สัทธรรมลำดับที่ : 767
ชื่อบทธรรม : -การเห็นความปฏิกูลแห่งยศ-อาหาร-ความรัก-สุภะ-ผัสสะ-อุปาทาน
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ย่อมไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อสมาธิภาวนาอันนำมาซึ่งการได้เห็นรูปทิพย์ ฟังเสียงทิพย์ จึงเป็นสาวกอันแท้จริงของ พระผู้มีพระภาคเจ้า).--การเห็นความปฏิกูลแห่งยศ-อาหาร-ความรัก-สุภะ-ผัสสะ-อุปาทาน--นาคิตะ ! เราอย่าต้องเกี่ยวข้องกับยศเลย ; ยศก็อย่ามาเกี่ยวข้องกับเราเลย. นาคิตะ ! ผู้ใดเป็นผู้ไม่ได้ตามปรารถนา ไม่ได้โดยง่าย ไม่ได้โดยสะดวก ซึ่งเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข เหมือนอย่างที่เราได้อยู่ตามปรารถนา ได้โดยง่าย ได้โดยสะดวกแล้ว เขาผู้นั้นก็จะพึงยินดีอยู่กะ มิฬหสุข๑ มิทธสุข๒ และ สุขอันเกิดจากลาภสักการะและเสียงสรรเสริญ.--นาคิตะ ! อุจจาระปัสสาวะ เป็นผลของสิ่งที่บุคคลกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว; นั่นแหละ คือผลไหลออกของสิ่งนั้น.--นาคิตะ ! โสกะปริเทวะโทมนัสสะอุปายาสะ ย่อมเกิดขึ้นจาก ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของสิ่งอันเป็นที่รัก : นั่นแหละผลไหลออกของสิ่งนั้น.--๑. คือสุขอาศัยท่อปัสสาวะ.--๒. คือสุขของคนนอนสยบบนสิ่งอสุจิปฏิกูล.--นาคิตะ ! ความเป็นของปฏิกูล ๓ ในนิมิตอันสวยงาม ย่อมปรากฏขึ้น แก่บุคคลผู้ตามประกอบซึ่ง ความเพียรในอสุภนิมิต : นั่นแหละผลไหลออกแห่งการกระทำเช่นนั้น.--นาคิตะ ! ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมปรากฏขึ้น แก่บุคคลผู้ ตามเห็นอยู่ซึ่ง ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะหก : นั่นแหละเป็นผลแห่งการกระทำเช่นนั้น.--นาคิตะ ! ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมปรากฏขึ้น แก่บุคคลผู้ตามเห็นอยู่ซึ่ง ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าอยู่ : นั่นแหละเป็นผลไหลออกแห่งการกระทำเช่นนั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. 22/31/30.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก.อํ. ๒๒/๓๑/๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 768
ชื่อบทธรรม : -โลกุตตรผลมีได้จากการตั้งจิตไว้ถูก
เนื้อความทั้งหมด :-โลกุตตรผลมีได้จากการตั้งจิตไว้ถูก--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเดือยเม็ดข้าวสาลี หรือเดือยเม็ดข้าวยวะที่มันตั้งอยู่ในลักษณะผิดปกติ ถูกย่ำด้วยมือหรือเท้าแล้ว จักตำมือหรือเท้าที่ย่ำลงไป หรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมาได้ นี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่าเดือยแห่งเม็ดข้าวสาลีนั้นตั้งอยู่ผิดลักษณะ. ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ภิกษุมีจิตตั้งไว้ผิด จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักกระทำนิพพานให้แจ้งได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่มีได้. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะความที่จิตตั้งไว้ผิด แล.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเดือยเมล็ดข้าวสาลี หรือเดือยเม็ดข้าวยวะที่มันตั้งอยู่ถูกลักษณะ ถูกย่ำด้วยมือหรือด้วยเท้าแล้ว จักตำมือหรือเท้าที่ย่ำลงไปหรือจักทำโลหิตให้ห้อขึ้นมาได้ นี้เป็นฐานะที่มีได้ เพราะเหตุไรเล่า? เพราะเหตุว่าเดือยแห่งเม็ดข้าวสาลีนั้นตั้งอยู่ถูกลักษณะ. ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ภิกษุมีจิตตั้งไว้ถูก จักทำลายอวิชชา จักทำวิชชาให้เกิดขึ้น หรือจักกระทำ นิพพานให้แจ้งได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะความที่จิตตั้งไว้ถูก แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอก.อํ. 20/9/42-43.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอก.อํ. ๒๐/๙/๔๒-๔๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 769
ชื่อบทธรรม : -ความแน่ใจหลังจากการปฏิบัติ เป็นเครื่องตัดสินความผิด-ถูก
เนื้อความทั้งหมด :-ความแน่ใจหลังจากการปฏิบัติ เป็นเครื่องตัดสินความผิด-ถูก--(นายบ้านชื่อปาฏลิยะ แห่งโกฬิยนิคม ชื่อ อุตตระ มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลเรื่องที่เขาได้ฟังสมณพราหมณ์ศาสดาต่างๆ ๔ พวก : จำพวกที่ ๑ แสดงทิฏฐิว่า การให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล กรรมดีกรรมชั่วไม่มีผล โลกนี้โลกอื่นไม่มี บิดามารดาไม่มี โอปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งโลกนี้โลกอื่นแล้วประกาศก็ไม่มี; สมณพราหมณ์ศาสดาพวกที่ ๒ แสดงทิฏฐิอย่างตรงกันข้าม ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มี; สมณพราหมณ์ศาสดาพวกที่ ๓ แสดงทิฏฐิว่า การกระทำทั้งหลายไม่ป็นอันกระทำ แม้จะกระทำบาปเช่น ฆ่าสัตว์มีเนื้อกองเต็มแผ่นดิน ก็ไม่มีบาป ทำบุญเต็มฝั่งแม่น้ำคงคาก็ไม่มีบุญ; ส่วนสมณพราหมณ์ศาสดาพวกที่ ๔ แสดงทิฏฐิอย่างตรงข้ามจากพวกที่สาม คือแสดงว่าการกระทำเป็นอันกระทำ คือทำบาปมีผลบาป ทำบุญมีผลบุญ; แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อไปว่า :-)--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! กังขาและวิจิกิจฉา ได้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ว่า ในบรรดาสมณพราหมณ์ศาสดาเหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกไหนพูดจริง พวกไหนพูดมุสา“--คามณิ ! ควรแล้วที่ท่านจะมีกังขาจะมีวิจิกิจฉา วิจิกิจฉาได้เกิดขึ้น แล้วในฐานะที่ควรกังขา.--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์เลื่อมใสแล้วในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคสามมารถที่จะแสดงธรรม เพื่อข้าพระองค์จะละธรรมเป็นที่กังขานั้นเสียได้“.--คามณิ ! ธัมมสมาธิ มีอยู่. ถ้าท่านได้จิตตสมาธิในธัมมสมาธินั้นแล้ว ท่านก็จะละธรรมเป็นที่กังขานั้นเสียได้. คามณิ ! ธัมมสมาธินั้น เป็น อย่างไรเล่า ?--คามณิ ! ธัมมสมาธิ ในกรณีนี้คือ อริยสาวก ละขาดเว้นขาดจากปาณาติบาต ละขาดเว้นขาดจากอทินนาทาน ละขาดเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ละขาดเว้นขาดจากมุสาวาท ละขาดเว้นขาดจากปิสุณวาท ละขาดเว้นขาดจากผรุสวาท ละขาดเว้นขาดจากสัมผัปปลาปวาท ละอภิชฌาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ละโทษคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ละมิจฉาทิฏฐิแล้ว เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ.--คามณิ ! อริยสาวกนั้น ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท เป็นผู้ไม่หลง มีสัมปชัญญะ มีสติ อย่างนี้แล้ว มีจิตสหรคตด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่ง แล้วแลอยู่, ในทิศที่สองก็อย่างเดียวกัน, ทิศที่สามก็อย่างเดียวกัน, ทิศที่สี่ก็อย่างเดียวกัน ; คือมีจิตสหรคตด้วยเมตตา เป็นจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตจิต ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปแล้วสู่โลกมีที่สุดในทิศทั้งปวง เพราะการแผ่ไปสู่ที่ทั้งปวงในทิศทั้งปวง ทั้งโดยเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แล้วแลอยู่. (ในตอนที่กล่าวถึงการแผ่จิตอันสหรคตด้วย กรุณา--มุทิตา และอุเบกขา ในตอนต่อไป ก็ได้ตรัสโดยข้อความทำนองเดียวกันนี้) อริยสาวกนั้นย่อมใคร่ครวญเห็นอยู่ ว่า “แม้จะมีศาสดาผู้มีวาทะมีทิฏฐิ ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มี(ผล), ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี(ผล), การบูชาที่บูชาแล้ว ไม่มี(ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี, มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี, โอปปาติกสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้ว โดยชอบถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี’ ดังนี้อยู่ก็ตาม ; แม้คำของศาสดานั้น เป็นคำจริง ความผิดก็มิได้มีแก่เรา (ผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้) ผู้มิได้เบียดเบียนใครๆ ทั้งที่เป็นสัตว์สะดุ้งหวั่นไหวและสัตว์ที่มั่นคงไม่สะดุ้งหวั่นไหว และเราเป็นผู้ถือเอาได้ซึ่งความสำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ในกรณีนี้คือ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยกายด้วยวาจาด้วยใจด้วย และจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ด้วย” ดังนี้. (ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว) ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่อริยสาวกนั้น ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์แล้ว กายของผู้มีใจปีติแล้วย่อมรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับ แล้วย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น. คามณิเอ๋ย ! นี่แหละ คือ ธัมมสมาธิ ละ. ถ้าท่านได้จิตตสมาธิในธัมมสมาธินั้นแล้ว ท่านก็จะละเสียได้ซึ่งธรรมเป็นที่กังขานั้น.--(ต่อไปนี้ ได้ตรัสปรารภทิฏฐิของสมณพราหมณ์ ศาสดาจำพวกที่สอง ซึ่งกล่าว อัตถิกทิฏฐิ, และปรารภ ศาสดาจำพวกที่สาม ซึ่งกล่าว อกิริยทิฏฐิ, แล้วตรัสปรารภ ศาสดาจำพวกที่สี่ ซึ่งกล่าว กิริยทิฏฐิ, โดยข้อความทำนองเดียวกันทั้งสี่พวก; หมายความว่าศาสดานั้นๆ จะกล่าวอย่างไรก็ตามใจ อริยสาวกนี้ยังคงมีธัมมสมาธิ ไม่มีความผิดใดๆเกี่ยวกับทิฏฐิเหล่านั้น แถมยังได้รับความสำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งในโลกนี้และโลกอื่นดังที่กล่าวแล้วข้างต้น. นี้แสดงว่า อริยสาวกนั้น รู้ความผิด-ถูกของทิฏฐินั้นๆ ได้ด้วยตนเอง หลังจากที่ได้ปฏิบัติธัมมสมาธิ จนได้รับผลปรากฏแก่ใจของตน; เราจึงถือว่า ความแน่ใจหลัง--จากการได้รับผลแห่งการปฏิบัติ เป็นเครื่อง ตัดสินความผิด-ถูกของธรรมอันเป็นเครื่องกังขาทั้งปวงได้.--ต่อจากนี้ ข้อได้ตรัสข้อความที่ปรารภ การแผ่จิต อันสหรคตด้วยกรุณา ด้วยมุทิตา ด้วยอุเบกขา โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งเมตตา จนครบถ้วนทั้งสี่พรหมวิหารธรรมในที่สุดแห่งเทศนา นายบ้านชื่อปาฏลิยะ ได้สรรเสริญพระธรรมเทศนา และประกาศตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/427-429/664-673.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๒๗-๔๒๙/๖๖๔-๖๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 770
ชื่อบทธรรม : -สรุปอานิสงส์ของสัมมาทิฏฐิ
เนื้อความทั้งหมด :-(สัมมาทิฏฐิแห่งพระบาลีนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นสันทิฏฐิโกคือเห็นได้ด้วยตนเอง เป็น อย่างยิ่ง จึงทำให้ตัดสินความผิด-ถูกได้ด้วยตนเอง).--สรุปอานิสงส์ของสัมมาทิฏฐิ--ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูรณ์โดยยิ่ง, เหมือน สัมมาทิฏฐิ นี้. ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลมีสัมมาทิฏฐิแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ โดยยิ่ง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - เอก. อํ. 20/40/182.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - เอก. อํ. ๒๐/๔๐/๑๘๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 771
ชื่อบทธรรม : -(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์แห่งสัมมาทิฏฐิ ว่าทำให้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่เกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้วเสื่อมสิ้นไป. - ๒๐/๔๑/๑๘๔. ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นเหตุทำให้ ผู้ที่สมาทานประพฤติบริบูรณ์ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เจตนา ปัตถนา ปณิธิ และสังขาร ที่ล้วนแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขที่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ. - ๒๐/๔๓/๑๙๐. ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง. -๒๑/๖๘/๔๙.)
เนื้อความทั้งหมด :-(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์แห่งสัมมาทิฏฐิ ว่าทำให้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดไม่เกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดอยู่แล้วเสื่อมสิ้นไป. - ๒๐/๔๑/๑๘๔. ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นเหตุทำให้ ผู้ที่สมาทานประพฤติบริบูรณ์ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เจตนา ปัตถนา ปณิธิ และสังขาร ที่ล้วนแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขที่น่าปรารถนารักใคร่พอใจ. - ๒๐/๔๓/๑๙๐. ในสูตรอื่นทรงแสดงว่า เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง. -๒๑/๖๘/๔๙.)--หมวด ฉ. ว่าด้วย โทษของการขาดสัมมาทิฏฐิ--โทษที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิในการพูด--โลหิจจะ ! ผู้ใดกล่าวว่า “โลหิจจพราหมณ์ปกครองบ้านสาลวติกคาม ผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นทวีขึ้นในบ้านสาลวติกคาม โลหิจจพราหมณ์ผู้เดียวพึงบริโภคผลประโยชน์นั้น ไม่พึงให้แก่ชนเหล่าอื่นเลย” ดังนี้. ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้กระทำอันตราย แก่หมู่ชนที่อาศัยโลหิจจพราหมณ์นั้นเป็นอยู่ (คือทำลายสิทธิอันชอบธรรมที่ประชาชนเหล่านั้นจะพึงได้รับ); เมื่อเป็นผู้กระทำอันตรายอยู่ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เอ็นดู ด้วยประโยชน์เกื้อกูล เมื่อไม่เอ็นดูด้วยประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่าเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก; เมื่อเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก ชื่อว่าเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ; นี้ ฉันใด ;--โลหิจจะ ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น คือ ผู้ใดกล่าวว่า “สมณะหรือพราหมณ์ ในโลกนี้ ถึงทับซึ่งธรรมอันเป็นกุศล ครั้นถึงทับซึ่งธรรมอันเป็นกุศลแล้วไม่พึงบอกแก่ผู้อื่น เพราะใครอื่นจักทำอะไรให้แก่ใครได้, เปรียบเหมือนบุรุษตัดเครื่องจองจำอันเก่าแล้ว ไม่พึงกระทำเครื่องจองจำอันอื่นขึ้นมาใหม่. ข้าพเจ้ากล่าวสัมปทาอย่างนี้ นี้ ว่าเป็นกรรมอันลามก คือสิ่งที่กระทำด้วยความโลภ, เพราะใครอื่นจักทำอะไรให้แก่ใครได้” ดังนี้. (ข้อนี้ผู้กล่าวหมายความว่า เป็นการเสือกไปกระทำสิ่งนอกหน้าที่ด้วยความโลภ แล้วทำความผูกพันใหม่ให้แก่ตน). บุคคลผู้กล่าวอยู่อย่างนี้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ทำอันตราย แก่บรรดากุลบุตรผู้อาศัยธรรมวินัยอันตถาคตประกาศไว้แล้วถึงทับซึ่งคุณวิเศษอันโอฬารมีอย่างนี้เป็นรูป, คือการกระทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผลบ้าง กระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผลบ้าง กระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผลบ้าง กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผลบ้าง รวมกระทั่งถึงคนจำพวกที่สะสม--ธรรมเพื่อครรภ์อันเป็นทิพย์ เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ทั้งหลายเข้าไปด้วยกัน. เมื่อเป็นผู้กระทำอันตรายอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่เอ็นดูด้วยประโยชน์เกื้อกูล; เมื่อไม่เอ็นดูด้วยประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่าเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก; เมื่อเข้า ไปตั้งไว้ซึ่งจิตอันเป็นข้าศึก ชื่อว่าเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ.--โลหิจจะเอ๋ย ! เรากล่าวคติอย่างหนึ่ง ในบรรดาคติสองอย่าง คือ นรก หรือ กำเนิดเดรัจฉาน ว่าเป็นคติสำหรับบุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐินั้น.๑-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/289/358.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๕๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 772
ชื่อบทธรรม : -ทิฏฐิซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการวิวาท
เนื้อความทั้งหมด :-ทิฏฐิซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการวิวาท--(สามจำพวก)--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้ามีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า”.--อัคคิเวสสนะ ! (ถ้าอย่างนั้น) ความเห็นของท่านเองที่ว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้ นั้นก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน (ด้วยเหมือนกัน).--“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ความเห็นแม้โน้นของข้าพเจ้า ต้องควรแก่ข้าพเจ้า ว่าความเห็นของข้าพเจ้านั้นเป็นเช่นนั้นทีเดียว, ความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้นทีเดียว (คือถูกต้อง) ดังนี้”.--๑. ข้อนี้หมายความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าสามารถทำประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น จนได้บรรลุมรรคผลหรือเข้าสู่โลกอันเป็นทิพย์ได้ ทำไมจึงมีมิจฉาทิฏฐิกล่าวว่า ใครอื่นจักทำอะไรให้แก่ใครได้ ; ผู้กล่าวเช่นนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำอันตรายต่อบุคคลอื่น จึงจัดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิควรแก่คติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติทั้งสอง, นี้เรียกว่า โทษที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิในการพูด.--อัคคิเวสสนะเอ๋ย ! มันมีมากกว่ามาก กว่านี้นัก ในโลกนี้ คือพวกที่กล่าวอยู่ว่า “ความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้นทีเดียว ความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้นทีเดียว (คือถูกต้อง)” แล้วเขาไม่ละความเห็นนั้นเสีย แต่ไปทำความเห็นอื่นให้เกิดขึ้นอีก. อัคคิเวสสนะเอ๋ย ! มันมีน้อยกว่าน้อย กว่านี้นักในโลกนี้ คือพวกที่กล่าวอยู่ว่า “ความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้นทีเดียว, ความเห็นของข้าพเจ้านั้น เป็นเช่นนั้นทีเดียว (คือถูกต้อง)” แล้วเขาละความเห็นนั้นเสียได้ และไม่ทำความเห็นอื่นให้เกิดขึ้นอีก.--อัคคิเวสสนะ ! มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “สิ่งทั้งปวง ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้ก็มี. มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “สิ่งทั้งปวง ไม่ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้ก็มี. มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่ง มีวาทะมีความเห็นอย่างนี้ว่า “สิ่งบางสิ่งควรแก่ข้าพเจ้า สิ่งบางสิ่งไม่ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้ก็มี.--อัคคิเวสสนะ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า “สิ่งทั้งปวง ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้นั้น เป็นทิฏฐิที่กระเดียดไปในทางมีความกำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางประกอบตน (อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทางเพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน) กระเดียดไปในทางสยบมัวเมา และกระเดียดไปในทางเข้าไปยึดมั่นถือมั่น.--อัคคิเวสสนะ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า “สิ่งทั้งปวง ไม่ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้นั้น เป็นทิฏฐิที่กระเดียดไปในทางไม่มีความกำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางไม่--ประกอบตน (อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทางไม่เพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน) กระเดียดไปในทางไม่สยบมัวเมา และกระเดียดไปในทางไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น.--พอพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้เท่านั้น ทีฆนขะปริพพาชกได้ร้องขึ้นเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมสนับสนุนความเห็นของข้าพเจ้า. พระโคดมเชิดชูความเห็นของข้าพเจ้า.”--อัคคิเวสสนะ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น ทิฏฐิของสมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า “บางสิ่งควรแก่ข้าพเจ้า บางสิ่งไม่ควรแก่ข้าพเจ้า” ดังนี้นั้น ทิฏฐิใดที่ว่า บางอย่างควรแก่เขาเหล่านั้น ทิฏฐินั้นกระเดียดไปในทางมีความกำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางประกอบตน (อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทางเพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน) กระเดียดไปในทางสยบมัวเมา และกระเดียดไปในทางเข้าไปยึดมั่นถือมั่น. ทิฏฐิใดที่ว่า บางอย่างไม่ควรแก่เขาเหล่านั้น ทิฏฐินั้น ก็กระเดียดไปในทางไม่มีความกำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางไม่ประกอบตน (อยู่ในภพ) กระเดียดไปในทางไม่เพลิดเพลิน (ต่อสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิน) กระเดียดไปในทางไม่ สยบมัวเมา และกระเดียดไปในทางไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น.--อัคคิเวสสนะ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะมีความเห็นว่า ‘สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา’ ดังนี้ มีอยู่. ในสมณพราหมณ์พวกนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าเราถือเอาทิฏฐิของพวกที่ถือว่า ‘สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา’ ดังนี้ มากล่าวยืนยันอยู่อย่างแข็งแรง ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า’ ดังนี้ไซร้ การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณพราหมณ์อีกสองพวก ก็จะพึงมีแก่เรา คือขัดแย้งกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า ‘สิ่งทั้งปวง--ไม่ควรแก่เรา’ และกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า ‘บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา’. การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณพราหมณ์สองพวกเหล่าโน้น ก็มีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้. เมื่อการถือเอาอย่างขัดแย้งกันมีอยู่ การวิวาทกันก็ย่อมมี, เมื่อการวิวาทกันมี การพิฆาตกันก็ย่อมมี, เมื่อการพิฆาตกันมี การเบียดเบียนกันก็ต้องมี, ด้วยอาการอย่างนี้. บุรุษวิญญูชนนั้น เห็นอยู่ซึ่งการถือเอาอย่างขัดแย้งกัน การวิวาทกัน การพิฆาตกัน และการเบียดเบียนกัน อันจะเกิดขึ้นในตน อยู่ดังนี้ เขาก็ละทิฏฐินั้นเสีย และไม่ถือเอาทิฏฐิอื่นขึ้นมาอีก. การละเสีย การสลัดคืนเสียซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--อัคคิเวสสนะ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะมีความเห็นว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา’ ดังนี้ มีอยู่. ในสมณพราหมณ์พวกนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าเราถือเอาทิฏฐิของพวกที่ถือว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา’ ดังนี้ มากล่าวยืนยันอยู่อย่างแข็งแรง ว่า‘นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า’ ดังนี้ไซร้ การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณพราหมณ์อีกสองพวก ก็จะพึงมีแก่เรา คือขัดแย้งกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า ‘สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา’ และกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า ‘บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา’. การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณ-พราหมณ์สองพวกเหล่าโน้น ก็มีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้. เมื่อการถือเอาอย่างขัดแย้งกันมีอยู่ การวิวาทกันก็ย่อมมี, เมื่อการวิวาทกันมี การพิฆาตกันก็ย่อมมี, เมื่อการพิฆาตกันมี การเบียดเบียนกันก็ต้องมี. ด้วยอาการอย่างนี้. บุรุษวิญญูชนนั้น เห็นอยู่ซึ่งการถือเอาอย่างขัดแย้งกัน การวิวาทกัน การพิฆาตกัน และการเบียดเบียนกัน อันจะเกิดขึ้นในตน อยู่ดังนี้ เขาก็ละทิฏฐินั้นเสีย และไม่ถือเอาทิฏฐิอื่นขึ้นมาอีก. การละเสีย การสลัดคืนเสียซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.--อัคคิเวสสนะ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์สามพวกนั้น สมณพราหมณ์พวกใด มีวาทะมีความเห็นว่า ‘บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา’ ดังนี้ มีอยู่. ในสมณพราหมณ์พวกนั้น บุรุษผู้วิญญูชน ย่อมใคร่ครวญเห็นอย่างนี้ว่า ถ้าเราถือเอาทิฏฐิของพวกที่ถือว่า ‘บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา’ ดังนี้ มากล่าวยืนยันอยู่อย่างแข็งแรง ว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า’ ดังนี้ไซร้ การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณพราหมณ์อีกสองพวก ก็จะพึงมีแก่เรา คือขัดแย้งกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า ‘สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา’ และกับพวกที่มีวาทะมีความเห็นว่า ‘สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา’. การถือเอาอย่างขัดแย้งกันต่อสมณพราหมณ์สองพวกเหล่าโน้น ก็มีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้. เมื่อการถือเอาอย่างขัดแย้งกันมีอยู่ การวิวาทกันก็ย่อมมี, เมื่อการวิวาทกันมี การพิฆาตกันก็ย่อมมี, เมื่อการพิฆาตกันมี การเบียดเบียนกันก็ต้องมี. ด้วยอาการอย่างนี้. บุรุษวิญญูชนนั้น เห็นอยู่ซึ่งการถือเอาอย่างขัดแย้งกัน การวิวาทกัน การพิฆาตกัน และการเบียดเบียนกัน อันจะเกิดขึ้นในตน อยู่ดังนี้ เขาก็ละทิฏฐินั้นเสีย และไม่ถือเอาทิฏฐิอื่นขึ้นมาอีก. การละเสีย การสลัดคืนเสียซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม.13/263-266/269-271.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม.๑๓/๒๖๓-๒๖๖/๒๖๙-๒๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 773
ชื่อบทธรรม : -มิจฉาทิฏฐิที่ว่าวิญญาณเป็นผู้ท่องเที่ยว
เนื้อความทั้งหมด :-มิจฉาทิฏฐิที่ว่าวิญญาณเป็นผู้ท่องเที่ยว--สาติ ! จริงหรือ ตามที่ได้ยินว่า เธอมี ทิฏฐิอันลามก เกิดขึ้นแล้วอย่าง นี้ว่า “เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้นี่แหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป, หาใช่สิ่งอื่นไม่” ดังนี้ ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วเช่นนั้นว่า ‘วิญญาณนี้นี่แหละ ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป, หาใช่สิ่งอื่นไม่’ ดังนี้”.--สาติ ! วิญญาณนั้น เป็นอย่างไร ?--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นั่นคือสภาพที่เป็นผู้พูด ผู้รู้สึก (ต่อเวทนา) ซึ่งเสวยวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่ว ท. ในภพนั้น ๆ”.--โมฆบุรุษ ! เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ เมื่อแสดงแก่ใครเล่า. โมฆบุรุษ ! เรา กล่าววิญญาณ ว่าเป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) โดยปริยายเป็นอันมาก; ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดแห่งวิญญาณ มิได้มี ดังนี้มิใช่หรือ. โมฆบุรุษ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น เธอชื่อว่า ย่อมกล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ; โมฆบุรุษ ! ข้อนั้นแหละ จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน ดังนี้.--ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ ท. แล้วตรัสว่า :---ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนี้ ยังจะพอนับว่าเป็นพระสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ได้บ้างไหม ?--“จะเป็นได้อย่างไร พระเจ้าข้า ! หามิได้เลย พระเจ้าข้า !”--เมื่อภิกษุ ท. ! ทูลอย่างนี้แล้ว ภิกษุสาติผู้เกวัฏฏบุตร ก็เงียบเสียง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ นิ่งอยู่. พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า :---โมฆบุรุษ ! เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกนั้นของตนเองแล; เราจักสอบถามภิกษุ ท. ในที่นี้. (แล้วทรงสอบถามภิกษุ ท. จนเป็นที่ปรากฏว่า พระองค์--มิได้ทรงแสดงธรรมดังที่สาติภิกษุกล่าว แล้วทรงแสดง การเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ โดยอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท ครบทั้ง ๖ อายตนะ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม .12/475-477/442-444.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม .๑๒/๔๗๕-๔๗๗/๔๔๒-๔๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 774
ชื่อบทธรรม : -โทษแห่งอันตคาหิกทิฏฐิสิบ
เนื้อความทั้งหมด :-โทษแห่งอันตคาหิกทิฏฐิสิบ--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “โลกเที่ยง” ดังนี้ นั้น เป็นการจับยึดด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิคหณํ) เป็นความลำบากด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิกนฺตารํ) เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิสูกํ) เป็นความโยกโคลงด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิวิปฺผนฺทิตํ) เป็นความรึงรัดด้วยทิฏฐิ (ทิฏฐิสญฺโญชนํ) เป็นไปกับด้วยทุกข์ (สทุกขํ) เป็นไปกับด้วยความยากลำบาก (สวิฆาตํ) เป็นไปกับด้วยความคับแค้น (สอุปายาสํ) เป็นไปกับด้วย ความเร่าร้อน (สปริฬาหํ) ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปด้วยความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เอาเสียเลย.--(ในกรณีแห่งทิฏฐิที่เหลือนอกจากนี้ ก็ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกล่าวคือ :- )--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “โลกไม่เที่ยง” ….ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “โลกมีที่สุด” ….ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “โลกไม่มีที่สุด” ….ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น” …. ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น” ….ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีก” …. ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมไม่มีอีก” ….ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี” ….ฯลฯ ….--วัจฉะ ! ทิฏฐิที่มีอยู่ว่า “ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้” ดังนี้ นั้น เป็นการจับยึดด้วยทิฏฐิ เป็นความลำบากด้วยทิฏฐิ เป็นข้าศึกด้วยทิฏฐิ เป็นความโยกโคลงด้วยทิฏฐิ เป็นความรึงรัดด้วยทิฏฐิ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความยากลำบาก เป็นไปด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบรำงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เอาเสียเลย.--วัจฉะ ! เราเห็นอยู่ซึ่งโทษนี้ แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิที่มีอยู่เหล่านี้โดย ประการทั้งปวง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/243/247.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๒๔๓/๒๔๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 775
ชื่อบทธรรม : -อวิชชาเป็นตัวชักนำซึ่งองค์แปดแห่งมิจฉามรรค
เนื้อความทั้งหมด :-อวิชชาเป็นตัวชักนำซึ่งองค์แปดแห่งมิจฉามรรค--ภิกษุ ท. ! อวิชชา เป็นสิ่งที่มาล่วงหน้า เพื่อความถึงพร้อมแห่ง อกุศลธรรมทั้งหลาย อันติดตามมาด้วยอหิริกะและอโนตตัปปะ. ภิกษุ ท. ! :---มิจฉาทิฏฐิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้ถึงซึ่งอวิชชา ไม่มีความเห็นแจ้ง;--มิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ;--มิจฉาวาจา ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ;--มิจฉากัมมันตะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาวาจา;--มิจฉาอาชีวะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉากัมมันตะ;--มิจฉาวายามะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาอาชีวะ;--มิจฉาสติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาวายามะ;--มิจฉาสมาธิ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาสติ.--(เป็นอันว่า องค์แปดแห่งมิจฉามรรคหรือมิจฉัตตะ ย่อมมีครบบริบูรณ์. ในสูตรอื่น (๒๔/๒๒๘/๑๐๕) ได้ตรัสขยายออกไปอีก ๒ ข้อคือ :- )--มิจฉาญาณะ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาสมาธิ--มิจฉาวิมุตติ ย่อมมีอย่างเต็มที่ แก่ผู้มีมิจฉาญาณะ).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. 19/1/2.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มหาวาร. สํ. ๑๙/๑/๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 59
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site