สัทธรรมลำดับที่ : 753
ชื่อบทธรรม : -หมวด จ. ว่าด้วยอานิสงส์ของสัมมาทิฏฐิ-การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิได้
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด จ. ว่าด้วยอานิสงส์ของสัมมาทิฏฐิ--การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิได้--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร มิจฉาทิฏฐิ ย่อมละไป พระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ โดยความเป็นของไม่ เที่ยงมิจฉาทิฏฐิย่อมละไป. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง รูป ท. โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิย่อมละไป. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งจักขุ---สัมผัส โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฏฐิย่อมละไป.--(ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมอีก ๕ หมวดถัดไป คือหมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับข้างบนนี้ ต่างแต่ชื่อธรรมที่ต้องเปลี่ยนไปตามหมวดนั้นๆเท่านั้น ; รวมเป็นธรรมที่ถูกรู้เห็นโดยความเป็นอนิจจัง ทั้งหมด ๓๐ อย่าง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคล รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล มิจฉาทิฏฐิย่อมละไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/185/254.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๘๕/๒๕๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 754
ชื่อบทธรรม : -การเห็นชนิดที่ละสักกายทิฏฐิได้
เนื้อความทั้งหมด :-การเห็นชนิดที่ละสักกายทิฏฐิได้--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป พระเจ้าข้า?”--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ โดยความเป็นทุกข์ สัก กายทิฏฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง รูป ท. โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิย่อมละไป.--(ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมอีก ๕ หมวดถัดไป คือ หมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้างบนนี้ ต่างแต่ชื่อธรรมที่ต้องเปลี่ยนไปตามหมวดนั้นๆ เท่านั้น; รวมเป็นธรรมที่ถูกรู้เห็นโดยความเป็นทุกขัง ทั้งหมด ๓๐ อย่าง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคล รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิ ย่อมละไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/185/255.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๑๘๕/๒๕๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 755
ชื่อบทธรรม : -การเห็นชนิดละอัตตานุทิฏฐิได้
เนื้อความทั้งหมด :-การเห็นชนิดละอัตตานุทิฏฐิได้--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อัตตานุทิฏฐิย่อม ละไป พระเจ้าข้า ?”--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิย่อมละไป. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง รูป ท. โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิย่อมละไป. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิย่อมละไป. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิย่อมละไป. เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา อัตตานุทิฏฐิย่อมละไป.--(ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมอีก ๕ หมวดถัดไป คือ หมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับข้างบนนี้ ต่างแต่ชื่อธรรมที่ต้องเปลี่ยนไปตามหมวดนั้นๆ เท่านั้น; รวมเป็นธรรมที่ถูกรู้เห็นโดยความเป็นอนัตตา ทั้งหมด ๓๐ อย่าง).--ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคล รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อัตตตานุทิฏฐิย่อมละไป.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/186/256.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๘๖/๒๕๖.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 756
ชื่อบทธรรม : -การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตาและโลก
เนื้อความทั้งหมด :-(การพิจารณาเห็นอายตนิกธรรม โดยลักษณะทั้งสาม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังกล่าวมาใน ๓ หัวข้อข้างบนนี้ ก็จัดเป็นสัมมาทิฏฐิแบบหนึ่ง จึงนำมาใส่ไว้ในหมวดนี้).--การเห็นชนิดที่ละมิจฉาทิฏฐิที่ปรารภอัตตาและโลก--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บรรดาทิฏฐิที่ประกอบด้วยวาทะว่า ตน หรือประกอบด้วยวาทะว่า โลก เกิดขึ้นในโลกมีอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุ จะตั้งต้นกระทำในใจอย่างไร จึงจะละทิฏฐิเหล่านั้นได้ จึงจะสลัดคืนทิฏฐิเหล่านั้นได้ พระเจ้าข้า ?”--จุนทะ ! บรรดาทิฏฐิที่ประกอบด้วยวาทะว่าตน หรือประกอบด้วยวาทะว่าโลก เกิดขึ้นในโลก มีอยู่ มันเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนตามอยู่ในอารมณ์ใด เรียกร้องอยู่ในอารมณ์ใด, เมื่อภิกษุเห็นอยู่ด้วยปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งอารมณ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า “นั่นมิใช่ของเรา นั่นมิใช่เรา นั่นมิใช่อัตตาของเรา” ดังนี้, การละซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น การสลัดคืนซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ก็ย่อมมี.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/72/100-101.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๗๒/๑๐๐-๑๐๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 757
ชื่อบทธรรม : -การเห็นไตรลักษณ์ เป็นทางแห่งความหลุดพ้น
เนื้อความทั้งหมด :-การเห็นไตรลักษณ์ เป็นทางแห่งความหลุดพ้น--ก. ตามนัยแห่งอนัตตลักขณสูตร--ภิกษุ ท. ! รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน มีในภายในหรือภายนอก--ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม; รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณนั้นทั้งหมดบุคคลพึงเห็นด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา อย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา, นั่นไม่ใช่เป็นเรา, นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ; เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด; เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว. กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. 17/82 - 84/127 - 130.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ขนฺธ.สํ. ๑๗/๘๒ - ๘๔/๑๒๗ - ๑๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 758
ชื่อบทธรรม : -ข. ตามนัยแห่งบาลีอนิจจวรรคสฬายตนสังยุตต์
เนื้อความทั้งหมด :-ข. ตามนัยแห่งบาลีอนิจจวรรคสฬายตนสังยุตต์--(พระบาลีนี้ แทนที่จะแสดงวัตถุแห่งการพิจารณา โดยนัยแห่งขันธ์ห้า แต่แสดงโดย อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก มีหลักแห่งวิธีพิจารณาอย่างเดียวกับนัยบาลีอนัตตลักขณาสูตรข้างบน. - สฬา.สํ. ๑๘/๑ -๓/๑-๖).--ค. ตามนัยแห่งธัมมปทบาลี--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง” ; เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง; นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด.--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์” ; เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง; นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด.--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา” ; เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง; นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ธ.ขุ. 25/51/30.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ.ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 759
ชื่อบทธรรม : -ความสะดวกสบายแก่การดับของกิเลส (นิพพาน)
เนื้อความทั้งหมด :-ความสะดวกสบายแก่การดับของกิเลส (นิพพาน)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท. ! ปฏิปทาเป็น ที่สบายแก่การลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่ง จักษุว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็น ซึ่ง รูป ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง ; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัสว่า ไม่เที่ยง ; ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยว่า ไม่เที่ยง.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่าง เดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/167/232.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๖๗/๒๓๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 760
ชื่อบทธรรม : การปฏิบัติที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน-(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท. ! ปฏิปทาเป็นที่ สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่งจักษุว่า เป็นทุกข์ ; ย่อมเห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายว่า เป็นทุกข์ ; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นทุกข์ ; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นทุกข์ ; ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นทุกข์. (ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความ อย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/168/233.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๖๘/๒๓๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 761
ชื่อบทธรรม : -(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท. ! ปฏิปทาเป็น ที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เห็นซึ่งจักษุว่า เป็นอนัตตา; ย่อมเห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า เป็นอนัตตา ; ย่อมเห็นซึ่ง เวทนา--อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ว่า เป็นอนัตตา.--(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/168/234.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๖๘/๒๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 762
ชื่อบทธรรม : ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน-(อีกนัยหนึ่ง)
เนื้อความทั้งหมด :-(อีกนัยหนึ่ง)--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่เธอทั้งหลาย. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ ท. ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? นั้น เป็นอย่างนี้ คือ :---ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : จักษุ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ? “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !” สิ่งใดไม่เที่ยง, สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ? “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !” สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา, ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา, นั่นเป็นเรา, นั่นเป็นอัตตาของเรา“ ดังนี้ ? “ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”--(ต่อไป ได้ตรัสถามและภิกษุตอบ เกี่ยวกับ รูป .... จักขุวิญญาณ .... จักขุสัมผัส .... จักขุสัมผัสสชาเวทนา, ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุนั้นทุกประการต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น.--เมื่อตรัสข้อความในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุ จบลงดังนี้แล้ว ได้ตรัสข้อความในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมหมวดโสตะ หมวดฆานะ หมวดชิวหา หมวดกายะ และหมวดมนะ--ต่อไปอีก, ซึ่งมีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนั้นทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อเท่านั้น, ผู้ศึกษาฟังเทียบเคียงได้เอง).--ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน รูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน จักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายใน เวทนา อันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นอทุกขมสุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย; (ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมหมวดโสตะ – ฆานะ – ชิวหา – กายะ – มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก โดยนัยอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งอายตนิกธรรมหมวดจักษุนี้); เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด; เพราะคลายกำหนัด ย่อม หลุดพ้น; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัด ว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความหลุดพ้นอย่างนี้ มิได้มีอีก”.--ภิกษุ ท. ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การบรรลุนิพพาน นั้น.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. 18/168/235.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา.สํ. ๑๘/๑๖๙/๒๓๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 763
ชื่อบทธรรม : -การรู้จักแสวงหาของมนุษย์
เนื้อความทั้งหมด :-การรู้จักแสวงหาของมนุษย์--ก. การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ--ภิกษุ ท. ! การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ (อนริยปริเยสนา) เป็นอย่างไรเล่า ?--ภิกษุ ท. ! บุคคลบางพวกในกรณีนี้ ตนเอง มีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง. ตนเอง--มีความแก่ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเอง มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเอง มีความตาย เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตาย เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเอง มีความโศก เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศก เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง, ตนเอง มีความเศร้าหมองโดยรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยัง มัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองรอบด้าน เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง.--ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความเกิดเป็นธรรมดา ? ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกร ช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความเกิดเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก (อุปธิ) ; บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.--ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความแก่เป็นธรรมดา ? ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกร ช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความแก่เป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก ; บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.--ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ? ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกร ช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก; บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.--ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความตายเป็นธรรมดา ? ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกร ช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความตายเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก ; บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.--ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความโศกเป็นธรรมดา ? ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกร ช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความโศกเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก ; บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.--ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งอะไรเล่า ว่ามีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา ? ภิกษุ ท. ! ควรจะกล่าวซึ่งบุตรภรรยา ทาสหญิงทาสชาย แพะแกะ ไก่สุกร ช้าง โคม้าลา ทองเงิน ว่ามีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นของหนัก ; บุคคลในโลกนี้ พากันจมติดอยู่ พากันมัวเมาอยู่ พากันสยบอยู่ ในของหนักเหล่านั้น จึงทำให้ตนทั้งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่เองแล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง อีก.--ภิกษุ ท. ! นี้คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ.--ข. การแสวงหาที่ประเสริฐ--ภิกษุ ท. ! การแสวงหาที่ประเสริฐ (อริยปริเยสนา) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เกิด (อชาต) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่แก่ (อชร) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เจ็บไข้ (อพฺยาธิ) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่ตาย (อมต) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความโศกเป็นธรรมดา ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่โศก (อโสก) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า, ตนเองมีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา--ก็รู้จักโทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดา แล้ว แสวงหานิพพานอันเป็นธรรมไม่เศร้าหมองโดยรอบด้าน (อสํกิลิฏฐ) เป็นธรรมเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า,--ภิกษุ ท. ! นี้คือ การแสวงหาที่ประเสริฐ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม.12/316/315.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม.๑๒/๓๑๖/๓๑๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 764
ชื่อบทธรรม : -อุบายเครื่องสิ้นตัณหาโดยสังเขป
เนื้อความทั้งหมด :-อุบายเครื่องสิ้นตัณหาโดยสังเขป--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ว่าโดยสังเขป, ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าใด ภิกษุจึงเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จถึงที่สุดยิ่ง เกษมจากโยคะถึงที่สุดยิ่ง มีพรหมจรรย์ถึงที่สุดยิ่ง จบกิจถึงที่สุดยิ่ง เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ?“--ท่านผู้จอมเทพ ! หลักธรรมอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า “สิ่งทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา)” ดังนี้. เมื่อเธอได้สดับดังนี้แล้ว ย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง, ครั้นรู้ยิ่งแล้ว ก็รอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง, ครั้นรอบรู้แล้ว ได้รู้สึกความรู้สึกอันใดอันหนึ่ง จะเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม เธอย่อม มองเห็นความไม่เที่ยงแท้ ในความรู้สึก (เวทนา) ทั้งหลายเหล่านั้น มองเห็นความคลายกำหนัด มองเห็นความดับไม่เหลือ มองเห็นความสลัดคืน อยู่ เมื่อเธอมองเห็นความไม่เที่ยงแท้ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น มองเห็น (คือรู้สึก) ความคลายกำหนัด มองเห็นความดับไม่เหลือ มองเห็นความสลัดคืน (ของตน) อยู่เนืองนิจ ก็ ไม่ยืดถือด้วยใจ ซึ่งอะไร ๆ ในโลก, เมื่อไม่ยึดถือก็ไม่สะดุ้งใจ, เมื่อไม่สะดุ้งใจ--ชื่อว่าดับสนิทรอบในภายใน นั่นเทียว, เธอย่อมรู้สึกตนชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.--ท่านผู้จอมเทพ ! ว่าโดยสังเขปด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุ ชื่อว่า พ้นวิเศษแล้วเพราะความสิ้นตัณหา มีความสำเร็จถึงที่สุดยิ่ง เกษมจากโยคะถึงที่สุดยิ่ง มีพรหมจรรย์ถึงที่สุดยิ่ง จบกิจถึงที่สุดยิ่ง เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพและมนุษย์ทั้งหลาย.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - มู.ม. 12/464/434.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู.ม. ๑๒/๔๖๔/๔๓๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 765
ชื่อบทธรรม : -ความถูกต้องเกี่ยวกับความรู้สึกว่าปฏิกูลหรือไม่ปฏิกูล
เนื้อความทั้งหมด :-ความถูกต้องเกี่ยวกับความรู้สึกว่าปฏิกูลหรือไม่ปฏิกูล--ภิกษุ ท. ! ๑. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ เป็นความถูกต้อง. ๒. ภิกษุ เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ เป็นความถูกต้อง. ๓. ภิกษุ เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ ก็เป็นความถูกต้อง. ๔. ภิกษุ เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ก็เป็นความถูกต้อง. ๕. ภิกษุ เว้นขาดจากความรู้สึกว่า สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล เสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ตามกาลอันควรอยู่ ก็เป็นความถูกต้อง.--๑. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มี สัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์--ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ” ดังนี้ ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่.--๒. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “โทสะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่.--๓. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ โทสะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็น ผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลอยู่.--๔. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “โทสะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ. ราคะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ .--๕. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึงเว้นขาดความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะ อยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า--“ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ในส่วนไหนๆ ในที่ไรๆ ชนิดไรๆ. โทสะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในส่วนไหนๆ ในที่ไรๆ ชนิดไรๆ. โมหะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในส่วนไหนๆ ในที่ไรๆ ชนิดไรๆ” ดังนี้ ภิกษุจึงเว้นขาดจากความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญจก.อํ. 22/189/144.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญจก.อํ. ๒๒/๑๘๙/๑๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 766
ชื่อบทธรรม : -ภิกษุมิได้เจริญภาวนาเพื่อได้รูปทิพย์เสียงทิพย์
เนื้อความทั้งหมด :-ภิกษุมิได้เจริญภาวนาเพื่อได้รูปทิพย์เสียงทิพย์--(เมื่อพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสตอบคำซักไซ้ไล่เลียง ของมหาลิลิจฉวีบุตร เกี่ยวกับ สมาธิภาวนาเพื่อการเห็นรูปทิพย์และการฟังเสียงทิพย์ จนเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง ทุกแง่ทุกมุมแล้ว, มหาลิลิจฉวีบุตร ได้กราบทูลถามว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์กัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้นหรือ, ได้ตรัสตอบว่า :- )--มหาลิ ! ภิกษุทั้งหลาย จะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้น ก็หามิได้. มหาลิ ! ธรรมเหล่าอื่น อันยิ่งกว่าอันประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อการทำให้แจ้งธรรมเหล่านั้น ก็มีอยู่.--“ธรรมเหล่าอื่นนั้น เป็นอย่างไร พระเจ้าข้า !“--มหาลิ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้--พร้อมในเบื้องหน้า. มหาลิ ! นี้แล ธรรมอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุพากัน ประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อการทำให้แจ้ง.--มหาลิ ! ข้ออื่นยังมีอีก : เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สามและ เพราะความที่ราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. มหาลิ ! แม้นี้แล ก็เป็นธรรมอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อการทำให้แจ้ง.--มหาลิ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งห้า เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. มหาลิ ! แม้นี้แล ก็เป็นธรรมอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการทำให้แจ้ง.--มหาลิ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสะวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. มหาลิ ! แม้นี้แล ก็เป็นธรรมอันยิ่งกว่าประณีตกว่าที่ภิกษุพากันประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อการทำให้แจ้ง.--มหาลิ ! เหล่านี้แล ธรรมทั้งหลายอันยิ่งกว่าประณีตกว่า ที่ภิกษุ พากันประพฤติพรหมจรรย์ในเราเพื่อการทำให้แจ้ง.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/199-200/250-253.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๑๙๙-๒๐๐/๒๕๐-๒๕๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 58
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site