สัทธรรมลำดับที่ : 785
ชื่อบทธรรม : -เห็นผิดจากธรรมชาติ ก็ ไม่อาจทำให้แจ้งมรรคผล
เนื้อความทั้งหมด :-เห็นผิดจากธรรมชาติ ก็ ไม่อาจทำให้แจ้งมรรคผล--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ เมื่อ ตามเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง อยู่ จักเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยอนุโลมิกขันติ (ความสมควรแก่ อนุโลมิกญาณ) ดังนี้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ;--ผู้ไม่ประกอบพร้อมด้วยอนุโลมิกขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระเบียบแห่งความถูกต้อง) ดังนี้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ;--เมื่อไม่หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามอยู่ จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผล หรือสกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล ดังนี้นั้น : นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ;--(ปฏิปักขนัย - ฝ่ายตรงกันข้าม)--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ เมื่อ ตามเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมิกขันติ ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ ;--ผู้ประกอบพร้อมด้วยอนุโลมิกขันติ จักหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ ;--เมื่อหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามอยู่ จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผล หรือสกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล ดังนี้นั้น : นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้ .-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/490/369.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๐/๓๖๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 786
ชื่อบทธรรม : -นิทเทศ ๑๔ ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ--จบ--นิทเทศ ๑๕ ว่าด้วยสัมมาสังกัปปะ--(มี๑๙เรื่อง)
เนื้อความทั้งหมด :-(ในกรณีแห่ง การ เห็นสังขารเป็นสุข - เป็นทุกข์ เห็นธรรมเป็น อัตตา - เป็นอนัตตา ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ในสูตรถัด ๆ ไป โดยนัยอย่างเดียวกัน.--การเห็นสังขารเป็นของเที่ยงเป็นของสุข เห็นธรรมเป็นอัตตา นั้นเรียกว่า เห็นผิดจากธรรมชาติ, ส่วนการเห็นโดยนัยที่ถูกต้องเรียกว่า เห็นถูกตามธรรมชาติ. ความสมควรแก่อนุโลมิกญาณ คือความสมควรแก่การที่จะเห็นแจ้งอริยสัจสี่ ตามที่เป็นจริง. ระเบียบแห่งความถูกต้อง คือความถูกต้องตามสัมมัตตะ ๑๐ ประการ ซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งการบรรลุมรรคผล).--นิทเทศ ๑๔ ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ--จบ--นิทเทศ ๑๕ ว่าด้วยสัมมาสังกัปปะ--(มี๑๙เรื่อง)--หมวด ก. ว่าด้วย อุทเทศ-วิภาค ของสัมมาสังกัปปะ--อุทเทศแห่งสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหา.ที. 10/348/299.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหา.ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 787
ชื่อบทธรรม : -สัมมาสังกัปปะโดยปริยายสองอย่าง
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาสังกัปปะโดยปริยายสองอย่าง--(โลกิยะ - โลกุตตระ)--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้สัมมาสังกัปปะว่ามีอยู่โดยส่วนสอง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ (สาสว) เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญฺญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก (อุปธิเวปกฺก) ก็มีอยู่, สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อานาสว) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือเนกขัมมสังกัปปะ อัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.--ภิกษุ ท. ! สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระเป็นองค์แห่งมรรค นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ ตักกะ๑ วิตักกะ สังกัปปะ อัปปนา พ๎ยัปปนา เจตโสอภินิโรปนา และวจีสังขาร๑ ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้มีอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. ! นี้คือสัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. 14/182/361 - 263.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. ๑๔/๑๘๒/๓๖๑ - ๒๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 788
ชื่อบทธรรม : -วิตกโดยปริยายสองอย่าง(เพื่อนิพพาน - ไม่เพื่อนิพพาน)
เนื้อความทั้งหมด :-วิตกโดยปริยายสองอย่าง--(เพื่อนิพพาน - ไม่เพื่อนิพพาน)--ภิกษุ ท. ! อกุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้ เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ กระทำซึ่งความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก. ภิกษุ ท. ! อกุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้แล เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ ไม่เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ กระทำซึ่งความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.--๑. คำเหล่านี้ทุกคำ มีความหมายเป็นความแน่วแน่แห่งจิตในอารมณ์ที่จิตกำหนดในรูปแห่งความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง และทำหน้าที่ปรุงแต่งการพูดด้วย คือ ตักกะ = ตริตรึก, วิตักกะ = วิตก, สังกัปปะ = ดำริ, อัปปนา = แน่วแน่, พยัปปนา=แน่วแน่อย่างวิเศษ, เจตโสอภินิโรปนา = งอกงามแห่งความคิดถึงที่สุดของจิต, วจีสังขาร = สิ่งปรุงแต่งการพูด.--ภิกษุ ท. ! กุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ เป็นเครื่องกระทำให้เกิด ญาณ กระทำซึ่งความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ เนกขัมมวิตก อัพ๎ยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก. ภิกษุ ท. ! กุศลวิตก ๓ อย่าง เหล่านี้แล ไม่เป็นเครื่องกระทำให้มืดบอด เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ กระทำซึ่งความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็น ฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--พึงวิตกกุศลวิตก ๓ ประการ ไม่พึงทำอกุศลวิตก ๓ ประการ ให้เกิดขึ้น, ท่านระงับวิตกอันแผ่ซ่านเสียได้ เหมือนฝนระงับฝุ่นอันฟุ้งขึ้น. ท่านมีจิตอันสงบจาก วิตก ถึงทับสันติบทในโลกนี้ทีเดียว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ.ขุ. 25/293-294/266-267.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ.ขุ. ๒๕/๒๙๓-๒๙๔/๒๖๖-๒๖๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 789
ชื่อบทธรรม : -บุคคลเกี่ยวกับเนกขัมมะ ๔ ประเภท
เนื้อความทั้งหมด :-บุคคลเกี่ยวกับเนกขัมมะ ๔ ประเภท--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวก เหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่จำพวก อย่างไรเล่า ? สี่จำพวก คือ กายออกแต่จิตไม่ออก กายไม่ออกแต่จิตออก กายก็ไม่ออกจิตก็ไม่ออก กายก็ออกจิตก็ออก.--ภิกษุ ท. ! บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ออกแต่จิตไม่ออก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ,--ในที่นั้น ๆ เขา วิตกซึ่งกามวิตกบ้าง ซึ่งพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งวิหิงสาวิตกบ้าง.--ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลที่กายออกแต่จิตยังไม่ออก.--ภิกษุ ท. ! บุคคลที่ชื่อว่า กายไม่ออกแต่จิตออก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ, ในที่นั้น ๆ เขา วิตกซึ่งเนกขัมมวิตกบ้าง ซึ่งอัพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งอวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลที่กายไม่ออกแต่จิตออก.--ภิกษุ ท. ! บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ไม่ออกจิตก็ไม่ออก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ไม่ได้เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ, ในที่นั้น ๆ เขา วิตกซึ่งกามวิตกบ้าง ซึ่งพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลที่กายก็ไม่ออกจิตก็ยังไม่ออก.--ภิกษุ ท. ! บุคคลที่ชื่อว่า กายก็ออกจิตก็ออก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าทึบ, ในที่นั้น ๆ เขา วิตกซึ่งเนกขัมมวิตกบ้าง ซึ่งอัพ๎ยาปาทวิตกบ้าง ซึ่งอวิหิงสาวิตกบ้าง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลที่กายก็ออกจิตก็ออก.--ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. 21/185/138.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๕/๑๓๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 790
ชื่อบทธรรม : -หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะของสัมมาสังกัปปะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ข. ว่าด้วย ลักษณะของสัมมาสังกัปปะ--อริยสัจจวิตก--ในฐานะสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย อย่าวิตกถึงอกุศลวิตกทั้งหลายอันเป็นบาป--กล่าวคือ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า วิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นอาทิพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย เมื่อจะวิตก พึงกระทำวิตกต่อสัจจะที่ว่า “นี้ คือ ทุกข์, นี้ คือ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ คือ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า วิตกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ วิตกเหล่านี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ วิตกเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบรำงับ เพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอทั้งหลาย พึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/523/1660.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๓/๑๖๖๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 791
ชื่อบทธรรม : -อริยสัจจจินตนา ในฐานะสัมมาสังกัปปะ
เนื้อความทั้งหมด :-อริยสัจจจินตนา ในฐานะสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย อย่ากระทำจินตนาซึ่งความคิดอันเป็นบาป อกุศลว่า โลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยง, ว่าโลกมีที่สุด หรือว่า โลกไม่มีที่สุด,--ว่าชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น, ว่าตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก หรือว่า ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมไม่มีอีก, ว่าตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี หรือว่าตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้, ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า จินดาเหล่านี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นอาทิพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย เมื่อจะทำจินตนา พึงกระทำจินตนาต่อสัจจะที่ว่า “นี้ คือ ทุกข์, นี้ คือ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ คือ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า จินดาเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ จินดาเหล่านี้ เป็นอาทิพรหมจรรย์ จินดาเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ความสงบรำงับ เพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน.--ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -มหาวาร.สํ. 19/524/1661.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหาวาร.สํ. ๑๙/๕๒๔/๑๖๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 792
ชื่อบทธรรม : -หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ของสัมมาสังกัปปะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ค. ว่าด้วย อุปกรณ์ของสัมมาสังกัปปะ--สิ่งควรทราบเกี่ยวกับอกุศลสังกัปปะ--ดูก่อนถปติ ! อกุศลสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? กามสังกัปปะ พ๎ยาปาทสังกัปปะ วิหิงสาสังกัปปะ : เหล่านี้ เรากล่าวว่า อกุศลสังกัปปะ.--ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน (ที่สำหรับตั้งขึ้น) ? สมุฏฐานแห่งอกุศลสังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว; เป็นสิ่งที่ควรจะกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน.--สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? แม้สัญญา ก็มีมาก มิใช่อย่างเดียว มีนานาประการ. อกุศลสังกัปปะทั้งหลาย มีสมุฏฐานมาจากกามสัญญา จากพ๎ยาปาทสัญญา จากวิหิงสาสัญญา.--ถปติ ! อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ จะดับไม่มีส่วนเหลือ ในที่ไหน ? ความดับแห่งอกุศลสังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว. ถปติ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกและวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อกุศลสังกัปปะเหล่านี้ ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ในปฐมฌานนั้น.--ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะทั้งหลาย ? ถปติ ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว--เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งอกุศลสังกัปปะทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/349/364.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๓๔๙/๓๖๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 793
ชื่อบทธรรม : -สิ่งควรทราบเกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งควรทราบเกี่ยวกับกุศลสังกัปปะ--ดูก่อนถปติ ! กุศลสังกัปปะ เป็นอย่างไรเล่า ? เนกขัมมสังกัปปะ อัพ๎ยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ : เหล่านี้เรากล่าวว่า กุศลสังกัปปะ.--ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน (ที่สำหรับตั้งขึ้น) ? สมุฏฐานแห่งกุศลสังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว; เป็นสิ่งที่ควรจะกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน.--สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? แม้สัญญา ก็มีมาก มิใช่อย่างเดียว มีนานาประการ กุศลสังกัปปะทั้งหลาย มีสมุฏฐานมาจากเนกขัมมสัญญา อัพ๎ยาปาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา.--ถปติ ! กุศลสังกัปปะเหล่านี้ จะดับไปไม่มีส่วนเหลือ ในที่ไหน ? ความดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขากล่าวกันไว้แล้ว. ถปติ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบรำงับแห่งวิตกวิจารเสียได้ เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่. กุศลสังกัปปะเหล่านี้ ย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือในทุติยฌานนั้น.--ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างไร ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะทั้งหลาย ? ถปติ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ถปติ ! ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งกุศลสังกัปปะทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม.ม. 13/350/365.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม.ม. ๑๓/๓๕๐/๓๖๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 794
ชื่อบทธรรม : -เนกขัมมะแท้มีได้ เพราะได้รู้รสของสิ่งที่ประเสริฐกว่ากามรส
เนื้อความทั้งหมด :-เนกขัมมะแท้มีได้ เพราะได้รู้รสของสิ่งที่ประเสริฐกว่ากามรส--มหานาม ! กามทั้งหลาย ให้เกิดความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก, โทษในเพราะกามนั้นมีเป็นอย่างยิ่ง; แม้ข้อนี้จะเป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดีด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงก็ตาม, แต่เขายังไม่ (เคย) ถึงทับปีติและสุขอันเว้นจากกาม อันเว้นจากอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือไม่ถึงทับความสุขอย่างอื่นที่สงบระงับกว่ากามนั้น แล้ว เขาจะเป็นผู้ไม่เวียนกลับไปสู่กามทั้งหลายนั้น ยังเป็นไปไม่ได้.--มหานาม ! ถ้าเมื่อใด อริยสาวก เห็นด้วยดีด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ในข้อนั้น ว่า กามทั้งหลาย ให้เกิดความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในเพราะกามนั้นมีเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้ด้วย, และเธอก็ (ได้) ถึง--ทับปีติและสุขอันเว้นจากกาม อันเว้นจากอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือ ถึงทับความสุขอย่างอื่นที่สงบระงับกว่ากามนั้น ด้วย ; เมื่อนั้น เธอนั้น ก็จะไม่เวียนกลับไปสู่กามทั้งหลายอีก.--(ต่อจากนี้ ได้ตรัสเล่าถึงเหตุการณ์ทำนองนี้ ที่เกิดแก่พระองค์ในระยะก่อนการตรัสรู้ เป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/180/211.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๘๐/๒๑๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 795
ชื่อบทธรรม : -หมวดง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาสังกัปปะ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวดง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาสังกัปปะ--วิธีพิจารณาเพื่อเกิดสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า เราพึงทำวิตกทั้งหลายให้เป็นสองส่วนเถิด. ภิกษุ ท. ! เราได้ทำ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ ให้เป็นอีกส่วนหนึ่ง, ได้ทำ เนกขัมมวิตก อัพ๎ยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ ให้เป็นอีกส่วนหนึ่งแล้ว.--ก. โทษแห่งมิจฉาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ กามวิตก เกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว, กามวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและผู้อื่น) บ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่--....ฯลฯ๑.... อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท. ! เราได้ละและบรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว (ในกรณีแห่ง พ๎ยาปาทวิตก และวิหิงสาวิตก ก็มีแนวแห่งการพิจารณาอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง กามวิตก ไปจนกระทั่งถึงคำว่า กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.).--ภิกษุ ท. ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง กามวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละเนกขัมมวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม (กามวิตก). ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง พ๎ยาปาทวิตก มาก ก็เป็นอันว่า ละอัพ๎ยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่ง พ๎ยาปาทวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท(พ๎ยาปาทวิตก). ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง วิหิงสาวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละ อวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการทำสัตว์ให้ลำบาก (วิหิงสาวิตก).--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือ เดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโคต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจากข้าวกล้านั้นด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษคือการถูกประหาร การถูกจับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทราม เศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย, เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.--๑. เห็นอย่างนี้ คือเห็นอย่างว่ามาแล้ว เช่นมีการเบียดเบียนตนเป็นต้น.--ข. คุณแห่งสัมมาสังกัปปะ--ภิกษุ ท. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้เนกขัมมวิตก ย่อมเกิดขึ้น ....๑ อัพ๎ยาปาทวิตก ย่อมเกิดขึ้น .... อวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็อวิหิงสาวิตกนั้น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย, แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืนก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้น ตลอดวัน, หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.--ภิกษุ ท. ! ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก กายก็เมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ, เพราะเหตุนั้น เราจึงดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเราประสงค์อยู่ว่าจิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้น ๆ : ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึง เนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก ; จิตของ--๑. ที่ละด้วยจุดนี้ หมายความว่าตรัสทีละวิตก แต่คำตรัสเหมือนกันหมด ผิดแต่ชื่อเท่านั้น, ทุกๆวิตกมีเนื้อความอย่างเดียวกัน, จะใส่เต็มเฉพาะอวิหิงสาวิตก ซึ่งเป็นวิตกข้อสุดท้ายเท่านั้น, สำหรับสองวิตกข้างต้น ก็มีแนวแห่ง การพิจารณาและรู้สึกอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งอวิหิงสาวิตก.--เธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการออกจากกาม (เนกขัมมวิตก). ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึง อัพ๎ยาปาทวิตก มาก ก็เป็นอันว่าละพ๎ยาบาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอัพ๎ยาปาทวิตก ; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท (อัพ๎ยาปาทวิตก) ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึง อวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก ; จิตของเธอนั้นย่อม น้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำบาก (อวิหิงสาวิตก).--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมด เขาขนนำไปในบ้านเสร็จแล้ว คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้ง ๆ พึงทำแต่ความกำหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/232 - 236/252.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๒๓๒ - ๒๓๖/๒๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 796
ชื่อบทธรรม : -อาการเกิดแห่งเนกขัมมสังกัปปะ
เนื้อความทั้งหมด :-อาการเกิดแห่งเนกขัมมสังกัปปะ--ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ.--คฤหบดี หรือว่าคฤหบดีบุตร หรือบุคคลผู้เกิดแล้วในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในภายหลัง ย่อมได้ฟังซึ่งธรรมนั้น. บุคคลนั้นๆ ครั้นได้ฟังแล้วย่อมได้ซึ่งสัทธาใน ตถาคต, มาตามพร้อมแล้วด้วยการได้สัทธาในตถาคตแล้ว ย่อม--พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง ; มิใช่เป็นการง่าย ที่จะอยู่ครองเรือนแล้วประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์อันขัดดีแล้ว, ถ้ากระไร เราจะพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกจากเรือนบวชสู่ความไม่มีเรือนเถิด” ดังนี้บุคคลนั้น ครั้นถึงสมัยอื่น ละโภคะน้อยใหญ่ ละวงค์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะแล้ว ออกบวชจากเรือนสู่ความไม่มีเรือน.--ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร, มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย, มาตามพร้อมแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย, ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ, มีความสันโดษ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/82/102.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๘๒/๑๐๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 61
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site