลีกเลี้ยวลดหย่อน แล้วกล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างเต็มที่โดยพิสดาร. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ถูกใครถามอยู่ถึง ความดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม;--ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขวแล้วกล่าวความดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ถูกใครถามถึง ความไม่ดีของตน ก็ปกปิดไม่เปิดเผยให้ปรากฏ ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนไขว้เขว แล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่างไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความ ดีของตน ก็นำมาโอ้อวดเปิดเผย จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่ลดหย่อนหลีกเลี้ยว กล่าวความดีของตนอย่างเต็มที่โดยพิสดาร. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น อสัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล เป็นที่ รู้กันว่าเป็นอสัตบุรุษ.--๒. วาจาของสัตบุรุษ--ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นที่รู้กันว่าเป็น สัตบุรุษ. สี่ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการ คือ :---ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษในกรณีนี้ แม้มีใครถามถึง ความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ จะกล่าวทำไมถึงเมื่อไม่ถูกใครถาม; ก็เมื่อถูก--ใครถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้หลีกเลี้ยวลดหย่อนลง กล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่ถูกใครถามถึง ความดีของบุคคลอื่น ก็ยังนำมาเปิดเผยให้ปรากฏ จะต้องกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถาม; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของบุคคลอื่น ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่หลีกเลี้ยวลดหย่อน กล่าวความดีของผู้อื่นโดยพิสดารบริบูรณ์. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้ไม่มีใครถามถึงความไม่ ดีของตน ก็ยังนำเปิดเผยทำให้ปรากฏทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อถูกถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็ไม่นำเอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อนบิดพลิ้ว แต่กล่าวความไม่ดีของตนอย่างโดยพิสดารเต็มที่. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! สัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีก คือ แม้มีใครถามถึงความดีของตน ก็ไม่เปิดเผยให้ปรากฏ ทำไมจะต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามเล่า; ก็เมื่อถูกใครถามถึงความดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปกระทำให้ลดหย่อนหลีกเลี้ยวเสีย กล่าวความดีของตนโดยไม่พิสดารเต็มที่. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่า คนคนนี้ เป็น สัตบุรุษ.--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล เป็นที่รู้กันว่าเป็นสัตบุรุษ.--๓. วาจาของสะใภ้ใหม่-สะใภ้เก่า--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหญิงสะใภ้ใหม่ อันเขาเพิ่งนำมาชั่วคืนชั่ววัน ตลอดเวลาเท่านั้น ก็ยังมีความละอายและความกลัวที่ดำรงไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ในแม่ผัวบ้าง ในพ่อผัวบ้าง ในสามีบ้าง แม้ที่สุดแต่ในทาสกรรมกรคนใช้.--ครั้นล่วงไปโดยสมัยอื่น เพราะอาศัยความคุ้นเคยกัน หญิงสะใภ้นั้น ก็ตวาดแม่ผัวบ้าง พ่อผัวบ้าง แม้แต่กะสามี ว่า ‘หลีกไป ๆพวกแกจะรู้อะไร’ ดังนี้, นี้ฉันใด;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือนได้ชั่วคืนชั่ววัน ตลอดเวลาเพียงเท่านั้น หิริและโอตตัปปะของเธอนั้นยังดำรงอยู่อย่างเข้มแข็ง ในภิกษุ ในภิกษุณี ในอุบาสก ในอุบาสิกา แม้ที่สุดแต่ในคนวัดและสามเณร.--ครั้นล่วงไปโดยสมัยอื่น เพราะอาศัยความคุ้นเคยกัน เธอก็กล่าว ตวาดอาจารย์บ้าง อุปัชฌาย์บ้าง ว่า ‘หลีกไปๆ พวกท่านจะรู้อะไร’ ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลายพึงทำการศึกษาสำเหนียก อย่างนี้ว่า “เราจักอยู่อย่างมีจิตเสมอกันกับหญิงสะใภ้ใหม่ผู้มาแล้วไม่นาน” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย พึงทำการศึกษาสำเหนียกอย่างนี้ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ.21/100/73.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก.อํ.๒๑/๑๐๐/๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 815
ชื่อบทธรรม : -หลักเกณฑ์แห่งสัมมาวาจาขั้นสูงสุด
เนื้อความทั้งหมด :-หลักเกณฑ์แห่งสัมมาวาจาขั้นสูงสุด--ราชกุมาร ! ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.--ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และ ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.--ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม เลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น.--ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.--ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.--ตถาคตรู้ชัดซึ่ง วาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และ เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/91/94
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๙๑/๙๔
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 816
ชื่อบทธรรม : -สัมมาวาจาชั้นสูงสุด (ระดับพระพุทธเจ้า)
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาวาจาชั้นสูงสุด (ระดับพระพุทธเจ้า)--ทัณฑปาณิสักกะได้ทูลถามพระภาคเจ้าว่า “พระสมณะมีถ้อยคำอย่างไร มีการกล่าวอย่างไร อยู่เป็นประจำ ?”--เพื่อนเอ๋ย ! คนเรามีการกล่าวอย่างไรแล้ว ไม่เกิดการทะเลาะวิวาทกับใครๆ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง--สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์อยู่ ก็ดี, อีกอย่างหนึ่ง คนเรามีปกติกล่าวอย่างไรแล้ว สัญญา (เรื่องราวก่อน ๆ) ไม่มาติดตามอยู่ในใจผู้นั้น ซึ่ง (บัดนี้) เป็นผู้หมดบาป ไม่ประกอบตนอยู่ด้วยกาม ไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัยว่าอะไรเป็นอย่างไรอีกต่อไป มีความรำคาญทางกายและทางใจอันตนตัดขาดแล้วปราศจากตัณหาในภพไหนๆอยู่ก็ดี; เพื่อนเอ๋ย ! เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้ อยู่เป็นประจำ, ดังนี้-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/220/243.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๒๐/๒๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 817
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาวาจา
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ค. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาวาจา--ตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาวาทระดับครูบาอาจารย์--ตัวอย่างประการที่ ๑--“พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องทางหรือมิใช่ทางนั้น แม้พราหมณ์ทั้งหลาย จะบัญญัติไว้ต่างๆ กัน คือพวกอัทธริยพราหมณ์ก็บัญญัติ พวกติตติริยพราหมณ์ก็บัญญัติ พวกฉันโทกพราหมณ์ก็บัญญัติ พวกพัวหริธาพราหมณ์ก็บัญญัติ แต่ทางทั้งหมดนั้นก็ล้วนแต่เป็นทางนำออก สามารถนำผู้ปฏิบัติตามทางนั้นไปสู่ความเป็นสหายแห่งพรหมได้ เปรียบเสมือนทางต่างๆ มีเป็นอันมากใกล้บ้านใกล้เมือง ก็ล้วนแต่ไปประชุมกันที่บ้านแห่งหนึ่งทุกๆ ทางฉันใดก็ฉันนั้น”.--วาเสฏฐะ ! ในบรรดาพราหมณ์ไตรเพททั้งหลายเหล่านั้น มี พราหมณ์สักคนหนึ่งไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ถ้าอย่างนั้น มีอาจารย์สักคนหนึ่งไหม ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ถ้าอย่างนั้น มีประธานอาจารย์แห่งอาจารย์สักคนหนึ่ง ของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้นไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! มีอาจารย์ที่สืบกันมาถึงเจ็ดชั่ว ของพราหมณ์ไตรเพท เหล่านั้น สักคนหนึ่งไหม ที่ได้เห็นพรหมโดยประจักษ์ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ในบรรดาฤษีเก่าแก่ทั้งหลาย คือ ฤษีอัฏฐกะ ฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคี ฤษีอังคีรสะ ฤษีภารท๎วาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ผู้ได้ประกอบมนต์ขึ้น บอกกล่าวแก่พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ให้ขับตาม ให้กล่าวตาม ให้สวดตาม ให้บอกตาม กันสืบๆ มาจนกระทั่งกาลนี้ เหล่านั้น มีฤษีสักตนหนึ่งไหมในบรรดาฤษีเหล่านั้น ที่กล่าวยืนยันอยู่ว่า เรารู้เราเห็น ว่าพรหมอยู่ที่ไหน ด้วยอาการอย่างไร ณ ที่ใด ดังนี้ ?--“ข้อนั้น หามีไม่ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! เมื่อไม่มีพราหมณ์ อาจารย์ของพราหมณ์ หรือฤษีผู้บอกมนต์แก่พราหมณ์ แม้สักคนหนึ่งที่เคยเห็นพรหมโดยประจักษ์ แล้วมาแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายแห่งพรหม อยู่ดังนี้ ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์๑ (อปฺปาฏิหิริกตํ) มิใช่หรือ ?--๑. ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ คือไม่มีเหตุผลที่แสดงให้ผู้ฟังเห็นได้ว่าเป็นจริงตามที่เขากล่าว จนกระทั่งยอมเชื่อ.--“แน่แล้ว พระโคดม ! เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฎิหาริย์”--ถูกแล้ว, วาเสฏฐะ ! ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ไม่เห็นพรหมจะมากล่าวแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายกับพรหม ดังนี้นั้น นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนแถวคนตาบอดเกาะหลังกัน คนต้นแถวก็ไม่เห็นอะไร คนกลางแถวก็ไม่เห็นอะไร คนปลายแถวก็ไม่เห็นอะไร นี้ฉันใด; วาเสฏฐะ ! คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ก็มีอุปมาเหมือนแถวแห่งคนตาบอด ฉันนั้นแหละ คือผู้กล่าวพวกแรกก็ไม่เห็นพรหม ผู้กล่าวพวกต่อมาก็ไม่เห็นพรหม ผู้กล่าวพวกสุดท้ายก็ไม่เห็นพรหม; ดังนั้นคำกล่าวของพวกเขาก็ถึงซึ่งความเป็นคำกล่าวที่น่าหัว (หสฺสก) คำกล่าวที่ต่ำต้อย (นามก) คำกล่าว เปล่าๆปลี้ๆ (ริตฺตก) คำกล่าวเหลวไหล (ตุจฺฉก).--(นี้เป็นตัวอย่างแห่งสัมผัปปลาปวาทระดับสูงชนิดที่หนึ่ง)--ตัวอย่างประการที่ ๒--วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ก็มองเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็มองเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่, ว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ขึ้นมาจากทิศไหนตกลงไปทางทิศไหน พากันอ้อนวอนอยู่ ชมเชยอยู่ ประนมมือนมัสการเดินเวียนรอบๆ อยู่ ด้วยกันทั้งสองพวก มิใช่หรือ ?--“อย่างนี้แหละ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : เมื่อพวกพราหมณ์ ไตรเพทก็เห็น พวกชนเหล่าอื่นเป็นอันมากก็เห็น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ด้วย--กันทั้งสองพวก อยู่ดังนี้ พวกพราหมณ์ไตรเพทสามารถแสดงหนทางไปสู่ความเป็น อันเดียวกันกับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่หรือ ?--“ข้อนั้น หามิได้ พระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ก็เมื่อพวกพราหมณ์ไตรเพท และชนเป็นอันมากเห็น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ โดยประจักษ์ ก็ยังไม่สามารถแสดงทางไปสู่ความเป็นอันเดียวกันกับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อยู่ ดังนี้แล้ว พวกพราหมณ์ พวกอาจารย์ของพราหมณ์ และพวกฤาษีผู้บอกมนต์แก่พราหมณ์ ซึ่งล้วนแต่ไม่เคยเห็นพรหมโดยประจักษ์เลย แล้วจะมาแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายกับพรหมดังนี้นั้นท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ ?--“แน่แล้ว, พระโคดม ! เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของพราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ย่อมถึงความ เป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์”--ถูกแล้ว, วาเสฏฐะ ! ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ไม่เห็นพรหม จะมากล่าวแสดงหนทางไปสู่ความเป็นสหายกับพรหม ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--ตัวอย่างประการที่ ๓--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือน มีบุรุษกล่าวอยู่ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาใคร่จะได้นางชนบทกัลยาณีในชนบทนี้” ดังนี้. คนทั้งหลายถามเขาว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้จักนางชนบทกัลยาณีที่ท่านปรารถนานั้นไหม ว่าเป็นนางกษัตริย์หรือนางพราหมณี หรือเป็นนางในวรรณะแพศย์ หรือนางในวรรณะศูทร ?’ เขาตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’. คน--เหล่านั้นถามอีกว่า ‘นางชนบทกัลยาณีที่ท่านประสงค์จะได้นั้น มีชื่ออะไร มีโคตรอะไร สูงหรือต่ำ หรือปูนกลาง ผิวดำ หรือผิวคล้ำ หรือผิวสีทอง อยู่ในหมู่บ้านโน้น อยู่ในนิคมหรือในนครเล่า ?’ เขาตอบว่า ‘ไม่ทราบเลย ท่าน !’ คนเหล่านั้นถามอีกว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านปรารถนาใคร่จะได้ผู้ที่ท่านไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็น กระนั้นหรือ ? ’ เขาตอบว่า ‘ถูกแล้ว ท่าน ! ’ วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของบุรุษนี้ ย่อมถึงความเป็นคำ กล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ ?--“แน่แล้ว, พระโคดม !”--ตัวอย่างประการที่ ๔--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือน บุรุษทำบันไดสำหรับจะพาดขึ้นสู่ปราสาท นำมาที่ถนนใหญ่สี่แพร่ง. คนทั้งหลายถามเขาว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านทำบันไดมาเพื่อจะพาดขึ้นสู่ปราสาท ท่านรู้จักปราสาทนั้นไหม ว่าอยู่ทิศตะวันออกหรือทิศใต้ ทางทิศตะวันตกหรือทิศเหนือ สูงหรือต่ำ หรือขนาดกลาง ?’ บุรุษนั้นตอบว่า ‘ ไม่รู้จักเลย ท่าน !’ คนเหล่านั้นถามต่อไปว่า ‘บุรุษผู้เจริญ ! ท่านทำบันไดมาเพื่อจะพาดขึ้นสู่ปราสาทที่ท่านไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็น กระนั้นหรือ ?’ เขาตอบว่า ‘ถูกแล้ว ท่าน !’ วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : คำกล่าวของบุรุษนี้ ย่อมถึงความเป็นคำกล่าวที่ไม่ประกอบด้วยปฏิหาริย์ มิใช่หรือ ?--“แน่แล้ว, พระโคดม ! ”--ตัวอย่างประการที่ ๕--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือน แม่น้ำอจิรวดี นี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปฝั่งโน้น เขายืนอยู่ที่ฝั่งนี้ร้องเรียก--ฝั่งโน้น ว่า ‘ฝั่งโน้นจงมา ฝั่งโน้นจงมา’ ดังนี้. วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำอจิรวดี จะมาสู่ฝั่งนี้ เพราะเหตุแห่งการร้องเรียก เพราะเหตุแห่งการขอ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา หรือเพราะเหตุแห่งความพอใจ ของบุรุษนั้น ได้หรือหนอ ? “พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/297-304/368-376.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๒๙๗-๓๐๔/๓๖๘-๓๗๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 63
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site