สัทธรรมลำดับที่ : 776
ชื่อบทธรรม : -หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณกะ--สัสสตทิฏฐิก็อยากอยู่ อุจเฉททิฏฐิก็อยากไป สัมมาทิฏฐิก็อยากดับ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ช. ว่าด้วย ปกิณกะ--สัสสตทิฏฐิก็อยากอยู่ อุจเฉททิฏฐิก็อยากไป สัมมาทิฏฐิก็อยากดับ--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อันทิฏฐิสองอย่างห่อหุ้มแล้ว บางพวก ทรุดลงอยู่ตรงนั้น บางพวก แล่นเตลิดไป ส่วน พวกที่มีจักษุ ย่อมเห็น (ตามที่เป็นจริง).--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์พวกที่ทรุดลงอยู่ที่ตรงนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! คือเทวดาและมนุษย์ พวกที่มีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภพ เพลิดเพลินในภพ, เมื่อบุคคลแสดงธรรมเพื่อความดับไม่เหลือแห่งภพ--แก่เทวดาและมนุษย์พวกนั้นอยู่, จิตของเขาก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้เรียกว่า พวกที่ทรุดลงอยู่ที่ตรงนั้น.--ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์พวกที่แล่นเตลิดไป เป็นอย่างไรเล่า ? คือพวกที่อึดอัดอยู่ เอือมระอาอยู่ เกลียดอยู่ ด้วยภพ (แต่) เพลิดเพลินอย่างยิ่ง อยู่กะวิภพ (ภาวะปราศจากภพ) ด้วยคิดว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! ได้ยินว่าอัตตานี้ ภายหลังจากการตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมขาดสูญ ย่อมวินาศ มิได้มีอยู่ภายหลังจากการตาย : นั่นแหละเป็นภาวะสงบระงับ นั่นแหละ เป็นภาวะประณีต นั่นแหละ เป็นภาวะแน่นอนตายตัว” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้เรียกว่า พวกที่แล่นเตลิดไป.--ภิกษุ ท. ! ส่วน พวกที่มีจักษุ ย่อมเห็น (ตามที่เป็นจริง) เป็นอย่างไรเล่า ? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเห็นธรรมที่เกิดแล้วเป็นแล้ว โดยความเป็นสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้ว ครั้นเห็นธรรมที่เกิดแล้วเป็นแล้ว โดยความเป็นสิ่งที่เกิดแล้วเป็นแล้ว แล้วก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับไม่เหลือ แห่งธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แลเรียกว่า พวกที่มีจักษุ ย่อมเห็น (ตามเป็นจริง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อิติวุ.ขุ. 25/263/227.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อิติวุ.ขุ. ๒๕/๒๖๓/๒๒๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 777
ชื่อบทธรรม : -(โดยพระบาลี ทำให้เกิดความเข้าใจว่า พวกที่ทรุดลงอยู่ตรงนั้น คือพวก สัสตทิฏฐิ พวกที่แล่นเตลิดเลยไปนั้น คือพวก อุจเฉททิฏฐิ ส่วนพวกที่เห็นตามที่เป็นจริง คือพวก สัมมาทิฏฐิ, ต่างกันอยู่ดังนี้เป็นสามพวก ทั้งที่มีมูลมาจากเหตุอย่างเดียวกัน คือมีทิฏฐิสองอย่างห่อหุ้มแล้วด้วยกัน).
เนื้อความทั้งหมด :-(โดยพระบาลี ทำให้เกิดความเข้าใจว่า พวกที่ทรุดลงอยู่ตรงนั้น คือพวก สัสตทิฏฐิ พวกที่แล่นเตลิดเลยไปนั้น คือพวก อุจเฉททิฏฐิ ส่วนพวกที่เห็นตามที่เป็นจริง คือพวก สัมมาทิฏฐิ, ต่างกันอยู่ดังนี้เป็นสามพวก ทั้งที่มีมูลมาจากเหตุอย่างเดียวกัน คือมีทิฏฐิสองอย่างห่อหุ้มแล้วด้วยกัน).--คนรวยก็มีธรรมะได้--(จิตนิยมและวัตถุนิยมก็อยู่ด้วยกันได้)--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่าง ชื่อว่าย่อมเจริญด้วย ความเจริญของพระอริยเจ้า ด้วย และเป็นผู้ ถือเอาแก่นสารและความประเสริฐทางฝ่ายกาย (วัตถุ) ได้ด้วย. สิบอย่าง อย่างไรเล่า ? สิบอย่างคือ :---ย่อมเจริญด้วยนาและสวน, ย่อมเจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก, ย่อมเจริญด้วยบุตรและภรรยา, ย่อมเจริญด้วยทาสและกรรมกรที่เต็มขนาดแห่งบุรุษ, ย่อมเจริญด้วยสัตว์สี่เท้า, ย่อมเจริญด้วยสัทธา, ย่อมเจริญด้วยศีล, ย่อมเจริญด้วยสุตะ, ย่อมเจริญด้วยจาคะ, ย่อมเจริญด้วยปัญญา.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่างเหล่านี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยความเจริญของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสารและความประเสริฐทางฝ่ายกายได้ด้วย.--(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)--บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า, บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นที่บูชาของญาติมิตรและแม้ของพระราชา.--บุคคลใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยสัทธา ศีล ปัญญา จาคะ สุตะ อันเป็นความเจริญทั้งสองฝ่าย, บุคคลเช่นนั้น เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาเห็นโดยประจักษ์ ย่อม เจริญด้วยความเจริญทั้งสองฝ่าย ในทิฏฐธรรมนี้, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. 24/146/74.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก.อํ. ๒๔/๑๔๖/๗๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 778
ชื่อบทธรรม : -(พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถเจริญพร้อมกันไปได้ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ไม่ควรถูกล้อว่าขนมปังแผ่นเดียวทาเนยทั้งสองหน้า ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของบุคคลผู้รู้จักชีวิตแต่เพียงด้านเดียว จนกระทั่งพูดกันว่าถ้ารวยแล้วเป็นต้องโกง ไม่อาจจะมีธรรมะได้ หรือถ้ามีธรรมะแล้วจะรวยไม่ได้. พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า ความเจริญ ๕ อย่างข้างต้น เป็นความเจริญทางโลกหรือทางวัตถุ ความเจริญ ๕ อย่างตอนหลังเป็นความเจริญทางธรรม ทางจิต ทางวิญญาณ ซึ่งมีทางที่จะสูงขึ้นไปได้ จนถึงการบรรลุมรรคผล หรืออย่างน้อยก็เป็นอริยบุคคลซึ่งเที่ยงแท้ต่อการบรรลุมรรคผล).
เนื้อความทั้งหมด :-(พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถเจริญพร้อมกันไปได้ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม ไม่ควรถูกล้อว่าขนมปังแผ่นเดียวทาเนยทั้งสองหน้า ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดของบุคคลผู้รู้จักชีวิตแต่เพียงด้านเดียว จนกระทั่งพูดกันว่าถ้ารวยแล้วเป็นต้องโกง ไม่อาจจะมีธรรมะได้ หรือถ้ามีธรรมะแล้วจะรวยไม่ได้. พระบาลีนี้แสดงให้เห็นว่า ความเจริญ ๕ อย่างข้างต้น เป็นความเจริญทางโลกหรือทางวัตถุ ความเจริญ ๕ อย่างตอนหลังเป็นความเจริญทางธรรม ทางจิต ทางวิญญาณ ซึ่งมีทางที่จะสูงขึ้นไปได้ จนถึงการบรรลุมรรคผล หรืออย่างน้อยก็เป็นอริยบุคคลซึ่งเที่ยงแท้ต่อการบรรลุมรรคผล).--การใช้ความทุกข์ให้เป็นประโยชน์แก่ปุถุชน--ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาให้เห็นชัดอยู่เนืองๆ ว่า “เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้” ดังนี้ ?--ภิกษุ ท. ! ความมัวเมาในความหนุ่ม มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย อันเป็น เหตุให้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต, เมื่อเขามองเห็นชัดในข้อนี้อยู่เนือง ๆ เขาย่อมละความมัวเมาในความหนุ่มโดยประการทั้งปวง หรือว่าบรรเทาลงได้. เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์--หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเห็นชัดในข้อนี้อยู่เนืองๆว่า “เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้” ดังนี้.--(ในกรณีแห่งความ มัวเมาในความไม่มีโรค ก็ดี มัวเมาในชีวิต ก็ดี ความ มีฉันทราคะ ในสิ่งเป็นที่รัก ก็ดี ความที่ ไม่รู้ว่ามีกรรมเป็นของตัว ก็ดี แล้วประกอบทุจริตโดยทวารทั้งสาม ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความที่มีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน. ข้อความนี้แสดงว่า พิจารณาทุกข์โดยประจักษ์แล้ว สัตว์เหล่านั้นย่อมละทุจริตเ หล่านั้นเสียได้ จึงกล่าวว่า เป็นการใช้ความทุกข์ให้เป็นประโยชน์แก่ปุถุชน. สำหรับอริยสาวกนั้น เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว มรรคย่อมเกิด, เขาเสพเจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้นแล้ว ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็สิ้นไป.)-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/82/57.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๘๒/๕๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 779
ชื่อบทธรรม : -ตรัสว่า ถ้าจะมีตัวตนกันบ้าง เอาร่างกายเป็นตัวตนดีกว่าจิต
เนื้อความทั้งหมด :-ตรัสว่า ถ้าจะมีตัวตนกันบ้าง เอาร่างกายเป็นตัวตนดีกว่าจิต--ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลายกำหนัดได้บ้าง พึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่. เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้างในกายนั้น. ภิกษุ ท. ! ส่วนที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาล--ช้านานว่า “นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา” ดังนี้ ; เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนั้น.--ภิกษุ ท. ! ปุถุชนผู้ไม่ได้มีการสดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนี้เป็นเพราะเหตุใดเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่ ภิกษุ ท. ! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี นั้นดวงหนึ่ง เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมจับ กิ่งไม้ : ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนี่ยวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป, ข้อนี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกกันว่า “จิต” ก็ดี ว่า “มโน” ก็ดี ว่า “วิญญาณ” ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. 16/114- 115/230 - 232.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๔- ๑๑๕/๒๓๐ - ๒๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 780
ชื่อบทธรรม : -(ความรู้จักพิจารณาว่า ถ้าจะมีตัวตนกันบ้าง เอากายเป็นตัวตนดีกว่าเอาจิตเป็นตัวตน เป็นสัมมมาทิฎฐิในหัวข้อที่ว่ารู้จักเลือก, แต่ในที่นี้มิได้หมายความว่า กายนั้นเป็นตัวตนอันแท้จริงแต่ประการใด เป็นเพียงสัมมาทิฎฐิในการรู้จักแยกแยะและเลือกเท่านั้น).
เนื้อความทั้งหมด :-(ความรู้จักพิจารณาว่า ถ้าจะมีตัวตนกันบ้าง เอากายเป็นตัวตนดีกว่าเอาจิตเป็นตัวตน เป็นสัมมมาทิฎฐิในหัวข้อที่ว่ารู้จักเลือก, แต่ในที่นี้มิได้หมายความว่า กายนั้นเป็นตัวตนอันแท้จริงแต่ประการใด เป็นเพียงสัมมาทิฎฐิในการรู้จักแยกแยะและเลือกเท่านั้น).--การทำความรู้จักกับกาย ซึ่งมิใช่ของเราหรือของใครอื่น--ภิกษุ ท. ! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคล เหล่าอื่น. ภิกษุ ท. ! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น (อภิสงฺขต), เป็นสิ่งที่ปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น (อภิสญฺเจตยิต), เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ (เวทนีย).--ภิกษุ ท. ! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม ทำไว้ ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ : เพราะสิ่งนี้มี, สิ่งนี้จึงมี; เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี, สิ่งนี้จึงไม่มี; เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้, สิ่งนี้จึงดับไป : ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; …. ฯลฯ .... ฯลฯ .... ฯลฯ.... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร, เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ; …. ฯลฯ .... ฯลฯ .... ฯลฯ .... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้”, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. 16/77/143.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. ๑๖/๗๗/๑๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 781
ชื่อบทธรรม : -อุปมาแห่งการคำนวณความเป็นอนิจจัง
เนื้อความทั้งหมด :-อุปมาแห่งการคำนวณความเป็นอนิจจัง--ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง (อนิจฺจ) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน (อธุว) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ (อนสฺสาสิก). ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นจากผิวพื้นสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ :---ภิกษุ ท. ! มีสมัยซึ่งล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ที่ฝนไม่ตกเลย. เมื่อฝนไม่ตก (ตลอดเวลาเท่านี้). ป่าใหญ่ๆอันประกอบด้วยพืชคามภูตคามไม้หยูกยาและหญ้าทั้งหลาย ย่อมเฉา ย่อมเหี่ยวแห้งมีอยู่ไม่ได้ (นี้ฉันใด) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืน ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่หวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่ง กาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สอง ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สองปรากฏ, แม่น้ำน้อย หนอง บึง ทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด); ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. !--เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่ง กาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สาม ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สามปรากฏ, แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่ง กาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่สี่ ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่สี่ปรากฏ, มหาสระทั้งหลาย อันเป็นที่เกิดแห่งแม่น้ำใหญ่ๆเช่นแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี มหาสระเหล่านั้นทั้งหมดก็งวดแห้งไป ไม่มีอยู่ (นี้ฉันใด) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่ง กาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่ห้า ย่อมปรากฏ. เมื่อดวงอาทิตย์ดวงที่ห้าปรากฏ, น้ำในมหาสมุทรอันลึกร้อยโยชน์ ก็งวดลง น้ำในมหาสมุทรอันลึก สอง-สาม-สี่---ห้า-หก-เจ็ดร้อยโยชน์ก็งวดลง เหลืออยู่เพียงเจ็ดชั่วต้นตาล ก็มี เหลืออยู่เพียงหก-ห้า-สี่-สาม-สอง กระทั่งหนึ่งชั่วต้นตาล ก็มี งวดลง เหลืออยู่เพียงเจ็ดชั่วบุรุษ ก็มี เหลืออยู่เพียง หก-ห้า-สี่-สาม-สอง-หนึ่ง กระทั่งครึ่งชั่วบุรุษ ก็มี งวดลง เหลืออยู่เพียงแค่สะเอว เพียง แค่เข่า เพียง แค่ข้อเท้า กระทั่งเหลืออยู่ ลึกเท่าน้ำในรอยเท้าโค ในที่นั้นๆเช่นเดียวกับน้ำในรอยเท้าโคเมื่อฝนเม็ดใหญ่เริ่มตกในฤดูสารท ลงมาในที่นั้นๆ. ภิกษุ ท. ! เพราะการปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่ห้า น้ำในมหาสมุทรไม่มีอยู่แม้สักว่าองคุลีเดียว. (นี้ฉันใด) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่ง กาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่หก ย่อมปรากฏ. เพราะความปรากฏแห่งอาทิตย์ดวงที่หก, มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ ก็มีควันขึ้น ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนเตาเผาหม้อ อันนายช่างหม้อสุมไฟแล้ว ย่อมมีควันขึ้นโขมง ยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น ฉะนั้น (นี้ฉันใด) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! มีสมัยซึ่งในกาลบางครั้งบางคราว โดยการล่วงไปแห่งกาลนานไกล อาทิตย์ดวงที่เจ็ด ย่อมปรากฏ. เพราะความปรากฏแห่ง--อาทิตย์ดวงที่เจ็ด, มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีไฟลุก โพลงๆ มีเปลวเป็นอันเดียวกัน. เมื่อมหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ อันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่อย่างนี้ เปลวไฟถูกลมซัดขึ้นไป จนถึงพรหมโลก. ภิกษุ ท. ! เมื่อขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่ วินาศอยู่ อันกองไฟท่วมทับแล้ว, ยอดทั้งหลายอันสูงร้อยโยชน์บ้าง สอง - สาม - สี่ - ห้าร้อยโยชน์บ้าง ก็พังทำลายไป. ภิกษุ ท. ! เมื่อมหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุอันไฟเผาอยู่ ไหม้อยู่, ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ เหมือนเมื่อเนยใส หรือน้ำมันถูกเผา ขี้เถ้าและเขม่าย่อมไม่ปรากฏ ฉะนั้น (นี้ฉันใด) ; ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย ไม่ยั่งยืนฉันนั้น, สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งหวังอะไรไม่ได้ ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เพียงเท่านี้ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอแล้วเพื่อจะคลายกำหนัด พอแล้วเพื่อจะปล่อยวาง.--ภิกษุ ท. ! ในข้อความนั้น ใครจะคิด ใครจะเชื่อ ว่า “ปฐพีนี้และ ขุนเขาสิเนรุ จักลุกไหม้ จักวินาศ จักสูญสิ้นไปได้” นอกเสียจาก พวกมีบทอันเห็นแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. 23/102 - 105/63.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๒ - ๑๐๕/๖๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 782
ชื่อบทธรรม : -รู้จักเลือก : “สังฆทานดีกว่า !”
เนื้อความทั้งหมด :-รู้จักเลือก : “สังฆทานดีกว่า !”--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทานประจำสกุลวงศ์ข้าพระองค์ยังให้อยู่ แต่ว่าทานนั้นข้าพระองค์ให้เฉพาะหมู่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือปฏิบัติอรหัตตมรรค ที่อยู่ป่า ที่ถือบิณฑบาต ที่ถือผ้าสุกุล เป็นวัตร”.--คหบดี ! ข้อที่จะรู้ว่าคนเหล่านี้เป็นพระอรหันต์หรือปฏิบัติอรหัตตมรรคนั้น เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากสำหรับท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ผู้ยังมีการนอนเบียดบุตร บริโภคใช้สอยกระแจะจันทน์และผ้าจากเมืองกาสี ทัดทรงมาลา และเครื่องกลิ่นและเครื่องผัดทา ยินดีอยู่ด้วยทองและเงิน.--คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าเป็นผู้ ฟุ้งซ่าน ถือตัว กลับกลอก พูดมาก มีวาจาไม่แน่นอน มีสติลืมหลง ปราศจากสัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์อันปล่อยแล้ว : ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้น ควรถูกติเตียนด้วยองค์นั้น ๆ.--คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่กลับกลอก ไม่พูดมาก มีวาจาแน่นอน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีสมาธิ มีเอกัคคตาจิต สำรวมอินทรีย์ : ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้นอันใครๆ ควรสรรเสริญด้วยองค์นั้นๆ.--คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ใกล้บ้าน ก็ดี .... บิณฑบาตเป็นวัตร ก็ดี .... ฉันในที่นิมนต์ ก็ดี .... ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็ดี .... นุ่งห่มคหบดีจีวร ก็ดี ถ้าเป็นผู้ ฟุ้งซ่าน ถือตัว กลับกลอก พูดมาก มีวาจาไม่แน่นอน มีสติลืมหลง ปราศจากสัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด มีอินทรีย์อันปล่อยแล้ว : ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนั้น ควรถูกติเตียนด้วยองค์นั้น ๆ.--คหบดี ! ถึงแม้ภิกษุจะเป็นผู้ อยู่ใกล้บ้าน ก็ดี .... บิณฑบาตเป็นวัตร ก็ดี .... ฉันในที่นิมนต์ ก็ดี .... ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็ดี .... นุ่งห่ม--คหบดีจีวร ก็ดี ถ้าเป็นผู้ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่กลับกลอก ไม่พูดมาก มีวาจาแน่นอน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีสมาธิ มีเอกัคคตาจิต สำรวมอินทรีย์ : ด้วยอาการ อย่างนี้ ภิกษุนั้นอันใครๆ ควรสรรเสริญด้วยองค์นั้นๆ.--เอาละ คหบดี ! ท่านจงถวายทานในสงฆ์เถิด เมื่อท่านถวายทานในสงฆ์อยู่, จิตจักเลื่อมใส; ท่านเป็นผู้มีจิตอันเลื่อมใสแล้ว ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! จำเดิมแต่วันนี้ไป ข้าพระองค์จะถวายทานในสงฆ์”-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. 22/436 - 438/330.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก.อํ. ๒๒/๔๓๖ - ๔๓๘/๓๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 783
ชื่อบทธรรม : -(ข้อความทั้งหมดนี้แสดงว่า พระองค์ทรงแนะให้ถวายทานด้วยตั้งใจว่า ถวายแก่สงฆ์ คือถวายเป็น “สังฆทาน” อย่าไปเห็นว่าถวายแก่พระบ้านหรือพระป่า พระบิณฑบาตฉันหรือพระฉันในที่นิมนต์ พระจีวรดำ หรือพระจีวรเหลือง ; และไม่อยู่ในวิสัยที่คฤหัสถ์สามารถตัดสินเอาว่า องค์ไหนเป็นพระอรหันต์ องค์ไหนไม่เป็น ; ดังนั้น จึงทรงแนะให้ทำในใจว่า “ถวายแก่สงฆ์” เป็นสังฆทาน ดีกว่า).
เนื้อความทั้งหมด :-(ข้อความทั้งหมดนี้แสดงว่า พระองค์ทรงแนะให้ถวายทานด้วยตั้งใจว่า ถวายแก่สงฆ์ คือถวายเป็น “สังฆทาน” อย่าไปเห็นว่าถวายแก่พระบ้านหรือพระป่า พระบิณฑบาตฉันหรือพระฉันในที่นิมนต์ พระจีวรดำ หรือพระจีวรเหลือง ; และไม่อยู่ในวิสัยที่คฤหัสถ์สามารถตัดสินเอาว่า องค์ไหนเป็นพระอรหันต์ องค์ไหนไม่เป็น ; ดังนั้น จึงทรงแนะให้ทำในใจว่า “ถวายแก่สงฆ์” เป็นสังฆทาน ดีกว่า).--อาการที่อวิชชาทำให้มีการเกิดดับแห่งสังขาร--ภิกษุ ท. ! เมื่อกาย (กายทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) มีอยู่, สุข และทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางกาย) เป็นเหตุ; ภิกษุ ท. ! หรือว่า เมื่อวาจา (วจีทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) มีอยู่, สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางวาจา) เป็นเหตุ; ภิกษุ ท. ! หรือว่า เมื่อมโน (มโนทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) มีอยู่, สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็นไปทางใจ) เป็นเหตุ .--ภิกษุ ท. ! อนึ่ง เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นแหละ บุคคลย่อม ปรุงแต่ง กายสังขาร (อำนาจที่ให้เกิดการปรุงแต่งทางกาย) อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน ด้วยตนเอง ก็มี ; หรือว่า เหตุปัจจัยอะไรอื่นเป็นเหตุให้บุคคลปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา อยู่ก็มี ; หรือว่า บุคคล รู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆ อยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตนอยู่ก็มี; หรือว่า บุคคล ไม่มีความรู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆ อยู่ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตนอยู่ก็มี.--ภิกษุ ท. ! หรือว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นแหละ บุคคลย่อม ปรุงแต่ง วจีสังขาร (อำนาจที่ให้เกิดการปรุงแต่งทางวาจา) อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน ด้วยตนเอง ก็มี ; หรือว่า เหตุปัจจัยอะไรอื่น เป็นเหตุให้บุคคลปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา อยู่ก็มี; หรือว่า บุคคล รู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้น ๆ อยู่ ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี; หรือว่า บุคคล ไม่มีความรู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆ อยู่ ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี.--ภิกษุ ท. ! หรือว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นแหละ บุคคลย่อม ปรุงแต่ง มโนสังขาร (อำนาจที่ให้เกิดการปรุงแต่งทางวาจา) อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน ด้วยตนเอง ก็มี; หรือว่า เหตุปัจจัยอะไรอื่น เป็นเหตุให้บุคคลปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายใน--เกิดขึ้นแก่เขา อยู่ก็มี; หรือว่า บุคคล รู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆอยู่ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี; หรือว่า บุคคล ไม่มีความรู้เรื่อง (เกี่ยวกับบุญบาป ดีชั่ว) นั้นๆอยู่ ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ที่เป็นภายในเกิดขึ้นแก่ตน อยู่ก็มี.--ภิกษุ ท. ! อวิชชา เป็นตัวการที่แทรกแซงอยู่ในธรรมทั้งหลาย (ทั้งสิบสองประการ) เหล่านี้. (คือหมวด กายสังขารสี่ หมวดวจีสังขารสี่ และหมวดมโนสังขารสี่ ดังที่กล่าวแล้ว).--ภิกษุ ท. ! เพราะความจางคลายดับไม่เหลือแห่งอวิชชา นั้นนั่นเทียว กาย (กายทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา; วาจา (วจีทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา ; มโน (มโนทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา ; เขตต์ (กรรมที่เปรียบเสมือนเนื้อนาสำหรับงอก) ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา ; วัตถุ (พืชเพื่อการงอก) ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา; อายตนะ (การสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการงอก) ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา; อธิกรณะ (กรรมเป็นเครื่องกระทำให้เกิดการงอก) ก็ไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นแก่เขา .-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ.21/213/171.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - จตุกฺก. อํ.๒๑/๒๑๓/๑๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 784
ชื่อบทธรรม : -รายละเอียดที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องกรรม
เนื้อความทั้งหมด :-รายละเอียดที่ควรเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องกรรม--ภิกษุ ท. ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ. เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบาก (ผลสุกวิเศษ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ. .... คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?--ภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.--ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือผัสสะ.--ภิกษุ ท. ! เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กรรมที่ทำให้เสวยในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยในมนุษยโลก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยในเทวโลก มีอยู่, ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปะปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.--ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความดับแห่ง กรรม ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ๑ .--อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ; ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.--ภิกษุ ท. ! เมื่อใด อริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งกัมมนิโรธ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ; อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่อง เจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.--ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ--(ความรู้เรื่องกรรม มีลักษณะเป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนั้นจึงนำมารวมไว้ในที่นี้).--๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นใจความสำคัญที่สุด ในตอนนี้ ที่ตรัสว่า แดนเกิดแห่งกรรมคือผัสสะ แดนดับแห่งกรรม ก็คือผัสสะ ซึ่งแสดงว่า กรรมเกิดและดับ ในอัตภาพนี้ อยู่อย่างซ้ำ ๆ ซาก ๆ ; ดังนั้น วิบากแห่งกรรม จึงมีได้ในอัตภาพนี้ อย่างซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิดทิฏฐธรรมหรืออุปะปัชชะ หรืออปรปริยายะ ซึ่งมักจะเข้าใจกันไปว่า สองชนิดหลังนั้นจะมีต่อตายเข้าโลงไปแล้วเท่านั้น, ความถูกต้องในเรื่องนี้ จะเป็นอย่างไร ขอจงพิจารณาดูเถิด.--เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/458,463-464/334.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 60
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site