สัทธรรมลำดับที่ : 746
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิในอากิญจัญญายตนสัปปายปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาทิฏฐิในอากิญจัญญายตนสัปปายปฏิปทา--ข้อที่หนึ่ง--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามและกามสัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะก็ดี รูปและรูปสัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะ ก็ดี อาเนญชสัญญา ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั้น ดับไม่มีส่วนเหลือ ในธรรมใด ธรรมนั้นสงบ ธรรมนั้นประณีต กล่าวคืออากิญจัญญายตนะ” ดังนี้.--เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่, จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลัง--แต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อากิญจัญญายตนะสัปปายปฏิปทาข้อที่หนึ่ง.--ข้อที่สอง--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวกไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า “อายตนะนี้ว่าง จากอัตตา ว่างจากอัตตนิยา” ดังนี้.--เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่, จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อากิญจัญญายตนะสัปปายปฏิปทาข้อที่สอง.--ข้อที่สาม--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวกไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเรา, ความกังวลต่อสิ่งใด หรือในอะไรๆ ว่าเป็นตัวเราก็ไม่มี ; และไม่มีอะไรที่เป็นของเรา, ความกังวลในสิ่งใดๆ ว่าเป็นของเราก็ไม่มี” ดังนี้.--เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่, จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อากิญจัญญายตนะสัปปายปฏิปทาข้อที่สาม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/76 - 77/85 - 87.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๖ - ๗๗/๘๕ - ๘๗.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 747
ชื่อบทธรรม : สัมมาทิฏฐิในเนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา
เนื้อความทั้งหมด :-[คำว่า อากิญจัญญายตนะ คำนี้ เป็นคำแปลกและกำกวม เคยใช้ให้มีความหมายเป็นนิพพาน มาแต่ก่อนพุทธศาสนา หรือนอกพุทธศาสนา เช่น ในสำนักของพาวรีพราหมณ์ (ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดโสฬสปัญหา) นั้นเขาถือว่าเป็นนิพพาน จึงมาทูลขอให้พระองค์ทรงแสดงอากิญจัญญายตนะ ตามแบบของพระองค์ ในฐานะที่เป็นนิพพาน ดังนั้นในสูตรนี้ จึงมีบทพิจารณาทำนองเดียวกับนิพพาน เช่นคำว่า นั่นว่างจากอัตตาว่างจากอัตตนิยา หรือว่านั่นสงบนั่นประณีต ดังนี้เป็นต้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง อย่าให้ปะปนกันเสีย จะมีความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง].--สัมมาทิฏฐิในเนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามและกามสัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะก็ดี รูปและรูปสัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะ ก็ดี อาเนญชสัญญา ก็ดี อากิญจัญญายตนสัญญา ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั้น ดับไม่มี--ส่วนเหลือ ในธรรมใด ธรรมนั้นประณีต กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ”.--เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้อยู่, จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/77/88.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๗/๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 748
ชื่อบทธรรม : -สัมมาทิฏฐิ ต่อโอฆนิตถรณะ
เนื้อความทั้งหมด :-สัมมาทิฏฐิ ต่อโอฆนิตถรณะ--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิปทาอันเป็นที่สบาย (สัปปายปฏิปทา) แก่อาเนญชามาตามลำดับๆ) อย่างนี้แล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา(ความเข้าไปเพ่งอยู่) ว่า “ถ้า (ปัจจัย) ไม่เคยมี (ผล) ก็ต้องไม่มีอยู่แก่เรา; ถ้า (ปัจจัยเพื่ออนาคต) จักไม่มีอยู่ (ผลในอนาคต) ก็ต้องไม่มีแก่เรา. สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดเป็นแล้ว เราย่อมละได้ซึ่งสิ่งนั้น” ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งอุเบกขานั้น ดำรงอยู่. เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งอุเบกขานั้น ดำรงอยู่, วิญญาณนั้นเป็นวิญญาณอันตัณหาไม่อาศัยแล้ว นั่นคือภาวะไม่มีอุปาทาน. อานนท์ ! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน (ดับเย็น).--“น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ! ไม่เคยมีแล้ว พระเจ้าข้า ! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ได้ทราบมาว่า พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยแล้ว ทรงอาศัยแล้ว (ซึ่งปฏิปทาอันทรงแสดงมาแล้วตามลำดับ) ตรัสบอกซึ่งโอฆนิตถรณะ(การถอนตนขึ้นจากโอฆะ) แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้ว”.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/79/91.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๙/๙๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 749
ชื่อบทธรรม : -อริยวิโมกข์ หรือโอฆนิตถรณะ
เนื้อความทั้งหมด :-(คำว่า โอฆนิตถรณะ ในที่นี้ คือ การถอนตนขึ้นจากโอฆะ (ความตกจมอยู่ในกิเลสและความทุกข์ ด้วยกาม-ทิฏฐิ-ภพ-อวิชชา) เป็นสิ่งที่มีได้ในภพปัจจุบัน กล่าวคือไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นทั้งหลาย อันมีเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นสิ่งสูงสุดสำหรับการยึดมั่นถือมั่น และไม่ยึดมั่นแม้แต่ในการบรรลุธรรมของตน; เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นก็ดับเย็น เป็นปรินิพพาน นี้เรียกว่า โอฆนิตถรณะ หรือ อริยวิโมกข์ ก็เรียก (ดูได้ในหัวข้อหรือเรื่องถัดไป) เป็นสิ่งที่มีได้ในภพปัจจุบัน).--อริยวิโมกข์ หรือโอฆนิตถรณะ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อริยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษอันประเสริฐ) เป็นอย่างไรเล่า ?”--อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโทษโดย ประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, กามทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย, กามสัญญาที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, กามสัญญาที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย, รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย, รูปสัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใด--ด้วย, รูปสัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย อาเนญชสัญญา เหล่าใดด้วย, อากิญจัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย, เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย, นั่นล้วนแต่เป็นสักกายะ เป็นแต่เพียงสักกายะ (เป็นที่ตั้งแห่งความ--ยึดถือด้วยอุปาทาน) ; ส่วนอมตธรรมนั้น ได้แก่วิโมกข์แห่งจิต เพราะไม่มี อุปาทานในสักกายะนั้น ๆ นี่เอง”.--อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ เป็นอันว่า อาเนญชสัปปายปฏิปทา เราได้แสดงแล้ว, อากิญจัญญายตนสัปปายปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว, เนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว, การอาศัยปฏิปทานั้นๆ ตามลำดับๆ แล้วข้ามโอฆะเสียได้ เราได้แสดงแล้ว, นั่นแหละคืออริยวิโมกข์.--อานนท์ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย.--อานนท์ ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย, นั่น เรือนว่างทั้งหลาย.--อานนท์ ! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แหละ เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนแก่พวกเธอทั้งหลายของเรา.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. 14/79/90 - 92.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม. ๑๔/๗๙/๙๐ - ๙๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 750
ชื่อบทธรรม : -วิธีพิจารณา เพื่อ “หมดปัญหา” เกี่ยวกับอาหาร
เนื้อความทั้งหมด :-วิธีพิจารณา เพื่อ “หมดปัญหา” เกี่ยวกับอาหาร--ภิกษุ ท. ! กพฬีการาหาร เป็นสิ่งที่บุคคลควรเห็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ปรียบเหมือนภรรยาสามีสองคน ถือเอาสะเบียงสำหรับเดินทางเล็กน้อย เดินไปสู่หนทางอันกันดาร. สองภรรยาสามีนั้น มีบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูอยู่คนหนึ่ง. เมื่อขณะเขาทั้งสองกำลังเดินไปตามทางอันกันดารอยู่นั้น สะเบียงสำหรับเดินทางที่เขามีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้น ได้หมดสิ้นไปหนทางอันกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองนั้นยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนั้นไปได้. ครั้งนั้นแล สองภรรยาสามีนั้นได้คิดกันว่า “เสบียงสำหรับเดินทางของเราทั้งสองที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนี้ ได้หมดสิ้นลงแล้ว หนทางอันกันดารนี้ยังเหลืออยู่ ทั้งเราก็ยังไม่เดินข้ามหนทางอันกันดารนั้นไปได้; อย่ากระนั้นเลยเราทั้งสองพึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนี้เสีย แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนี้แหละ เดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นี้กันเถิด เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น พวกเราทั้งสามคนจะต้องพากันพินาศหมดแน่” ดังนี้. ครั้งนั้นแล ภรรยาสามีทั้งสองนั้น จึงฆ่าบุตรน้อยคนเดียวผู้น่ารักน่าเอ็นดูนั้น แล้วทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนั้นเทียวเดินข้ามหนทางอันกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น. สองภรรยาสามีนั้น บริโภคเนื้อบุตรไปพลางพร้อมกับข้อนอกไปพลาง รำพันว่า “บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย บุตรน้อยคนเดียวของเราไปไหนเสีย” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : สองภรรยาสามีนั้นจะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานบ้าง เพื่อความมัวเมาบ้าง เพื่อความประดับประดาบ้าง หรือเพื่อตบแต่ง (ร่างกาย) บ้าง, หรือ--หนอ ? ”ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า !” ถ้าอย่างนั้น สองภรรยาสามีนั้นจะพึงบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพียงเพื่อ (อาศัย) เดินข้ามหนทางอันกันดารเท่านั้น ใช่ไหม ? “ใช่ พระเจ้าข้า !” ถ้าอย่างนั้น ภิกษุ ท. ! ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ; เรากล่าวว่ากพฬีการาหารอันอริยสาวกควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนเนื้อบุตร) ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! กพฬีการาหารอันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว ; ราคะ (ความกำหนัด) ที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย. เมื่อราคะที่มีเบญจกามคุณเป็นแดนเกิด เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้ว, สังโยชน์ชนิดที่อริยสาวกประกอบเข้าแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้มาสู่โลกนี้ได้อีกย่อมไม่มี.--ภิกษุ ท. ! ผัสสาหาร เป็นสิ่งที่บุคคลควรเห็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม : ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงฝาอยู่ไซร้, มันก็จะพึงถูกพวกตัวสัตว์ที่อาศัยฝาเจาะกิน ; ถ้าแม่โคนมนั้นพึงยืนพิงต้นไม้อยู่ไซร้, มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ชนิดอาศัยต้นไม้ไชกิน; ถ้าหากแม่โคนมนั้นพึงลงไปแช่น้ำอยู่ไซร้, มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำตอดกันกิน; ถ้าหากแม่โคนมนั้นจะพึงยืนอาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งไซร้, มันก็จะพึงถูกพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัดจิกกิน. ภิกษุ ท. ! แม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้มจะพึงอาศัยอยู่สถานที่ใดๆ ก็ตาม มันก็จะพึงถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ กัดกินอยู่ร่ำไป, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวว่าผัสสาหาร อันอริยสาวกควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนแม่โคนมที่ปราศจากหนังห่อหุ้ม) ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เมื่อผัสสาหารอันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว เวทนาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย, เมื่อเวทนาทั้งสามเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว เราย่อมกล่าวว่า “สิ่งไรๆ ที่ควรกระทำให้ ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น” ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! มโนสัญเจตนาหาร เป็นสิ่งที่บุคคลควรเห็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกเกินกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวและปราศจากควัน มีอยู่. ครั้งนั้น บรุษผู้หนึ่งผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคน จับบุรุษนั้นที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่าไปยังหลุมถ่านเพลิงนั้น. ภิกษุ ท. ! ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นมีความคิด ความปรารถนา ความตั้งใจ ที่จะให้ห่างไกลหลุมถ่านเพลิงนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่าบุรุษนั้นย่อมรู้ว่า “ถ้าเราจะตกลงไปยังหลุมถ่านเพลิงไซร้ เราพึงถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ” ดังนี้, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวว่า มโนสัญเจตนาหารอันอริยสาวกควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนหลุมถ่านเพลิง) ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เมื่อมโนสัญเจตนาหารอันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, ตัณหาทั้งสาม ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย ; เมื่อตัณหาทั้งสามเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า “สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น“ ดังนี้.--ภิกษุ ท. ! วิญญาณาหารเป็นสิ่งที่บุคคลเห็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนพวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้ประพฤติหยาบช้าได้แล้ว แสดงแก่พระราชาว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ! บุรุษนี้เป็นโจรประพฤติหยาบช้าต่อใต้ฝ่าพระบาท ขอใต้ฝ่าพระบาทจงโปรดให้ลงโทษโจรผู้นี้ตามประสงค์เถิด พระเจ้าข้า !“ พระราชามีกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไปประหารบุรุษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้านี้” เจ้าหน้าที่เหล่านั้นจึงประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเช้า. ต่อมา ในเวลาเที่ยงวัน--พระราชาทรงซักถามพวกเจ้าหน้าที่นั้นว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! บุรุษนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ?”. พวกเขากราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ! นักโทษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า !”. พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไปประหารบุรุษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยง”. พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเที่ยง. ต่อมา ในเวลาเย็น พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! บุรุษนั้น เป็นอย่างไรบ้าง ?”. พวกเขากราบทูลว่า “ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า !”. พระราชาทรงมีพระกระแสรับสั่งอีกว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงไปประหารบุรุษนั้น ด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น” ดังนี้. พวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น จึงประหารนักโทษนั้นด้วยหอกร้อยเล่ม ในเวลาเย็น.--ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษนักโทษ นั้นถูกเจ้าหน้าที่ประหารอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่ม ตลอดทั้งวัน เขาจะพึงเสวยแต่ทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ ? ภิกษุ ท. ! บุรุษนักโทษนั้น ถูกพวกเจ้าหน้าที่ประหารด้วยหอกเพียงเล่มเดียว ก็พึงเสวยทุกขโทมนัสที่มีข้อนั้นเป็นเหตุ (มากอยู่แล้ว) ก็จะกล่าวไปไยถึงการที่บุรุษนักโทษนั้นถูกประหารด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า, ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ; ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวว่า วิญญาณาหารอันอริยสาวกควรเห็น (ว่ามีอุปมาเหมือนนักโทษถูกประหารนั้น) ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เมื่อวิญญาณาหารอันอริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, นามรูปย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้นกำหนดรู้ได้แล้วด้วย; เมื่อนามรูปเป็นสิ่งที่อริยสาวกกำหนดรู้ได้แล้ว, เราย่อมกล่าวว่า “สิ่งไร ๆ ที่ควรกระทำให้ยิ่งขึ้นไป (กว่านี้) ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น”, ดังนี้แล.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. 16/119-121/241 - 244.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. ๑๖/๑๑๙-๑๒๑/๒๔๑ - ๒๔๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 751
ชื่อบทธรรม : วิธีพิจารณาในภายใน เพื่อความสิ้นทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-(คำข้าว เรียกว่าอาหาร เพราะหล่อเลี้ยงร่างกาย; ผัสสะเรียกว่าอาหาร เพราะ ทำให้เกิดเวทนา ; มโนสัญเจตนา เรียกว่าอาหาร เพราะทำให้เกิดกรรม; วิญญาณเรียกว่าอาหาร เพราะทำให้เกิดนามรูป. ถ้าบุคคลพิจารณาเห็นโทษแห่งอาหารแต่ละอย่างๆ ดังที่ตรัสไว้โดยอุปมาในข้อ ความหมายนั้นๆได้, จะดับทุกข์ได้ถึงขั้นเป็นพระอรหันต์).----ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายพิจารณากันบ้างหรือไม่ ชนิดที่เป็นการพิจารณาในภายใน ?--ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ย่อมพิจารณา ชนิดที่เป็นการพิจารณาในภายในอยู่ พระเจ้าข้า !”--ภิกษุ ! เธอ ย่อมพิจารณา ชนิดที่เป็นการพิจารณาในภายในอยู่ อย่างไรเล่า ?--(ภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ก็ไม่ทรงพอพระทัย พระอานนท์จึงทูลขอร้องให้พระองค์ทรงแสดง ภิกษุได้ฟังแล้วจักทรงจำไว้, ตรัสให้ภิกษุทั้งหลายตั้งใจฟัง แล้วตรัสว่า :- )--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อม พิจารณาชนิดที่เป็น การพิจารณาในภายใน ว่า “ทุกข์มีอย่างมิใช่น้อย นานาประการ ย่อมเกิดขึ้นในโลก กล่าวคือชรามรณะ ใดแล ; ทุกข์นี้หนอ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ? เพราะอะไรมี ชรามรณะจึงมี?” ดังนี้. ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ ย่อมรู้ อย่างนี้ว่า “ทุกข์มีอย่างมิใช่น้อยนานาประการ ย่อมเกิดขึ้นในโลก กล่าวคือชรามรณะใดแล; ทุกข์นี้หนอ มีอุปธิเป็นเหตุให้เกิด มีอุปธิเป็นเครื่องก่อให้เกิด มี--อุปธิเป็นเครื่องกำเนิด มีอุปธิเป็นแดนเกิด; เพราะอุปธิมี ชรามรณะจึงมี เพราะอุปธิไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี;” ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด ซึ่งชรามรณะด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือชรามรณะด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงซึ่งธรรมอันสมควรแก่ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างสมควรแก่ธรรมด้วย. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ กล่าวคือเพื่อความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ โดยประการทั้งปวง.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อม พิจารณาชนิด เป็นการพิจารณาในภายใน ว่า “ก็อุปธินี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ? เพราะอะไรมีอุปธิจึงมี เพราะอะไรไม่มี อุปธิจึงไม่มี ?” ดังนี้. ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า “อุปธินี้ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด; เมื่อตัณหามีอุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิจึงไม่มี;” ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัด ซึ่งอุปธิด้วย ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปธิด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปธิด้วย ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงซึ่งธรรมอันสมควรแก่ความดับไม่เหลือแห่งอุปธิด้วย และเป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างสมควรแก่ธรรมด้วย. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ กล่าวคือเพื่อความดับไม่เหลือแห่งอุปธิ โดยประการทั้งปวง.--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อม พิจารณาชนิดที่เป็นการพิจารณาในภายใน ว่า “ก็ตัณหานี้ เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ณ ที่ไหน ?--เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ?” ดังนี้ ภิกษุนั้น พิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ในโลก; ตัณหานี้ เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น. ก็สิ่งใดเล่า มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก? จักษุ มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก. โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา .... กายะ .... มนะ มีภาวะเป็นที่รักเป็นที่ยินดีในโลก. ตัณหานี้ เมื่อจะเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในธรรมมีภาวะน่ารักยินดีเหล่านี้, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในธรรม มีภาวะน่ารักน่ายินดี เหล่านี้.--(ต่อจากนี้ ได้ตรัสถึงบุคคลบางพวกในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เห็นปิยรูป สาตรูปโดยความเป็นของเที่ยง ของสุขเป็นต้น แล้วทำตัณหาให้เจริญ ทำอุปธิให้เจริญ เท่ากับทำทุกข์ให้เจริญ ไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ ; และได้ตรัสฝ่ายตรงข้ามโดยปฏิปักขนัยไว้เป็นคู่กัน. สำหรับปิยรูปสาตรูปนั้น ในที่อื่นกล่าวไว้เป็นสิบหมวด ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร รวมกันเป็น ๖๐ อย่าง ; ในที่นี้กล่าวไว้เพียง ๖ อย่าง ตามจำนวนแห่งอายตนะภายใน, แม้กระนั้นก็อาจจะขยายออกไปได้เป็น ๖๐ อย่าง เช่นเดียวกัน ; ผู้สนใจพึงหาอ่านดูได้ จากมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น เองเถิด).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. 16/130- 135/254 - 262.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นิทาน.สํ. ๑๖/๑๓๐- ๑๓๕/๒๕๔ - ๒๖๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 752
ชื่อบทธรรม : -การพิจารณาเพื่อความสิ้นแห่งแดนเกิดของทุกขสมุทัย
เนื้อความทั้งหมด :-การพิจารณาเพื่อความสิ้นแห่งแดนเกิดของทุกขสมุทัย--ภิกษุ ท. ! ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการที่เมื่อพิจารณา ใคร่ครวญอยู่ วิญญาณ (จิต) ของเธอ อันเป็นวิญญาณซึ่งไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป--ในภายนอก และไปตั้งสยบอยู่ในภายใน แล้ว ก็จะไม่สะดุ้งเพราะมีธรรมเป็นที่ยึดมั่น.--ภิกษุ ท. ! เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก และไม่ตั้งสยบอยู่ในภายใน เป็นวิญญาณไม่สะดุ้งเพราะไม่มีธรรมเป็นที่ยึดมั่นอยู่ ดังนี้แล้ว, ธรรมเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งทุกข์กล่าวคือชาติชรามรณะ ย่อมไม่มีอีกต่อไป.--(ครั้นตรัสแต่โดยย่อดังนี้แล้ว เสด็จเข้าไปในวิหาร ภิกษุไม่เข้าใจเนื้อความนั้นโดยพิสดาร ได้เข้าไปขอคำอธิบายจากพระมหากัจจายนะ ท่านได้อธิบายในข้อที่ว่า วิญญาณฟุ้งไปในภายนอกคืออะไร สยบอยู่ในภายในคืออย่างไร สะดุ้งนั้นคืออย่างไร ดังนี้เป็นต้น; หาดู รายละเอียดได้จากหนังสือ ปฏิจจ.โอ. หน้า ๒๙๕ - ๓๐๕).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม.14/411-422/639-652.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ.ม.๑๔/๔๑๑-๔๒๒/๖๓๙-๖๕๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 1070
ชื่อบทธรรม : -ข้อปฎิบัติเกี่ยวกับธาตุห้า
เนื้อความทั้งหมด :-ข้อปฎิบัติเกี่ยวกับธาตุห้า--ราหุล ! รูป อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันอุปาทาน (ของคนหรือสัตว์) เข้าไปถือเอาแล้ว. ตัวอย่างเช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ ลำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ; หรือจะยังมีรูปแม้อื่น อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันอุปาทาน (ของคนหรือสัตว์) เข้าไปถือเอาแล้ว อย่างเดียวกันนี้. ราหุล ! นี้ เรียกว่า ปฐวีธาตุ อันเป็นภายใน. ปฐวีธาตุอันใด อันเป็นภายในด้วย ปฐวีธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าปฐวีธาตุ เสมอกัน. ใครๆ พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ; ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่อปฐวีธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากปฐวีธาตุ.--ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดิน (ปฐวี) เถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดิน อยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. ราหุล ! เปรียบเหมือนเมื่อคนเขาทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ทิ้งคูถบ้าง ทิ้งมูตรบ้าง ทิ้งน้ำลายบ้าง หนองบ้าง โลหิตบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่รู้สึกอึดอัดระอารังเกียจ ด้วยสิ่งเหล่านั้น, นี้ฉันใด; ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินเถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.--ราหุล ! อาโปธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? อาโปธาตุมีทั้งที่เป็นภายในและเป็นภายนอก. ราหุล ! อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? อาโปธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเหลว อันอุปาทาน (ของคนหรือของสัตว์) เข้าไปถือเอาแล้ว, ตัวอย่างเช่น น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือก น้ำหล่อลื่นข้อ น้ำมูตร นี้ก็ดี; หรือจะยังมี อาโปธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเหลว อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆ อื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี. ราหุล ! อาโปธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่า อาโปธาตุ อันเป็นภายใน. อาโปธาตุอันเป็นภายในด้วย อาโปธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าอาโปธาตุ เท่านั้น. ใครๆ พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ; ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่ออาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากอาโปธาตุ.--ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำ (อาโป) เถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยน้ำอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. [ข้อความต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่น้ำไม่อึดอัดระอาต่อสิ่งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลนานาชนิด (ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน) ที่เขาล้างลงไปในน้ำ, อันเป็นอุปมาของจิตที่อบรมแล้วเสมอด้วยน้ำ ฉันใดก็ฉันนั้น].--ราหุล ! เตโชธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? เตโชธาตุมีทั้งที่เป็นภายในและเป็นภายนอก. ราหุล ! เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? เตโชธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเผาผลาญ อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้ว, ตัวอย่างเช่น ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ให้แปรไปโดยชอบ นี้ก็ดี; หรือจะยังมีเตโชธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเผาผลาญ อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆ อื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี. ราหุล ! เตโชธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่า เตโชธาตุอันเป็นภายใน. เตโชธาตุอันเป็นภายนอกใน เตโชธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าเตโชธาตุ เท่านั้น. ใครๆ พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ; ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่อเตโชธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากเตโชธาตุ.--ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยไฟ (เตโช) เถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยไฟอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. [ข้อความต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่ไฟไม่อึดอัดระอาต่อสิ่ง--ปฎิกูลและไม่ปฎิกูลนานาชนิด (ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน) ที่เขาทิ้งลงไปให้มันไหม้, อันเป็นอุปมาของจิตที่อบรมแล้วเสมอด้วยไฟ ฉันใดก็ฉันนั้น].--ราหุล ! วาโยธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? วาโยธาตุมีทั้งที่เป็นภายในและเป็นภายนอก. ราหุล ! วาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? วาโยธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว, ตัวอย่างเช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นี้ก็ดี; หรือจะยังมีวาโยธาตุ อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว ไรๆ อื่นนอกไปจากนี้ อันใดก็ดี. ราหุล ! วาโยธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่าวาโยธาตุอันเป็นภายใน. วาโยธาตุอันเป็นภายในด้วย วาโยธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าวาโยธาตุ เท่านั้น. ใครๆ พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ; ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่อวาโยธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากวาโยธาตุ.--ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยลม (วาโย) เถิด เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยลมอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ อันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. [ข้อความต่อไปจากนี้ ตรัสถึงการที่ลมไม่อึดอัดระอาต่อสิ่งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลนานาชนิด (ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ว่าด้วยธาตุดิน) ที่ลมพัดผ่านเข้าไป, อันเป็นอุปมาของจิตที่อบรมแล้วเสมอด้วยลม ฉันใดก็ฉันนั้น].--ราหุล ! อากาสธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? อากาสธาตุมีทั้งที่เป็นภายในและเป็นภายนอก. ราหุล ! อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นอย่างไรเล่า ? อากาสธาตุอันใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของแสดงลักษณะแห่งความว่าง อันอุปาทานเข้าไปถือเอาแล้ว, ตัวอย่างเช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ที่ว่างที่อาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ผ่านไป ที่ว่างที่อาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ตั้งอยู่ ช่องที่อาหารอันกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ออกสู่เบื้องล่าง นี้ก็ดี ; หรือจะยังมีอากาสธาตุ อันเป็นภายในเฉพาะตน เป็นของแสดงลักษณะแห่งความว่าง ไรๆ อื่นนอกไปจากนี้ ซึ่งไม่ตัน มีลักษณะไม่ตัน เป็นของเปิด มีลักษณะเปิด อันเนื้อและเลือดไม่เข้าไปบรรจุอยู่อันเป็นภายใน อันอุปาทาน เข้าไปถือเอาแล้ว อันใดก็ดี. ราหุล ! อากาสธาตุทั้งสองประเภทนี้ เรียกว่าอากาสธาตุอันเป็นภายใน. อากาสธาตุอันเป็นภายในด้วย อากาสธาตุอันเป็นภายนอกด้วย นั้นก็เป็น สักว่าอากาสธาตุ เท่านั้น. ใครๆ พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ; ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายต่ออากาสธาตุ ย่อมคลายกำหนัดจากอากาสธาตุ.--ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสเถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่. ราหุล ! เปรียบเหมือนอากาส เป็นสิ่งมิได้ตั้งอยู่เฉพาะในที่ไรๆ, นี้ฉันใด; ราหุล ! เธอจงอบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสเถิด. เมื่อเธออบรมจิตให้เสมอด้วยอากาสอยู่, ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่, ฉันนั้นเหมือนกัน.--- ม. ม.๑๓/๑๓๕-๑๔๐/๑๓๕+๑๔๐, ๑๓๖+๑๔๑, ๑๓๗+๑๔๒, ๑๓๘+๑๔๓, ๑๓๙+๑๔๔.--สัมมาทิฏฐิ ในอาเนญชสัปปายปฏิปทา--ข้อที่หนึ่ง--ภิกษุ ท. ! ในข้อที่กามเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้นั้น อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า “กามและกามสัญญาอันเป็นไปในทิฏฐธรรม (ภพนี้) และเป็นไปในสัมปรายะ (ภพอื่น) ทั้งสองอย่างนั้นเป็นบ่วงมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นที่เที่ยวแห่งมาร. ในบ่วงแห่งมารนี้ บาปอกุศลทางใจเหล่านี้ เป็นอภิชฌาบ้าง เป็นพยาบาทบ้าง เป็นสารัมภะ (ความแข่งดี) บ้าง ย่อมเป็นไป ; บาปอกุศลเหล่านั้น ย่อมมีเพื่อเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้. ถ้าอย่างไร เราพึงมีจิตเป็นมหัคคตะอันไพบูลย์ อธิษฐานจิตครอบงำโลก อยู่เถิด ; เมื่อเรามีจิตเป็นมหัคคตะอันไพบูลย์ อธิษฐานจิตครอบงำโลกอยู่, บาปอกุศลทางใจเป็นอภิชฌาบ้าง เป็นพยาบาทบ้าง เป็นสารัมภะบ้าง เหล่านั้น จักไม่มี; เพราะละบาปอกุศลเหล่านั้นเสียได้ จิตของเราก็จักเป็นจิตมีคุณไม่เล็กน้อย เป็นจิตไม่มี ประมาณเป็นจิตอันอบรมดีแล้ว” ดังนี้.--เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่, จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ๑ เมื่อจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึง--๑. คำว่า อายตนะ ในที่นี้ ไม่หมายถึงนิพพาน อันเป็นอายตนะสูงสุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่หมายถึงอายตนะคือภาวะแห่งอรูปฌานทั้งสี่ คือ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยเฉพาะ เพราะไม่มีรูปหรือสัญญาในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความหวั่นไหว, แต่บางมติหมายต่ำลงมาถึงจตุตถฌานอันเป็นอาเนญชะในขั้นริเริ่ม ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เพราะยังอาศัยสิ่งซึ่งมีรูปหรือรูปสัญญาอยู่. เพราะข้อปฏิบัติดังกล่าวแล้วข้างต้น ทำให้ง่ายและสะดวกแก่การลุถึงภพประเภทนี้ จึงได้ชื่อว่า อาเนญชสัปปายปฏิปทา. ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นฝ่ายสมถะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่เจโตวิมุตติโดยตรง แต่ก็เป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาได้ด้วย ดังนั้นท่านจึงกล่าวอานิสงส์ของคำนี้ว่า เพื่อเข้าถึงอาเนญชะหรือน้อมไปเพื่อปัญญาก็ได้.--อาเนญช (สมาบัติ) ในกาลนั้นหรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็น วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งภพในระดับอาเนญชะ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อาเนญชสัปปายปฏิปทาข้อที่หนึ่ง.--ข้อที่สอง--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นโทษโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า “กามและกามสัญญาอันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะ อันเป็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงสักว่ารูป คือเป็นเพียงมหาภูตรูปสี่ และรูปอาศัยมหาภูตรูปสี่นั้นอยู่ เท่านั้น” ดังนี้.--เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ อยู่, จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอาเนญช (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึง ซึ่งภพในระดับอาเนญชะ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เป็น อาเนญชสัปปายปฏิปทาข้อที่สอง.--ข้อที่สาม--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า “กามและกามสัญญา อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะก็ดี รูปและรูปสัญญา อันเป็นไปในทิฎฐธรรมและเป็นไปในสัมปรายะ ก็ดี ทั้ง--สองอย่างนั้น เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นไม่ควรเพื่อจะเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา” ดังนี้.--เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยการปฏิบัติอย่างนี้อยู่, จิตย่อมเลื่อมใสในอายตนะ. เมื่อมีจิตเลื่อมใสสมบูรณ์ เขาก็จะเข้าถึงอาเนญช (สมาบัติ) ในกาลนั้น หรือน้อมไปเพื่อปัญญา. ภายหลังแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ฐานะที่พึงมีได้ก็คือ วิญญาณที่เป็นไป ก็จะเป็นวิญญาณที่เข้าถึงซึ่งภพในระดับอาเนญชะ.--ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าเป็น อาเนญชสัปปายปฏิปทาข้อที่สาม.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/75-75/82-84.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๗๕-๗๕/๘๒-๘๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 57
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site