สัทธรรมลำดับที่ : 725
ชื่อบทธรรม : -ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของปัญญาขันธ์
เนื้อความทั้งหมด :-ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของปัญญาขันธ์--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความประพฤติเข้ากันไม่ได้ ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้;๑ ครั้นไม่บำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรม (ธรรมที่ควรศึกษาสูงขึ้นไป) ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้; ครั้นไม่บำเพ็ญเสขธรรม--๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตุให้เห็นว่า อภิสมาจาริกธรรม กล่าวคือการปฏิบัติวัตรหรือมรรยาทที่สาธุชนทั่วไป พึงปฏิบัติในบ้านเรือน เพื่อนพ้อง และสังคมทั่วไป นี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมในขั้นสูง กล่าวสรุปๆ ก็ว่า ไม่กระทำให้เกิดความเหมาะสมในการที่จะเป็นนักศึกษา. ขอให้ทุกคนทำการชำระสะสางอภิสมาจาริกธรรม ของตน ๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นเรื่องแรกเสียก่อน.--ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้; ครั้นไม่บำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้; ครั้นไม่บำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.--ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ มีความเคารพ มีความยำเกรง มีความ ประพฤติเข้ากันได้ ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย จักบำเพ็ญ อภิสมาจาริกธรรม ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้; ครั้นบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้; ครั้นบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ สีลขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้; ครั้นบำเพ็ญสีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ สมาธิขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้; ครั้นบำเพ็ญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญ ปัญญาขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/16/22.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖/๒๒.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 726
ชื่อบทธรรม : -สิ่งสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิให้ออกผล
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งสงเคราะห์สัมมาทิฏฐิให้ออกผล--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันองค์ธรรม ๕ ประการอนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล เป็นอานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็นผล เป็นอานิสงส์. ห้าประการเหล่าไหนเล่า ? ห้าประการ คือ ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ :--๑. สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน ศีล อนุเคราะห์แล้ว;--๒. สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน สูตร ๑ อนุเคราะห์แล้ว;--๓. สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน สากัจฉา ๒ อนุเคราะห์แล้ว;--๔. สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน สมถะ อนุเคราะห์แล้ว;--๕. สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมอัน วิปัสสนา อนุเคราะห์แล้ว .--ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันองค์ธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล เป็นอานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติ เป็นผล เป็นอานิสงส์.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. 22/22/25.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๒/๒๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 727
ชื่อบทธรรม : -เหตุปัจจัยแห่งวิชชาและวิมุตติ
เนื้อความทั้งหมด :-เหตุปัจจัยแห่งวิชชาและวิมุตติ--ภิกษุ ท. ! การคบสัปบุรุษ เป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการฟัง สัทธรรมให้บริบูรณ์ ;--การฟังสัทธรรม บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสัทธาให้บริบูรณ์ ; สัทธา บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์ ; โยนิโสมนสิการ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะใหบริบูรณ์ ; ความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวม อินทรีย์ให้บริบูรณ์ ;--๑. สูตร มาจากบาลีว่า สุตฺต หมายถึงแนวธรรม หรือหลักธรรมที่จัดเป็นระบบหนึ่ง ๆ.--๒. สากัจฉา คือการสนทนาธรรมเพื่อตีความหมายแห่งธรรมให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง.--การสำรวมอินทรีย์ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสุจริต ๓ ประการให้ บริบูรณ์ ;--สุจริต ๓ ประการ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้ บริบูรณ์ ;--สติปัฏฐาน ๔ ประการ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้บริบูรณ์ ;--โพชฌงค์ ๗ ประการ บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.--ภิกษุ ท. ! อาหารแห่งวิชชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ และ บริบูรณ์แล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.--(ต่อจากนี้ตรัสอุปมาด้วยฝนตกลงในที่สูงแล้วไหลลงมาในที่ต่ำ ย่อมทำให้เต็มบริบูรณ์ต่อๆ กันลงมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงทะเล).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/123/61.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๓/๖๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 728
ชื่อบทธรรม : -สัญญาเกิดก่อนญาณ
เนื้อความทั้งหมด :-สัญญาเกิดก่อนญาณ--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง, หรือว่าญาณเกิดก่อน สัญญาเกิดทีหลัง, หรือว่าสัญญาและญาณ เกิดไม่ก่อนไม่หลังกัน (พร้อมกัน) ?”--โปฏฐปาทะ ! สัญญาแลเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง, เพราะมีการเกิดแห่งสัญญา จึงมีการเกิดแห่งญาณ ดังที่เขานั้น (แต่ละคนๆ) รู้สึกได้อย่างนี้ ว่า “เพราะ(สัญญา) นี้เป็นปัจจัย ญาณจึงเกิดขึ้นแก่เรา” ดังนี้. โปฏฐปาทะ ! เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยนัยนี้ว่า “สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง อย่างไร, เพราะมีการเกิดขึ้นแห่งสัญญา จึงมีการเกิดขึ้นแห่งญาณ อย่างนั้น” ดังนี้.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/230/288.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๓๐/๒๘๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 729
ชื่อบทธรรม : - การทำสมาธิ มีเคล็ดลับเหมือนแม่โคปีนภูเขาลาดชัน
เนื้อความทั้งหมด :-(โดยหลักจิตวิทยาตามธรรมชาติทั่วไป แห่งจิตวิทยาสมัยปัจจุบัน ทุกคนพอจะมองเห็นได้เองว่า สัญญา (PERCEPTION) จะต้องเกิดก่อนความรู้ (KNOWLEDGE) หรือญาณ (WISDOM) เสมอ; คือเมื่อเรารู้จักหรือรู้สึกต่อสิ่งใดอย่างทั่วถึงแล้ว เราก็เกิดความรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีเรื่องราว มีลักษณะ มีเหตุผล ฯลฯ เป็นอย่างไร, นี้สรุปว่า เมื่อเรารู้จักสิ่งนั้นแล้ว เราจึงจะมีความรู้เรื่องสิ่งนั้นโดยครบถ้วน. นี้คือ อาการที่สัญญาเกิดก่อนญาณ. ส่วนในทางธรรมะนั้น ต้องทำสัญญา (การกำหนด) ในสิ่งที่นำมาเป็นอารมณ์ของสมาธิหรือวิปัสสนานั้นเสียก่อนอย่างทั่วถึง แล้วก็จะเกิดความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้น เช่นรู้ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร เป็นต้น ต่อภายหลัง ซึ่งเรียกว่าญาณ ; มีสัญญาและญาณเป็นคู่ ๆ ดังนี้ เป็นลำดับ ๆ ขึ้นไป จนกระทั่งถึงสัญญาและญาณคู่สุดท้าย เช่น สัญญาในความหลุดพ้น ก็เกิดญาณว่าหลุดพ้น แล้วดังนี้ ซึ่งเป็นญาณสุดท้ายในทางธรรม). การทำสมาธิ มีเคล็ดลับเหมือนแม่โคปีนภูเขาลาดชัน--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนโคหากินตามภูเขา โง่เขลา ไม่มีไหวพริบ ไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาดเพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขาอันขรุขระ. มันได้คิดว่า “จะเที่ยวไปสู่ทิศทางที่ไม่เคยไป จะกินหญ้าที่ไม่เคยกิน จะดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม” ดังนี้ มันวางเท้าหน้าอย่างไม่ถูกต้อง เมื่อยกเท้าหลัง (จึงพลาดล้ม) มันก็ไม่อาจไปถึงทิศทางที่ไม่เคยไป ไม่ได้กินหญ้าที่ไม่เคยกิน ไม่ได้ดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม และทั้งไม่อาจกลับมาสู่ที่ที่มันเคยยืนคิดทีแรกโดยสวัสดีด้วย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า โคตัวนั้นซึ่งหากินตามภูเขา เป็นโคโง่เขลา ไม่มีไหวพริบ ไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาดเพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขาอันขรุขระ, นี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ เป็นพาล ไม่มีไหวพริบ ไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาดเพื่อจะสงัดจากกาม สงัดจาก--อกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. เธอ ไม่เสพอย่างทั่วถึง ไม่ทำให้เจริญ ไม่กระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ไม่ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตนตั้งไว้ด้วยดี, เธอคิดว่า “ถ้ากระไรเพราะความเข้าไปสงบรำงับวิตกและวิจาร เราพึงเข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เถิด” ดังนี้; แต่เธอก็ไม่สามารถจะสงบระงับวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน .... แล้วแลอยู่ได้. เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เราจะ (ย้อนกลับ) เข้าสู่ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เพราะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้ แต่เธอก็ไม่สามารถจะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน .... แล้วแลอยู่ ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า พังแล้วทั้งสองด้าน เสื่อมแล้วทั้งสองฝ่าย เช่นเดียวกับโคภูเขา อันโง่เขลา ไม่มีไหวพริบ ไม่รอบรู้ทิศทาง ไม่ฉลาดเพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขาอันขรุขระ ตัวนั้น.--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนโคภูเขา ที่ฉลาดเฉลียว มีไหวพริบ รอบรู้ทิศทาง ฉลาดเพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขาอันขรุขระ. มันได้คิดว่า “จะเที่ยวไปสู่ทิศทางที่ไม่เคยไป จะกินหญ้าที่ไม่เคยกิน. จะดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม” ดังนี้ มันวางเท้าหน้าอย่างถูกต้อง แล้วจึงค่อยยกเท้าหลัง มันก็สามารถไปสู่ทิศทางที่ไม่เคยไป ได้กินหญ้าที่ไม่เคยกิน ดื่มน้ำที่ไม่เคยดื่ม และทั้งสามารถกลับมาสู่ที่ที่มันเคยยืนคิดทีแรกโดยสวัสดีได้ด้วย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า โคภูเขานั้นเป็นโคฉลาดเฉลียว มีไหวพริบรอบรู้ทิศทาง ฉลาดเพื่อจะเที่ยวไปตามภูเขาอันขรุขระ, นี้ฉันใด ;--ภิกษุ ท. ! ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ก็ฉันนั้น : เธอเป็นบัณฑิตมี ไหวพริบ รอบรู้ทิศทาง ฉลาดเพื่อจะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่, เธอเสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะความเข้าไปสงบรำงับวิตกและวิจารเสียได้ เราพึงเข้าทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่ เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะทุติยฌาน ก็เข้าถึง ทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เพราะความเข้าไปสงบระงับวิตกและวิจารเสียได้ แล้วแลอยู่ ; เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เราพึงเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และพึงเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌานอันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่ เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะตติยฌาน ก็เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญยะ และพึงเสวยความสุขด้วย นามกาย เข้าถึง ตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” ดังนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ แล้วแลอยู่; เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เราพึงเข้าถึงจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะจตุตถฌาน ก็เข้าถึง จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน แล้วแลอยู่; เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะความดับแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา เราพึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการกระทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะอากาสานัญจายตนะ ก็เข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการกระทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา แล้วแลอยู่ ; เธอเสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะอันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด”--ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะวิญญาณัญจายตนะ ก็เข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วแลอยู่ ; เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะอันมีการทำในใจว่า “อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะอากิญจัญญายตนะ ก็เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไรๆ ไม่มี” ดังนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วแลอยู่; เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วแลอยู่ ; เธอ เสพอย่างทั่วถึง ทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้น ตั้งทับซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นนิมิตอันตั้งไว้ด้วยดี.--เธอคิดต่อไปว่า “ถ้ากระไร เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เราพึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้. เธอนั้น เมื่อ ไม่ข้องขัดอยู่กะสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็เข้าถึง สัญญา--เวทยิตนิโรธ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงแล้วแลอยู่ .-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. 23/433 - 437/239.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - นวก. อํ. ๒๓/๔๓๓ - ๔๓๗/๒๓๙.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 730
ชื่อบทธรรม : -อนิจจสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ
เนื้อความทั้งหมด :-(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า โคภูเขาที่ฉลาดย่อมรู้จักจรดเท้าหน้าลงในที่อันมั่นคงเสียก่อนแล้วจึงค่อยยกเท้าหลัง จึงจะไม่พลาดกลิ้งลงมา; เช่นเดียวกับภิกษุ ต้องมีความตั้งอยู่อย่างมั่นคงในสมาธิที่ถึงทับทีแรกเสียก่อน จึงค่อย “ยกเท้าหลัง” เพื่อก้าวไปสู่สมาธิอันสูงขึ้นไป. อุปมาข้อนี้เป็นอุปมาที่แยบคายแปลกกว่าที่เคยได้ยินได้ฟัง เป็นที่น่าสนใจอยู่ มีลักษณะแห่งสัมมาทิฏฐิเต็มบริบูรณ์ จึงนำมาใส่ไว้ในหมวดนี้).--อนิจจสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ ย่อมสมควร โดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งซึ่ง อนิจจสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต. หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการคือ : ---สังขารทั้งปวง จักปรากฏโดยความเป็นของตั้งอยู่อย่างไม่มั่นคง ;--ใจของเรา จักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ;--ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง ;--ใจของเรา จักเป็นใจน้อมไปในนิพพาน ;--สังโยชน์ทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการละขาด ; และ เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญคุณอันยอดเยี่ยม.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนิจจสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/492/373.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ.ช. ๒๒/๔๙๒/๓๗๓.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 731
ชื่อบทธรรม : -ทุกขสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ
เนื้อความทั้งหมด :-ทุกขสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ ย่อมสมควร โดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง ทุกขสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต. หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการไหนเล่า? หกประการคือ :---นิพพิทาสัญญา๑ (สัญญาในความน่าเบื่อหน่าย) ของเรา ในสังขารทั้งปวง จักปรากฏ เหมือนมีเพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ต่อหน้าเรา ; ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง ; เราจักเป็นผู้เห็นสันติ (ความสงบระงับ) ในนิพพานอยู่เป็นประจำ ; อนุสัยทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น ; เราจักเป็นผู้กระทำกิจ (ในการทำที่สุดทุกข์) อยู่เป็นประจำ ; และ พระศาสดาจักเป็นผู้ที่เราบำเรอแล้ว ด้วยวัตรอันประกอบด้วยเมตตา (ความรักอันประกอบด้วยธรรม).--๑. นิพพิทาสัญญา คำนี้ บาลีพระไตรปิฎกฉบับไทยเป็น นิพฺพานสญฺญา เห็นว่าไม่เข้าเค้าของเรื่องจึงถือเอาตามบาลีฉบับมอญที่ว่า นิพฺพิทาสญฺญา.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ เหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งทุกขสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/492/374.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๔.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 732
ชื่อบทธรรม : -อนัตตสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ
เนื้อความทั้งหมด :-อนัตตสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ ย่อมสมควร โดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง อนัตตสัญญา ในธรรมทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต. หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่าไหนเล่า ? หกประการคือ :---เราจักเป็นอตัมมโย๑ ในโลกทั้งปวง ; อหังการ๒ ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ ; มมังการ๓ ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ ; เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ความรู้อันไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน) ;--๑. อตัมมโย คือผู้ไม่สำเร็จมาแต่ปัจจัยนั้น ๆ กล่าวคือ ปัจจัยนั้น ๆ ไม่อาจปรุงแต่งได้ หมายถึงผู้หลุดพ้นนั่นเอง.--๒. อหังการ คือการกระทำในใจด้วยความยึดถือว่าเรา ว่าตน.--๓. มมังการ คือการกระทำในใจด้วยความยึดถือว่าของเรา ว่าของตน. ทั้งอหังการและมมังการ เป็นความรู้สึกที่มีอยู่ในสันดานของคนเรา เป็นกิเลสประเภทอนุสัย ทำงานร่วมกันทั้งสองอย่าง เรียกว่า อหังการะมมังการะมานานุสัย ; ผู้ใดถอนเสียได้เด็ดขาด ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์.--ธรรมอันเป็นเหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นแล้วด้วยดี ; และธรรมทั้งหลายอันเกิดแต่เหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นด้วยดี.--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่านี้แล ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนัตตสัญญา ในธรรมทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. 22/492/375.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๕.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 733
ชื่อบทธรรม : -สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์
เนื้อความทั้งหมด :-สิ่งทั้งปวงที่ต้องรู้จัก เพื่อความสิ้นทุกข์--ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รอบรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวง ก็เป็นผู้ ไม่ควรแก่ความสิ้นไปแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวงคือ :---(อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ วิญญาณ ๖ สัมผัส ๖ เวทนา ๖ : ทรงจำแนกทีละหมวด และแยกอย่างในหมวดนั้น ๆ ในที่นี้ยกมากล่าวคราวเดียวกัน เพราะเห็นว่าเป็นที่รู้จักกันดีแล้ว).--(ต่อจากนี้ ได้ตรัสข้อความป็นปฏิปักขนัย คือเมื่อรู้สิ่งทั้งปวงก็ควรแก่ความสิ้นไปแห่งทุกข์ อันผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงได้ด้วยตนเอง).-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/21/27-28.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๑/๒๗-๒๘.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 734
ชื่อบทธรรม : -[ในสูตรถัดไป ทรงแสดงสิ่งทั้งปวงด้วยวิญญาตัทพธรรมทางจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ (๑๘/๒๒-๒๓/๒๙-๓๐).
เนื้อความทั้งหมด :-[ในสูตรถัดไป ทรงแสดงสิ่งทั้งปวงด้วยวิญญาตัทพธรรมทางจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ (๑๘/๒๒-๒๓/๒๙-๓๐).--อีกสูตรหนึ่ง ทรงแสดงสิ่งทั้งปวงด้วยขันธ์ห้า (๑๗/๓๓/๕๖-๕๗)].--ต้นเหตุแห่งมิจฉาทิฏฐิ - สัมมาทิฏฐิ--ก. แห่งมิจฉาทิฏฐิ--ภิกษุ ท. ! ปัจจัย ๒ อย่างเหล่านี้ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ สองอย่างเหล่าไหนเล่า ? สองอย่าง คือ :---การโฆษณาของคนเหล่าอื่น (ปรโต โฆโส). การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (อโยนิโส มนสิกาโร).--ภิกษุ ท. ! ปัจจัยสองอย่างเหล่านี้แล เพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฏฐิ.--ข. แห่งสัมมาทิฏฐิ--ภิกษุ ท. ! ปัจจัย ๒ อย่างเหล่านี้ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ สองอย่างเหล่าไหนเล่า ? สองอย่าง คือ :---การโฆษณาของคนเหล่าอื่น (ปรโต โฆโส). การกระทำในใจโดยแยบคาย (โยนิโส มนสิกาโร).--ภิกษุ ท. ! ปัจจัยสองอย่างเหล่านี้แล เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - ทุก.อํ. 20/109-110/370-371.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทุก.อํ. ๒๐/๑๐๙-๑๑๐/๓๗๐-๓๗๑.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site
สัทธรรมลำดับที่ : 735
ชื่อบทธรรม : -หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาทิฏฐิ
เนื้อความทั้งหมด :-หมวด ง. ว่าด้วย หลักการปฏิบัติ ของสัมมาทิฏฐิ--รู้เวทนาเพื่อดับเสียได้ ดีกว่ารู้เพื่อเป็นปัจจัยแก่ตัณหา--ภิกษุ ท. ! .... สมณพรหมณ์เหล่าใด เป็นปุพพันตกัปปิกวาท๑ (บัญญัติทิฏฐิปรารภขันธ์ที่มีแล้วในกาลก่อน) ก็ดี เป็นอปรันตกัปปิกวาท (บัญญัติทิฏฐิ--๑. สมณพรหมณ์พวกปุพพันตกัปปิวาทเป็นต้น ดูรายละอียดได้จากหนังสือ ปฏิจจ.โอ. ตอนว่าด้วยเรื่องทิฏฐิ ๖๒ ในหมวด ๑๑.--ปรารภขันธ์ที่มีในกาลเบื้องหน้า) ก็ดี เป็นปุพพันตาปรันตกัปปิกวาท (บัญญัติทิฏฐิปรารภขันธ์ที่เป็นปุพพันตะอปรันตะ) ก็ดี ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ (มีทิฏฐิไปตามขันธ์ที่มีในกาลก่อนและในกาลเบื้องหน้า) เขาปรารภขันธ์ที่เป็นปุพพันตะและอปรันตะแล้ว กล่าวอธิมุตติบท (ทางแห่งความน้อมใจเชื่อของสัตว์) มีอย่างต่างๆกัน เป็นอเนก ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ๖๒ ประการ; สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด รู้สึกเสวยเวทนาตามทิฏฐิเฉพาะอย่าง ๆ ของตน ๆ ตามที่ถูกต้องแล้ว ๆ (ซึ่งอารมณ์) ด้วยผัสสายตนะหกประการ. เพราะเวทนา (อันเกิดจากสัมผัสนั้น) ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย (แก่สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น).--ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ภิกษุย่อม รู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความ เกิดขึ้น (สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำทราม (อาทีนวะ) ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปให้พ้น (นิสสรณะ) แห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ ; ภิกษุนี้ ชื่อว่าย่อม รู้ชัด (ซึ่งเรื่องอันเกี่ยวกับผัสสายตนะหกประการนั้น) ยิ่งกว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมดนั่นเทียว.-
อ้างอิงสุตันตปิฎก : - สี.ที. 9/57/90.
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี.ที. ๙/๕๗/๙๐.
ลำดับสาธยายธรรม : 54
อ้างอิงภาษาบาลี เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
อ้างอิงภาษาไทย เล่ม/หน้า/ข้อ : เสนอและยืนยัน
เลื่อกที่จะตรวจสอบการอ้างอิงในสุตันตปิฎกดังนี้
ตรวจสอบสุตันตปิฎกบาลี ตรวจสอบสุตันตปิฎกไทย
### Online to checking with open Etipitaka Site