สัทธรรมลำดับที่ : 797
ชื่อบทธรรม : -วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ
เนื้อความทั้งหมด :-วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบฝึกฝนเพื่อบรรลุอธิจิต พึงกระทำในใจ ถึง นิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ :---ประการที่ ๑--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุในกรณีนี้ อาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่งนิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะ--บ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น, ภิกษุนั้น พึง ละนิมิตนั้นเสียกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบอยู่ด้วยกุศล. เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจถึงนิมิตอื่นนอกไปจากนิมิตนั้น อันประกอบอยู่ด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุด มีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนช่างทำแผ่นไม้กระดาน หรือลูกมือของ เขาผู้ฉลาด ตอก โยก ถอนลิ่มอันใหญ่ออกเสียได้ ด้วยลิ่มอันเล็ก นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ภิกษุนั้นอาศัยนิมิตแห่งกุศล เพื่อละเสียซึ่ง นิมิตแห่งอกุศล ทำจิตให้เป็นสมาธิได้).--ประการที่ ๒--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ละนิมิตนั้นแล้ว กระทำในใจซึ่งนิมิตอื่น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง เข้าไปใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้น ว่า “วิตกเหล่านี้เป็นอกุศล” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ ประกอบไปด้วยโทษ” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ มีทุกข์เป็นวิบาก” ดังนี้บ้าง. เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม ชอบการประดับ ตกแต่ง เมื่อถูกเขาเอาซากงู ซากสุนัข หรือซากคน มาแขวนเข้าที่คอ ก็จะรู้สึกอึดอัด ระอา ขยะแขยง นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น อึดอัด ระอา ขยะแขยง ต่อโทษของอกุศลวิตกอยู่).--ประการที่ ๓--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น อย่าพึงระลึกถึง อย่าพึงกระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น อยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีตา แต่ไม่ต้องการจะเห็นรูปอันมา สู่คลองแห่งจักษุ เขาก็จะหลับตาเสีย หรือจะเหลียวมองไปทางอื่นเสีย นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นจะไม่ทำการระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจถึงอกุศลวิตกเหล่านั้น).--ประการที่ ๔--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศล วิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายใน นั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเดินเร็ว ๆ แล้วฉุกคิดว่า เราจะเดินเร็วๆ ไปทำไม เดินช้าๆ ดีกว่า เขาก็เดินช้าๆ แล้วฉุกคิดว่า จะเดินช้าๆ ไปทำไม ยืนเสียดีกว่า เขาก็ยืน แล้วฉุกคิดว่า จะยืนไปทำไม นั่งลงเสียดีกว่า เขาก็นั่งลง แล้วก็ฉุกคิดว่า จะนั่งอยู่ทำไม นอนเสียดีกว่า เขาก็นอน : ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แหละที่บุรุษนั้นเปลี่ยนอิริยาบถหยาบ ๆ มาเป็นอิริยาบถละเอียดๆ นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น พิจารณารูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตกไปตามลำดับๆ หยุดการวิจารในเรื่องราวของจิตกนั้นแต่ไปพิจารณารูปพรรณสันฐานของวิตกนั้นแทน).--ประการที่ ๕--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่ง การปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอัน--เป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง. เมื่อภิกษุนั้นกระทำอยู่ดังนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้.เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง จับบุรุษอ่อนแอที่ศีรษะที่คอ หรือที่ลำตัว แล้วข่มขี่ บีบคั้น ทำให้เร่าร้อนเป็นอย่างยิ่ง นี้ ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง).--ผลสำเร็จแห่งการกำจัดอกุศลวิตก--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่ง นิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น. เมื่อภิกษุนั้นละนิมิตนั้นกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายใน นั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอัน เป็นปาบที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้างเหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว. เมื่อภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่งอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไปย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้มีอำนาจในคลองแห่งชนิดต่างๆ ของวิตก : เธอประสงค์จะตรึกถึงวิตกใด ก็ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ประสงค์จะตรึงถึงวิตกใด ก็ไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ เธอนั้น ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/241-246/257-262.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๔๑-๒๔๖/๒๕๗-๒๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 798
ชื่อบทธรรม : -หน้าที่ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อ “กาม”
เนื้อความทั้งหมด :-หน้าที่ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อ “กาม”--(เพื่อกำจัดกามวิตก)--ภิกษุ ท. ! การเข้าถึงซึ่งกาม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ ผู้มีกามอันตนเข้าไปดำรงอยู่ ผู้ยินดีในกามอันตนนิรมิตเอง ผู้ใช้อำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลเป็นการเข้าถึง กาม ๓ อย่าง.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--พวกชนผู้มีกามอันตนเข้าไปดำรงอยู่ เทพยดาผู้ใช้อำนาจ ให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้ เทพยดาผู้ยินดีในกามอันตน นิรมิตเอง และผู้บริโภคกามเหล่าอื่นก็ดี ล้วนแต่ตั้งอยู่แล้ว ในการบริโภคกาม ทั้งชนิดนี้ และชนิดอื่น. บุคคลพึงเว้นซึ่งกามทั้งปวงเสีย ทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ พึงตัดซึ่งกระแสแห่งกามอันหยั่งลงในปิยรูปและสาตรูป อันเป็นกระแสที่ก้าวล่วงได้ยาก แล้วย่อมปรินิพพานไม่มี--ส่วนเหลือ ก้าวล่วงทุกข์ไม่มีส่วนเหลือ เป็นบัณฑิต เห็นธรรมอันประเสริฐ ถึงเวทด้วยปัญญาอันชอบ, ไม่ถึง ซึ่งความมีภพใหม่เพราะรู้ยิ่งซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ.ขุ 25/302/275.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ.ขุ ๒๕/๓๐๒/๒๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 799
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ ประกอบด้วยกามโยคะ และประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็น อาคามี คือผู้มาสู่ความเป็นอย่างนี้ (ความเป็นมนุษย์ผู้บริโภคกาม).
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ ประกอบด้วยกามโยคะ และประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็น อาคามี คือผู้มาสู่ความเป็นอย่างนี้ (ความเป็นมนุษย์ผู้บริโภคกาม).--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ ปราศจากกามโยคะ แต่ยังประกอบด้วยภวโยคะ ย่อมเป็น อนาคามี คือผู้ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ .--ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ ปราศจากกามโยคะ และปราศจากภวโยคะ ย่อมเป็น อรหันต์สิ้นอาสวะ. ดังนี้.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยกามโยคะและภวโยคะทั้งสองอย่าง ย่อม ไปสู่สังสาระ อันเป็นเครื่องให้ถึงซึ่งชาติและมรณะ.--ส่วนสัตว์ผู้ละกามแล้ว แต่ยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ ยังประกอบอยู่ด้วยภวโยคะนี้เรียกว่าอนาคามี.--ส่วนพวกที่ตัดความสงสัยได้แล้ว สิ้นมานะและภพใหม่ก็ถึงฝั่งนอกแห่งโลก คือถึงความสิ้นอาสวะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. 25/303/276
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๓/๒๗๖
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 800
ชื่อบทธรรม : -หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาสังกัปปะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด จ. ว่าด้วย อานิสงส์ ของสัมมาสังกัปปะ--การหลีกจากกามเป็นบุรพภาคของพรหมจรรย์--ราชกุมาร ! อุปมาข้อสาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้ว มาแจ่มแจ้งแก่เรา, ราชกุมาร ! อุปมาว่าไม้แห้งสนิท ทั้งวางไว้บนบก ไกลจากน้ำ, หากบุรุษตั้งใจว่าเราจักนำไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้นั้น ให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นดังนี้, ราชกุมาร ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักนำไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้หรือไม่ ? “พระองค์ผู้เจริญ ! ได้โดยแท้, เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้แห้งเกราะ ทั้งอยู่บนบกไกลน้ำด้วย”. ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น : สมณะหรือพรหมณ์พวกใด มีกายละจากวัตถุกามแล้ว ทั้งใจก็ไม่ระคนอยู่ด้วยกิเลสกาม อันทำความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมก ความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย, เขาเป็นผู้ละได้ ระงับได้ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายใน เหล่านั้น. สมณะหรือพรหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อนเพราะทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ย่อมควรเพื่อเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มีปัญญาอื่นยิ่งไปกว่า ได้. ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาที่สามที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งกะเราแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/449/416.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๔๔๙/๔๑๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 801
ชื่อบทธรรม : -(สำหรับอุปมาที่หนึ่ง และอุปมาที่สอง ที่กล่าวถึงความไม่ประสบความสำเร็จในพรหมจรรย์เพราะจมติดอยู่ในกาม โดยกายบ้าง โดยใจบ้าง, หาอ่านได้จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่ หัวข้อว่า “อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง” ที่หน้า ๖๑).
เนื้อความทั้งหมด :-(สำหรับอุปมาที่หนึ่ง และอุปมาที่สอง ที่กล่าวถึงความไม่ประสบความสำเร็จในพรหมจรรย์เพราะจมติดอยู่ในกาม โดยกายบ้าง โดยใจบ้าง, หาอ่านได้จากหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่ หัวข้อว่า “อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง” ที่หน้า ๖๑).--อาการเกิดแห่งกุศลวิตก หรือสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด (นิทาน) ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด. อัพ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด. อวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด.--ก. กรณีเนกขัมมวิตก--ภิกษุ ท. ! เนกขัมมวิตก [ความตริตรึกในเนกขัมมะ (ออกจากกาม)] ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ จึงเกิดเนกขัมมสัญญา;--เพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา จึงเกิดเนกขัมมสังกัปปะ;--เพราะอาศัยเนกขัมมสังกัปปะ จึงเกิดเนกขัมมฉันทะ;--เพราะอาศัยเนกขัมมฉันทะ จึงเกิดเนกขัมมปริฬาหะ- (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้เนกขัมมะ);--เพราะอาศัยเนกขัมมปริฬาหะ จึงเกิดเนกขัมมปริเยสนา--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหา เนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือโดยกาย โดยวาจา โดยใจ.--ข. กรณีอัพ๎ยาปาทวิตก--ภิกษุ ท. ! อัพ๎ยาปาทวิตก (ความตริตรึกในอัพ๎ยาบาท) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุท. ! เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทธาตุ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทสัญญา;--เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทสัญญา จึงเกิดอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ;--เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทสังกัปปะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทฉันทะ;--เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทฉันทะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้อัพ๎ยาบาท);--เพราะอาศัยอัพ๎ยาปาทปริฬาหะ จึงเกิดอัพ๎ยาปาทปริเยสนา.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหา อัพ๎ยาบาท ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.--ค. กรณีอวิหิงสาวิตก--ภิกษุ ท. ! อวิหิงสาวิตก (ความตริตรึกในอวิหิงสา) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุท. ! เพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ จึงเกิดอวิหิงสาสัญญา;--เพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา จึงเกิดอวิหิงสาสังกัปปะ;--เพราะอาศัยอวิหิงสาสังกัปปะ จึงเกิดอวิหิงสาฉันทะ;--เพราะอาศัยอวิหิงสาฉันทะ จึงเกิดอวิหิงสาปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้อวิหิงสา);--เพราะอาศัยอวิหิงสาปริฬาหะ จึงเกิดอวิหิงสาปริเยสนา--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหา อวิหิงสา ย่อมปฏิบัติถูกโดยฐานะสาม คือโดยกาย โดยวาจา โดยใจ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. 16/182-183/358-359.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. ๑๖/๑๘๒-๑๘๓/๓๕๘-๓๕๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 802
ชื่อบทธรรม : -สัมมาสังกัปปะทำให้เกิดสังฆสามัคคี
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาสังกัปปะทำให้เกิดสังฆสามัคคี--ภิกษุ ท. ! ในทิศใดพวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความ บันเทิงต่อกันและกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เข้ากันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับน้ำ--มองดูกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่; ภิกษุ ท. ! ทิศนั้น เป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย) จะป่วยการกล่าวไปใยถึงการที่เพียงแต่นึกถึง. ในกรณีนี้ เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะภิกษุเหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่างเสียแล้ว และพากันมาถือกระทำให้มากในธรรมสามอย่าง. ธรรมสามอย่างอะไรบ้างเล่าที่เธอละทิ้งเสียแล้ว ? สามอย่างคือ :---๑. กามวิตก ความตรึกในกาม ๒. พ๎ยาปาทวิตก ความตรึกในทางมุ่งร้าย ๓. วิหิงสาวิตก ความตรึกที่ก่อให้เกิดความลำบากทั้งแก่ตนและผู้อื่น. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นละทิ้งเสียแล้ว.--ก็ธรรมสามอย่างอย่างไรเล่า ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ กระทำเพิ่มพูนให้มาก ? สามอย่างคือ:---๑.เนกขัมมวิตก ความตรึกในการหลีกออกจากความพัวพันในกาม ๒.อัพ๎ยาปาทวิตก ความตรึกในการไม่ทำความมุ่งร้าย ๓.อวิหิงสาวิตก ความตรึกในการไม่ทำตนและผู้อื่นให้ลำบาก. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ที่พวกภิกษุเหล่านั้นพากันมาถือ ทำเพิ่มพูนให้มาก.--ภิกษุ ท. ! ในทิศใด พวกภิกษุ มีความพร้อมเพรียงกัน มีความบันเทิงต่อกันและกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เข้ากันและกันได้สนิทเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยสายตาแห่งความรัก อยู่ ; ภิกษุ ท. ! ทิศนั้นเป็นที่ผาสุกแก่เรา แม้ต้องเดินไป (อย่างเหน็ดเหนื่อย) จะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่เพียงแต่นึกถึง. ในกรณีนี้ เราเชื่อแน่แก่ใจว่า เป็นเพราะพวกภิกษุ--เหล่านั้น ได้ละทิ้งธรรมสามอย่างเหล่าโน้นเสียแล้ว และพากันมาถือ กระทำให้มากในธรรมสามอย่างเหล่านี้แทน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/355/564.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๕๕/๕๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 803
ชื่อบทธรรม : -(นี้เป็นเครื่องแสดงว่า สังฆสามัคคีนั้นเป็นพุทธประสงค์และเป็นที่สบพระอัธยาศัย).
เนื้อความทั้งหมด :-(นี้เป็นเครื่องแสดงว่า สังฆสามัคคีนั้นเป็นพุทธประสงค์และเป็นที่สบพระอัธยาศัย).--หมวด ฉ. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาสังกัปปะ--อาการเกิดแห่งอกุศลวิตกหรือมิจฉาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! กามวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด (นิทาน) ไม่ใช่เกิด อย่างไม่มีเหตุให้เกิด. พ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด. วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด.--ก. กรณีกามวิตก--ภิกษุ ท. ! กามวิตก (ความตริตรึกในกาม) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิดไม่ใช่ เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด ; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยกามธาตุ จึงเกิดกามสัญญา;--เพราะอาศัยกามสัญญา จึงเกิดกามสังกัปปะ;--เพราะอาศัยกามสังกัปปะ จึงเกิดกามฉันทะ;--เพราะอาศัยกามฉันทะ จึงเกิดกามปริฬาหะ (ความเร่าร้อน เพื่อจะได้กาม);--เพราะอาศัยกามปริฬาหะ จึงเกิดกามปริเยสนา (การแสวงหากาม)--ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.--ข. กรณีพ๎ยาปาทวิตก--ภิกษุ ท. ! พ๎ยาปาทวิตก [ความตริตรึกในพ๎ยาบาท (มุ่งร้าย)] ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยพยาปาทธาตุ จึงเกิดพยาปาทสัญญา;--เพราะอาศัยพยาปาทสัญญา จึงเกิดพยาปาทสังกัปปะ;--เพราะอาศัยพยาปาทสังกัปปะ จึงเกิดพยาปาทฉันทะ;--เพราะอาศัยพยาปาทฉันทะ จึงเกิดพยาปาทปริฬาหะ- (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ทำการพยาบาท);--เพราะอาศัยพยาปาทปริฬาหะ จึงเกิดพยาปาทปริเยสนา.--ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาพยาบาท ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.--ค. กรณีวิหิงสาวิตก--ภิกษุ ท. ! วิหิงสาวิตก [ความตริตรึกในวิหิงสา (เบียดเบียน)] ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุท. ! เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ จึงเกิดวิหิงสาสัญญา;--เพราะอาศัยวิหิงสาสัญญา จึงเกิดวิหิงสาสังกัปปะ;--เพราะอาศัยวิหิงสาสังกัปปะ จึงเกิดวิหิงสาฉันทะ;--เพราะอาศัยวิหิงสาฉันทะ จึงเกิดวิหิงสาปริฬาหะ- (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้ทำการเบียดเบียน);--เพราะอาศัยวิหิงสาปริฬาหะ จึงเกิดวิหิงสาปริเยสนา.--ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหาวิหิงสา ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ.16/181/355-356.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ.๑๖/๑๘๑/๓๕๕-๓๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 804
ชื่อบทธรรม : -หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณณกะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณณกะ--ธรรมชาติของกามแห่งกามวิตก--ภิกษุ ท. ! ถูกแล้วๆ ที่พวกเธอทั้งหลายเข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนั้น. ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ทำอันตรายทั้งหลาย เราได้กล่าวไว้แล้วโดยอเนกปริยาย แก่พวกเธอ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถที่จะทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง. กามทั้งหลาย เรากล่าวแล้วว่ามีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ท่อนกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย คบเพลิงทำด้วยหญ้า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย หลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ของในความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ของยืมเขามา มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย ผลไม้ที่ฆ่าต้น มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย เขียงรองสับเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย หอกและหลาว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก.--เรากล่าวกามทั้งหลาย ว่าควรเปรียบด้วย หัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนั้นยิ่งนัก ….--ภิกษุ ท. ! โมฆบุรุษนั้นหนอ จักเสพกามโดยเว้นจาก กาม (กิเลส) เว้นจากกามสัญญา เว้นจากกามวิตก ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/267/277.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๒๖๗/๒๗๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 805
ชื่อบทธรรม : -ความไม่มีเนกขัมมวิตกในจิตของสามัญสัตว์
เนื้อความทั้งหมด :-ความไม่มีเนกขัมมวิตกในจิตของสามัญสัตว์--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหา--ฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น แต่เขาผูกมัดตนอย่างเหนียวแน่นด้วยเชือกอันมั่นคง ให้มีแขนไพล่หลังอยู่ริมฝั่งนี้. วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้น จะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำอจิรวดี ได้หรือหนอ ? “ไม่ได้แน่ ท่านพระโคดม !”--วาเสฏฐะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : กามคุณ ๕ อย่าง เหล่านี้เรียก กันในอริยวินัยว่า “ขื่อคา” บ้าง ว่า “เครื่องจองจำ” บ้าง. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู .... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก .... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น .... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย (แต่ละอย่างๆ) อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ. วาเสฏฐะ ! กามคุณ ๕ อย่าง เหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัยว่า “ขื่อคา” บ้าง ว่า “เครื่องจองจำ” บ้าง.--วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ ไตรเพททั้งหลาย หยั่งลงอยู่ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ไม่มองเห็นโทษต่ำทราม ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ ซึ่งกามคุณทั้งห้าเหล่านี้. วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะที่ไม่ทำความเป็นพราหมณ์ ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่บริโภคกามคุณทั้งห้าอย่างจมลึกอยู่ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ไม่มองเห็นโทษต่ำทรามไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก มีกามฉันทะผูกมัดแล้ว จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้น: นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้.--วาเสฏฐะ ! เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีนี้ มีน้ำเต็มเปี่ยม กายืนดื่มได้. ครั้งนั้น มีบุรุษคนหนึ่งมาถึงเข้า เขามีประโยชน์ที่ฝั่งโน้น แสวงหาฝั่งโน้น มีการไปสู่ฝั่งโน้น ประสงค์จะข้ามไปสู่ฝั่งโน้น แต่เขา นอนคลุมศีรษะของตนอยู่ที่ริมฝั่งนี้. วาเสฏฐะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนั้นจะไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำอจิรวดี ได้หรือหนอ ? “ไม่ได้แน่ท่านพระโคดม !“--วาเสฏฐะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : นิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้เรียกกัน ในอริยวินัยว่า “เครื่องปิด” บ้าง ว่า “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่าเครื่องร้อยรัด” บ้าง. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ กามฉันทนิวรณ์ พ๎ยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ วาเสฏฐะ ! นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้แล ซึ่งเรียกกันในอริยวินัยว่า “เครื่องปิด” บ้าง “เครื่องกั้น” บ้าง ว่า “เครื่องคลุม” บ้าง ว่า “เครื่องร้อยรัด” บ้าง.--วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพททั้งหลาย ถูกนิวรณ์ ๕ อย่าง เหล่านี้ปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว. วาเสฏฐะ ! พราหมณ์ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมที่ทำความเป็นพราหมณ์เสีย สมาทานธรรมะที่ไม่ทำความเป็นพราหมณ์ ดำรงชีวิตให้เป็นไปอยู่ อันนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างปิดแล้ว กั้นแล้ว คลุมแล้ว ร้อยรัดแล้ว จักเป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ภายหลังแต่การตายเพราะการ ทำลายแห่งกาย ดังนี้นั้น : นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/305-307/377-379.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๓๐๕-๓๐๗/๓๗๗-๓๗๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1072
ชื่อบทธรรม : -วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ
เนื้อความทั้งหมด :-วิธีพิจารณาเพื่อกำจัดอกุศลวิตกตามลำดับ--ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบฝึกฝนเพื่อบรรลุอธิจิต พึงกระทำในใจ ถึง นิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร. ห้าประการ อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ :---ประการที่ ๑--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุในกรณีนี้ อาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่งนิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะ--บ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น, ภิกษุนั้น พึง ละนิมิตนั้นเสียกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบอยู่ด้วยกุศล. เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจถึงนิมิตอื่นนอกไปจากนิมิตนั้น อันประกอบอยู่ด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุด มีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนช่างทำแผ่นไม้กระดาน หรือลูกมือของ เขาผู้ฉลาด ตอก โยก ถอนลิ่มอันใหญ่ออกเสียได้ ด้วยลิ่มอันเล็ก นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ภิกษุนั้นอาศัยนิมิตแห่งกุศล เพื่อละเสียซึ่ง นิมิตแห่งอกุศล ทำจิตให้เป็นสมาธิได้).--ประการที่ ๒--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ละนิมิตนั้นแล้ว กระทำในใจซึ่งนิมิตอื่น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง เข้าไปใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้น ว่า “วิตกเหล่านี้เป็นอกุศล” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ ประกอบไปด้วยโทษ” ดังนี้บ้าง “วิตกเหล่านี้ มีทุกข์เป็นวิบาก” ดังนี้บ้าง. เมื่อภิกษุนั้นใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม ชอบการประดับ ตกแต่ง เมื่อถูกเขาเอาซากงู ซากสุนัข หรือซากคน มาแขวนเข้าที่คอ ก็จะรู้สึกอึดอัด ระอา ขยะแขยง นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น อึดอัด ระอา ขยะแขยง ต่อโทษของอกุศลวิตกอยู่).--ประการที่ ๓--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น อย่าพึงระลึกถึง อย่าพึงกระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น อยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีตา แต่ไม่ต้องการจะเห็นรูปอันมา สู่คลองแห่งจักษุ เขาก็จะหลับตาเสีย หรือจะเหลียวมองไปทางอื่นเสีย นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นจะไม่ทำการระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจถึงอกุศลวิตกเหล่านั้น).--ประการที่ ๔--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอกุศล วิตกเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาป ซึ่งประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้น. เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายใน นั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษเดินเร็ว ๆ แล้วฉุกคิดว่า เราจะเดินเร็วๆ ไปทำไม เดินช้าๆ ดีกว่า เขาก็เดินช้าๆ แล้วฉุกคิดว่า จะเดินช้าๆ ไปทำไม ยืนเสียดีกว่า เขาก็ยืน แล้วฉุกคิดว่า จะยืนไปทำไม นั่งลงเสียดีกว่า เขาก็นั่งลง แล้วก็ฉุกคิดว่า จะนั่งอยู่ทำไม นอนเสียดีกว่า เขาก็นอน : ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แหละที่บุรุษนั้นเปลี่ยนอิริยาบถหยาบ ๆ มาเป็นอิริยาบถละเอียดๆ นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น พิจารณารูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตกไปตามลำดับๆ หยุดการวิจารในเรื่องราวของจิตกนั้นแต่ไปพิจารณารูปพรรณสันฐานของวิตกนั้นแทน).--ประการที่ ๕--ภิกษุ ท. ! ถ้าแม้ภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่ง การปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นอยู่อย่างนี้ อกุศลวิตกอัน--เป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง ก็ยังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นอยู่นั่นเอง ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้น พึง ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง. เมื่อภิกษุนั้นกระทำอยู่ดังนี้ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้นย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้.เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง จับบุรุษอ่อนแอที่ศีรษะที่คอ หรือที่ลำตัว แล้วข่มขี่ บีบคั้น ทำให้เร่าร้อนเป็นอย่างยิ่ง นี้ ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่ง).--ผลสำเร็จแห่งการกำจัดอกุศลวิตก--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใด กระทำในใจซึ่ง นิมิตใดอยู่ อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น. เมื่อภิกษุนั้นละนิมิตนั้นกระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายใน นั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะการละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น ใคร่ครวญซึ่งโทษแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอัน เป็นปาบที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้างเหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้นเป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว. เมื่อภิกษุนั้น ไม่ระลึกถึง ไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจซึ่งรูปพรรณสัณฐานแห่งการปรุงแต่งแห่งวิตก ของอกุศลวิตกเหล่านั้นอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--เมื่อภิกษุนั้น ขบฟันด้วยฟัน จรดเพดานด้วยลิ้น ข่มขี่จิตด้วยจิต บีบบังคับจิตด้วยจิต เผาจิตด้วยจิต ให้เป็นอย่างยิ่งอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ด้วยโทสะบ้าง ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไปย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้มีอำนาจในคลองแห่งชนิดต่างๆ ของวิตก : เธอประสงค์จะตรึกถึงวิตกใด ก็ตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ประสงค์จะตรึงถึงวิตกใด ก็ไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้ เธอนั้น ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/241-246/257-262.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๔๑-๒๔๖/๒๕๗-๒๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 62
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site